สถานีความคิด

นันทนาการภายหลังโควิด19

  การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ รูปแบบของกิจกรรมนันทนาการที่หลายกิจกรรมถูกยกเลิกการจัดไป ไม่สามารถจัดได้ และหลายกิจกรรมถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดออนไลน์ รวมทั้งกิจกรรมที่จัดแบบกลุ่มก็ถูกปรับเป็นแบบกลุ่มที่เล็กลง หรือบางกิจกรรมใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาทดแทนการพบกันแบบเผชิญหน้า (Face to Face) แม้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการแบบใหม่นี้ จะสามารถทดแทนได้บ้าง แต่จะทำให้คุณค่าของกิจกรรมนันทนาการนั้นๆ ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ด้านสุขภาพกาย มนุษย์ยังคงต้องการการเคลื่อนไหว  การขาดกิจกรรมทางกายเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อไม่พัฒนา เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Disease, NCD) ต่างๆ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่า ประชากรทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายลดลง โดยเฉพาะในประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 19.1 (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิยาลัยมหิดล, 2563) ดังนั้น กิจกรรมทางกาย (Physical Activity, PA) ที่คนได้เคลื่อนไหวเต็มที่ทั้งในร่มและกลางแจ้งยังคงมีความจำเป็นสำหรับคนทุกวัย ด้านสุขภาพจิต ในช่วงยากลำบากนี้ คนยิ่งจำเป็นต้องมีกิจกรรมนันทนาการเพื่อบรรเทาความเครียดและสร้างแรงบันดาลใจ แต่ด้วยความเสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการที่ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวได้ ทำให้คนต้องเผชิญกับปัญหาความกังวล หวาดกลัวทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรค …

นันทนาการภายหลังโควิด19 Read More »

ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมสุขภาพ

  ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภูมิปัญญามากมายหลายสาขา ซึ่งได้ถูกสั่งสมมาเป็นเวลาหลายร้อยปีผ่านการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย และได้มีการนำเอาภูมิปัญญาไทยแขนงต่างๆ มาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของคนในทุกกลุ่มวัย ผ่านงานวิจัยทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตัวอย่างเช่น ภูมิปัญญาด้านการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ การออกกำลังกายด้วยท่ารำไหว้ครูมวยไทยที่ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาพุทธิปัญญาด้านความจำ ด้านสมาธิ ด้านการใช้เหตุผลและการตัดสินใจ และพัฒนาความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต (2555) อีกทั้งช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และลดภาวะการกลัวการล้ม (2556) การออกกำลังกายด้วยมวยไทยแอโรบิก ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาสุขสมรรถนะ การทรงตัว และลดการสลายของกระดูก (2557) การออกกำลังกายด้วย ท่าของมวยไทยช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (2561) การออกกำลังกายด้วยท่ารำไม้พลอง (2549) การออกกำลังกายด้วยท่ารำกระบี่ (2551) และการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ (2563) ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาสุขสมรรถนะและการทรงตัว ตลอดจนการออกกำลังกายด้วยไม้พลองที่ช่วยพัฒนาความสามารถทางการเคลื่อนไหวและทักษะทางสังคมของเด็กกลุ่ม   ออทิสติก สเปคตรัม (2555) อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาด้านนาฏศิลป์ ได้แก่ การออกกำลังกายด้วยท่ารำไทยที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน (2554) อีกทั้งช่วยพัฒนาความสามารถในการเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุ (2562) ตลอดจนพัฒนาความยืดหยุ่นและลดความเจ็บปวดกล้ามเนื้อของพนักงานสำนักงานเพศหญิง (2562) …

ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมสุขภาพ Read More »

การฝึกหายใจลดอาการปวดหลัง

  จากรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน จะพบว่ามักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมีการนั่งมากกว่าการเดินหรือการขยับเขยื้อนร่างกาย ส่งผลให้มีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยหนึ่งในอาการปวดที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดบริเวณบั้นเอว เนื่องจากหลังส่วนล่างนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายประมาณ 50% ของน้ำหนักทั้งหมด และเมื่ออยู่ในท่านั่ง น้ำหนักส่วนนี้จะผ่านกระดูกสันหลังระดับเอวในทิศทางที่กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังระดับเอวต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดการล้าและทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำหนักที่ผ่านลงมาจึงผ่านลงส่วนประกอบของข้อต่อของกระดูกสันหลังระดับเอวเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการบาดเจ็บ และมีอาการปวดหลังบริเวณนี้ตามมา อาการปวดหลังส่วนล่างนี้ พบได้ทั้งปวดเฉพาะบริเวณบั้นเอว ปวดร้าวลงสะโพก ร้าวลงกล้ามเนื้อก้น หรือร้าวลงถึงต้นขาด้านหลัง หรืออาจปวดร้าวถึงบริเวณส้นเท้าขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ วิธีการออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบันคือการออกกำลังกล้ามเนื้อที่ช่วยประคองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ที่กระดูกสันหลังและวางตัวอยู่ใกล้กระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า “กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว” การกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานทำได้โดยให้กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนตัวเล็กน้อยขณะที่มีการทรงท่า ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวหลากหลายวิธี การฝึกการหายใจก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีการนำมาใช้เพื่อลดอาการปวดหลัง โดยการหายใจด้วยวิธีที่ถูกต้องจะส่งผลให้กล้ามเนื้อแกนกลางทำตัวทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดหลังได้ การหายใจของร่างกายเริ่มตั้งแต่อากาศเข้าทางจมูกผ่านมาทางทางเดินหายใจและเข้าสู่ปอด เมื่ออากาศเข้าสู่ปอด ทรวงอกจะขยายทั้งในแนวดิ่ง จากการยกไหล่ขึ้น แนวหน้า-หลัง จากการยกกระดูกหน้าอก และแนวกว้างจากการขยับของซี่โครง เพื่อเพิ่มปริมาตรทรวงอกให้อากาศถูกดึงเข้าสู่ปอดได้ แต่เนื่องจากปอดมีลักษณะส่วนบนแหลมส่วนล่างกว้าง ดังนั้นปริมาตรปอดส่วนใหญ่จึงอยู่ที่เนื้อปอดส่วนล่าง ดังนั้นการหายใจที่มีประสิทธิภาพคือรูปแบบการหายใจที่สามารถดึงอากาศลงสู่ปอดส่วนล่าง ซึ่งกล้ามเนื้อหลักที่ควบคุมการหายใจรูปแบบนี้คือ “กระบังลม” ดังนั้นหากเราฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม ก็จะสามารถดึงอากาศเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจได้มากขึ้น วิธีการหายใจโดยให้กระบังลมทำงาน ทำได้โดยการหายใจให้อากาศลงสู่ท้องน้อย ดันกระบังลมให้ลดต่ำลง กระบังลมจะดันให้ซี่โครงส่วนล่างจะกางขยายออกช่วยให้อากาศลงไปได้ถึงปอดส่วนล่างซึ่งเป็นเนื้อปอดส่วนใหญ่ จึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น …

การฝึกหายใจลดอาการปวดหลัง Read More »

หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้หรือ

  รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เกริ่นนำ ในช่วงปีสองปีมานี้ มีแต่คนพูดถึงการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางสำหรับการจัดการศึกษาให้เด็กไทยทั้งประเทศ ตั้งแต่ ป.๑-ม.๖ โดยใช้ชื่อว่า “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” แล้วมันคืออะไร จะเป็นหลักสูตรแกนกลางได้หรือไม่ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หลักสูตรอิงมาตรฐานที่ใช้อยู่ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้วหรืออย่างไร และยังพบอีกว่า มีการใช้ภาษา-คำบางคำ บางความหมายที่น่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน สร้างความคลุมเครือ ระส่ำระสาย วิตกกังวล ถกเถียงกันว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ ทั้งในกลุ่มครู สถาบันผลิตครู และนักวิชาการ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะจากการให้ข่าวและการจัดกิจกรรมของสพฐ.และองค์กรอิสระ ได้ลองศึกษาความเป็นมา พบว่า มีคำที่น่าสนใจ ที่ต่างประเทศเขาใช้กัน คือ คำว่า  Competency – based Education, Competency – based learning และใช้กันมานานตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด สมรรถนะ (Competency) คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้(Knowledge-K) ทักษะ ทักษะกระบวนการ(Psychomotor, Process-P) และเจตคติ(Affective-A) …

หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้หรือ Read More »

จับตากีฬาปีเสือ

เหลืออีกแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น “ปีเก่า” พ.ศ.2564 กำลังจะจากไป “ปีใหม่” พ,ศ.2565 ปีนักษัตร ปีขาล หรือ “ปีเสือ” เข้ามาแทนที่ ในโอกาสนี้จึงขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย จงอวยชัยให้แฟนๆ เดลินิวส์ทุกท่านมีสุขขี สุขสวัสดิ์ปลอดภัย สุขภาพแข็งแรงตลอดปีตลอดปีด้วยเทอญ รอบปี 2564 ที่กำลังจะเป็นอดีต วงการกีฬาไทยมีเรื่องราวให้จดจำมากมาย เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี ที่สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันศึกลูกขนไก่ 3 รายการใหญ่ ในระบบ “บับเบิล” ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ได้รับคำชมทั่วโลก แถมยังได้เฮเต็มๆ กับผลงานทะลุเป้าของ “บาส” เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ที่ระเบิดฟอร์มสุดยอด คว้า 8 แชมป์ รวมถึงแชมป์โลกสดๆ ร้อนๆ พิสูจน์ให้โลกเห็นว่า การมีคะแนนสะสมเป็นมือ 1 ของโลกนั้น มิใช่เรื่องผิดความคาดหมายแต่อย่างใด ส่วนแวดวงกอล์ฟหญิง โปรสาวไทยถือว่าโชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยม โดยฝั่งแอลพีจีเอทัวร์ ช่วยกันเก็บแชมป์ได้ 4 รายการ …

จับตากีฬาปีเสือ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!