สถานีความคิด

ตอนที่ 41 : ธรรมนูญปฏิรูปการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ธรรมนูญปฏิรูปการกีฬา                 วันที่ 13 กันยายน ค.ศ.1930 คูเบอร์แต็ง ในฐานะผู้แทนทางการของรัฐบาลกรีซ ได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อนำเสนอและอธิบายธรรมนูญปฏิรูปการกีฬาของตนเองแก่สมาคมแห่งชาติในกรุงเจนีวา                 ท่านได้รับการสนับสนุนในเรื่องนี้จากสหายชาวกรีกคือ โจอานิส คริสซาฟิส ผู้อำนวยการการพลศึกษา กระทรวงวัฒนธรรมกรีซ และเป็นหนึ่งในสมาชิกขันแข็งจำนวนน้อยของสำนักการพลศึกษาและสหภาพการสอนนานาชาติที่ริเริ่มโดยคูเบอร์แต็งใน ค.ศ.1926                 คูเบอร์แต็งอธิบายว่า วันนี้คือช่วงสำคัญของประวัติศาสตร์การกีฬา การจัดพิมพ์ฉบับพิเศษได้รับการเผยแพร่ในภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปนและอิตาลี เพื่อทำให้ธรรมนูญการกีฬาเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดพิมพ์รูปแบบโปสเตอร์ไว้ที่สถานที่จัดแสดงในเมืองบอนน์ภายหลังจากนั้นไม่นาน เป็นต้น                 คำคัดค้านต่อต้านการกีฬาอาจแบ่งเป็นสามกลุ่ม ดังนี้                 การกีฬา บังคับและทรมานร่างกายมากเกินควร                 การกีฬา บั่นทอนสติปัญญา                 การกีฬา เผยแพร่จิตวิญญาณการค้าและบ่มเพาะความรักต่อเงินตรา                 เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธการดำรงอยู่ของภูติผีปีศาจเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบไม่ได้ตกอยู่ที่การกีฬาแต่ประการใด ผู้กระทำผิดคือ พ่อแม่ ครูใหญ่ พนักงานรัฐ …

ตอนที่ 41 : ธรรมนูญปฏิรูปการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 40 : จดหมายเปิดผนึกถึง มร.ฟรานท์ซ-ไฮเคล : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

            ภายหลังการลาจากคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ คูเบอร์แต็งได้ทุ่มเทตนเองอย่างเต็มที่แก่งานปฏิรูปการศึกษา ในเรื่องนี้ ท่านมีความกังวลโดยเฉพาะต่อการศึกษาผู้ใหญ่ซึ่งได้รับความสำคัญในประเทศอื่นของยุโรปเช่น แผนการศึกษาผู้ใหญ่ช่วงเย็นในทศวรรษ 1920 คูเบอร์แต็งไม่มีมายาคติเกี่ยวกับการนำแผนงานไปปฏิบัติ จึงพยายามด้วยวิธีนี้ในการร้องขอความช่วยเหลือจากมิตรสหายเก่าจากกองทัพในฝรั่งเศส บุคคลเหล่านี้รวมถึง มร.ฟรานท์ซ–ไฮเคล เลขาธิการของเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 1924 โดยคูเบอร์แต็งขอให้ มร.ไฮเคล ยื่นมือช่วยเหลือต่อแผนงานโรงยิมกีฬาชุมชนในฝรั่งเศส เพื่อมอบโอกาสแก่ผู้ใช้แรงงานให้สามารถเข้าถึงการกีฬาในการสร้างเสริมสุขพลานามัยและสุขภาวะ             สหายที่รัก             เมื่อท่านหวนระลึกถึงความทรงจำร่วมกันของพวกเรา ในฐานะผู้นำการกีฬาศึกษาของฝรั่งเศส นับเป็นเวลาสี่สิบปีสำหรับตัวข้าพเจ้าและในไม่ช้าสำหรับท่าน ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้นหรือไม่ สำหรับข้าพเจ้า ยังไม่พอใจนัก ความสว่างไสวของโอลิมปิกเกมส์ไม่ได้ปิดตาข้าพเจ้าแม้แต่น้อย โอลิมปิกเกมส์มีเป้าหมายที่อภิสิทธิ์ชนอย่างแน่นอนเนื่องเพราะเป้าหมายคือการสรรเสริญและยกย่องบรรดาเหล่านักกีฬาที่พละกำลังพิเศษจะจุดประกายความทะเยอทะยานและการลอกเลียนแบบซึ่งจำเป็นต่อการรักษาไว้ซึ่งกิจกรรมกีฬามวลชน อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้ามกับอภิสิทธิ์ชน ยังมีมวลชนซึ่งรวมถึงบุคคลทั้งปวงที่เล่นกีฬาแต่ไม่ต้องการความเป็นเลิศแต่ประการใด ในบรรดาคนเหล่านี้ แม้จะมีพัฒนาการใหญ่หลวงในด้านทักษะการเล่นกีฬาแต่ความแข็งแกร่งด้านปริมาณยังอ่อนแอมาก จำนวนร้อยละของนักกีฬาแท้จริงในประชากรเป็นเศษเสี้ยว การโอ่และประชาสัมพันธ์กลบเกลื่อนสถานการณ์จริงไว้ การหวดของสื่อมวลชนและสายธารของการแข่งขันชิงแชมป์ทำให้สาธารณชนหลงทิศผิดทาง ประเทศยังไม่มีความเป็นกีฬาจริงแท้จนกระทั่งพลเมืองส่วนใหญ่รู้สึกถึงความจำเป็นของการกีฬาในวันหนึ่ง หากใช้เกณฑ์ตัดสินนี้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า กระทั่งอเมริกาจะใช่ชาติกีฬาหรือไม่ หากผู้คนทั้งปวงที่พูดถีงการกีฬาถูกบังคับไม่ให้พูดในวันพรุ่งนี้แล้ว ผู้คนที่เล่นกีฬาคงจะดูเหมือนกลุ่มคนที่กลายเป็นจุดทศนิยมไป             หากจะกล่าวถึงเฉพาะฝรั่งเศส สถานการณ์เป็นเช่นนี้ เพราะว่า พวกเราสนับสนุนการกีฬาเยาวชนและทีมมากเกินควรจนเกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์หลักในมุมมองชาติพันธุ์ ข้าพเจ้าหมายถึง ปัจเจกชนผู้ใหญ่ สุขอนามัยจะมีความหมายอย่างไรหากพวกเราจัดเตรียมสถานที่ชำระร่างกายเพียงแก่เด็กและผู้ใหญ่จะต้องจัดทีมเพื่อให้ได้รับบริการนั้น? …

ตอนที่ 40 : จดหมายเปิดผนึกถึง มร.ฟรานท์ซ-ไฮเคล : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 39 : การปฏิรูปและความแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์: ลักษณะและผลที่เกิดขึ้น : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การปฏิรูปและความแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์: ลักษณะและผลที่เกิดขึ้น             ณ ที่ประชุมของสถาบันวิทยาการเอเธนส์ ค.ศ.1927 คูเบอร์แต็งเน้นย้ำความจำเป็นต่อการศึกษาประวัติศาสตร์โลกด้วยวิธีการคือ “ประการแรก พวกเราต้องใช้มุมมองแบบปริซึมแก่มนุษย์และวัตถุทั้งหลาย ประการที่สอง พวกเราต้องปรับแนวคิดจาก ‘สาเหตุ’ ให้เป็น ‘สมการ” ในตอนที่สองของสุนทรพจน์นั้น คูเบอร์แต็งกล่าวถึงผลทางการเมืองจากการใช้ประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ว่า “ประวัติศาสตร์จะปกป้องสันติภาพสากล…ประวัติศาสตร์ยังคงทำได้มากขึ้นต่อสันติสุขสังคมในปัจจุบัน” ทั้งนี้ ท่านแสดงสิ่งได้เรียนรู้จากอาจารย์ทั้งสองคือ อัลเบิร์ต โซเรล และ พอล เลอรอย-บูลิว ที่มหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์             ท่านประธานและสมาชิกของสถาบัน             นับเป็นเกียรติสูงส่งที่ได้กล่าวในสถานที่โด่งดังเช่นนี้ซึ่งเป็นเกียรติยิ่งขึ้นโดยการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากท่านทั้งหลาย วานก่อน กรุงเอเธนส์ให้เกียรติข้าพเจ้าด้วยการรื้อฟื้นหนึ่งในประเพณีที่ถือเป็นความภาคภูมิสูงสุดของเมืองโบราณ ในวันนี้ ตามรอบปีโอลิมปิกที่ข้าพเจ้าได้พยายามจะฟื้นฟูจิตวิญญาณ นับเป็นความโชคดีของข้าพเจ้าที่จะเสนอผลงานวิชาการบริสุทธิ์แก่ทุกท่านซึ่งได้รวบรวมและแต่งขึ้นในระหว่างเวลาว่างที่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกพอจะมีให้แก่ข้าพเจ้า เพื่อทำให้ทุกสิ่งรายล้อมข้าพเจ้ามีความเป็นกรีกเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้าพเจ้าต้องวิพากษ์งานตนเองในที่นี้ตามแนวคิดที่โด่งดังของโซเครตีสซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานของปรัชญาทั้งปวงที่พวกเรากำลังกล่าวถึงในปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยเนื่องเพราะเป็นการปฏิรูปและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเหตุผลของมนุษย์ ตอนที่หนึ่ง             ท่านสุภาพชน ประการแรก ข้าพเจ้าเสนอให้เขียนประวัติศาสตร์โลกด้วยการใช้ประโยชน์ในทุกโอกาสเพื่อให้งานลุล่วง ข้อเท็จจริงที่ว่า สิ่งต่างๆในปัจจุบันมีลักษณะเปลี่ยนแปลงนั้น ดูเหมือนจะเป็นการยืนยันที่ไม่ถูกต้องนัก โดยหากท่านติดตามใกล้ชิด การตรวจสอบข้อเท็จจริงจะยืนยันในสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ การศึกษาประวัติศาสตร์โลกจำต้องมีข้อมูลสมบูรณ์และแม่นยำทั้งสถานที่และเวลาซึ่งความคิดสามารถสืบค้นกลับไปได้ตลอดเวลา สะดวกและง่าย เงื่อนไขเหล่านี้เพิ่งมีความพร้อมสรรพไม่นานมานี้ …

ตอนที่ 39 : การปฏิรูปและความแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์: ลักษณะและผลที่เกิดขึ้น : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 38 : การกีฬาคือพระราชา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬาคือพระราชา             คูเบอร์แต็งใช้การเปิดสมัยประชุมสมัชชาที่ 19 ของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ค.ศ.1920 ในการนำเสนอแก่กษัตริย์เบลเยียมเพื่อพิจารณาความสำคัญเร่งด่วนของการกีฬาภายใต้คำขวัญ “การกีฬาคือพระราชา”             สุนทรพจน์ประกอบด้วยสามตอนคือ ผลงานก้าวหน้า การอุทิศตนไม่ย่อท้อต่ออุดมคติเหนือผลประโยชน์ส่วนตน และการเป็นสาธารณูปการแก่ทุกคนในทุกวัน             ตามความเห็นของคูเบอร์แต็ง การกีฬาสร้างหลักพื้นฐานของกติกาทั้งปวงในระบอบประชาธิปไตย โดยเหตุนี้ ท่านจึงใช้สุนทรพจน์นี้เรียกร้องให้เยาวชนผู้ยากไร้ได้รับโอกาสเข้าถึงการกีฬา             ใต้ฝ่าพระบาท ท่านเจ้าเมืองผู้ทรงเกียรติ ท่านสุภาพชน              การกีฬาคือพระราชา             พวกเรายังคงมีข้อกังวลค้างคาใจอีกหรือไม่ต่อเกียรติภูมิที่พวกเราได้ฟังในปัจจุบันถึงคำพิสูจน์ชัดเจนต่อผลที่เกิดขึ้นทุกวันบนเส้นทางโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ที่กำลังฟื้นฟูอย่างมั่นคงสถาพรยิ่งกว่ายุคโบราณ โดยเฉพาะข้อเท็จจริงภายหลังช่วงเวลาเลวร้ายยิ่งของความรุนแรงและขอบเขตกว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ? เบลเยียมคือกุญแจหลักแห่งความสำเร็จนี้โดยแท้ซึ่งได้แสดงความหวังที่จะเพิ่มเติมเกียรติภูมิที่ได้รับใน ค.ศ.1914 และเสริมแต่งใน ค.ศ.1920 จากการจัดโอลิมปิกเกมส์อย่างชาญฉลาดและรวดเร็ว หรือหากข้าพเจ้าขอแสดงออกอย่างเปิดเผยกว่าในทางวิชาการคือ เกียรติภูมิของความพร้อมซึ่งทรัพยากร เบลเยียมทำลายสถิตินี้เช่นกัน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เกียรติภูมิของเบลเยียมช่วยส่งเสริมมากกว่าลดทอนความแข็งแกร่งของการกีฬาซึ่งโอลิมปิกเกมส์เป็นทั้งสัญลักษณ์และการแสดงออก             ความซื่อสัตย์ทุกรูปแบบมีภัยคุกคาม อนาคตของการกีฬาก็ไม่มีข้อยกเว้น แม้จะได้รับการยกย่องสรรเสริญจากประชาชนและความกระตือรือร้นของเยาวชนก็ตามที พวกเราคือกลุ่มคนบนวิถีทางนี้ ในเขตอำนาจที่เป็นไปได้ อนุญาโตตุลาการของพวกเราทั่วโลกจะต้องประกันถึงความมั่นคงของอำนาจตนด้วยการทำให้อำนาจนี้มีประสิทธิผลและทรงศักดิ์มากขึ้น ปัจจัยใดที่เป็นเสถียรภาพแท้จริงของบัลลังก์? …

ตอนที่ 38 : การกีฬาคือพระราชา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

จากฐานอำนาจเดิม ที่สร้างความว้าวุ่นในวงการกีฬา มีฟ้องร้อง ร้องเรียน แบ่งฝักฝ่ายมานาน วันนี้ควรถึงเวลา “สร้างความสามัคคีใหม่” ด้วยการทิ้งบัตรสนเท่ห์ ทิ้งอดีตขัดแย้ง แล้วเริ่มต้นด้วยความรักกัน…ซะที

      หลังเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 “หางโจวเกมส์” หนนี้ วงการกีฬาของไทย ภายใต้การนำของฝ่ายบริหารชุดใหม่ คงจะเดินเครื่องเต็มพิกัดในทุก ๆ ด้าน       เรื่องที่น่ามองและน่าเขียนถึงเพื่อนำเสนอแนะจากการประมวลความคิดเห็นของ “คนในวงการกีฬา” ที่หลากหลายซึ่งจ้องมองวงการกีฬามายาวนาน อะไรคือสิ่งที่ต้อง “เป็นบทเรียน” ในระดับฝ่ายบริหารที่กำลังเปลี่ยนผ่านมาใหม่ และเริ่มต้น       การวิเคราะห์เริ่มต้นจาก “ฝ่ายบริหาร” ของรัฐบาล ในงานกีฬา ช่วงหลังจากการรัฐประหาร จนกระทั่งมีการเลือกตั้งในรัฐบาลชุดเก่า ที่คนกล่าวถึงมากที่สุดคือการใช้อำนาจในการครองวงการกีฬาอย่างเบ็ดเสร็จ เรื่องเงินทั้งจากงบประมาณที่เช้าสู่หน่วยงานกีฬา และงบที่มาจากกองทุนพัฒนาการกีฬา มีการใช้ในมุมหนึ่งที่ต้องบอกว่า “ไร้ทิศทาง”       “ใช้ด้วยเหตุผลที่ไม่เหมาะสม” นี่คือสิ่งที่สรุปกันแบบเบา ๆ แต่คงรู้เรื่องกันว่ายังไง       “ผู้มีอำนาจก็สั่งได้สั่งเอา มือใครยาวสาวได้สาวเอา” นี่คือสิ่งที่พูดถึงกันต่อมา        จะหันไปพึ่งพา “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ การทำงานของฝ่ายบริหาร ในนามของคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ที่เราเรียกว่า ส.ส.กีฬา  ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่าไร้ผลในการพึ่งพาสาเหตุง่าย ๆ ก็คือ “เป็นพรรคเดียวกันและพวกเดียวกันจะตรวจสอบกันอย่างไร”       ซึ่งโดยการทำงานที่ควรจะเป็น …

จากฐานอำนาจเดิม ที่สร้างความว้าวุ่นในวงการกีฬา มีฟ้องร้อง ร้องเรียน แบ่งฝักฝ่ายมานาน วันนี้ควรถึงเวลา “สร้างความสามัคคีใหม่” ด้วยการทิ้งบัตรสนเท่ห์ ทิ้งอดีตขัดแย้ง แล้วเริ่มต้นด้วยความรักกัน…ซะที Read More »

นักกีฬาทีมชาติและตัวแทนจังหวัด อาจจะยังไม่ทราบ…เรื่องเจ็บ ป่วย มีเงินสวัสดิการจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติช่วยดูแลท่าน

            สิ่งที่นักกีฬาทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด หรือบุคลากรกีฬาอาจจะยังไม่ทราบอีกส่วน คือการดูแลช่วยเหลือ การเจ็บไข้ได้ป่วย จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือมาโดยตลอดแต่อาจจะยังไม่เป็นที่รับทราบกัน วันนี้จึงนำมาย้ำถึงสิทธิผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อความเข้าใจร่วมกัน             ตามประกาศของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬาและผู้ซึ่งประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับความเสียหาย หรืออันตรายจากการแข่งขันกีฬาหรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ พ.ศ.2564 ระบุโดยสรุปว่า             กลุ่มผู้ที่มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือสวัสดิการตามประกาศนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ             1.นักกีฬาทีมชาติ ทั้งคนปกติและคนพิการที่เข้าร่วมแข่งกีฬานั้น ๆ ตั้งแต่วันคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติ ให้เข้าร่วมรายการมหกรรมกีฬาและรายการนานาชาติ รวมทั้งรุ่นอาวุโส             2.นักกีฬาจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาคนพิการแห่งชาติ หรือกีฬาอาวุโสแห่งชาติ โดยนับตั้งแต่วันที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจังหวัด             3.บุคลากรกีฬา ที่หมายถึงผู้บริหารองค์กรกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสิน ผู้ชี้ขาด ที่เคยเข้าร่วมและปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันมหกรรมกีฬา กีฬาระดับนานาชาติ และกีฬาระดับชาติ หรือกรณีอื่นที่เห็นสมควร             4.อดีตนักกีฬาทีมชาติ อดีตนักกีฬาจังหวัด และอดีตบุคลากรกีฬา             โดยการช่วยในสวัสดิการนี้ จะรวมถึงการให้เป็น ค่ายังชีพรายเดือนกรณีทุพพลภาพ …

นักกีฬาทีมชาติและตัวแทนจังหวัด อาจจะยังไม่ทราบ…เรื่องเจ็บ ป่วย มีเงินสวัสดิการจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติช่วยดูแลท่าน Read More »

ชาวกีฬาอาชีพ ฝากถึงรัฐมนตรีกีฬาคนใหม่ ที่จะเป็นผู้นำกีฬาอาชีพของไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ในการช่วยดูแล อย่างเท่าเทียม หรือ เหมาะสม

     เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเขียนถึง      โดยผู้สื่อข่าวได้รับการแจ้ง เป็นเอกสาร แสดงความคิดเห็นที่ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ‘สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล’ ซึ่งอยู่ในฐานะประธานกรรมการกีฬาอาชีพคนใหม่ โดยตำแหน่ง ในปัจจุบันนี้ โดยเนื้อหา อาจจะเป็นประโยชน์ต่ออดีตและแนวทางในการพิจารณาในอนาคต ของคณะกรรมการกีฬาอาชีพ      ซึ่งเอกสารนั้นได้สรุปถึงการให้ความสำคัญ ในการพิจารณาสนับสนุนและส่งเสริม กลุ่มกีฬาอาชีพในประเทศไทย โดยคณะกรรมการกีฬาอาชีพในแต่ละปี ซึ่งได้เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อนำมาแบ่งปันบุคลากรกีฬาที่ข้องในกีฬาอาชีพนั้น ไม่เท่าเทียมหรือไม่เหมาะสม ที่เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขในยุครัฐบาลใหม่ ในการดูแลกีฬาอาชีพในประเทศไทย      ที่ระบุว่า วงเงินงบประมาณของกีฬาอาชีพทุก ๆ ปี มักจะไปกองอยู่ที่บางกลุ่มชนิดกีฬา และบางกลุ่มที่เป็นบุคลากรกีฬาอาชีพเท่านั้น และ บางส่วนในมุมมองนั้นการเขียนโครงการที่ของบสนับสนุน ก็เขียนมีเป้าหมายที่ดี แต่เมื่อมีการดำเนินการแล้วกลับไม่เป็นไปตามที่ได้มีการระบุไว้ แต่ก็ได้รับการปล่อยไปจากกลุ่มที่มีการประเมินผลของโครงการนั้น ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ ที่มีสัดส่วนงบประมาณจากทั้งหมดที่ได้รับจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มากถึง ร้อยละ 80-90 ของงบประมาณทั้งหมด ขณะที่ เรื่องอื่น ๆ เช่นการอุดหนุนองค์กรและสโมสรกีฬาอาชีพ การพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพ เป็นวงเงินที่สัดส่วนน้อยมาก     …

ชาวกีฬาอาชีพ ฝากถึงรัฐมนตรีกีฬาคนใหม่ ที่จะเป็นผู้นำกีฬาอาชีพของไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ในการช่วยดูแล อย่างเท่าเทียม หรือ เหมาะสม Read More »

ชาวกีฬาทุกระดับควรทราบและอย่าลืม “กองทุนกีฬา” มีทุนการศึกษาให้ นักกีฬาระดับทีมชาติและจังหวัด จากระดับประถมจนถึงปริญญาเอกทุกปี

                การให้ทุนการศึกษาแก่ นักกีฬาและบุคลากรกีฬา เป็นงานที่สำคัญส่วนหนึ่งของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่ให้การสนับสนุนทุกปี จากระดับพื้นฐานจนถึงปริญญาเอกทีเดียว                 ที่ผ่านมา มีบุคลากรทางการกีฬา จากสมาคมกีฬาต่าง ๆ รู้เรื่องนี้ดี จึงมีการขอสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แต่บางสมาคมกีฬาอาจจะไม่รู้หรือไม่เข้าใจ จึงยังไม่มีการยื่นขอสิทธิที่ควรจะได้จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ นั่นคือการขอรับทุนการศึกษาของนักกีฬาและบุคลากรกีฬา ซึ่งเปิดรับมาหลายปีแล้ว และเปิดกว้างการให้การสนับสนุน                 สำหรับปีนี้ การขอรับและการพิจารณาทุนการศึกษานั้นได้ผ่านไปแล้ว มีนักกีฬาและบุคลากรกีฬาจากสมาคมกีฬาต่าง ๆ มากกว่า 300 คน ที่ได้รับการพิจารณาให้ทุน ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนระดับที่สูงสุดคือของการศึกษาคือระดับปริญญาเอกเลยทีเดียว                 และในปีการศึกษาหน้า ก็เตรียมพร้อมไว้สำหรับผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ โดยดูจากรายละเอียด ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ทุนการศึกษาแก่นักกีฬาและบุคลากรกีฬา พ.ศ.2562 และเพิ่มเติม พ.ศ.2563 มีรายละเอียดสรุปได้ถึงเรื่องนี้ดังนี้                 “ทุนการศึกษา” หมายถึง ทุนที่ให้เป็นค่าเล่าเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาสถานภาพเป็นนักศึกษา เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเห็นสมควร                 ผู้มีสิทธิยื่นเสนอขอรับทุนการศึกษาตามประกาศนี้ คือสมาคมกีฬาทั้งใช้ชื่อแห่งประเทศไทยและแห่งจังหวัด โดยนักกีฬาในสังกัด รวมทั้งบุคลากรกีฬา เช่นผู้ฝึกสอนทีมชาติ …

ชาวกีฬาทุกระดับควรทราบและอย่าลืม “กองทุนกีฬา” มีทุนการศึกษาให้ นักกีฬาระดับทีมชาติและจังหวัด จากระดับประถมจนถึงปริญญาเอกทุกปี Read More »

เงินรางวัลเอเชี่ยนพาราเกมส์…สำหรับนักกีฬาคนพิการและผู้เกี่ยวข้องว่ามีเท่าไหร่ และมีรายละเอียดอย่างไรก่อนไปเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ที่จีน

                จากที่กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้สนับสนุนการให้เงินรางวัลสำหรับนักกีฬา โค้ช และสมาคมกีฬา ในศึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่หางโจว ประเทศจีน ซึ่งทุกคนจะรับทราบไปแล้วว่า ได้เท่าไหร่อย่างไร                 แต่หลังจากงานเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 แล้วนั้น ยังมีงานต่อเนื่องที่ หางโจว จะเป็นเจ้าภาพกีฬารายการเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม 2566 นี้ ซึ่งจะมีทัพนักกีฬาคนพิการของไทย ส่งไปลุยร่วมการแข่งขันเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา                 สำหรับเรื่องของเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่จะเตรียมไว้รอให้นักกีฬา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ สมาคมที่ดูแลนักกีฬาคนพิการ มีรายละเอียดขั้นต้นคือ ผู้ที่ได้เหรียญทอง จะได้ 1,000,000 บาท เหรียญเงิน 500,000 บาท เหรียญทองแดง 250,000 บาท                 และยังมีรายละเอียดต่อมาที่ต้องเข้าใจคือ                 ตามประกาศของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ปี 2565 นั้น ระบุเรื่องการคำนวณเงินรางวัลให้แก่นักกีฬาคนพิการให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (ที่จะไปเกี่ยวข้องกับการกำหนดรางวัลในแต่ละเหรียญรางวัลข้างต้น) …

เงินรางวัลเอเชี่ยนพาราเกมส์…สำหรับนักกีฬาคนพิการและผู้เกี่ยวข้องว่ามีเท่าไหร่ และมีรายละเอียดอย่างไรก่อนไปเอเชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ที่จีน Read More »

เปิดความจริง เรื่องเงินกองทุนพัฒนากีฬา มาจากไหน ใครให้มา และมีวัตถุประสงค์การจ่ายงบให้ใคร อย่างไร!

            จากที่ทราบกันว่า เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ หรือ กองทุนกีฬา นั้นถือเป็น “ท่อน้ำเลี้ยงใหญ่” ของวงการกีฬาประเทศไทย             แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดว่า เงินกองทุนกีฬานี้มาจากไหน มาจากแหล่งรายได้ใดในแต่ละปี เพื่อนำมาใช้จ่ายในวงการกีฬา ที่นี่มีคำตอบ…             กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีแหล่งรายได้หลักจากเงินที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีสุราและยาสูบ ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2558 ตามกระบวนการที่ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดเก็บ การส่งเงิน การยกเว้น และการขอคืนเงินบำรุงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ สำหรับสุราและยาสูบ พ.ศ.2558 กำหนด             นั่นคือแหล่งที่มาของเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติในแต่ละปี             ส่วนเรื่อง กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่อย่างไรนั้น มาดูกันต่อ             โดยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้เงินกองทุนฯ สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อกิจการต่าง ๆ ได้ดังนี้             …

เปิดความจริง เรื่องเงินกองทุนพัฒนากีฬา มาจากไหน ใครให้มา และมีวัตถุประสงค์การจ่ายงบให้ใคร อย่างไร! Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!