สถานีความคิด

“เงินกองทุนกีฬา” เมื่อเจอเหตุต่าง ๆ ทั้งมั่วนิ่ม ทั้งเจตนาโกย-กวาด ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างปัจจุบัน ถึงจะมีปีละ “แสนล้าน” ก็ไม่พอและยังจะมีปัญหา!

     เรื่องของดาราดัง ออก Social เรื่องของการไม่ได้รับการสนับสนุนเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่เป็นกระแสและสุดท้ายจะลงเอยอย่างไรก็ว่ากันไปตามที่จะสรุปกันในข้อเท็จจริง      แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะที่ผ่านมา มีข่าวมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่มีมากจากหลาย ๆ มุม ที่ดูเหมือนจะมีปัญหาต่อการได้ “เงินกองทุน”      ย้อนกลับไปลองวิเคราะห์ปัญหาความไม่เข้าใจเหล่านี้ จะพบว่ามาจาก 1.ความไม่เข้าใจของสมาคมกีฬา ทั้งที่กองทุนและ กกท.นั้นได้จัดสัมนาซักซ้อมความเข้าใจในระเบียบการให้รางวัลให้กับทุกสมาคมมาตลอด แต่การถ่ายทอดบอกต่อกันอาจจะไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับทีมงาน และปัญหาที่ 2. เกิดจากการเจตนา “มั่วนิ่ม” ของผู้เกี่ยวข้องเพื่อการได้เงิน      เรื่องเจตนามั่วนิ่มนี่สำคัญ      โดยการมั่วมีกรณีตัวอย่าง จากบางสมาคมกีฬาซึ่งที่ผ่านมามีทั้งเรื่องของการอุปโลกน์ หรือการปิดบังข้อมูลที่ถูกต้องจากที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่ง ในเรื่องจำนวนชาติที่ร่วมแข่งขัน หรือแม้แต่การเข้าร่วมแข่งประเภทการแข่งขันที่ไม่ได้มาตรฐานสากล รายการไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้ แต่ก็เหมารวมเหมือนแจ้งเท็จหรือพูดไม่หมด เพื่อขอรับเงินรางวัล      รวมทั้งการเหมารวมรายการระดับแข่งขันเล็กๆ หรือแบบเก็บคะแนน ที่มีมากมายในระดับทวีป หรือระดับโลก เป็นรายการสำคัญที่อ้างอิงการขอรับการสนับสนุนรางวัลทั้งหมดโดยอาศัยแค่ชื่อรายการแข่งแต่ไม่เอ่ยรายละเอียดเนื้อใน      แม้แต่บางประเภทที่แข่งในรายการแข่งที่สำคัญจริง แต่ประเภทที่แข่งขันนั้น …

“เงินกองทุนกีฬา” เมื่อเจอเหตุต่าง ๆ ทั้งมั่วนิ่ม ทั้งเจตนาโกย-กวาด ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างปัจจุบัน ถึงจะมีปีละ “แสนล้าน” ก็ไม่พอและยังจะมีปัญหา! Read More »

ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬากับประเด็นสังคม             การประชุมสภาโอลิมปิกหัวเรื่องจิตวิทยาการกีฬาและสรีรวิทยาการกีฬาใน ค.ศ.1913 ที่เมืองโลซานน์ได้รับการวิพากษ์อย่างหนักจากหนังสือพิมพ์สวิสสังคมนิยมซ้ายจัด คูเบอร์แต็งรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อการเน้นความสำคัญด้านสังคมของการกีฬา ท่านได้ย้ำถึงความเสมอภาคของนักกีฬาทั้งปวงในสนามกีฬา แนวคิดสองประการหลักต่อทุกรายการกีฬาคือ การช่วยเหลือกันและการแข่งขัน โดยคูเบอร์แต็งกล่าวอ้างว่า แนวคิดข้างต้นต่างล้วนเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทั้งนี้ ประเด็นสังคมในการกีฬาคือองค์ประกอบของความบากบั่นทุกประการของมนุษย์ต่อความยุติธรรม โดยปราศจากการกล่าวถึงตนเองในฐานะผู้แต่ง คูเบอร์แต็งประพันธ์บทกลอนเยอรมัน “Ode to Sport” ซึ่งทำให้ท่านได้รับเหรียญทองโอลิมปิกของรายการแข่งขันวรรณกรรมที่กรุงสต็อกโฮล์ม ค.ศ.1912             ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแก่การประชุมสภาโลซานน์ภายในเอกสารปฏิวัติสังคมนิยมสวิสคงจะไม่เป็นที่น่าใส่ใจหากไม่เป็นเพราะว่า ในช่วงเวลานั้น เกิดความพยายามในการจัดตั้งกลุ่มนักกีฬาสังคมนิยมเช่นกัน สหสัมพันธ์ข้างต้นเชื่อมโยงกระแสนิยมสองประการในเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทที่การกีฬาสามารถมีต่อสังคมในยุคพวกเรา โดยบทบาทนี้ควรได้รับการพิจารณาแต่เป็นที่ชัดเจนในด้านสันติสุขซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม ความรุ่งเรืองของการกีฬาจึงเป็นที่สนใจของนักสังคมนิยมบางคนแต่ก็สร้างความขุ่นเคืองแก่คนอื่นในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการกีฬาเป็นคับข้องแก่ผู้สนับสนุนสงครามชนชั้นและดึงความเห็นใจของผู้คนที่วาดหวังแก่หนทางที่อ่อนโยนกว่าในการนำพาการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาปรารถนาแก่องค์กรต่างๆของสังคม             การเล่นกีฬาไม่ได้ขจัดความไม่เสมอภาคทางสังคมแต่ช่วยสร้างสัมพันธภาพอย่างเท่าเทียมกัน ในการนี้ รูปแบบมีความสำคัญกว่าสาระ ในที่สุดแล้ว ใครจะกล้าประกันได้ว่า ความเสมอภาคจะนำมาซึ่งสังคมสันติสุข? ไม่มีสิ่งใดจะไม่แน่นอนไปกว่านี้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างแตกต่างในด้านความเสมอภาคของสัมพันธภาพซึ่งกล่าวโดยง่ายว่า ลักษณะสัมพันธภาพนี้เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์สุดของความเสมอภาคต่อการนำไปปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างของอเมริกาซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินกว่าจะหาข้อสรุปทางสังคมที่ชัดเจนได้นำเสนอข้อพิสูจน์ที่น่าสนใจในสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวสนับสนุนในที่นี้ โดยมีบางประเทศที่มีความไม่เสมอภาคมากแต่เกิดสัมพันธภาพเอื้อเฟื้อต่อกันซึ่งทำให้สังคมสันติสุขดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรมกว่าที่อื่นมาก             ไม่แปลกที่หลักความเสมอภาคจะเกิดง่ายขึ้นในประเทศใหม่นั้น ไม่ได้ปรากฏและคงอยู่ด้วยตัวเองในแห่งหนใดยกเว้นสนามกีฬา โดยประการแรกด้วยการบังคับอย่างแท้จริงบนเครื่องแต่งกาย เครื่องแบบกีฬาไม่เคยจะสลับซับซ้อนแต่กลับเรียบง่ายขึ้นทุกวันเนื่องเพราะพฤติกรรมแพร่หลายของการออกกำลังกายในสภาพเปลือย ในไม่ช้าความสง่างามของเครื่องแต่งกายจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญเว้นแต่จะเกี่ยวข้องกับรูปทรงร่างกายและคุณภาพเนื้อผ้า ความโดดเด่นทางสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องประการใดกับความไม่เสมอภาคของสิ่งเหล่านี้ จากเสื้อผ้ามาสู่การกระทำ ใครจะเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุด เร็วที่สุด ทรหดอดทนที่สุด? ยามนี้คือช่วงเวลาเหมาะสมที่จะกล่าวซ้ำถึงงานเขียนของผู้แต่ง Ode to …

ตอนที่ 33 : การกีฬากับประเด็นสังคม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

หลังเพื่อไทยได้ตำแหน่งรัฐมนตรีกีฬา ตอนนี้ต้องลุ้นต่ออีกสเต็ปว่าอีก 2 ตำแหน่งสำคัญคือประธานบอร์ด กกท.และ กองทุน จะได้มาแบบเบ็ดเสร็จหรือไม่…น่าติดตาม

                ที่นี่ Station THAI เคยแสดงความคิดเห็นเรื่องราวของรัฐบาลใหม่ ที่จะมาดูแลกีฬาตั้งแต่หลังจบการเลือกตั้งหมาด ๆ ซึ่งพรรค“เพื่อไทย” มีแนวโน้มอยู่ในฝั่งเป็นรัฐบาล โดยวันนั้นระบุอย่างชัดเจนว่า “เพื่อไทย” มาคุมกีฬาแน่นอน เพราะมีหลาย ๆ อย่างที่เข้าล็อค ที่เล็งของพรรคนี้                 ลองติดตามข้อคิดเห็นเดิม ในวันนั้น ที่นี่ https://www.station-thai.com/idea/28251/                 จากวันนั้นถึงวันนี้คงจะเห็นภาพการเคลื่อนไหวในการต่อรอง ไม่ว่าจะหมุนการเลือกแบ่งกระทรวงซักกี่รอบจากพรรคร่วมรัฐบาล ท้ายที่สุดเรื่องที่เคยคิดไว้ก็เป็นจริง คือ พรรคเพื่อไทย  ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จริง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากการต่อรองใดๆก็ตาม)                 แต่จริง ๆ เรื่องการที่ใคร พรรคใด ได้มาเป็น “รัฐมนตรีกีฬา” แม้จะเป็นจุดน่ามองสำหรับคนในวงการกีฬามากก็ตาม แต่ก็คงไม่เท่ากับการมองอีกชั้น คือ การที่ฝ่ายบริหารรัฐที่นำโดย ท่าน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนี้ จะมอบรองนายกรัฐมนตรี คนใดมาเป็นประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย และ ประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพราะในส่วนนี้คือส่วนของหัวขบวนการขับเคลื่อนทุกอย่างในวงการกีฬาอย่างแท้จริง                 ที่คาดไว้ตอนนี้คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คงไม่มานั่ง …

หลังเพื่อไทยได้ตำแหน่งรัฐมนตรีกีฬา ตอนนี้ต้องลุ้นต่ออีกสเต็ปว่าอีก 2 ตำแหน่งสำคัญคือประธานบอร์ด กกท.และ กองทุน จะได้มาแบบเบ็ดเสร็จหรือไม่…น่าติดตาม Read More »

ตอนที่ 32 : จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า             คูเบอร์แต็งเขียนในสักแห่งว่า การกีฬาสมัยใหม่มุ่งพ้นขีดจำกัด ซึ่งต้องการคำขวัญเพื่ออธิบายความเพียรพยายามทางกายของนักกีฬาและการหล่อหลอมคุณลักษณะตนเอง โดยท่านกล่าวว่า คติพจน์ละตินที่แซ่ซ้องกันมากกว่าของนักเขียน ยูเวนัล “จิตใจบริสุทธิ์ในร่างกายผุดผ่อง” ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับการกีฬาสมัยใหม่เนื่องเพราะครอบคลุมเฉพาะด้านสุขอนามัยของการกีฬาและถูกบรรจุไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โบราณเท่านั้น วลี “จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า” ที่แต่งโดยนักภาษาละตินคือ เมอร์เล็ต ตอบสนองอย่างสมบูรณ์ต่อความเข้าใจในการกีฬาของคูเบอร์แต็ง             สิ่งทั้งปวงย่อมล่วงไป การปฏิวัติไม่เพียงล้มล้างรัฐบาลแต่รวมถึงระบบด้วยเช่นกัน คำเก่าแก่คร่ำครึ “จิตใจบริสุทธิ์” เป็นได้แต่เพียงหัวข้อสนทนาระหว่างนักกวีที่ถูกลดชั้นสู่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โบราณ ไม่มีใครจะกล้าพูดถึงคำนี้เมื่อมอบรางวัลหรือแสวงหากรอบปัญญาญาณที่ยั่งยืนของห้าคำข้างต้น คำใหม่จะทดแทนคำโบราณ ยุคเข้มแข็งของพวกเราตระหนักทันใดว่า คำโบราณนั้นสนับสนุนใบสั่งแพทย์สำหรับสิ่งที่แค่ยอมรับได้และความเฉื่อยชา เพื่อให้สุขภาพดี แล้วอย่างไรละ! ท่านจะครอบครองโลกด้วยคุณลักษณะที่แย่ กระนั้นหรือ? แต่ขอให้พวกเราแยกแยะสองสามประการ สุขภาพกายยังไม่เป็นกฎทั่วไป               นอกจากนี้ สุขภาพจิตก็ยังหาได้ยากหรือน้อยกว่ามาก การปรารถนาความดีสองประการนี้แก่เพื่อนบ้านนั้น ไม่ใช่เพียงการแสดงความหวังที่ฟุ้งเฟ้อ โดยจะเป็นประโยชน์มากในการเรียกร้องความพยายามส่วนตัวให้บรรลุ (ในระดับที่เป็นไปได้) “จิตปรกติ” ที่ประเมินค่ามิได้ซึ่งเป็นที่มาของดุลยภาพและความสบายหรือที่เราอาจเรียกว่า ความสุข อย่างไรก็ตาม อุดมคตินี้ยังคงเป็นเชิงการแพทย์มากกว่าที่จะปรับใช้ต่อความทะเยอทะยานของนักกีฬา คำกล่าว “จิตใจบริสุทธิ์ในร่างกายผุดผ่อง” นั้นดีเยี่ยมด้านสุขอนามัยแต่ไม่เหมาะกับการกีฬาซึ่งสร้างความเดือนร้อนใจแก่ มร.คูเบอร์แต็ง ขนาดบางสิ่งเป็นการกีฬาโดยแท้แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเขา คูเบอร์แต็งต้องการบางสิ่งที่เป็นโอลิมปิก …

ตอนที่ 32 : จิตใจหนักแน่นในร่างกายแกร่งกล้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

บาทหลวงดิดอง             บทความชิ้นนี้คือคำอุทิศแก่มิตรสหายคราวบิดาของคูเบอร์แต็งคือ อองรี ดิดอง นักบวชเชื้อสายโดมินิกัน ซึ่งได้จากไปในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1900 ซึ่งทราบกันดีว่า คำขวัญโอลิมปิก “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า” มาจากท่านนี้และในระหว่างการเยือนของคูเบอร์แต็ง ท่านได้สร้างความประทับใจแก่นักเรียนตนเองด้วยคำขวัญข้างต้นในพิธีเปิดเทศกาลกีฬาโรงเรียนในอะครูอิลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1891 ซึ่งคูเบอร์แต็งได้ใช้เป็นคำขวัญโอลิมปิกใน ค.ศ.1894 อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เป็นการแสดงความชื่นชมต่อผลสัมฤทธิ์รอบด้านของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในฐานะพระนักเทศน์ ครูผู้สอนและพลเมืองฝรั่งเศสที่น่านับถือ คูเบอร์แต็งชื่มชมจิตวิญญาณเสรีและความเห็นเชิงวิพากษ์ของบาทหลวงดิดองภายในกรอบศาสนจักรฝรั่งเศส             คล้อยหลังจากการก่อตั้งอนุสาวรีย์ของพระคาดินัลลาวิจ์รีย์ ซึ่งเป็นนักชาตินิยมและผู้นำอารยธรรมที่เข้มแข็งบนชายฝั่งแอฟริกาไม่นาน ความพลัดพรากได้มาเยือนเร็วเกินไปแก่พระนักบวชที่เสมือนเป็นลาวิจ์รีย์ของการศึกษาในฝรั่งเศส             ไม่ว่าใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบาทหลวงดิดอง จะได้สัมผัสถึงดวงวิญญาณของท่านที่สิงสถิตย์อยู่เบื้องหน้าบนยอดภูเขาเสมอ ซึ่งเพ่งมองอนาคตและพินิจพิจารณาด้วยสายตาเรียบง่ายตลอดเวลา แรงปรารถนาประการแรกของท่านคือความบากบั่นโดยท่านค้นหาแม้กระทั่งในตัวนักเรียน ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้าในวันหนึ่งว่า “เป็นเรื่องตลกที่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นอัมพฤกษ์เมื่อกลุ่มนักเรียนไม่มีการต่อต้านแก่ข้าพเจ้า จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าลงมือกระทำเกินกว่าเหตุในบางครั้ง เพื่อบังคับให้พวกเขาก่อการปฏิรูป”             แรงปรารถนาประการต่อมาคือ การทำงาน และประการสุดท้ายคือ สมัยใหม่นิยม ข้าพเจ้าจำได้ถึงสุนทรพจน์ที่ท่านได้กล่าวในพิธีมอบรางวัลต่อหน้านักเรียนที่ตั้งใจฟังและพ่อแม่ที่กังวลใจ ด้วยความหาญกล้าไม่มีใครเปรียบ บาทหลวงดิดอง ประเดิมการจู่โจมซึ่งหน้าต่อสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่งในขณะนั้น กล่าวคือ การต่อต้านชาวยิว โดยใช้คำเรียกที่เปิดเผยว่า ความขี้เกียจ ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่สังคมไร้จิตวิญญาณที่พร่ำบ่นถึงการถูกครอบงำและควบคุมจากกลุ่มคนยิว             …

ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน             ในช่วงนั้น เทคโนโลยีที่แพร่หลายไปทั่วด้วยประโยชน์เชิงประสิทธิผลซึ่งปรากฏขึ้นในสังคมที่กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์นั้น โดยแม้จะเคยนำไปสู่การปฏิรูป แต่กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การเพิกเฉยต่อองค์ประกอบด้านมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ              เชาวน์ปัญญาและความกล้าหาญคือสิ่งจำเป็นต่อการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งคุณค่าสูงสุดของมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลโดยเฉพาะชนชั้นสังคมในขณะนั้น             ถึงเวลาต่อการเรียกร้องด้านจริยศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่จะส่งเสริมให้แต่ละบุคคลเข้าถึงศักยภาพเต็มเปี่ยมของตนเองอย่างอิสระในความหมายที่แท้จริง ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็งได้เกิดความเข้าใจในสิ่งนี้ครั้นเริ่มต้นความพยายามด้านการศึกษาตั้งแต่ ค.ศ.1890 โดยพัฒนาแผนงานและเริ่มมองหาพันธมิตร               ณ ทอย์นบีฮอลล์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาเอกชนไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้แรงงานในย่านยากจนข้นแค้นของไวท์ชาเพิลในกรุงลอนดอน คูเบอร์แต็งได้สังเกตถึงการกระทำเพื่อพัฒนาอนาคตของผู้มีชะตาชีวิตน่าเศร้าบนความขมขื่นและหดหู่โดยปราศจากความหวัง โดยแม้นักเรียนจะขัดสนด้านวัสดุสิ่งของ จริยธรรมและกายภาพ แต่ก็สามารถจัดการศึกษาด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการอุทิศตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอาสาสมัครซึ่งทำให้ค้นพบถึงความเป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมของผู้ใช้แรงงานแต่ละคนและการทำให้ความเป็นมนุษย์นั้นเกิดมรรคผลด้วยการปลุกจิตวิญญาณสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเรียนรู้และวัฒนธรรมทางกายจึงจะสามารถบรรลุผลอย่างไม่ลำบากโดยไม่ต้องการสิ่งใดเว้นแต่การเค้นความแข็งแกร่งจากความหาญกล้าเท่านั้น ด้วยการแสดงออกอย่างอิสระ แต่ละบุคคลกลับมาเป็นเจ้าของตนเองอีกครั้งหนึ่งและกาลปัจจุบันได้กลายเป็นคำสัญญาแห่งอนาคต ผลสำเร็จเหล่านี้ยืนยันสิ่งที่คูเบอร์แต็งเชื่อว่า เมืองที่ควรคู่กับชื่อเสียงเรียงนามนั้น เหนือสิ่งอื่นใด จะต้องเป็นชุมชนของพลเมืองอิสระที่ปฏิบัติตนตามจริยธรรมขั้นสูง นักมนุษยนิยมต้องไม่แยกบุคคลออกจากสังคม              คูเบอร์แต็งทุ่มเทตลอดชีวิตทำงานด้วยแรงปรารถนาต่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมวลชนที่จะสามารถเกื้อหนุนความเจริญก้าวหน้าของปัจเจกชนทุกคน             เพื่อนทั้งหลายของข้าพเจ้าดูประหลาดใจว่า ตั้งแต่ที่ข้าพเจ้ามีชัยเหนือการศึกโอลิมปิกในวงกว้างกว่าที่พวกเขาทำนายไว้เป็นการทั่วไปนั้น ข้าพเจ้าไม่ยอมหยุดที่จะอิ่มอกอิ่มใจในการเก็บเกี่ยวผลงานที่ปรากฎ พวกเขากลับประหลาดใจที่ข้าพเจ้าพาตนเองเข้าสู่การศึกอีกแห่งที่มีสนามรบไม่ชัดเจนพร้อมด้วยเหล่าทหารจำนวนน้อยและรุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติสังคมที่วุ่นวายซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา             แผนงานของข้าพเจ้าไม่ได้เกิดจากความเร่งรีบหรือบุ่มบ่ามทั้งสิ้น …

ตอนที่ 30 : ระหว่างการศึกสองครา จากอุดมการณ์โอลิมปิกถึงมหาวิทยาลัยมวลชน : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 29 : จุดกำเนิดและขีดจำกัด ความก้าวหน้าของการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จุดกำเนิดและขีดจำกัดความก้าวหน้าของการกีฬา             เดือนมิถุนายน ค.ศ.1936 ก่อนโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงเบอร์ลินนั้น บทความทั้งสี่ตอนนี้ได้ปรากฎในหนังสือพิมพ์เบอร์ลิน (BZ am Mittag) อีกสองปีต่อมาภายหลังการจากไปของคูเบอร์แต็ง ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโอลิมปิกรีวิว ซึ่งบทความนี้เป็นเสมือนมรดกการกีฬาที่คูเบอร์แต็งได้สรุปเน้นย้ำความเห็นหลายประการด้านการกีฬาสมัยใหม่ของตนเอง คูเบอร์แต็งแยกแยะการพัฒนาระหว่างร่างกายมนุษย์ คุณลักษณะเชาวน์ปัญญาและมิติจิตวิทยา และเงื่อนไขการเล่นกีฬาแต่ละชนิด โดยเปรียบเทียบความเพียรพยายามเหล่านี้กับแนวคิดอรรถประโยชน์ยิมนาสติก (Utilitarian Gymnastics) ที่ตนเองได้นำเสนอเป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1902 ประเด็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในตอนที่สามของบทความนี้ คูเบอร์แต็งพิจารณาอิทธิพลของผู้ชมกีฬาซึ่งเป็นส่วนทำให้จิตวิทยาการกีฬามีบทบาท และในตอนที่สี่ ท่านตอบคำถามว่าจะมีขีดจำกัดของการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาหรือไม่ ในเรื่องนี้ ท่านเล็งเห็นความแตกต่างระหว่างการพัฒนาส่วนบุคคล และส่วนรวมซึ่งนำไปสู่ข้อสงสัยว่า ส่วนบุคคลหรือสายพันธุ์มีบทบาทสำคัญมากกว่ากัน ดังที่ปรากฎในโบราณกาล การกีฬาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความเจริญก้าวหน้าใน ค.ศ.1936 ตอนที่หนึ่ง             ความก้าวหน้าของการกีฬาในวัยรุ่นและหนุ่มสาวอาจมาจากสามแหล่งที่มา ที่แรกคือกล้ามเนื้อของร่างกายที่สามารถถูกพัฒนาขึ้นได้ แท้จริงแล้ว ร่างกายสามารถพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญให้แข็งแกร่ง ยืดหยุ่น ทรหดขึ้น มีทักษะรวมทั้งดุลยภาพสูงขึ้นได้ ผลลัพธ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านความเพียรพยายามในการออกกำลังกายและการฝึกซ้อมที่ถูกต้องอย่างดี โดยเฉพาะภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จนี้             อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะเชาวน์ปัญญามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาร่างกายมนุษย์เพื่อเป้าประสงค์ความสำเร็จทางการกีฬาเช่นกัน ต้องไม่ลืมว่า รอบปีโอลิมปิกสมัยใหม่เกิดขึ้นจากการวิ่งมาราธอนที่สำเร็จของคนยากไร้ แม้ว่าเขาจะมีความแข็งแกร่งโดยธรรมชาติ แต่ก็ไม่มีการเตรียมพร้อมด้านวิทยาศาสตร์แต่ประการใด   ยิ่งกว่านั้น เขากลับเตรียมตัวด้วยการอดอาหารและสวดมนต์ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเองนับถือ ข้าพเจ้าขอกล่าวเสริมว่า นับจากนั้นในทุกโอลิมปิกเกมส์ ข้าพเจ้าพบอยู่เสมอถึงความหนักแน่นของเจตจำนงและความสงบนิ่งที่ …

ตอนที่ 29 : จุดกำเนิดและขีดจำกัด ความก้าวหน้าของการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 28 : การใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาเพื่อการศึกษา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาเพื่อการศึกษา             องค์กรการสอนกีฬานานาชาติได้เริ่มงานการประชุมและตามด้วยการจัดเลี้ยง ณ เดอะพาเลซ ในเดือนพฤศจิกายน 1928 ซึ่งอยู่ภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยโลซานน์ภายใต้การอุปถัมภ์ของเมืองโลซานน์ คูเบอร์แต็งซึ่งยินยอมรับตำแหน่งผู้นำองค์กรนี้ ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาทางการศึกษาเพื่อเป็นเกียรติแก่วาระโอกาสนี้ ส่วนใหญ่ของสุนทรพจน์นี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำไว้ที่นี่ซึ่งถือเสมือนเป็นคำแถลงการณ์อย่างแท้จริง             ตามรายงานของนิตยสารสปอร์ตสวิส คูเบอร์แต็งเริ่มต้นด้วยการอารัมภบทเชิญชวนโดยเปรียบเทียบสไตล์พ่อหัวร้อนของปิแอเรฟูชองกับภาพลักษณ์สง่างามของแจ็ก เปย์โรนิ และบรรยายกัปตันฟุตบอลรุ่นเยาว์คือ มองเตลองต์ ซึ่ง “อายุสิบสี่รูปร่างป้อมที่มีอำนาจความเป็นผู้นำทีม เน้นสุขอนามัยกีฬา เป็นนักเรียนขยัน สุขภาพดี ธรรมดาสามัญ แต่น่ากวนใจในความถือตัวที่ซ่อนไว้” จากนั้น ท่านกล่าวถึงขอบเขตจำกัดที่เห็นว่ายังมีโอกาสในการปรับปรุงสถานการณ์ได้ ภายหลังการขีดวงปัญหาในเชิงภูมิศาสตร์ คูเบอร์แต็งกล่าวว่า “พวกเราต้องหมายถึงนักยิมนาสติก นักฟันดาบ นักว่ายน้ำและนักพายเรือนอกเหนือจากกลุ่มคนที่มนุษย์หัวร้อนเหยียดหยามหรือไม่? แต่ละบุคคลนี้ทุจริตหรือไม่? เมื่อให้การยกเว้นแก่บุคคลที่ถูกต้อง โดยหากที่เหลือมีแต่นักฟุตบอลและนักเทนนิสหรือนักกรีฑา ท่านต้องยอมรับถึงการขีดวงแคบแก่สนามกีฬาในรายใดก็ตาม” บุคคลเหล่านี้จะมีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด? มีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อทำลายพวกเขาซึ่งเริ่มต้นจากจำนวนเพิ่มขึ้นของสนามกีฬา ใช่หรือไม่?             บทความต่อไปนี้ผสมผสานสุนทรพจน์ของคูเบอร์แต็งพร้อมความเห็นของนักเขียนนิตยสาร              สนามกีฬาจำนวนมากเกินควร              “สนามกีฬาถูกสร้างขึ้นอย่างไม่รอบคอบในทุกหนแห่ง ความใคร่รู้เหล่านี้มีมากพอให้ปรากฎผ่านการตีพิมพ์ถึงเก้าครั้งในวารสารเดอะรีวิวโอลิมปิกรายเดือนซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ โดยจะพบการเตือนไม่ให้การกีฬาเป็นการแสดงโชว์และผลที่เกิดขึ้นจากการใช้แนวทางการเขียนบทความเมื่อสิบแปด ยี่สิบและยี่สิบสองปีก่อน ในขณะที่ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า เมื่อที่นั่งสำหรับผู้ชมจำนวนสี่หมื่นคนได้ถูกสร้างขึ้น ท่านจะต้องจัดคนให้เต็มและหมายถึงการดึงดูดฝูงชน …

ตอนที่ 28 : การใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาเพื่อการศึกษา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 27 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ยี่สิบ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ยี่สิบ: เหตุผลที่พลเมืองโลซานน์ควรพายเรือ             เมื่อไดัรับการสอบถามใน ค.ศ.1912 ว่า กีฬาชนิดใดเป็นกีฬาในอุดมคติ คูเบอร์แต็งตัดสินใจเลือก เรือพาย โดยท่านรัก และฝึกพายเรือ แม้อายุมากขึ้น และยังได้ตีพิมพ์บทความจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ จดหมายโอลิมปิกฉบับนี้กล่าวถึงพลเมืองโลซานน์และเยาวชนที่อาศัยในเขตคองตองเดวูด์ ซึ่งท่านกระตุ้นพวกเขาให้ใช้สภาพที่ดีเลิศ ซึ่งเหมาะยิ่งต่อการพายเรือของทะเลสาบเจนีวา              ผู้อ่านที่รัก หุ่นกระบอกนิยมหมุนสามรอบก่อนจะหายตัวไป ข้าพเจ้าขออนุญาตทำสิ่งตรงข้ามและ “หมุนรอบใหญ่และหันกลับมา” อุดมการณ์โอลิมปิกไม่ได้ลาจากท่านเป็นครั้งสุดท้าย แต่จะหลีกหายไปอยู่หลายเดือน พวกเราจะพบกันใหม่อีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงตามเจตนารมณ์ของพระเจ้า และในวันนี้ที่ความหวานชื่นของปีได้มาถึง คือโอกาสของท่านที่จะกระทำตามคำแนะนำของข้าพเจ้า ซึ่งไม่เพียงแก่ร่างกายของลูกท่าน และของท่านด้วย ท่านมีวันแดดออกรออยู่ข้างหน้าและสายน้ำเหยียดยาวไร้คู่เปรียบ จงใช้ประโยชน์ต่อสิ่งเหล่านี้ ขอให้จดจำไปพร้อมกับการชกมวยว่า การพายเรือคือกีฬายอดเยี่ยมที่สุดในการดำรงอยู่และการไม่ใช้ประโยชน์จากทะเลสาบที่งดงาม ถือเป็นอาชญากรรมสำหรับชาวเมืองโลซานน์ ขบวนเรืออูชี่ไม่เลวร้าย ซึ่งห่างไกลจากความจริงมาก และหากท่านกระตุ้นให้มากขึ้นก็จะพัฒนาขึ้นมาก มีเรือแคนูที่สมดุลย์บางลำที่ท่านจะสามารถร่างแบบเครื่องกลที่ปรารถนาได้ ขออย่าประหลาดใจกับภาษานี้ ลำเรือ ฝีพาย และไม้พายประกอบกันเป็นเครื่องจักรกลโดยความสมบูรณ์ และความรื่นรมย์ของการเคลื่อนที่ จะขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ จะเป็นความรื่นรมย์ของฝีพายในการรู้สึกว่าตนเอง คือเครื่องจักรกลแห่งความคิดที่จะรับรู้ในแต่ละจ้วงพายถึงความแข็งแกร่ง ที่ก่อขึ้นภายในกาย ขยายวงและกระจายตัวไปรอบ จังหวะคล้ายดนตรีและการเกิดขึ้นในศูนย์กลางธรรมชาติระหว่างอากาศ และน้ำ …

ตอนที่ 27 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ยี่สิบ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 26 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเก้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเก้า: ความรื่นรมย์ทางกีฬา             จดหมายฉบับนี้ คูเบอร์แต็งกล่าวถึงการอภิปรายเกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬาที่สภาโอลิมปิก 1913 ในเมืองโลซานน์ โดยจะต้องจับคู่ “ความรื่นรมย์ทางกีฬา” กับสัญชาติญาณกีฬาซึ่งท่านอธิบายไว้ในหนังสือตนเองคือ La gymnastique utilitaire (Useful lifetime sports) เท่านั้น จึงจะทำให้การกีฬารักษาคุณลักษณะของตนเองไว้ได้             ในหลายวันนี้ บางท่านอาจประหลาดใจที่ข้าพเจ้าได้กล่าวในสองครั้งเกี่ยวกับคุณลักษณะความน่าปรารถนาของสัญชาติญาณกีฬา แต่ก็เป็นคำที่ถูกต้อง การออกกำลังกายจะไม่ใช่การกีฬาหากไร้ซึ่งความน่าปรารถนา อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านลองทำให้สักคนที่ไม่เคยประสบถึงความเข้มข้นของความสุขทางกายให้เกิดความเข้าใจในสิ่งนี้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีประสบการณ์ต่อสิ่งนี้ด้วยเช่นกัน หลายคนที่เกือบพลาดโอกาสเริ่มต้นในเวลาอันควร แต่อีกหลายคนยังคงต่อต้านความเบิกบานนั้น ประเด็นของ “ความรื่นรมย์ทางกีฬา” ได้รับการอภิปรายก่อนหน้าที่สภาโอลิมปิก 1913 ในเมืองโลซานน์  ข้าพเจ้าจำถึงสิ่งหนึ่ง ที่ครูยิมนาสติกฝรั่งเศสที่มีการศึกษา และชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึ่งคือ พอล คริสต์มานน์ ได้นำการเน้นย้ำความเชื่อจากประสบการณ์ยาวนาน ต่อแนวคิดที่พวกเราทั้งหลายต่างสนับสนุนโดยท่านกล่าวว่า “ร่างกายจำเป็นต้องมียาขนานหนึ่งของความรื่นรมย์และความรื่นรมย์ไม่ใช่สุขภาวะ แต่เป็นความรื่นรมย์ทางกายที่เข้มข้น ในวันนี้ การกีฬามอบความรื่นรมย์ เช่น ความรื่นรมย์ทางกายที่เข้มข้น สิ่งนี้คือเหตุผลที่เด็กหนุ่มเมื่อให้เลือกระหว่างความรื่นรมย์ที่จะทำให้ตนตกต่ำลงกับความรื่นรมย์ที่จะยกตนให้สูงขึ้น จะชื่นชอบความรื่นรมย์อย่างหลังมากกว่าอย่างแรก ดังนั้น …

ตอนที่ 26 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเก้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!