ตอนที่ 31 : บาทหลวงดิดอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว
บาทหลวงดิดอง บทความชิ้นนี้คือคำอุทิศแก่มิตรสหายคราวบิดาของคูเบอร์แต็งคือ อองรี ดิดอง นักบวชเชื้อสายโดมินิกัน ซึ่งได้จากไปในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1900 ซึ่งทราบกันดีว่า คำขวัญโอลิมปิก “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า” มาจากท่านนี้และในระหว่างการเยือนของคูเบอร์แต็ง ท่านได้สร้างความประทับใจแก่นักเรียนตนเองด้วยคำขวัญข้างต้นในพิธีเปิดเทศกาลกีฬาโรงเรียนในอะครูอิลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1891 ซึ่งคูเบอร์แต็งได้ใช้เป็นคำขวัญโอลิมปิกใน ค.ศ.1894 อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เป็นการแสดงความชื่นชมต่อผลสัมฤทธิ์รอบด้านของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในฐานะพระนักเทศน์ ครูผู้สอนและพลเมืองฝรั่งเศสที่น่านับถือ คูเบอร์แต็งชื่มชมจิตวิญญาณเสรีและความเห็นเชิงวิพากษ์ของบาทหลวงดิดองภายในกรอบศาสนจักรฝรั่งเศส คล้อยหลังจากการก่อตั้งอนุสาวรีย์ของพระคาดินัลลาวิจ์รีย์ ซึ่งเป็นนักชาตินิยมและผู้นำอารยธรรมที่เข้มแข็งบนชายฝั่งแอฟริกาไม่นาน ความพลัดพรากได้มาเยือนเร็วเกินไปแก่พระนักบวชที่เสมือนเป็นลาวิจ์รีย์ของการศึกษาในฝรั่งเศส ไม่ว่าใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบาทหลวงดิดอง จะได้สัมผัสถึงดวงวิญญาณของท่านที่สิงสถิตย์อยู่เบื้องหน้าบนยอดภูเขาเสมอ ซึ่งเพ่งมองอนาคตและพินิจพิจารณาด้วยสายตาเรียบง่ายตลอดเวลา แรงปรารถนาประการแรกของท่านคือความบากบั่นโดยท่านค้นหาแม้กระทั่งในตัวนักเรียน ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้าในวันหนึ่งว่า “เป็นเรื่องตลกที่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นอัมพฤกษ์เมื่อกลุ่มนักเรียนไม่มีการต่อต้านแก่ข้าพเจ้า จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าลงมือกระทำเกินกว่าเหตุในบางครั้ง เพื่อบังคับให้พวกเขาก่อการปฏิรูป” แรงปรารถนาประการต่อมาคือ การทำงาน และประการสุดท้ายคือ สมัยใหม่นิยม ข้าพเจ้าจำได้ถึงสุนทรพจน์ที่ท่านได้กล่าวในพิธีมอบรางวัลต่อหน้านักเรียนที่ตั้งใจฟังและพ่อแม่ที่กังวลใจ ด้วยความหาญกล้าไม่มีใครเปรียบ บาทหลวงดิดอง ประเดิมการจู่โจมซึ่งหน้าต่อสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่งในขณะนั้น กล่าวคือ การต่อต้านชาวยิว โดยใช้คำเรียกที่เปิดเผยว่า ความขี้เกียจ ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่สังคมไร้จิตวิญญาณที่พร่ำบ่นถึงการถูกครอบงำและควบคุมจากกลุ่มคนยิว …