สถานีความคิด

ตอนที่ 20 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง: ธีโอดอร์ รูซเวลต์             งานเขียนชิ้นนี้ของคูเบอร์แต็งเป็นคำไว้อาลัยส่วนตัวแก่อดีตประธานาธิบดี  ธีโอดอร์ รูซเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ผู้มีความสัมพันธ์ทั้งด้านส่วนตัวและด้านวิชาการที่แนบแน่นกับคูเบอร์แต็งมาก โดยรูซเวลต์มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์โอลิมปิกไม่เพียงในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกเกมส์ที่เมืองเซนต์หลุยส์ ค.ศ.1904 แต่คูเบอร์แต็งยังได้เชิดชูท่านให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ยี่สิบด้านการพัฒนารอบด้านและแบบฉบับความเป็นนักกีฬาของโอลิมปิกด้วย โดยทั้งสองท่านได้ติดต่อสื่อสารกันฉันมิตรและคูเบอร์แต็งได้แสดงความชื่นชมแก่รูซเวลต์โดยการอุทิศส่วนแรกของหนังสือไตรภาค “Education des adolescents au XXs siecle: La Gymnastique utilitaire” แก่ท่าน ในจดหมายฉบับที่สิบสองนี้ คูเบอร์แต็งได้อ้างถึงอัตชีวประวัติที่รูซเวลต์ได้มอบให้แก่สภาโอลิมปิก ค.ศ.1913             วีรบุรุษที่เพิ่งถึงแก่อสัญกรรมด้วยความเคารพจากนานาชาติที่หลุมฝังศพ ยังคงเป็นผู้อุทิศตนแก่การกีฬาตราบจนวาระสุดท้ายของบุรุษชน แต่สิ่งที่ตรงข้ามกับความคิดเห็นทั่วไปคือ แบบอย่างของ ธีโอดอร์ รูซเวลต์ ไม่ได้มาจากสายเลือดหรืออารมณ์ความรู้สึก จงอ่านทบทวนเอกสารที่ท่านส่งถึงที่ประชุมสภาของจิตวิทยาการกีฬาที่จัดขึ้น ณ ที่แห่งนี้เมื่อ ค.ศ.1913 ซึ่งมีเนื้อหาขนาดยาวที่ประกอบไปด้วยผลงานและการอภิปรายของสภาแห่งนี้และท่านจะพบว่า รูซเวลต์ไม่เหมือนกับบุรุษที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านรูปภาพและคำพรรณนาอย่างสิ้นเชิง ชายผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทุกรูปแบบในปัจจุบันนั้น คือ วัยรุ่นขี้อายและอ่อนไหวซึ่งดูราวประหนึ่งขี้โรค ไม่กล้าตัดสินใจและทรหดอดทน จึงช่างเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางที่ความอ่อนแอของเขาได้ปรากฎแก่ตนเองจากการไม่สามารถที่จะต่อสู้กับความเย้ยหยันและผลการแก้ไขอย่างตั้งใจที่หล่อหลอมตนเองให้เข้มแข็งได้ต่อกรกับความหลากหลายของชีวิต ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นจากภายในสนามมวยขนาดย่อมและไปสิ้นสุด ณ ทุ่งหญ้าฟาร์เวสต์ที่เขาต้องการมีส่วนร่วมกับความเหนื่อยล้าและอันตรายของคนเลี้ยงวัว หนังสือชีวประวัติชอบที่จะบรรยายวีรบุรุษแห่งทุ่งหญ้าที่รายล้อมด้วย …

ตอนที่ 20 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบสอง : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

รัฐบาลชุดเก่า ใกล้ถึงวันอำลาแล้ว วันนี้มาจับตาดูว่า “วงการกีฬาของไทย” จะมีอะไรน่ามองถึงการเปลี่ยนแปลงตามบ้าง

   เมื่อถึงเวลานี้ ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า จะเป็นช่วงกำลังหมดเวลาของรัฐบาลชุดเดิม แม้ว่าจะเหลือกระบวนการต่าง ๆ อีกพอสมควรก็ตาม    ซึ่งก็ทำให้มองเห็นว่า การเปลี่ยนแปลง “ฝ่ายบริหาร” ประเทศตำแหน่งรัฐมนตรีต่าง ๆ  และ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ในกลุ่มของ ส.ส. ซึ่งหมายถึงกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้ที่มาโดยตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องในแต่ละตำแหน่ง….มีแน่นอน (แม้ว่าจะมีการตั้งคนเดิม แต่ก็ต้องมีการแต่งตั้งใหม่)    และที่เกี่ยวข้องกับวงการกีฬานั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนไหนบ้างหากได้ ส.ส.ชุดใหม่ และ รัฐบาลชุดใหม่…”ถ้ามีคำถามอย่างนี้ ที่นี่ก็มีคำตอบครับ”    เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาใหม่จะมีเข้าสู่คณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร (ที่เราคุ้นชื่อเรียกว่า ส.ส.กีฬา) ชุดใหม่ขึ้นมาตามโควตาพรรคต่างๆ และได้ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาคนใหม่ ตามการจัดสรรส่วนแบ่งตามโควตาพรรคที่ กลุ่ม ส.ส.ตกลงกัน    แต่เรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องยอมรับว่าไม่ใคร่มีอะไรที่น่าสนใจนัก เมื่อเทียบกับส่วนที่สำคัญที่สุดซึ่งทุกคนจับตา คือการเปลี่ยนแปลง ที่มาตามฝ่ายบริหารรัฐบาลที่เกี่ยวข้องมา ในวงการกีฬา หลังจากที่มีรัฐบาลชุดใหม่แล้ว มีรองนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่แล้ว จะมีส่วนใดบ้างที่ต้อง “เปลี่ยนหัว” …

รัฐบาลชุดเก่า ใกล้ถึงวันอำลาแล้ว วันนี้มาจับตาดูว่า “วงการกีฬาของไทย” จะมีอะไรน่ามองถึงการเปลี่ยนแปลงตามบ้าง Read More »

ตอนที่ 19 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเอ็ด : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเอ็ด : จิตวิญญาณกีฬาของนักศึกษา  “จิตวิญญาณกีฬา” อีกประการหนึ่งสำหรับนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองต่อการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงที่บูรณาการกับวัฒนธรรมเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาความคิดในชีวิต และความชัดแจ้งของความเห็นตนเอง ดังคำกล่าวของ พอล บูร์เจต์ “ผลิตผลแห่งชายชาติบุรุษ” นอกจากนี้ จะเป็นประโยชน์แก่เขาในการทำกิจกรรมสังคม ที่จะได้พบในวันข้างหน้าของสังคมใหม่ ก่อนหน้านี้ การเล่นกีฬา คือ การฆ่าเวลาของเยาวชนที่มั่งมี และว่าง ข้าพเจ้าทุ่มเทกว่าสามสิบปีที่ทำให้สิ่งนี้กลายเป็นความรื่นรมย์ปกติของชนชั้นกลางล่าง และจำเป็นที่ความรื่นรมย์นี้จะเข้าสู่ชีวิตของวัยรุ่นที่ยากไร้ เป็นความรื่นรมย์ที่มีต้นทุนต่ำสุด เสมอภาคที่สุด ต่อต้านแอลกอฮอล์ที่สุด และให้ผลิตผลสูงสุดแก่พลังงานที่ถูกกำกับและควบคุมไว้ การกีฬาทุกรูปแบบสำหรับทุกคน ซึ่งไม่แปลกที่สูตรความคิดนี้ จะถูกวิพากษ์ว่า เป็นอุดมคติที่น่าหัวเราะเยาะ แต่ข้าพเจ้าไม่ใส่ใจ เพราะตนเองได้ใคร่ครวญและตรวจสอบเรื่องนี้เป็นเวลานาน ซึ่งข้าพเจ้าทราบดีว่า เป็นเรื่องถูกต้อง และเป็นไปได้ ช่วงปีและความแข็งแรงที่เหลือของข้าพเจ้าจะถูกนำมาใช้เพื่อประกันความสำเร็จของสิ่งนี้ โดยจะเป็นคุณประโยชน์ของข้าพเจ้าต่อการปฏิรูปสังคมเหล่านี้ซึ่งมีหลักการเป็นพื้นฐานของสหภาพศักดิ์สิทธิ์ในระหว่างสงครามยาวนานนี้ และความสำเร็จจะต้องมีความซื่อตรงและรวดเร็วหากพวกเราไม่ต้องการให้อารยธรรมขยายตัวเหมือนเครื่องทำความร้อนที่ไม่มีลิ้นปิด นักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้กุมความรู้และจินตนาการ  จะเป็นกองพันทหารเข้มแข็งที่สุดต่อภารกิจนี้ โดยข้าพเจ้าขอกล่าวว่า หากท่านปรารถนาให้พวกเขาเป็นฝูงบินสิ่งเหล่านี้ ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวและย้ำว่า ด้วยเหตุผลด้านศักยภาพร่างกายและผลจริยธรรมนั้น การกีฬาจะเป็นเครื่องมือที่ประมาณค่ามิได้ในมือของพวกเขาต่อการสร้างสันติสุขแก่สังคม โดยเหตุนี้ พวกเขาจึงต้องรู้วิธีการใช้งานอย่างเชี่ยวชาญ และการดึงประโยชน์สูงสุดจากการกีฬา อุดมการณ์โอลิมปิกนิยมกำลังจะถือกำเนิดขึ้น ขอให้นักศึกษาได้เตรียมตัวที่จะนำไปใช้งาน

ตอนที่ 18 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบ : การกีฬาในมหาวิทยาลัย             เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในรายละเอียด พวกเราตะลึงกับความหลากหลาย และความสลับซับซ้อนของสารพัดปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรม ของคูเบอร์แต็ง โดยได้เห็นความทุ่มเทของบุรุษที่ผูกพันเต็มที่ต่องานตนเอง และสังคมช่วงเปลี่ยนผ่านที่แม้จะยึดโยงกับยุคสมัยที่ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขวัตถุ และจริยธรรมที่จำกัดโอกาสแห่งความสำเร็จของโครงการที่ท่านมุ่งหวังดำเนินการ ในที่สุดแล้ว ประสิทธิผลของความเพียรพยายามล้วนเกิดจากคุณลักษณะของคูเบอร์แต็งเอง ด้วยความอดทน ท่านบ่มเพาะศิลปะแห่งความหวังซึ่งไม่เคยละสายตาไปจากวัตถุประสงค์ของตนเองแม้แต่น้อย ความยากลำบากนี้ทำให้พวกเราได้ประจักษ์ผ่านงานเขียนของท่านบางชิ้นที่ยังคงทันสมัยและกว้างไกลอย่างยิ่ง พร้อมการเปิดเผยพื้นฐานความเป็นปัจเจกชนของบุรุษที่ผลิตงานเขียนเหล่านี้             บทความสองชิ้นนี้เป็นงานจำนวนน้อยชิ้นที่คูเบอร์แต็งกล่าวถึงการกีฬาในมหาวิทยาลัย โดยท่านเล็งเห็นถึงภาระหน้าที่ของการกีฬาในมหาวิทยาลัยอเมริกาที่เป็นรากฐานของยุควัยรุ่นที่มีความเหนือกว่า ซึ่งเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทหารอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีตัวแบบอื่นที่ยอมรับได้ระหว่างการละเลยพลศึกษาของนักเรียนยุโรปและความเป็นมืออาชีพของสหรัฐอเมริกา              ในจดหมายฉบับที่สิบเอ็ด คูเบอร์แต็งเน้นย้ำว่า นักศึกษามีความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ที่จะประกันสังคม สันติสุขของผู้คนมากกว่าคนส่วนใหญ่ทั่วไป และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ท่านต่อสู้กับปัญหาเครื่องดื่มมึนเมาซึ่งเป็นปิศาจหลอกหลอนผู้คนและเสนอการเยียวยาด้วยการกีฬา             ในบทความนี้ คูเบอร์แต็งประกาศเป็นครั้งแรกถึงความประสงค์ในการปฏิรูปการสอนกีฬาให้เป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนสำหรับทุกคนในอนาคต             เมื่อวานก่อนที่ชมรมวิชาการวูด์วา ข้าพเจ้าเสี่ยงที่จะพยากรณ์ลมฟ้าอากาศเพื่อแสดงแก่มหาวิทยาลัยโลซานน์ที่เสียเวลากับสิ่งที่ไม่รอบคอบ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าไม่ใช่เพียงคนเดียวที่ส่งสัญญาณเตือนคลื่นยักษ์ความเป็นอเมริกันที่ข้ามฟากมหาสมุทรและกำลังจะซัดกระแทกฝั่งยุโรป ปรากฏการณ์นี้เป็นที่คาดหมายได้เพราะคือกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงภาษา ห้องสุขา รางรถไฟและธนาคารที่จะมีความเป็นอเมริกัน แต่จะรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย โดยพวกเราต้องไม่ลืมว่า มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญต่อการจัดเตรียมและการริเริ่มสงคราม ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งโดยอำนาจที่ทรงพลังอยู่แล้วของพวกเขาก็จะทวีคูณเป็นสิบเท่า สูตรการฝึกหัดบุคคลจะเป็นสิ่งล้ำค่าในตลาดปัญญาชนโดยสูตรนี้จัดสรรส่วนประกอบหลักให้แก่วัฒนธรรมกีฬาและตามความเห็นของ มร.เอ็น เว็บสเตอร์ …

ตอนที่ 18 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 17 : การกีฬากับจริยธรรม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬากับจริยธรรม             ประเด็นจริยธรรมได้รับความสนใจในบางคราวและการสนับสนุนอย่างไม่เต็มใจจากการออกกำลังกาย กล่าวโดยสรุป การกีฬาเป็นเพียงสิ่งเร้าทางอ้อมต่อจริยธรรมเท่านั้น เพื่อจะทำให้การกีฬาเป็นสิ่งเร้าทางตรงนั้น พวกเราต้องทำให้เป้าประสงค์ของการกีฬาเป็นการสร้างสำนึกต่อความสมัครสมานสามัคคีซึ่งจะทำให้การกีฬามุ่งหน้าไปไกลกว่าที่เคย สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญต่อบูรณาการระหว่างการกีฬากับจริยธรรม             ณ การประชุมและพิธีมอบรางวัล ผู้กล่าวสุนทรพจน์ทั้งหลายได้แสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ในหัวข้อนี้ซึ่งเป็นดั่งการประกาศเกียรติคุณ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสนับสนุนยังคงไม่หนักแน่นเพียงพอ โดยเหตุนี้ พวกเราจึงติดหนี้บุญคุณของเรือเอกเอแบรต์ (นายทหารเรือฝรั่งเศส) ซึ่งเขียนเอกสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นชายและ “ภารกิจทางกาย” ซึ่งท่านได้นิยามภารกิจเหล่านี้อย่างละเอียด             เอแบรต์ได้สรุปหน้าที่ดังกล่าวไว้เป็นกฎสองข้อกล่าวคือ จงใช้ทุกวิถีทางที่จำเป็นในการพัฒนาความสามารถของร่างกายท่านและจงรักษาความสามารถเหล่านี้ด้วยการหลีกเว้นจากสิ่งบั่นทอน โดยจะไม่เคยมีสะพานที่ถูกสร้างขึ้นจากฟากหนึ่งของแม่น้ำสู่อีกฟากหนึ่งซึ่งสั้นกว่านี้อีกแล้วระหว่างการกีฬากับจริยธรรม การหลีกเว้นจาก “สิ่งบั่นทอนความสามารถทางกาย” คือการหลีกเว้นจากความมากเกินควรของทุกสิ่ง ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นกฎที่เห็นได้ชัดของจริยธรรมบริสุทธิ์โดยพวกเราจะได้พบข้อจำกัดที่เป็นนัยของคำกล่าวนี้             ยังไม่เคยมีการบังคับใช้กฎในลักษณะนี้ การมองย้อนกลับไปที่อารยธรรมกรีกโบราณจะไม่เกิดผลใดในการค้นหาร่องรอย ชาวกรีกไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงนักในเรื่องนี้ จิตสำนึกต่อดุลสังคมในระดับสูงมักทดแทนประมวลจริยธรรม ยิ่งไปกว่านั้น อารยธรรมของพวกเราคงจะดีขึ้นหากปฏิบัติตามแนวทางในเรื่องนี้ของชาวกรีกโบราณ อารยธรรมของพวกเราจะถอดหลักพื้นฐานของความยืดหยุ่นที่พึงประสงค์จากพวกเขา แต่ไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรมที่สูงส่งกว่า นอกจากนี้ วัฒนธรรมกีฬาในประเทศกรีซก็ไม่เคยเป็นที่แพร่หลายดังความเชื่อของพวกเรา หากพวกเราเพ่งพินิจจะพบว่า ผู้เขียนจำนวนมากสื่อถึงความเห็นแพร่หลายของมติสาธารณะที่รังเกียจการออกกำลังกายมาโดยตลอด ยิ่งกว่านั้น คนที่ออกกำลังกายไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นตัวแบบของความดีงามและความสันโดษ แม้จะเป็นประเทศอังกฤษซึ่งเข้มแข็งที่สุดในการกีฬาในสมัยพวกเรา ก็อาจเกินไปที่จะกล่าวว่า หากตีความภาษาอย่างเคร่งครัดที่สุดแล้ว นักกีฬามีความดีงามกว่าพลเมืองอื่น ดังนั้น แม้บางครั้งบุคคลจะปฏิบัติ “ภารกิจทางกาย” ในส่วนแรกที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงข้างต้น แต่ทั่วไปแล้ว เขาจะไปไม่ถึงข้อจำกัดทั้งหลายของส่วนหลัง ในทุกแห่ง บางคนก็ …

ตอนที่ 17 : การกีฬากับจริยธรรม : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 16 : ปรัชญาวัฒนธรรมทางกาย : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ปรัชญาวัฒนธรรมทางกาย             ในบทความนี้ คูเบอร์แต็งได้แสดงให้พวกเราเข้าใจถึงการตีความของท่านต่อปรัชญาวัฒนธรรมทางกายซึ่งบางส่วนเกี่ยวเนื่องกับจิตวิทยา วัฒนธรรมนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคติพจน์โบราณคือ “รู้จักตนเอง” (Know thyself) โดยท่านกล่าวว่า จุดแข็งด้านจิตใจและสติปัญญาต่อการพัฒนาร่างกายมนุษย์มีความหลากหลายอย่างยิ่งและจุดแข็งด้านสังคมคือสิ่งที่ไม่สามารถทดแทนได้ เอกสารชิ้นนี้คือหนึ่งในบทความชุดยาวของวารสาร Olympic Review ซึ่งตีพิมพ์ก่อนการประชุมสภาโอลิมปิกเกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬาและสรีรวิทยาการกีฬาใน ค.ศ.1913             เมื่อหลายเดือนก่อน ข้าพเจ้าให้คำมั่น (ซึ่งอาจไม่รอบคอบนัก) ที่จะกำหนดกรอบพื้นฐานของสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่า “ปรัชญาวัฒนธรรมทางกาย” คำสัญญาดังกล่าวนี้ไม่สมเหตุสมผลเนื่องเพราะหัวข้อนี้กว้างขวางและสำคัญถึงขนาดที่ข้าพเจ้ารู้สึกละอายใจยิ่งที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้บนพื้นที่ไม่ค่อยเหมาะของบทความหนังสือพิมพ์ แต่กระนั้นก็ตาม ข้อวิพากษ์ของข้าพเจ้าต่อระบบจำนวนมากที่กล่าวถึงโดยเฉพาะการละเลยและการรังเกียจต่อจิตวิทยานั้น จะไร้ความหมายหากข้าพเจ้าจะไม่ต่อท้ายด้วยข้อแนะนำเชิงบวก เป็นเวลานานแล้วที่ผู้คนใช้คำกล่าว “ทุกคนคือผู้วิจารณ์” แต่ไม่มีใครจะมีสิทธิในการหักล้างบางสิ่งเว้นเสียแต่ว่าตนเองจะเตรียมแนวการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งอื่นทดแทน             รู้จักตนเอง             ในบางครั้ง แนวคิดโบราณเป็นทั้งจุดเริ่มและจุดจบของวัฒนธรรมทางกาย ซึ่งขมวดปมความต้องการและวัตถุประสงค์ ตัวมนุษย์เองคือนายช่างใหญ่ของการพัฒนาร่างกายมนุษย์ สิ่งสำคัญแรกสุดในการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิผลคือ การรู้จักตนเอง โดยไม่ต้องกล่าวว่า พวกเราจะไม่พูดเกี่ยวกับระยะเริ่มต้นของการศึกษาปฐมวัย ถึงแม้ครูอาจใช้ข้อมูลเชิงจิตวิทยาและสรีรวิทยา รวมทั้งการสะสมประสบการณ์และการสังเกตเพื่อประโยชน์สำคัญในช่วงวัยนั้น แต่ความร่วมมือจากเด็กต่อการดำเนินงานคงเป็นสิ่งที่วางแผนไม่ได้ ทั้งนี้ จิตสำนึกจะตื่นรู้ในตัวเด็ก ในกรณีใดก็ตาม คำเตือนให้ “รู้จักตนเอง” จะเกิดความหมายสมบูรณ์เชิงค่านิยมในวัยรุ่น             ความทะเยอทะยาน ความแข็งแรงและความอ่อนแอ              ภารกิจต่อไปคือ การมุ่งความสนใจไปที่ความทะเยอทะยาน จุดแข็งและจุดอ่อนของบุคคล …

ตอนที่ 16 : ปรัชญาวัฒนธรรมทางกาย : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ทางเลือก “การตั้งสมาคมมวยสากลของไทย” ขึ้นใหม่ น่าจะเป็นทางเลือกที่โดดเด่นที่สุดสำหรับวงการกีฬาไทย ต่อกรณีความขัดแย้งของวงการมวยสากลโลก ซึ่งกำลังวิกฤติในห้วงเวลานี้…เพราะอะไร!!!

   ขอต่ออีกวันกับเรื่องของ “วงการมวยสากลสมัครเล่นโลกที่ไทยต้องยุ่งเกี่ยวอย่างหนีไม่ได้” โดยวันนี้มีมุมมองเสนอฝ่ายที่ดูแลวงการกีฬาของประเทศ ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย    โดยขอย้อนถึงเรื่องระหว่างสมาคมมวยสากลไทยกับองค์กรมวยโลก บนความขัดแย้งที่หนัก ๆ ที่สุด ก็เหตุการณ์เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา    ซึ่งก่อนโอลิมปิกเกมส์ 2012 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ จะจัด เคยมีกรณีที่สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ยุคนั้น โดนสหพันธ์มวยสากลนานาชาติ (ไอบ้า) แบน เพราะเขาระบุฝ่ายบริหารของไทยนั้นเป็นคู่ขัดแย้ง ฐานไปร่วมที่จะโค่นฝ่ายบริหารไอบ้า โดยตอนนั้นไอบ้ายื่นต่อไทยว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารของสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก็ไม่รับเข้าร่วมงานที่ไอบ้าดูแล รวมทั้งโอลิมปิกเกมส์ 2012 นั้นด้วย    และเมื่อเป็นเช่นนี้ทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ยุคนั้น มีนายกนกพันธ์ จุลเกษม เป็นผู้ว่าการ กกท.ซึ่งมองว่าหากโดนแบนไทยและไม่ทำตามไอบ้า ไทยก็จะเสียสิทธิเข้าร่วมโอลิมปิกเกมส์หนนั้น และสั่งให้สมาคมมวยสากลยุคนั้นเปลี่ยนแปลงก็ “ไม่ถูกทำตาม กกท.ร้องขอ” สุดท้าย กกท.ก็นำในการเปลี่ยนแปลง โดยตั้งสมาคมมวยสากลแห่งประเทศไทยขึ้นใหม่ (ขณะที่ของเดิมที่มีปัญหากับไอบ้าก็ยังอยู่ และโดนตัดออกจากการเป็นเครือข่ายของ กกท.ไป) และสมาคมชุดใหม่ก็เดินเข้าไปซบไอบ้า จน “แก้ว พงษ์ประยูร” ได้เหรียญเงิน โอลิมปิกเกมส์หนนั้น และชื่อสมาคมที่เข้าไปซบไอบ้าหนนั้น …

ทางเลือก “การตั้งสมาคมมวยสากลของไทย” ขึ้นใหม่ น่าจะเป็นทางเลือกที่โดดเด่นที่สุดสำหรับวงการกีฬาไทย ต่อกรณีความขัดแย้งของวงการมวยสากลโลก ซึ่งกำลังวิกฤติในห้วงเวลานี้…เพราะอะไร!!! Read More »

จับตาสมาคมมวยสากลของไทย จะตัดสินใจฝ่าวิกฤติด้วยการยืนข้างใด ระหว่างการเลือกเป็นสาวก “ไอบ้า” ต่อไป หรือ ทิ้งลูกพี่เก่าไปซบองค์กรมวยสากลโลกแห่งใหม่ เพื่อเดินตามทางโอลิมปิกสากล

จากข่าวคราวเรื่องของ สหพันธ์มวยสากลนานาชาติ หรือ ไอบ้า (IBA) คงจะโดนลบชื่อออกจากการร่วมงานของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี (IOC) ค่อนข้างแน่นอนที่สุด และมีกลุ่มคนมวยสากลสมัครเล่นหลายๆ ชาติ ตั้งองค์กรเป็นสหพันธ์กีฬาที่ชื่อ World Boxing ซึ่งสื่อทั่วโลกที่เกาะติดเรื่องนี้เชื่อว่าจะเป็นองค์กรกีฬาที่จะเข้ามาประสานความร่วมมือกับไอโอซี ในการดำเนินการกีฬา “มวยสากลสมัครเล่น” ในการจัดมหกรรมหรือเกมการแข่งขันที่ ไอโอซี เป็นเจ้าของ…เอาง่าย ๆ ที่สูงสุดก็ คือ“โอลิมปิกเกมส์”  แทนไอบ้าในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน  “แล้วองค์กรกีฬาที่เกี่ยวข้องกับมวยสากลสมัครเล่นในประเทศไทยเราจะทำอย่างไร”…นี่คือคำถาม ส่วนคำตอบก็คือ…สมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย ที่ปัจจุบันอยู่ในอาณัติของไอบ้า จะต้องเป็นผู้เดินกับเกมนี้ ที่จะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1.ถ้ายังอยากเข้าร่วมกีฬาที่ไอโอซีเป็นเจ้าของรวมทั้งโอลิมปิกเกมส์ ก็มีมุมเดินอยู่คือ ในเดือน พ.ค.2566 นี้คือช่วงเวลาที่ต้องขยับสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในไทย เพราะ World Boxing จะเปิดรับสมัครสมาชิกช่วงนั้นเราก็ต้องเดินหน้าสมัครเป็นสมาชิกเขา เพื่อทำตามกติกาที่เขากำหนด (ซึ่งบัดนี้ใบสมัครสมาชิก มีออกมาแล้วในเว็บไซต์ www.worldboxing.org.) โดยในการรับสมัครนั้น ระบุว่าจะต้องมีใบรับรองตัวตนจากภาครัฐบาล (กกท.หรือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ก่อน และมีเงื่อนไขต่าง ๆ ประกอบอีกมากพอสมควร …

จับตาสมาคมมวยสากลของไทย จะตัดสินใจฝ่าวิกฤติด้วยการยืนข้างใด ระหว่างการเลือกเป็นสาวก “ไอบ้า” ต่อไป หรือ ทิ้งลูกพี่เก่าไปซบองค์กรมวยสากลโลกแห่งใหม่ เพื่อเดินตามทางโอลิมปิกสากล Read More »

องค์กรมวยสากลสมัครเล่นโลกแห่งใหม่ World Boxing เปิดตัวแล้ว ไอโอซีเตรียมเปิดทางให้ และอีกไม่นานไอบ้าโดนตะเพิดจากโอลิมปิกเกมส์แน่

   และแล้วก็เป็นไปตามการวิเคราะห์ของ Station THAI จริง ๆ ต่อกรณีของ สหพันธ์มวยสากลนานาชาติ หรือ ไอบ้า (IBA) มีข้อขัดแย้งอย่างหนักต่อการควบคุมของ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี (IOC)  จนทำให้ ไอโอซี ยึดอำนาจการจัดการแข่งกีฬามวยสากลทั้งจะคัดเลือก และ แข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ 2024 (หากว่าจะมีจัดมวยสากล)  นับเป็นโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 2 ติดต่อกัน แต่ไม่เหมือนเดิมคือการจัดการในครั้งนี้ของ ไอโอซี ทาง ไอบ้าไม่ให้ความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง พร้อมจะมีการฟ้องศาลโลกในการใช้อำนาจของ ไอโอซี ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่างทั้งคู่    ซึ่งที่นี่มีการวิเคราะห์ไว้ในช่วงที่เห็นความขัดแย้งก่อนหน้านี้ว่า “อาจจะต้องมีการตั้งองค์กรกีฬาใหม่” ขึ้นมาทำงานนำวงการมวยสากลสมัครเล่นโลกแบบเดียวกันกับไอบ้า และองค์กรใหม่นี้จะได้รับการยอมรับจาก ไอโอซี ในการดำเนินงานดูแลบริหารจัดการ “มวยสากลสมัครเล่น” แทน ไอบ้า ที่คงยากจะทำงานร่วมกันได้แล้วกับไอโอซี โดยเฉพาะในมหกรรมกีฬาใหญ่ ๆ อย่างโอลิมปิกเกมส์ หรือเกมส์อื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของไอโอซี ที่หากมีการตั้งองค์กรใหม่แทนไอบ้าจริง ก็จะปิดฉากไอบ้ากับมหกรรมกีฬาของไอโอซีไปอย่างสิ้นเชิง    และเมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 …

องค์กรมวยสากลสมัครเล่นโลกแห่งใหม่ World Boxing เปิดตัวแล้ว ไอโอซีเตรียมเปิดทางให้ และอีกไม่นานไอบ้าโดนตะเพิดจากโอลิมปิกเกมส์แน่ Read More »

ตอนที่ 15 : พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ : สถิติ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ: สถิติ               ในบทความชั้นนำของนิตยสารฟิกาโร เดือนมกราคม ค.ศ.1903 คูเบอร์แต็งกล่าวถึงพัฒนาการล่าสุดของการกีฬาในการบากบั่นต่อสถิติและเล็งเห็นว่า สิ่งนี้คือแบบอย่างที่มีเหตุผลของความพยายาม กีฬาสมัยใหม่ก้าวพ้นขีดจำกัดของตนเองดังที่คูเบอร์แต็งจะชี้แจงต่อไปโดยมองว่า ความมุ่งมั่นทุ่มเทของนักกีฬาคือความพยายามควบคุมตนเอง แต่คูเบอร์แต็งกลับพบกับสิ่งตรงข้ามกล่าวคือ สถิติส่วนตัวซึ่งเป็นการพัฒนาผลงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ตัวแบบกีฬาของชาวสวีเดนคือตัวอย่างที่ดีสุดในเรื่องนี้ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาปัจจุบันนั้น ความเห็นของคูเบอร์แต็งต่อความสำคัญของมานุษยมิติที่ปรากฏในหัวข้อท้ายสุดมีค่าควรอ่าน              คำศัพท์ต่างประเทศอีกจำนวนมาก! ท่านสามารถคาดหวังประการอื่นหรือ? ข้าพเจ้ารู้สึกไร้เหตุผลที่จะกล่าวคำว่า “referee” เมื่อสามารถบอกง่ายๆว่า “arbitre” ในภาษาฝรั่งเศสหรือการกล่าวถึงคำว่า “scrimmage” และ “try” ซึ่งสามารถแปลอย่างง่ายว่าคือ “melee” และ “essai” โดยข้าพเจ้ายังพบถึงเกียรติภูมิชาติที่หดหายไปจากความกลัวที่ต้องใช้คำที่ไม่มีคำแทนอื่นซึ่งเป็นเรื่องน่าขัน คำภาษาอังกฤษ “สถิติ” ดูเหมือนจะไม่มีสิ่งเทียบเคียงในภาษาอื่นเนื่องเพราะกลายเป็นคำที่ใช้ทั่วโลก ข้อพิสูจน์ที่คำนี้ได้กลายเป็นภาษาโลกโดยธรรมชาติคือการที่ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องอ้างถึงคำซ้ำอื่นใดเพื่อการอธิบาย ทุกคนเข้าใจความหมายของคำนี้             แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะชื่นชมคุณค่าทางการศึกษาของคำนี้และการผสมผสานสองแนวคิดคือ การศึกษาและสถิติ ย่อมเป็นการขับเคลื่อนที่หาญกล้า ท่านจะเห็นว่า สถิติเป็นดั่งสัญลักษณ์ของความพากเพียรโดยถูกมองว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่พวกเราแสวงหาค่าเฉลี่ยซึ่งถูกยอมรับมากกว่าการดั้นด้นสู่ความเป็นเลิศ แต่นี่เป็นความผิดเพี้ยน สถิติอาจถูกนำมาใช้มากเกินไปแต่ก็เป็นไปเพื่อตนเอง สถิติจะได้รับความใส่ใจน้อยกว่าการแข่งขันด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้ การแข่งขันจะทำให้ท่านต้องเจ็บปวดในการเป็นคู่แข่งกับอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง แต่สถิติทำให้ท่านต่อสู้กับวัตถุข้อเท็จจริงคือตัวเลขวัดพื้นที่หรือเวลา กล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว ท่านกำลังต่อสู้กับตัวเองเท่านั้น …

ตอนที่ 15 : พลศึกษาในศตวรรษที่ยี่สิบ : สถิติ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!