สถานีความคิด

ขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดซีเกมส์ครั้งแรกที่ลาว และผ่านมา 14 ปี กัมพูชานำมาใช้เป็นครั้งที่ 2 ก็เรื่องของเจ้าภาพเขา..ส่วนไทยเราในฐานะผู้เข้าร่วมจะเกี่ยวตรงไหน อย่างไร จะจ่ายไม่จ่ายอยู่ที่เราใช่หรือไม่ !

  โดยขั้นตอนของเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา ในระดับต่าง ๆ นั้น มันจะมีกลุ่มคนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 กลุ่มก็คือ 1.เจ้าของงานกีฬา 2.เจ้าภาพจัดกีฬา 3.หน่วยงานหรือกลุ่มที่เจ้าภาพจัดกีฬามอบหมาย และ4.คนที่จะซื้อ   ในระดับซีเกมส์หากไล่ตามกลุ่มที่เกี่ยวข้องนี้ก็คือ 1.สหพันธ์ซีเกมส์ 2.ประเทศสมาชิกที่จัดซีเกมส์ 3.กลุ่มหรือบริษัทที่ประเทศที่จะจัดมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องลิขสิทธิ์ และ 4. คือชาติสมาชิกที่จะถูกเสนอขายลิขสิทธิ์ให้…และหากมีรายได้เกิดขึ้นผู้ที่มีส่วนได้ก็คือ 3 กลุ่มแรก ตามที่จะตกลงการแบ่งกัน   หากว่ากันแล้ว ในระดับกีฬาซีเกมส์ “การขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดซีเกมส์ในซีเกมส์ที่กัมพูชาไม่ใช่ครั้งแรก”   เพราะครั้งแรกที่มีการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันซีเกมส์ เกิดขึ้นในซีเกมส์ครั้งที่ 25 ที่ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพ ในปี พ.ศ.2552 โดย บริษัท เพชรจำปาฯ จำกัด ได้รับมอบหมายจากเจ้าภาพให้เป็นตัวแทนในการขายลิขสิทธิ์ ให้กับชาติสมาชิก ซึ่งเน้นการขายเพื่อให้ออกอากาศทางช่องฟรีทีวี และทีวีดาวเทียม โดยในประเทศไทยนั้น บมจ.อาร์เอส (RS) ได้รับสิทธิ์การจัดการทั้งหมด ซึ่งไม่ปรากฏว่าลงทุนกับการซื้อสิทธิ์นี้เท่าไหร่ แต่ตามรายงานข่าวช่วงนั้น ระบุว่า RS มีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดการหาสปอนเซอร์มาสนับสนุนการถ่ายทอดสดในไทย จะประมาณ …

ขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดซีเกมส์ครั้งแรกที่ลาว และผ่านมา 14 ปี กัมพูชานำมาใช้เป็นครั้งที่ 2 ก็เรื่องของเจ้าภาพเขา..ส่วนไทยเราในฐานะผู้เข้าร่วมจะเกี่ยวตรงไหน อย่างไร จะจ่ายไม่จ่ายอยู่ที่เราใช่หรือไม่ ! Read More »

ตอนที่ 12 : จิตวิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

 จิตวิทยาการกีฬา             บทความสามชิ้นต่อไปนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬา (ตอนที่ 12) สังคมศึกษา (ตอนที่ 13) และศิลปศึกษา (ตอนที่ 14) ปรากฏในบันทึกเรื่องการศึกษาภาครัฐของคูเบอร์แต็งโดยท่านเขียนบทนำถึงการสังเกตเหตุการณ์จากการเดินทางหลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ทุกแห่งหนจะปรากฏกระแสหลักของปฏิรูปการศึกษาที่มีต่อความเป็นชาตินิยม สำหรับคูเบอร์แต็งและข้อเสนอแนะต่างๆของท่านนั้น จะสามารถเห็นได้ว่า ส่วนประกอบนี้ของการปฏิรูปการศึกษาของท่านพุ่งเป้าไปที่เยาวชน             บทความที่คัดเลือกไว้ทั้งสามชิ้นนี้บ่งชี้ความคิดของคูเบอร์แต็ง การสอนของท่านมุ่งที่จิตมนุษย์ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมโดยท่านกล่าวถึง “จิตวิทยาการกีฬา” อย่างสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ คูเบอร์แต็งมีวิสัยทัศน์ต่อสังคมวิทยาการศึกษาซึ่งกว้างขวางมากกว่าการฝึกฝนด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ ท่านเล็งเห็นถึงความจำเป็นของสังคมวิทยาการศึกษาต่อประชาธิปไตยสมัยใหม่ สังคมวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์แขนงใหม่และทันสมัยจะสนับสนุนประชาธิปไตย บทความของท่านเกี่ยวกับ “ศิลปศึกษา” ซึ่งเป็นความหวังที่คูเบอร์แต็ง แสวงหาได้รับการเสนออย่างละเอียดและทรงพลังเป็นครั้งแรกนั้น แสวงหาหนทางในการนำศิลปะเข้าสู่โรงเรียนเพื่อสุนทรียภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่เพียงเทคนิควิธีการเท่านั้น ซึ่งจะปูทางสู่การชื่นชมศิลปะอย่างยั่งยืนตลอดชีวิต             ในโลกสมัยใหม่ ใครเกี่ยวข้องกับการกีฬาและทำไม?             ในการเข้าใจคำถามข้างต้นนี้ จะเป็นการดีที่จะทิ้งความทรงจำเดิมและเพียงกวาดมองรอบตัวพวกเรา สัญชาติญาณการกีฬาที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงก่อนหน้าไม่ได้หลับใหลภายในแต่ละกายของพวกเราเพื่อรอตื่นเมื่อแรกปลุกเท่านั้น และอาจเป็นไปไม่ได้ที่จะกระตุ้นสัญชาตญาณหากเมล็ดพันธุ์ไม่มีอยู่ในกายของแต่ละคน ขออย่าเข้าใจว่า การกีฬาเป็นแต่เพียงส่วนขยายความต้องการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการใช้สิ่งที่มีพร้อมการกำเนิดของเด็กเท่านั้น การกีฬาเกิดขึ้นเฉพาะในวัยเยาวชนและบางครั้งต้องรอจนกระทั่งเกือบถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว โดยไม่เป็นข้อพิสูจน์ถึงการมีสุขภาพที่ดีหรือตัวอย่างของโครงสร้างที่กำยำล้ำเลิศ ในหลายโอกาส ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเด็กทั้งหลายเกิดความคุ้นชินในการเล่นกีฬาหลากชนิดซึ่งหมายถึงเยาวชนที่ได้รับอิทธิพลชักจูงจากเพื่อนร่วมชั้นหรือมีความปรารถนาความโดดเด่นในการแข่งขันและได้รับการยกย่องชมเชยแก่ตนเอง และในบางครั้งก็จะเป็นเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง คล่องแคล่วและโครงร่างสมส่วนซึ่งปรากฏกายเข้าร่วมการฝึกซ้อมเป็นกลุ่มใหญ่ แต่วิธีการดังกล่าวนี้ก็ไม่สามารถจะทำให้กลุ่มใดจะมีสัญชาติญาณกีฬาได้เช่นกัน เมื่อใดก็ตามที่แรงกระทำภายนอกที่ไม่แท้จริงหมดสิ้นไปซึ่งหมายถึงการชักชวนหรือข้อจำกัดที่พวกเขาตอบสนอง พวกเขาก็จะหยุดออกกำลังกาย แม้การออกกำลังกายจะไม่เป็นที่น่ารังเกียจ แต่ก็ไม่ตอบสนองต่อความต้องการหรือสิ่งเย้ายวนภายในตัวพวกเขา ความต้องการนี้ …

ตอนที่ 12 : จิตวิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 11 : การกีฬากับยิมนาสติก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การกีฬากับยิมนาสติก             คูเบอร์แต็งเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อการอบรมพลศึกษาในเมืองบอสตัน ค.ศ.1889 ในนามของกระทรวงการศึกษาฝรั่งเศสซึ่งทำให้ท่านเกิดความคุ้นเคยกับอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรก โดยความประทับใจต่อทวีปนี้จะคงอยู่กับท่านตลอดชีวิต การบรรยายของท่านในเมืองนี้กล่าวถึงการสำรวจขนาดย่อมของสถานการณ์การพลศึกษาในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม คูเบอร์แต็ง กล่าวเน้นย้ำถึงตัวตนและผลงานของโทมัส อาร์โนลด์ซึ่งท่านให้ความเคารพอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังรายงานเกี่ยวกับการประชุมสภาการพลศึกษาใน ค.ศ.1889 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับงานแสดงสินค้าโลกในกรุงปารีสของปีนั้นด้วย เนื้อหาด้านล่างนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อผู้อ่านเนื่องเพราะคูเบอร์แต็งเป็นผู้แต่งเอง จึงแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์ด้านภาษาอังกฤษของท่าน             เรียน ท่านประธาน สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ             ข้าพเจ้าขอบคุณทุกท่านสำหรับการต้อนรับที่แสนอบอุ่นด้วยการปรบมือของท่าน ข้าพเจ้าไม่ขอรับไว้กับตนเอง แต่ในนามของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพี่น้องของประเทศท่านทั้งหลาย ดร.แฮร์ริส กรุณาแจ้งว่าท่านมีความสนใจในสิ่งที่จะกล่าวแต่ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยนัก โดยข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า คงเป็นผลของความกล้าหาญในการตอบรับคำเชิญนี้แก่ท่านมากกว่าจะเป็นความเห็นที่ไม่น่าสนใจของพวกเราชาวฝรั่งเศสที่พูดภาษาอังกฤษ และอาจเป็นความเห็นที่ไม่เหมาะสมเท่าไรในการปฏิบัติภารกิจของพวกเรา ซึ่งการได้รับมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสในการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆของประเทศนี้ที่ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการออกกำลังกายแต่รวมทุกสาขาวิชาอื่นด้วยนั้น ภารกิจของข้าพเจ้าคือการนำเสนอรายงานทั้งหลายของข้าพเจ้าในรูปแบบเอกสารราชการของเรื่องดังกล่าว แต่จากสิ่งที่ข้าพเจ้าสอบถามไป ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาฝรั่งเศสไม่ได้อยู่ที่นี่ในวันนี้โดยข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านจะกรุณาที่จะไม่บอกให้เขาทราบถึงสิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังจะลงมือทำในเมืองบอสตันแห่งนี้!             หลายวันก่อน ข้าพเจ้าถูกขอให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาอเมริกา โดยได้ตอบว่า ในบางมุมแล้ว เสมือนเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างแนวคิดอังกฤษกับเยอรมนี ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักเป็นอย่างดีถึงการไร้คำปฏิเสธต่อระบบเยอรมนีในประเด็นร่างกาย แต่ในอีกทางหนึ่ง ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า ไม่มีระบบอื่นใดและหากจะมี ที่จะเหนือไปกว่าระบบการกีฬาอังกฤษในด้านจริยธรรมและสังคมซึ่งได้รับความเข้าใจและอธิบายโดยครูสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกล่าวคือ โทมัส อาร์โนลด์ แห่งโรงเรียนรักบี้ หลักการต่างๆของท่านได้รับการนำไปปฏิบัติโดยสมาคมการปฏิรูปการศึกษาฝรั่งเศสเมื่อปีกลาย ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะพรรณนารายละเอียดการดำเนินงานของงานสมาคมของพวกเรา ซึ่งไม่มีอะไรน้อยไปกว่าการปฏิรูปทั้งหมดของมัธยมศึกษาตอนปลาย พวกเราไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนประถมศึกษาที่รัฐบาลของพวกเราได้จัดการก่อนหน้าในแนวทางดีที่สุดตามความเห็นของข้าพเจ้า ในโรงเรียนเหล่านี้ หลักสูตรการออกกำลังกายที่เป็นระบบคือสิ่งจำเป็นและการทดลองที่ดำเนินการในฝรั่งเศสประสบผลสำเร็จงดงามจนไม่มีเหตุใดที่พวกเราจะทดลองในรูปแบบอื่นอีก …

ตอนที่ 11 : การกีฬากับยิมนาสติก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 10 : การศึกษาเพื่อสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การศึกษาเพื่อสันติภาพ             ในงานแสดงสินค้าโลก ค.ศ.1889 ที่ซอร์บอนน์ คูเบอร์แต็งใช้ที่ประชุมสหพันธ์สันติภาพซึ่งมี จูเลส ซิมอง เพื่อนสูงวัยของท่านเป็นประธาน เพื่อพิจารณาสันติภาพนานาชาติในฐานะผลผลิตของการศึกษาในระดับรากหญ้าซึ่งหมายถึง โรงเรียน             การปกครองตนเองโดยเด็กนักเรียนเช่น การจัดการข้อโต้แย้ง ได้ถูกอ้างถึงในฐานะตัวแบบของการศึกษาเพื่อสันติภาพนี้ แต่คูเบอร์แต็งมีความเห็นว่า การกีฬาโรงเรียนก็สามารถสร้างคุณประโยชน์มหาศาลและได้ใช้ตัวอย่างจากกีฬามวยเพื่อขยายความ             ท่านเป็นหนึ่งในบรรดาผู้สงสัยที่ยักไหล่และดูแคลนคำประกาศจำนวนมากของสมาชิกสหพันธ์สันติภาพเนื่องจากไม่เชื่อเรื่องการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ “การผ่อนคลาย” การต่อสู้แข่งขันของมนุษยชาติ ใช่หรือไม่? หากใช่ ข้าพเจ้าก็เห็นใจท่าน ด้วยเหตุว่า คำประกาศเหล่านี้คือต้นธารแห่งความหวังต่ออนาคต แม้บางท่านจะเคยและอาจยังฝันถึงการจบสิ้นของสงคราม แต่ความผิดหวังก็ไม่ไร้ซึ่งประโยชน์ บุคคลกลุ่มนี้หาได้น้อยและความฝันของพวกเขาก็ไม่ทำร้ายใคร แต่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องการของผู้มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องด้วยความปรารถนากับประเด็นสำคัญของอนุญาโตตุลาการ             พวกเขาไม่ได้แสวงหาการเปลี่ยนโลกให้เป็นคอกแกะเหมือนในภาพวาดของวัตถุ พวกเขาไม่ได้ก่นด่าการกระทำดีที่ประสบผลจากแรงกายซึ่งไม่ยุติธรรมและเป็นอาชญากรรม แต่ผู้กระทำกลับเป็นพระเอก สิ่งแน่ชัด ที่คอยหลอกหลอนพวกเขาคือ ภาพของนานาประเทศที่ไม่ใยดีต่อสงครามที่คาดการณ์ได้เสมอ ภาพของเหล่าอัจฉริยะ การทำงานและความทุ่มเทยามสันติที่ถูกหันเหไปสู่การทำลายล้างและการผลิตเครื่องจักรฆ่ามนุษย์ด้วยกัน และภาพของงบประมาณหลายพันล้านที่ถูกกลืนหาย รวมทั้งชีวิตที่ต้องหยุดนิ่งจากคำสั่งของทรราช ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องเศร้าใจและน่าละอายมากพอที่พวกเราจะช่วยกันพิจารณาข้อเสนอของผู้รวมกลุ่มเพื่อแสวงหาแนวทางกำจัดมะเร็งร้ายในทวีปยุโรป             พวกเขาค้นพบว่า หนึ่งในการรณรงค์การใช้อนุญาโตตุลาการทั่วไปเกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่ประชุมสหพันธ์สันติภาพเพิ่งจัดทำแนวปฏิบัติดังนี้ “รัฐทุกแห่งจะนำวิธีการนี้สู่การปฏิบัติในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย กล่าวคือ ข้อสงสัยและข้อโต้แย้งทั้งปวงที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียนจะถูกส่งไปยังคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่ผ่านการเลือกตั้งโดยอิสระจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน” แนวคิดนี้ได้เริ่มต้นเบ่งบานในประเทศเสรีคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นความฉลาดล้ำและสอดคล้องต่อหลักการยิ่งใหญ่ที่มักถูกละเลยคือ การเปลี่ยนคนอยู่ที่ตัวเด็ก …

ตอนที่ 10 : การศึกษาเพื่อสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 9 : วิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

วิทยาการกีฬา               บทสนทนานี้ได้รับการจัดพิมพ์ในรายงานของ “สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส” ค.ศ.1889 โดยคูเบอร์แต็งได้กล่าวในฐานะเลขาธิการสมาคมเพื่อการปฏิรูปการศึกษาระดับโรงเรียนในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1889 ท่านนิยาม “วิทยาการกีฬา” ให้หมายถึง ระบบการศึกษาหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนกล่าวคือ “การสร้างมนุษย์” และวิธีการเฉพาะด้วยกติกาตนเอง ท่านกล่าวต่อไปว่า วิทยาการกีฬาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง บางคนการพิจารณาว่า สิ่งนี้ไม่ต่างจากการเล่นเกมนันทนาการซึ่งเป็นการบิดเบือนความหมายพื้นฐานและปฏิเสธคุณค่าแท้จริงของวิทยาการกีฬา คูเบอร์แต็งแสดงความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาฝรั่งเศสบนพื้นฐานอำนาจนิยมกล่าวคือ การเชื่อฟังคำสั่งและความน่าเบื่อหน่าย กับระบบการศึกษาอังกฤษที่ออกแบบให้เป็นเครื่องมือพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับความแข็งแกร่งของร่างกาย สติปัญญา และจริยธรรมของแต่ละบุคคล การเล่นกีฬาชนิดต่างๆเป็นไปอย่างกระตือรือร้นพร้อมด้วยจิตวิญญาณสูงส่งโดยสร้างบรรยากาศการเรียนและผลลัพธ์การเรียน มติมหาชนในฝรั่งเศสเบี่ยงเบนการศึกษาที่ถูกต้อง ผู้คนจำนวนมากหลอกตัวเองในขณะออกกำลังกายพื้นฐานเพื่อสุขภาพและคิดว่าตนเอง “เข้าร่วมเล่นกีฬา” หากเข้าใจถูกต้องอย่างนี้แล้ว การกีฬาจะนำไปสู่เจตจำนงและอุดมคติยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ             ในปีเดียวกัน คูเบอร์แต็งจัด “การประชุมเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในระบบการศึกษา” ที่งานแสดงสินค้าโลกภายใต้ความเห็นชอบของรัฐบาล โดยแสดงผลการศึกษาของตนเองในแคว้นต่างๆของสหราชอาณาจักรเพื่อบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตามแนวคิดของโทมัส อาร์โนลด์ ในแคว้นส่วนใหญ่ “วิทยาการกีฬา” กลายเป็นมาตรฐานของการศึกษาทั้งปวง ในความเห็นของคูเบอร์แต็งแล้ว สิ่งนี้คือแต้มต่อแก่ผู้ไม่เห็นด้วย             คูเบอร์แต็งได้รับการเอ่ยถึงที่การประชุมประจำปีของ “สมาคมเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งการจัดตั้ง “คณะกรรมการเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในระบบการศึกษา” ได้รับการประกาศในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1888 โดยสมาคมกีฬาของโรงเรียนแอลซาสได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมของปีเดียวกัน …

ตอนที่ 9 : วิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

“ผู้ว่าก้อง”ตั้ง 4 รองให้สรรหาระดับ 9 กกท. 3 (4) ตำแหน่ง ด้วยความคาดหวังสร้างสิ่งดีให้องค์กร เรื่องนี้เป็นเรื่องคนใน คนนอกโตแค่ไหน ก็ไม่ควร “เผือก” เรื่องพรรค์นี้ซักครั้ง

 ดูความเคลื่อนไหว ในการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หลังจากที่ระดับ 10 ( 2 รองผู้ว่าการ และ 1 ที่ปรึกษา 10) ทั้ง 3 ตำแหน่งลงตัวแล้ว คราวนี้ ก็คงเล็งลงไปที่ ระดับ 8 ที่จะขึ้นมาแทนระดับ 9  ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปสู่ระดับ 10 แล้ว โดยตำแหน่งระดับ 9 ที่เหลืออยู่ 3 ตำแหน่ง ก็คือ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ / ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เพื่อเปิดให้ พนักงานระดับ 8 ของ กกท.ได้ลุ้นขึ้นสู่ตำแหน่งตามสิทธิ์ (แม้ว่าในโครงสร้างใหม่ชอง กกท.ยังมีตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 9 (ที่มีการปรับโครงสร้างใหม่มาพร้อม ๆ กับ การมีตำแหน่งที่ปรึกษา 10) อีก 1 ตำแหน่งที่อาจจะสรรหาไปพร้อม ๆ กันก็ได้) …

“ผู้ว่าก้อง”ตั้ง 4 รองให้สรรหาระดับ 9 กกท. 3 (4) ตำแหน่ง ด้วยความคาดหวังสร้างสิ่งดีให้องค์กร เรื่องนี้เป็นเรื่องคนใน คนนอกโตแค่ไหน ก็ไม่ควร “เผือก” เรื่องพรรค์นี้ซักครั้ง Read More »

ตอนที่ 8 : ระบบการศึกษาอังกฤษ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระบบการศึกษาอังกฤษ             เมื่อคูเบอร์แต็งเดินทางถึงอังกฤษ ระบบการศึกษาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของโทมัส อาร์โนลด์ ซึ่งเป็นนักบวชและครูใหญ่โรงเรียนรักบี้เป็นระยะเวลาสิบสี่ปีตั้งแต่ ค.ศ.1828 โดยท่านได้พัฒนาและยกฐานะโรงเรียนไปสู่ความเป็นสถาบันด้วยการให้ความสำคัญแก่การกีฬาอย่างจริงจัง ระบบการศึกษาอังกฤษที่ส่งเสริมบุคคลในด้านความคิดริเริ่ม เสรีภาพต่อการเล่นเป็นทีมซึ่งสนับสนุนการพัฒนารอบด้านของมนุษย์และค่านิยมการแข่งขันนั้น จะติดตัวไปตลอดชีวิต             ความกระจ่างชัดต่อคุณลักษณะทางการศึกษาที่อาร์โนลด์ประสบผลค่อยๆปรากฏแก่คูเบอร์แต็ง อาร์โนลด์สร้างเสริมจิตศึกษาที่จะนำไปสู่การค้นพบจิตของร่างกายเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบตนเองต่อการสร้างสรรค์ผลงาน พุทธิศึกษาที่สร้างคุณค่าแก่ดุลยพินิจ และพลศึกษาที่ทำให้ค้นพบความลับแห่งภูมิปัญญาของการกีฬาซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการเตรียมตนเอง             คูเบอร์แต็งกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1887 ณ กรุงปารีส แก่สมาชิกของสมาคมเศรษฐกิจและสังคมซึ่งตามด้วยการอภิปรายข้อเสนอของคูเบอร์แต็ง โดยเขาได้นำส่วนต่างๆที่สำคัญของสุนทรพจน์นี้บรรจุไว้ในหนังสือของตนเองชื่อ L’Education en Angleterre  ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ             การเริ่มต้นหัวข้อสนทนาในครั้งนี้ หน้าที่หลักของข้าพเจ้าคือการกำหนดหัวเรื่องหนึ่งที่มีขอบเขตกว้างซึ่งข้าพเจ้าขอเสนอให้พิจารณาโดยเฉพาะ อันที่จริง ขอบเขตของข้าพเจ้าจักต้องไปไกลกว่าอังกฤษ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ระบบการศึกษาอังกฤษมีหลายรูปแบบโดยมีรูปแบบประถมศึกษา มัธยมศึกษา เอกชนและพับลิก สามัญและอาชีวะ แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่สำคัญสักเท่าไรในอังกฤษเมื่อเทียบกับประเทศอื่นเช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นหลักทั่วไปซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมของชาวอังกฤษไม่ว่าจะยากดีมีจนในการเลี้ยงดูลูกหลาน ทั้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ระบบการศึกษาอังกฤษ” ที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควรจะเป็น แต่กลับมีความหมายพิเศษและสนองตอบแก่ระบบหนึ่งที่มีความชัดเจนยิ่ง             ช่วงเย็นนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวต่อท่านเกี่ยวกับรูปแบบมัธยมศึกษาสายสามัญของรัฐ อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะไม่พรรณนารูปแบบโรงเรียนไปมากกว่านี้และจะไม่แบ่งการศึกษาตามท่านบิชอร์ป ดูพานลูปเป็นสี่ประเภทกล่าวคือ ศาสนา …

ตอนที่ 8 : ระบบการศึกษาอังกฤษ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

กรณีศึกษา กัมพูชาจัด “กุนขะแมร์” ในซีเกมส์ สมาคมมวยไทยไม่ส่งก็ถูกต้อง แต่การดันเอา IFMA มาเป็นเครื่องมือต่อต้านด้วย ผู้รู้มองว่า…พลาด!!

กลายเป็นเรื่องใหญ่และยาว กับกีฬา “กุนขะแมร์” ที่เจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 32 กัมพูชา จะจัดแข่งขันชิงเหรียญในหนนี้ ซึ่งเจ้าภาพเขาแจ้งสมาชิก และมนตรีซีเกมส์ของแต่ละชาติ รวมทั้งคณะกรรมการโอลิมปิคของชาติสมาชิกก็รับทราบแล้วว่าจะจัด “กุนขะแมร์”และมีสหพันธ์กีฬากุนขะแมร์นานาชาติ รับรองแล้ว ในกระบวนการก็เรียบร้อยตามข้อตกลงร่วมของสมาชิกที่ถูกต้อง เมื่อตรงนั้นจบ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องที่ชาติไหนจะส่งหรือไม่ส่งนักกีฬาแข่งก็เป็นเรื่องของแต่ละชาติ ทางประเทศไทย “สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่น” ไม่ส่งจะด้วยอะไร ก็แจ้งผ่านคณะกรรมการโอลิมปิคของไทย จากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิคของไทยที่เป็นผู้ประสานงานของแต่ละชาติก็แจ้งฝ่ายจัดการแข่งขันเจ้าภาพ ก็จบ “ที่ไม่ต้องคิดมาก” ปัญหามวยไทยในซีเกมส์ มันมีมานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มคุยกันจะนำ “มวยไทย” เข้าซีเกมส์ กัมพูชา ลาว เมียนมาหรือพม่า เขาก็ค้านตั้งแต่แรกว่าไม่ควรมีคำว่า “ไทย” เพราะรากเหง้าทุกชาติที่ค้านระบุว่ากีฬานี้มันมาจากศิลปะป้องกันตัวของกลุ่มชาติแถวนี้ ที่มีลักษณะการใช้อาวุธเหมือนกันตั้งแต่โบราณ ซึ่งท้ายสุดก็มีการยอมกันจากการผลักดันใน ปี 2005 ซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ ก็ได้จัดด้วยการยืนตรงกลางคือคำว่า “มวย” และอยู่ภายใต้การกำกับของสหพันธ์มวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA ก็ว่ากันไป ปี 2007 ไทยเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ กลับมาใช้คำว่า “มวยไทย” สมาชิกก็ไม่ว่าอะไรส่วนหนึ่งก็มาร่วมแต่ ชาติอย่างกัมพูชา ลาว เมียนมา ก็ไม่ส่งมา ก็จบกันเพราะเป็นสิทธิของเขา …

กรณีศึกษา กัมพูชาจัด “กุนขะแมร์” ในซีเกมส์ สมาคมมวยไทยไม่ส่งก็ถูกต้อง แต่การดันเอา IFMA มาเป็นเครื่องมือต่อต้านด้วย ผู้รู้มองว่า…พลาด!! Read More »

แจงข่าวมั่ว “มวยไทยจะไปโอลิมปิกเกมส์2028” และงงข่าวแปลก มวยสากลเอเชียจะข้ามหน้าลูกพี่ เตรียมยิงรายงานตรงถึงโอลิมปิกสากล “ว๊าวววว”

ติดตามเนื้อหาข่าว เรื่องราวของ “ขาวลือ” และข่าวแปลก ๆ ของวงการกีฬาในช่วงนี้เลยหยิบมาขยายความ เพื่อให้เกิดความกระจ่างซักนิดเถอะครับ ข่าวลือแรกมั่วแน่คือ ข่าวสหรัฐยอมรับ “มวยไทยเข้าสู่โอลิมปิก ที่มีการตีข่าววุ่นว่ามวยไทยจะเข้าโอลิมปิกเกมส์ 2028” ที่ลอสแองเจลีส สหรัฐจะเป็นเจ้าภาพ มีการแปลความหมายเป็นคำพูดจากไหนไม่รู้นำไปยินดีกันว่อนสื่อออนไลน์ และสื่อหลักบางแห่งยังเพ้อเจ้อไปด้วย ขยายความคือ “ไม่ใช่เลย” เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐแรกยอมรับนั้นเป็น คณะอำนวยการของคณะกรรมการโอลิมปิกและพาราลิมปิกสหรัฐอเมริกา (USOPC) ที่ให้การรับรองมวยไทยที่หมายถึงสมาคมกีฬามวยไทยของสหรัฐ เป็นสมาชิกของ USOPC เฉย ๆ ซึ่ง USOPC ก็เหมือนคณะกรรมการโอลิมปิคไทยและคณะกรรมการพาราลิมปิกไทยนี่แหละ ที่มันเป็นเรื่องปกติที่เขารับรองสมาคมกีฬาของเขา ซึ่งก็รับรองพร้อมกัน 11 สมาคมกีฬา ไปตามขั้นตอนเฉยๆ  เรื่องนี้มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2028 ของสหรัฐเลยครับ เรื่องรายละเอียดที่มาที่ไปพวกนี้ มีแยะแต่เอาเป็นว่า “อย่าไปมั่วตามว่า อลป.2028 สหรัฐจะจัดกีฬามวยไทย” ก็พอครับ เพราะกีฬามวยไทยเราหลุดในข่ายที่จะจัดได้ไปนานแล้ว เรื่องที่สองจากการประชุม ASBC หรือสมาพันธ์มวยสากลแห่งเอเชีย ที่มีคุณพิชัย ชุณหวชิร เป็นประธานวันวาน ที่ระบุในข่าวออกมาว่า จะมีการเตรียมนำเสนอจุดยืนหรือข้อมูล เสนอต่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC เพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวมวยสากลในเอเชียอยากให้มีมวยสากลในโอลิมปิกเกมส์ต่อ …

แจงข่าวมั่ว “มวยไทยจะไปโอลิมปิกเกมส์2028” และงงข่าวแปลก มวยสากลเอเชียจะข้ามหน้าลูกพี่ เตรียมยิงรายงานตรงถึงโอลิมปิกสากล “ว๊าวววว” Read More »

ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยอีกฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

บทนำ             เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1889 มร.อาร์มอนด์ เฟเลียร์ (รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศส) ส่งคูเบอร์แต็งไปสหรัฐอเมริกาและแคนาดา “เพื่อเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆที่นั่นและศึกษาองค์กรและการดำเนินงานของสมาคมกีฬาที่จัดตั้งโดยเยาวชนของประเทศเหล่านี้” คูเบอร์แต็งออกเดินทางช่วงปลายเดือนกันยายน ในระหว่างนี้ เขาเตรียมการเดินทางโดยอ่านทบทวนหนังสือชื่อ Democracy in America ของท็อควิเล คูเบอร์แต็งได้เห็นอเมริกาเป็นครั้งแรกในวัยเพียง 26 ปี เช่นเดียวกับท็อควิเล คูเบอร์แต็งเดินทางมาเพื่อเข้าใจบริบทซึ่งประชาธิปไตยต้องสมบูรณ์เพื่อแสดงบทบาทต่อการศึกษา ทั้งนี้ แม้ฝรั่งเศสจะยกเลิกระบอบขุนนางแต่ยังไม่สามารถสถาปนาประชาธิปไตยที่เสถียรภาพได้และหลักการศึกษายังคงไว้ซึ่งอนุรักษ์นิยม             เมื่อถึงที่หมาย คูเบอร์แต็งเดินทางไปทั่ว เก็บข้อมูล สังเกตการณ์ และจดบันทึกผลสะท้อนคิดของตนเอง อเมริกันชนกำลังเตรียมอนาคตของพวกเขาภายในและโดยรอบของมหาวิทยาลัยต่างๆ แม้ความพยายามต่างๆจะแลดูไม่ค่อยบูรณาการ แต่ผลความก้าวหน้าได้สร้างจิตวิญญาณที่ดีของการแข่งขัน โดยจิตวิญญาณนี้ได้ประโยชน์จากความเป็นแองโกลแซกซันที่เด่นชัด จำนวนนักวิชาการและนักวิจัยที่มากหลาย รวมทั้งความกว้างใหญ่ของทวีป             สำหรับอเมริกันชนแล้ว ความเคารพกฎหมายมีความสำคัญทัดเทียมกับเสถียรภาพของพลเมืองและศาสนา ความซื่อตรง จิตอาสา และการเสี่ยงเพื่อผลกำไรคือ หลักปฏิบัติ             สมาคมกีฬาเฟื่องฟูทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย คูเบอร์แต็งเล็งเห็นการศึกษาสองระบบที่ตรงข้ามกัน ระบบที่มาจากอังกฤษเน้นเกมกีฬาอิสระ อีกระบบคือยิมนาสติกของชาวเยอรมัน โดยนักกีฬาจะถูกคัดเลือกด้วยเกณฑ์สรีระที่ชัดเจนและเคร่งครัด             คูเบอร์แต็งพบว่า อเมริกาในขณะนั้น แม้จะมีสถาบันการศึกษาชั้นสูงจำนวนมาก แต่กลับมีจำนวนโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่มากและล้วนต่างมุ่งเน้นการเตรียมนักเรียนเพื่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การจัดการศึกษาในลักษณะนี้ส่งผลให้พื้นฐานสติปัญญาและจริยธรรมสั่นคลอนในขณะที่นักเรียนกำลังเข้าสู่ระยะสำคัญสุดของชีวิตในการสร้างความเป็นมนุษย์และพลเมือง โรงเรียนใหม่ๆถูกจัดตั้งขึ้นตามแนวการสอนของอาร์โนลด์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ …

ตอนที่ 7 : มหาวิทยาลัยอีกฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!