สถานีความคิด

ตอนที่ 6 : จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสหภาพสังคมสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคมและสหภาพสังคมสันติภาพ             วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1888 คูเบอร์แต็งส่งจดหมายในนามคณะกรรมการถึงสมาชิกของสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสมาชิกของสหภาพสังคมสันติภาพ เพื่อร้องขอความช่วยเหลืออย่างเข้มแข็งให้ดำเนินการต่อต้านระบบการศึกษาที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อความจำเป็นของยุคสมัย             เลอ เพลย์ ก่อตั้งสมาคมเศรษฐกิจและสังคมใน ค.ศ.1856 และสหภาพสังคมสันติภาพซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายได้ถูกจัดตั้งใน ค.ศ.1872 โดยทั้งสององค์กรได้ร่วมกันตีพิมพ์รายงานสมาคมเพื่อการปฏิรูปสังคมซึ่งคูเบอร์แต็งได้แต่งบทความจำนวนหนึ่ง เป้าหมายหลักของสมาคมเศรษฐกิจและสังคมคือ การพัฒนาสังคมและจริยธรรม คูเบอร์แต็งเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสังคมสันติภาพโดยคำแนะนำของคอมต์ เดอ ดามาส ใน ค.ศ.1883 และเป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรใน ค.ศ.1888 คูเบอร์แต็งดำรงตำแหน่งเลขานุการที่ประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.1887 กรุงปารีส วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1888 เรียน ท่านสมาชิก             คณะกรรมการที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในโรงเรียนซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ มร.จูเลส์ ไซแมง องค์ปาฐกที่โดดเด่นของการประชุมสภาของพวกเราใน ค.ศ.1887 โดยรองประธานทั้ง 3 ท่านคือ มร.ไพคูติ ดร.ริชาร์ และนายพลโทมัสแซง ล้วนเป็นสมาชิกของสหภาพรวมทั้งเลขานุการของคณะกรรมการชุดนี้ก็ได้รับเกียรติจากทุกท่านเช่นกัน             แม้จะมีหลายสิ่งสำคัญที่ผูกพันคณะกรรมการกับสหภาพ เหนือสิ่งอื่นใดคือ เป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล บ่อยครั้งที่เฟร็ดเดอริก …

ตอนที่ 6 : จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสหภาพสังคมสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 5 : นักเรียนของพวกเรา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

นักเรียนของพวกเรา             ในหัวข้อนี้ คูเบอร์แต็งบรรยายประสบการณ์ตนเองต่อสถานการณ์ที่น่าหดหู่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาฝรั่งเศสโดยเขาสงสัยว่า นักเรียนตระหนักถึงสถานการณ์ย่ำแย่ของตนเองและพวกเขาถูกจองจำและต้องยอมรับข้อประพฤติต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องประการใดต่อความคิดอิสระหรือไม่ การกีฬาควรมีประโยชน์ในเรื่องนี้ แต่นักเรียนจะเล็งเห็นคุณค่าของกีฬาหรือไม่? คูเบอร์แต็งเรียกร้องเพื่อนในคณะกรรมการรณรงค์พลศึกษาในระบบการศึกษาให้ใช้การกีฬาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆของโรงเรียนมัธยมศึกษา             แม้จะไม่ได้นับจำนวนนักเรียนที่ข้าพเจ้าทำการศึกษาในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา แต่คงมีจำนวนมาก แท้จริงแล้ว ความใคร่รู้ที่แปลกและไม่น่าสนใจในขั้นต้นกลับกลายเป็นสิ่งพิเศษอย่างยิ่ง นอกจากนี้ นักสังเกตจะพัฒนาทักษะด้วยการสังเกตจริง รายละเอียดที่มองข้ามในขั้นต้นจะดึงดูดความสนใจซึ่งจะนำพาวิธีคิดของบุคคล เราจะใส่ใจรายบุคคลนอกเหนือจากองค์รวมแบบกลุ่ม เราจะเรียนรู้การบ่งชี้กลุ่มต่างๆเพื่อเข้าใจสิ่งที่เป็นจริงและจัดทำข้อสรุปต่างๆซึ่งเป็นวิธีการตอบสนองความใคร่รู้ของนวัตกรสมัยใหม่ต่อความเป็นจริง สิ่งต้องการทั้งหมดสำหรับวรรณกรรมของพวกเขาคือสิ่งที่ปรากฎจริง ดังนั้น พวกเขาต้องบันทึกสิ่งเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนก่อนบรรจุไว้ในผลงานของพวกเขา             “ข้ามทางเดินเพื่อติดตามนักเรียนกลางวันออกจากโรงเรียน” “และจงเปิดตาและหูของคุณให้กว้างไว้” คือคำแนะนำที่มีเหตุผล ข้าพเจ้าบากบั่นในความพยายาม ข้าพเจ้าเดินตามพวกเขา จดจำท่าทาง สีหน้าและรอยยิ้ม ข้าพเจ้าพยายามจับคำพูดหรือบางส่วนของบทสนทนาโดยลงมือทำอยู่หลายครั้ง จากนั้น ข้าพเจ้าจะเข้าพบอย่างเป็นทางการโดยนำเสนอจดหมายลายมือของ มร.เกรอาร์ด ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงห้องใต้ดินหรือหลังคาหากต้องการได้ ใบหน้าของผู้อำนวยการโรงเรียนจะซ่อนความประหลาดใจอยู่เล็กน้อยจากความคุ้นชินต่อการพบกับผู้ตรวจงานซึ่งสวมแว่นตาและเสื้อคลุมสวยงามที่เข้ามาและจากไป ข้าพเจ้าจะทราบข้อมูลในทันทีที่ต้องการพร้อมเอกสารประชาสัมพันธ์และพวงกุญแจสำหรับการเข้าถึงทุกพื้นที่ สถานศึกษาเหล่านี้คล้ายคลึงกันกล่าวคือ โรงอาหารจัดโต๊ะเป็นแถวต่างๆและมีกลิ่นอับชื้น หอพักจัดเตียงจำนวนมากเป็นแถวและพื้นยกเสมือนเตรียมให้ครูสอนศิลปะการนอนหลับ บ่อยครั้งที่เราจะมองผ่านกระจกและเห็นนักเรียนใช้เวลาว่างในการเดินขึ้นลงด้วยความเคร่งเครียดของการครุ่นคิดถึงจุดสูงสุดของจิตวิญญาณมนุษยชาติ และผู้นำทางจะต้องไม่พลาดแสดง โรงยิมแก่ข้าพเจ้าที่มักจะว่างเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ และมีอยู่เพื่อการชมของนักเรียนเท่านั้น ผู้อำนวยการและเหรัญญิกโรงเรียนจะยินดีกับตัวเองสำหรับสิ่งต่างๆ…นักเรียนคือความชื่นใจ เป็นต้น ความจริงแล้ว บุคคลผู้ทุ่มเทและมีคุณธรรมเหล่านี้ทำงานอย่างเต็มที่แม้จะได้รับผลตอบแทนไม่มากแต่ได้รับการเชิดชูเกียรติ สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ไม่ใช่บุคลากร แต่เป็นอุปกรณ์…พวกเขาจึงบอกว่ามีความสุข ผู้บริหารเสมือนยืนอยู่บนโชคชะตาที่น่าเศร้าแต่พวกเขาเหนี่ยวรั้งตนเองเพราะไม่ต้องแลกตนเองกับความล้มเหลว…             คุณค่าของการเข้าชมโรงเรียนต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียน การค้นคว้าเรื่องการสอนและที่น่าสนใจล้วนต่างปรากฎบนท้องถนน               …

ตอนที่ 5 : นักเรียนของพวกเรา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 4 : การลดการเรียนหนัก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

การลดการเรียนหนัก            ใน ค.ศ.1887 คำว่า “การเรียนหนัก” คือคำพูดติดปากและการวิพากษ์สรุปสิ่งที่ชาวฝรั่งเศสทำร่วมกันในโรงเรียน พ่อแม่เชื่อว่าลูกเรียนหนักไปและไม่มีเวลาว่าง รวมทั้งการศึกษาที่เน้นเชาน์ปัญญาเกินควร คูเบอร์แต็งกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการเรียนหนักในหลายครั้ง             คูเบอร์แต็งเสียดสีว่า “มาตรฐาน” และ “กระดาษ” (เช่น ความหลงใหลในวุฒิบัตร) คือสิ่งบูชาที่ต้องการเครื่องบูชาที่เกินควร             เขาเห็นว่า ความเหนื่อยล้ามากเกินตลอดเวลาเกิดจากร่างกายอ่อนแอ สมองทึบและจิตใจหมองหม่น การเปลี่ยนแผนการศึกษาไม่ได้หมายถึงการปรับร่างกายหรือจิตใจ ตอน หนึ่ง             เมื่อหลายวันก่อน สาวใช้ช่างสนทนาคนหนึ่งกล่าวกับข้าพเจ้าว่า “ฉันทำให้แขกเอ่ยปากได้เสมอเกี่ยวกับการก่อสร้างหอไอเฟลและการเรียนหนัก” ข้าพเจ้าไม่ทราบถึงอนาคตของหอไอเฟล แต่ตระหนักถึงปัญหาการเรียนหนักที่ต้องแก้ไข สิ่งนี้คือหัวข้อที่ทุกคนมีความเห็นส่วนตัวและหนทางแก้ไข หนึ่งในความคิดเดิมหรือใหม่ที่มีความโดดเด่นซึ่งยังคงมีการต่อต้าน แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ทุกคนที่มองหากุญแจไขปัญหานี้ต้องพิจารณาถี่ถ้วนคือ การปรับปรุงพลศึกษา             ครั้งแรกที่ผู้คนตะโกนว่า การเรียนหนัก! การร้องว่า ไฟไหม้! คือการต่อต้านแผนการศึกษาปัจจุบันและพวกเขาทำด้วยความโกรธแค้น พวกเขาแจ้งพ่อแม่ที่เด็กต้องเรียนทุกสิ่งอย่างและแก่ผู้ปฏิบัติตามถึงสิ่งน่าวิตกทั้งหมด การคำนวณหนึ่งบวกหนึ่งทำให้พวกเขาสรุปได้ว่า เด็กที่ถูกสอนแนวนี้ไม่ได้เรียนรู้แต่ประการใดเนื่องจากผลรวมของความรู้มีมากเกินกว่าที่เด็กอายุระหว่างแปดถึงสิบเจ็ดปีจะสามารถรวบรวมเหมือนคำโบราณว่า “คนที่หยิบคว้ามากไปจะสูญเสียทุกสิ่ง” แต่หากพวกเราฟังพวกเขา แผนการศึกษาปัจจุบันจะไม่มีสิ่งใดหลงเหลืออยู่และจะถูกทดแทนด้วยหลักการและวิธีการอื่นที่ยังควานหาเป้าหมายชัดแจ้งไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า การปฏิบัติตามแผนงานที่ออกแบบไม่ดีจะเกิดภาพมายาจำนวนใด แต่การปฏิรูปไม่น่าจะไม่บรรลุเป้าหมาย …

ตอนที่ 4 : การลดการเรียนหนัก : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 3 ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส             บุคคลสามารถเลียนแบบเฉพาะสิ่งที่ตนเตรียมตัวเท่านั้น! ส่วนดีสุดของระบบการศึกษาอังกฤษจะสามารถปรับให้เหมาะต่อ “รูปแบบ เป้าหมาย และคุณลักษณะ” ของระบบการศึกษาฝรั่งเศสได้หรือไม่? คูเบอร์แต็งเพียรร่วมมือกับผู้นำทรงภูมิของสถาบันและผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยต่างๆต่อภารกิจนี้             ช่วงต้น ค.ศ.1889 คูเบอร์แต็งตีพิมพ์หนังสือ “ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส” ความยาว 206 หน้าซึ่งแต่งในเมืองเมียร์วิลล์ที่เงียบสงบและแล้วเสร็จในเดือนกันยายน ค.ศ.1888 โดยสรุปภารกิจใหม่ซึ่งเขาริเริ่มที่โรงเรียนบางแห่งในกรุงปารีสและนำเสนอ “แผนงานและความหวังของเขา” จากประสบการณ์ห้าปี สมาคมกีฬาของโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐคือ เลคานา เข้าร่วมสมาคมที่กำลังก่อตั้งและเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม ความอุตสาหะต่อเนื่องเพื่อบูรณาการกิจกรรมกีฬากับการพัฒนามนุษย์ภายในสาขาวิชาต่างๆและการเสริมแต่งบรรยากาศให้เกิดผลนั้น กลับถูกบิดเบือนบ่อยครั้งและเชื่องช้าในบางคราว รวมทั้งขัดแย้งกับแผนการศึกษาของคูเบอร์แต็งอยู่หลายครั้ง              หนังสือเล่มนี้แสดงแก่พวกเราถึงความบากบั่นนี้และคำวิพากษ์ต่อระบบการศึกษา             หนังสือฉบับนี้แบ่งเป็นสองส่วนๆแรกชื่อว่า “โรงเรียนมองจ์” ซึ่งประกอบด้วยสี่หัวข้อคือ การลดการเรียนหนัก คณะกรรมการเยาวชนและวิวัฒน์พลเมือง โรงเรียนมองจ์ที่อีตัน กีฬา เสรีภาพและความเป็นชนชั้น ส่วนสองชื่อ “แผนงานและความหวัง” ประกอบด้วยแปดหัวข้อคือ ข้อใคร่รู้ต่อโรงเรียนกลางวัน ใต้เงาต้นจูอีลี นักเรียนของพวกเรา เรือพาย แผนกลยุทธ์ของพวกเรา จากที่ไกลโพ้น! ทางเลือกงานอาชีพ และสุนทรพจน์ของพอลเบิร์ต หนังสือเล่มนี้ปิดท้ายด้วยภาคผนวกจำนวนสิบหน้าซึ่งกล่าวถึงความบากบั่นของคูเบอร์แต็งต่อการดำเนินงานให้เกิดผลซึ่งประกอบด้วย รายชื่อคณะกรรมการรณรงค์พลศึกษาในระบบการศึกษา จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคมและสหภาพสังคมสันติภาพ จดหมายถึงประธานสมาคมเรือพายกรุงปารีสและจังหวัด สมาคมวิชาชีพพลศึกษาแห่งชาติ …

ตอนที่ 3 ระบบการศึกษาอังกฤษในฝรั่งเศส : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 2 : ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ตอนที่ 2 ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ             คูเบอร์แต็งเข้าชมโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอังกฤษและไอริชเพื่อสังเกตการณ์หลายครั้ง โดยเขาตั้งคำถามแก่ครูและนักเรียนเพื่อความเข้าใจถ่องแท้ต่อการศึกษาที่เปลี่ยนจากที่คาดคิดก่อนคริสต์ศตวรรษสิบเก้า เขาชี้ความแตกต่างของการศึกษาที่ก้าวหน้าขึ้นจากความสำเร็จของผู้ริเริ่มที่โด่งดังสองท่านตามที่โดยเทเน (Taine) อ้างถึงกับประสบการณ์ตนเองในชั้นมัธยมศึกษาและระบบการศึกษาฝรั่งเศสที่กำลังปฏิบัติและติดหล่มอยู่             งานนิพนธ์ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษจำนวน 326 หน้าประกอบด้วยบทนำและอีกสิบหกตอนดังนี้ การเยี่ยมโรงเรียนพับลิก โรงเรียนอีตัน โรงเรียนฮาร์โรว์ โรงเรียนรักบี้ โรงเรียนเวลลิงตัน โรงเรียนวินเชสเตอร์ โรงเรียนมาร์ลโบโร โรงเรียนชาร์เตอร์เฮ้าส์ โรงเรียนคูเปอร์สฮิลล์ โรงเรียนเวสต์มินสเตอร์ โรงเรียนไครสต์ฮอสพิตัล ความเห็นทั่วไปและสรุป โรงเรียนคาทอลิก ความทรงจำมหาวิทยาลัย ทอย์นบีฮอลล์ ปัญหาและการแก้ไข             คูเบอร์แต็งใช้วิธีการสังเกตของเลอ เพลย์  (Le Play) ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในเวลานั้น เพื่อแสวงหาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของระบบการศึกษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้นกล่าวคือ การเกื้อหนุนนักเรียนให้ค้นพบศักยภาพมนุษย์ของตนเองและการอบรมเด็กให้ดำรงชีวิตในฐานะมนุษย์ เกิดบูรณาการในตนเองและอยู่ในสังคมที่มีความคาดหวังต่อพลเมืองในระดับสูง ตอน หนึ่ง             ผู้อ่านที่รัก สิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังนำเสนอแก่ท่านในหน้าต่างๆนี้ไม่ใช่บัญญัติการศึกษา แต่เป็นความประทับใจที่เกิดขึ้นระหว่างการเข้าชมโรงเรียนพับลิกในประเทศอังกฤษ             เป็นเวลานานแล้วที่ข้าพเจ้าได้ยินคุณพร่ำบ่นถึงสถานการณ์ของเด็กฝรั่งเศส คุณกล่าวถึงสิ่งต่างๆที่หนักหน่วงถึงขนาดว่า เด็กถูกริดลอนสิทธิขั้นพื้นฐาน             เด็กทั้งหลายกำลังถูกยัดเยียดความรู้             เด็กทั้งหลายกำลังกลายเป็นพจนานุกรมที่เดินได้             เด็กทั้งหลายทำงานหนักเกินตัว สิ่งเหล่านี้เป็นคำสรรเสริญ …

ตอนที่ 2 : ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

ตอนที่ 1 บทนำ : อุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

     ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็ง (Pierre de Coubertin) เป็นที่รู้จักจากนานาชาติด้วยความสำเร็จในการรื้นฟื้นโอลิมปิกเกมส์ในรูปแบบสมัยใหม่แต่มุมมองสรุปนี้ต่อคูเบอร์แต็งก็เพิ่งปรากฎไม่นานนี้ บทความพิเศษชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ.1908 นำเสนอคูเบอร์แต็งในฐานะ‘นักปฏิรูปการศึกษาฝรั่งเศสที่น่ายกย่อง’โดยไม่กล่าวถึงงานของเขาในการฟื้นฟูโอลิมปิกเกมส์ตราบจนคริสต์ทศวรรษ 1930 ชื่อเขาก็ยังคงปรากฎในสารานุกรมของประเทศต่างๆเฉพาะในสาขาการศึกษาเท่านั้น ภาคแรกของฉบับนี้คือ‘การเปิดเผย’แสดงถึงอุดมคติและมิติการศึกษาของกีฬาของคูเบอร์แต็งในรูปแบบต่างๆที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ตนเองโดยอุดมการณ์โอลิมปิกได้ปรากฎขึ้นในประวัติพัฒนาการของแนวคิดทั่วไปของปรัชญาและการศึกษาซึ่งทำให้ภาคสองคือ‘มิติต่างๆของโอลิมปิก’มีความสำคัญยิ่งต่อกรอบสาระของฉบับนี้โดยเหตุที่สิ่งพิมพ์จำนวนมากก่อนหน้าก่อให้เกิดมุมมองหลากหลายจึงมีการเรียกร้องต่อการทำความชัดเจนให้ปรากฎด้วยเอกสารที่ชัดแจ้ง จากมุมมองเชิงประวัตินี้ทำให้ทราบว่าขั้นตอนเช่นนี้นำไปสู่การยอมรับโอลิมปิกเกมส์ทุกสี่ปีในฐานะจุดสูงสุดของโลกกีฬาและทำให้การเล่นกีฬาเกิดขึ้นได้ซึ่งมีต้นกำเนิดจากบริบทเฉพาะของประเทศอังกฤษและแพร่หลายไปยังนานาชาติตลอดคริสต์ศตวรรษยี่สิบ การแสวงหาความเป็นสากลคือหนึ่งในเหตุผลหลายประการที่ทำให้โอลิมปิกเกมส์รักษาไว้ซึ่งความแข็งแกร่งและความน่าสนใจต่อชีวิตของพวกเราโดยเหตุนี้งานนิพนธ์ต่างๆที่นำเสนอในภาคสองจึงเป็นภาพสะท้อนกีฬานานาชาติในคริสต์ศตวรรษยี่สิบเช่นกัน เนื้อหาส่วนนี้เริ่มต้นด้วยแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของคูเบอร์แต็งและย้ำทวนแผนปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำเสนอวิวัฒนาการทางมโนทัศน์ของอุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็งในหลายรูปแบบโดยมุ่งเน้นในสามมิติกล่าวคือ – มิติประวัติ – มิติปรัชญาและการศึกษา – มิติโครงสร้างองค์กร ด้วยการพิจารณาลักษณะนี้ จะมีเพียงมุมมองโอลิมปิกเท่านั้นที่ทำให้งานนิพนธ์เหล่านี้มีความโดดเด่นจากเนื้อหาวิชาการด้านกีฬาของภาคแรกโดยนับประมาณได้ร้อยละสามสิบของงานนิพนธ์ทั้งหมดของคูเบอร์แต็งในภาคสองนี้พวกเราได้รวบรวมบทความ 98 ชิ้นที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมากทั้งรูปแบบและความยาวโดยบทความเหล่านี้มีจำนวนเกือบร้อยละสามสิบของ‘งานนิพนธ์โอลิมปิก’ของคูเบอร์แต็งซึ่งประกอบด้วยบทความหนังสือพิมพ์และวารสารเนื้อหาประกอบของงานสะสมและส่วนของหนังสือต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงสุนทรพจน์จำนวนมากซึ่งได้รับการจัดพิมพ์ภายหลังอยู่บ่อยครั้ง นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์แล้ว เนื้อหาส่วนนี้ประกอบด้วยจดหมายเวียนที่เขียนโดยคูเบอร์แต็งซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (IOC) ในขณะนั้นคำถามสำคัญต่างๆของยุทธศาสตร์โอลิมปิกได้ถูกตั้งขึ้นภายในจดหมายเหล่านี้โดยได้รับการขยายความและประกอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานนิพนธ์อื่นของตัวเขาเองแม้ด้วยลักษณะความเป็นทางการของจดหมายเวียนนี้และจำนวนคนที่ได้รับจะจำกัดก็ตามแต่ก็มีความเหมาะสมในการจัดเก็บเนื่องเพราะสามารถเปรียบได้กับสิ่งพิมพ์อื่นของคูเบอร์แต็งในด้านลีลาและเนื้อหา ทั้งนี้บทความมิติประวัติมีจำนวน 68 ชิ้น มิติปรัชญาและการศึกษามีจำนวน49 ชิ้นมิติโครงสร้างองค์กรมีจำนวน 21 ชิ้น รวมอีก3 ชิ้นเกี่ยวกับเมืองโลซานน์ในฐานะเมืองโอลิมปิกและ6ชิ้นที่เหลือเป็นมุมมองทั่วไป ผู้อ่านในปัจจุบันอาจพบว่าภาคสอง‘มิติต่างๆของโอลิมปิก’ค่อนข้างเป็นประวัติ แต่กระนั้นก็ต้องไม่ลืมว่าในฐานะประธาน IOC นั้นคูเบอร์แต็งต้องหยิบจับประเด็นในขณะนั้นที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกเกมส์ โดยหากตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนจะพบเสมอว่า พวกเราสามารถมองข้ามมิติประวัติเพื่อเข้าใจประเด็นต่างๆที่ยุทธศาสตร์โอลิมปิกกำลังถกเถียงในปัจจุบัน ความพลาดพลั้งบางประการอาจหลบเลี่ยงได้ด้วยการศึกษาประสบการณ์ในอดีต คำพรรณนาส่วนใหญ่ของรายการโอลิมปิกจะเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาต่างๆของประวัติร่วมสมัยข้อเสนอแนะต่างๆสำหรับการปรับปรุงการรณรงค์โอลิมปิกคำวิพากษ์ต่อความผิดที่เกิดขึ้นและการร้องขอต่อความร่วมมือในระดับสูงขึ้นที่โดยบ่อยครั้งจะปรากฎขึ้นในที่ประชุมซึ่งคูเบอร์แต็งจะแสดงพรสวรรค์ในการพูดต่อสาธารณะเพื่อนำเสนอวัตถุประสงค์ด้านโอลิมปิกแก่ผู้ฟังจำนวนมากของเขาได้อย่างน่าเชื่อถือที่จะกระตุ้นให้พวกเขาลงมือปฏิบัติ บทความของบท4‘มิติประวัติของอุดมการณ์โอลิมปิก’ได้รับการถ่ายทอดตามลำดับเวลาซึ่งสะท้อนการต่อสู้ยาวนานนับทศวรรษที่คูเบอร์แต็งมีความมุ่งมั่นต่อความเห็นของตนเองอัตชีวประวัติของเขาในระหว่าง ค.ศ.1887-1908 ใช้ชื่อที่สื่อความหมายมากคือ ‘A Twenty-One …

ตอนที่ 1 บทนำ : อุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

บทความ : สตรีเพศกับการกีฬา โดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว แห่งสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย

โอลิมปิกเกมส์ที่กรุงปารีสในอีกสองปีข้าง (Paris 2024) จะเป็นการสืบสานจิตวิญญาณโอลิมปิกที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 776 ปีก่อนคริสตกาล Paris 2024 จะเฉลิมฉลอง 2,800 ปี ชาตะกาลของโอลิมปิกเกมส์โบราณ !!! กรุงปารีส เคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์สองครั้งใน ค.ศ. 1900 และ ค.ศ. 1924 ความโดดเด่นของ Paris 1900 นั้น นอกจากจะเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นมาตุภูมิของ ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็ง บิดาของโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ แล้ว ยังเป็นจุดกำเนิดของการรณรงค์ให้สตรีเข้าร่วมในการกีฬาระดับโลกอย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยแม้คูเบอร์แต็งเองจะไม่ใคร่จะเห็นด้วยกับการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาของสตรีเพศ แต่ก็ไม่ได้กีดขวาง  นับแต่นั้นมา แนวคิดสิทธิการเล่นกีฬาของมนุษยชาติก็ขยายไปสู่การห้ามไม่ให้มีการกีดกันทางเพศ ศาสนา สัญชาติ เชื้อชาติ การเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงเพศวิถี ซึ่งถือปฏิบัติเป็นหลักพื้นฐานของอุดมการณ์โอลิมปิกในปัจจุบัน Paris 2024 ตอกย้ำความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยคำขวัญของเกมส์คือ Games Wide Open เพื่อเปิดประสบการณ์สู่ (ก) สุนทรียภาพของการกีฬา (ข) ศักยภาพของทุกคน และ (ค) …

บทความ : สตรีเพศกับการกีฬา โดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว แห่งสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย Read More »

แต่งตั้งรองผู้ว่าการ กกท.2 ตำแหน่งไม่ได้ข้อยุติ เส้นทางที่ชาวหัวหมากซึ่งคุมเกมเองไม่ได้ ก็คงทำได้แค่…ต้องทนได้และทนต่อไป

ตามที่ รองผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2565 พร้อมกันทั้ง 2 คน จากนั้นการกีฬาแห่งประเทศไทย โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการ กกท. ได้เริ่มกระบวนการสรรหาภายในเพื่อหาผู้ที่จะขึ้นมาแทน และ มีพนักงานระดับ 9 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วม สมัครเข้าสู่การคัดเลือกลุ้นสู่ระดับ 10 (รองผู้ว่าการ) ที่เขามีสิทธิ และคณะทำงาน ที่ผู้ว่าการ กกท.ผู้ที่มีอำนาจโดยตรงในการเลือกรองผู้ว่าการฯ ได้ตั้งขึ้นมา  ได้ช่วยดำเนินการสรรหา คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมแล้วเสร็จสิ้นขั้นตอนตั้งแต่เดือน ก.ย.2565 และได้เสนอผลต่อ ดร.ก้องศักด เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเรื่องก็ไม่มีอะไรคืบหน้ามาก จนบัดนี้ (30 ต.ค.2565)  ก็ไม่ได้มีการนำเสนอชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกสู่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กกท. ที่มีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมการ เพื่อขอ (แค่) ความเห็นชอบก็จะได้รองผู้ว่าการ กกท.มาทำงาน เพื่อให้จบกระบวนการแต่อย่างใด…และวันนี้ ก็เลยยังไม่มีรองผู้ว่าการ กกท.คนใหม่ …

แต่งตั้งรองผู้ว่าการ กกท.2 ตำแหน่งไม่ได้ข้อยุติ เส้นทางที่ชาวหัวหมากซึ่งคุมเกมเองไม่ได้ ก็คงทำได้แค่…ต้องทนได้และทนต่อไป Read More »

ชาวมวยไทยดีใจเก้อ กับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขามวยไทย เพราะ 1 ปีผ่านไปยัง “ไร้ความหวัง” ที่จะเห็น

1ปีเต็มๆ ที่ผ่านมา มีข่าวสารที่น่ายินดี “1ข่าว” คือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการผลักดันให้ “บุคลากรกีฬามวยไทย” ให้เข้าสู่การเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาหนึ่ง เสมือนศิลปินแห่งชาติ สาขาอื่น ๆ ที่กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเจ้าของงานนี้ เมื่อมีการเรียกร้องกันถึงเจ้าของงานเมื่อปีที่ผ่านมา ทางกระทรวงวัฒนธรรม โดยท่าน อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการฯ รับข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฏร ที่มีท่าน บุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นประธาน ซึ่งได้เสนอไปยังกระทรวงวัฒนธรรมให้พิจารณา และก็ทันที เมื่อ “รมว.อิทธิพล” ได้นำเรื่องที่เสนอด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติครั้งที่ 3/2564 เมื่อ 19 ส.ค.2564 โดยที่ประชุมนั้นมีมติ 2 ข้อ และได้ตอบกลับมายัง “ประธานบุญลือ” ว่ากันชัด ๆ คือ ข้อ 1.ยินดีที่จะดำเนินงานในการยกย่องบุคคลจากวงการมวยไทยให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ”  ข้อ 2.ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ช่วยดูแลเรื่องสวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนของผู้ที่จะได้เป็น ศิลปินแห่งชาติในสาขานี้ ให้เป็นไปในหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับศิลปินแห่งชาติสาขาอื่น ๆ ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ ได้ดูแลในทุกสาขา …

ชาวมวยไทยดีใจเก้อ กับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขามวยไทย เพราะ 1 ปีผ่านไปยัง “ไร้ความหวัง” ที่จะเห็น Read More »

เมื่อ “บิ๊กป้อม” บัญชา-ประกาศิตเอง ให้เคลียร์เงินค้างท่อ ค้างจ่าย กกท.ที่ผิดพลาดมาตลอด ก็จำต้องวิ่งไล่ล่า “7-15 ก.ย.นี้” จับตาการสะสางปัญหา ได้หรือไม่!!!

  จากที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (บอร์ด กกท.) ได้บัญชา เรื่องให้แก้ปัญหาลูกหนี้เงินยืมคงค้างของ กกท./ เงินค้างจ่าย/ รายได้ค้างรับ ที่มีสั่งสมค้างเติ่งมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยปัญหานี้ที่ต้องบัญชาให้ กกท.จัดการเพราะคำท้วงติงมาจากสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. และคงเป็นความกังขาของผู้เกี่ยวข้องด้วยว่า “ปัญหานี้ค้างกันได้อย่างไรและทำไม กกท.ต้องโดนสั่งทั้งที่ควรเป็นหน้าที่” โดยสรุปก็คือเงินที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย มีการยืมทดรองจ่ายไปค้างนาน รวม ๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 และจนถึงปัจจุบัน ง่าย ๆ คือ “ยืมเงินไปแล้วไม่เคลียร์คืน” นอกนั้นก็เงินค้างจ่ายที่ กกท.อนุมัติโครงการให้สมาคมกีฬาฯแล้วแต่ไม่มาเคลียร์ในหลาย ๆ ปีต่อมา “ได้เงินแล้วไม่จัดการ”  รวม ๆ แค่ 2 ส่วนนี้ก็ “ร้อยกว่าล้านบาท” นี่คือประเด็นที่ต้องสะสาง “ตามบัญชาหรือประกาศิต” บิ๊กป้อม ทำไมปล่อยให้ค้างนานขนาดนั้น “นี่คือความสิ่งที่ทุกคนกังขา” คำตอบที่หนีไม่พ้นสรุปง่าย ๆ คือ กระบวนการที่ผิดนี้เป็นเรื่องของ กกท.ทั้งมวล ที่ต้องรับผิด ไม่ว่าจะเป็นยุคเก่า ๆ …

เมื่อ “บิ๊กป้อม” บัญชา-ประกาศิตเอง ให้เคลียร์เงินค้างท่อ ค้างจ่าย กกท.ที่ผิดพลาดมาตลอด ก็จำต้องวิ่งไล่ล่า “7-15 ก.ย.นี้” จับตาการสะสางปัญหา ได้หรือไม่!!! Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!