บันทึกกีฬาไทย

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปี พ.ศ.2541 (ค.ศ.1998)

  กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ.1998)      การแข่งขันครั้งนี้ มีชาติเข้าร่วม จำนวน 41 ชาติ (ขาด อัฟกานิสถาน อิรัก และ ซาอุดีอาระเบีย) โดยมีนักกีฬาทั้งหมด 9,699 คน มีสโลแกนการแข่งขันว่า Friendship beyond Frontiers      การจัดของไทยครั้งนี้ จัดภายใต้ความยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจ หลายชาติในเอเชียวุ่นวายเพราะพิษเศรษฐกิจ รวมทั้งไทยก็เจอวิกฤตินี้กระทบอย่างหนัก แต่ด้วยประสบการณ์ที่เคยผ่านการจัดเอเชี่ยนเกมส์มาแล้วถึง 3 ครั้ง ความสามารถ และ ความตั้งใจ ประเทศไทยจึงฝ่าฟัน จนสามารถจัดเกมได้อย่างดีอีกหนหนึ่ง โดยการจัดครั้งนี้ของไทย มีการกระจายกีฬาในรอบแรกบางชนิดกีฬา ไปจัดยังต่างจังหวัด คือ ตรัง ศรีสะเกษ สุพรรณบุรี สุราษฏร์ธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปี พ.ศ.2541 (ค.ศ.1998) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 12 ณ เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2537 (ค.ศ.1994)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 12 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 2-16 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (ค.ศ.1994)      นับเป็นครั้งแรกของการจัดแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ที่จัดนอกเมืองหลวงของชาติเจ้าภาพ โดยฮิโรชิมา เมืองที่เคยได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเป็นเจ้าภาพ และจัดการแข่งขัน กีฬาที่แข่งขันมี 34 ชนิด คือ ยิงธนู กรีฑา แบดมินตัน เบสบอล บาสเกตบอล โบว์ลิ่ง มวยสากล เรือแคนู จักรยาน ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง ฟันดาบ ฟุตบอล กอล์ฟ ยิมนาสติก แฮนด์บอล ฮอกกี้ ยูโด กาบัดดี คาราเต้โด ปัญจกีฬาสมัยใหม่ เรือพาย เซปักตะกร้อ มวยปล้ำ วูซู และเรือใบ ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันมี 42 ประเทศ (อิรัก และ เกาหลีเหนือ ไม่ได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน) …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 12 ณ เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2537 (ค.ศ.1994) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 11 ที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 22 กันยายน – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990)      นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีน ได้จัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ โดยกีฬาที่แข่งขันมี 27 ชนิด คือ ยิงธนู กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล เรือแคนู จักรยาน ฟันดาบ ฟุตบอล กอล์ฟ ยิมนาสติก แฮนด์บอล ฮอกกี้ ยูโด กาบัดดี พายเรือ เซปักตะกร้อ ยิงปืน ซอฟท์บอล กีฬาทางน้ำ (ว่ายน้ำ กระโดดน้ำ โปโลน้ำ) เทเบิลเทนนิส เทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ วูซู เรือใบ กีฬาสาธิต มีกีฬาเบสบอล …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 10 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ วันที่ 20 กันยายน – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986)       เอเชี่ยนเกมส์หนนี้ถือว่าเป็นเกมที่เกาหลีใต้ ใช้เป็นการโหมโรง เพราะได้เตรียมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ.1988) และมีการก่อสร้างสนามกีฬายักษ์ ที่จุคนได้มากถึง 100,000 คน รองรับงานนี้ด้วยซึ่งถือว่าฮือฮามาก และเอเชี่ยนเกมส์ครั้งนี้ก็เป็นการชี้ให้เห็นว่าวงการกีฬาเอเชียกำลังจะไปได้ดี เพราะหลาย ๆ กีฬาถูกบรรจุเข้ามาเพิ่ม โดยรวมแล้วมีกีฬาที่แข่งขัน 25 ชนิดกีฬา  คือ โบว์ลิ่ง แบดมินตัน บาสเกตบอล จักรยาน ขี่ม้า เรือแคนู มวยสากล ฟุตบอล ยิงธนู กรีฑา ฟันดาบ กอล์ฟ ยิมนาสติก แฮนด์บอล ฮอกกี้ ยูโด ยิงปืน ว่ายน้ำ …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ.2529 (ค.ศ.1986) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9 ที่กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย วันที่ 19 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982)      ถือว่าเป็นการวนกลับไปสู่บรรยากาศของจุดกำเนิด ของกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกครั้ง กีฬาที่แข่งขันมี 21 ชนิด คือ ยิงธนู กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล จักรยาน ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง ฟุตบอล ยิมนาสติก กอล์ฟ แฮนด์บอล ฮอกกี้ เรือกรรเชียง ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส เทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ และเรือใบ ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันมี 33 ประเทศ รวมนักกีฬาทั้งหมด 3,446 คน นับเป็นความยิ่งใหญ่ในการมีชาติเข้าร่วมมากขึ้น และ จำนวนนักกีฬาก็สูงขึ้น      และครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ดูแลการจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์จากคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 9 ณ กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการเข้าร่วม การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ.1978)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ.1978)      ประเทศไทย จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพอีกวาระหนึ่ง เพราะปากีสถาน ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมมนตรีสหพันธ์ฯ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้ ได้แจ้งไปยังสหพันธ์ฯว่าไม่สามารถจัดการแข่งขันได้เนื่องจากปัญหาทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อ นายอาลี บุตโต นายกรัฐมนตรีปากีสถานในขณะนั้น ได้สั่งระงับการเป็นภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ผลจากการที่ ปากีสถาน ขอคืนความเป็นเจ้าภาพ      จึงได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ขึ้น ในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 21 ณ กรุงมอลทรีออล ประเทศแคนาดา เพื่อหาประเทศเจ้าภาพแทนปากีสถาน และ ที่ประชุมได้มีมติขอร้องให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง โดยสมาชิกสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้น สำหรับการเป็นเจ้าภาพ ยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันประเทศไทยจึงรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ รับการแข่งขันครั้งนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกครั้ง …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการเข้าร่วม การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย พ.ศ. 2521 (ค.ศ.1978) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2517 (ค.ศ.1974)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่    7 ที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน วันที่ 1-16 กันยายน พ.ศ. 2517 (ค.ศ.1974)      ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ เกือบต้องล้มคว่ำกลางคัน เนื่องจากอิหร่านและญี่ปุ่นได้นำข้อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน พ.ศ. 2516 ให้ที่ประชุมพิจารณารับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน (จีน) เข้าเป็นสมาชิก โดยมีเงื่อนไขว่า สหพันธ์ฯต้องขับจีนชาติ (ไต้หวัน) ออกจากการเป็นสมาชิก ผลปรากฏว่ากรรมการบริหาร 4 คน ได้เดินออกจากที่ประชุม ในที่สุดจากการวิ่งเต้นของอิหร่าน และ ญี่ปุ่นจึงทำให้การรับรองสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ ผ่านไปด้วยดี และไม่เพียงแค่จีนเท่านั้น ชาติที่ได้ชื่อว่า เป็นชาติที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม อย่างเกาหลีเหนือ และ มองโกเลีย ก็เข้าร่วมเกมนี้เป็นหนแรก      ดังนั้นการแข่งขันครั้งที่ 7 จึงมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 19 ประเทศ มีการชิง 202 เหรียญทอง …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2517 (ค.ศ.1974) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปีพ.ศ.2513 (ค.ศ.1970)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6    ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2513 (ค.ศ.1970)      ตามกำหนดเดิมเกาหลีใต้รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 ปี จะถึงกำหนดการแข่งขัน เกาหลีใต้เจ้าภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่สามารถจะเป็นเจ้าภาพได้จึงขอถอนตัว แต่เพื่อมิให้การแข่งขันครั้งนี้ต้องยกเลิกไป เกาหลีใต้จึงยินดีหาเงินให้กับประเทศ ที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ จึงได้เปิดประชุมอย่างเร่งด่วน ครั้งแรกที่ประชุมมีมติ ให้ญี่ปุ่นรับจัดแทนเกาหลีใต้ แต่ต่อมาญี่ปุ่นปฏิเสธเพราะกำลังจะจัดงาน เอ็กซ์โป’ 70 แต่ยินดีที่จะช่วยมอบเงินสมทบทุนให้แก่ประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพ      ในที่สุดคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์จึงมีมติขอร้องให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพแทนเกาหลีใต้ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศไทยอยู่ในศูนย์กลางของภาคีเอเชี่ยนเกมส์อยู่แล้ว การไปมาก็สะดวกกว่าชาติอื่น ๆ ประการที่สอง ไทยขณะนั้นเพิ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งที่ 5 ผ่านมา ซึ่งได้รับความสำเร็จยิ่งเหนือกว่าชาติอื่นๆ และ สนามกีฬากับอุปกรณ์การแข่งขัน ก็มีพร้อมแล้ว เหตุการณ์ภายในประเทศก็ไม่ได้มีปัญหา และในที่สุดประเทศไทยก็ตอบรับ โดยมีเงื่อนไขว่า การเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จะต้องไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินของไทยไปจัด …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปีพ.ศ.2513 (ค.ศ.1970) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย : เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5 : ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปี พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2509 (คศ.1966)      การจัดเอเชี่ยนเกมส์หนนี้ของไทย อยู่ท่ามกลางความวุ่นวายของหลายประเทศ เช่น สงครามในประเทศเวียดนาม, ความวุ่นวายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับไต้หวัน และ กลิ่นอายของสงครามในคาบสมุทรเกาหลี แต่อย่างไรก็ดีไทยก็สามารถดำเนินการจัดได้อย่างสมบูรณ์และเป็นที่น่าพอใจของทุกๆ ชาติที่เข้ามาร่วม โดยมีกีฬาที่แข่งขัน 14 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล จักรยาน ฟุตบอล ฮอกกี้ เทนนิส ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล มวยปล้ำ และมีการสาธิตกีฬาซอฟท์บอล โดยมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 18 ประเทศ รวมส่งนักกีฬารวมทั้งหมด 2,500 คน       เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ และได้ส่งนักกีฬาชาย 201 …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย : เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5 : ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปี พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966) Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 4 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ปีพ.ศ.2505 (ค.ศ.1962)

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 4 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 24 สิงหาคม – 4 กันยายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ.1962)      เอเชี่ยนเกมส์ครั้งนี้ มีการแข่งขัน 15 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา ยิงธนู แบดมินตัน บาสเกตบอล มวย จักรยาน ฟุตบอล ฮอกกี้ เทนนิส เทเบิลเทนนิส ว่ายน้ำ ยิงปืน วอลเลย์บอล และมวยปล้ำ มีการสาธิตกีฬายูโด การแข่งขันครั้งนี้ทุกคนหวังความเจริญก้าวหน้าของเกม แต่ก็เกิดเรื่องที่ทุกฝ่ายมองว่าทำให้เกมต้องมัวหมอง เพราะเจ้าภาพอินโดนีเซียทำทุกวิถีทางที่จะกีดกันจีนชาติ (ไต้หวัน) และ อิสราเอล ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันเพราะปัญหาจากการถูกบีบทางด้านการเมืองของสมาชิกบางกลุ่มบางประเทศและก็สมหวัง ในครั้งนี้จึงมีนักกีฬาเข้าแข่งขันเพียง 1,460 คน จาก 16 ชาติ คือ ประเทศอัฟกานิสถาน พม่า กัมพูชา ซีลอน (ศรีลังกา) ฮ่องกง …

บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 4 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ปีพ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!