บันทึกกีฬาไทย

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ครั้งที่ 4 ประวัติศาสตร์กีฬาไทย และ โลกต้องจารึกเรื่องของ “กษัตริย์นักกีฬา” ไทย

กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4        กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ ครั้งที่ 4 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดแทนกัมพูชา เนื่องจากว่ากัมพูชา ปฏิเสธการเป็นเจ้าภาพตามคิว การแข่งขันได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 984 คน จาก 6 ประเทศ คือ พม่า ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยกัมพูชาไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วม กีฬามี 16 ชนิด คือ เซปักตะกร้อ รักบี้ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล จักรยาน ฟุตบอล ยูโด ว่ายน้ำ ยิงปืน เทเบิลเทนนิส เทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก และเรือใบ     …

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ครั้งที่ 4 ประวัติศาสตร์กีฬาไทย และ โลกต้องจารึกเรื่องของ “กษัตริย์นักกีฬา” ไทย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2508 ที่ประเทศมาเลเซีย

กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 3    กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 3 เดิมทีนั้นประเทศกัมพูชา จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในปี พ.ศ.2506 แต่เมื่อถึงกำหนด กัมพูชาไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ เนื่องจากระยะนั้น กัมพูชาได้ตัดสัมพันธไมตรี กับ ไทย กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารกับไทย ซึ่งกัมพูชาเห็นว่าประเทศไทยเป็นเจ้าของกีฬาแหลมทอง จึงไม่ยอมจัดการแข่งขันตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ การแข่งขันกีฬาแหลมทอง จึงต้องเลื่อนออกมาจัดในปี พ.ศ. 2508 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 14-24 ธันวาคม พ.ศ. 2508       การแข่งขันกีฬาแหลมทอง ที่ประเทศมาเลเซีย มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 7 ประเทศ คือ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย มีแข่ง 14 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย กรีฑา แบดมินตัน มวยสากล จักรยาน …

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2508 ที่ประเทศมาเลเซีย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ กีฬาเซียพเกมส์ครั้งที่ 2 ที่ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ปี พ.ศ.2504

กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2      กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ ครั้งที่ 2 ประเทศพม่าเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันที่กรุงย่างกุ้ง ในระหว่างวันที่ 11-16 ธันวาคม พ.ศ. 2504  มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 7 ประเทศ คือ สิงคโปร์ ลาว ไทย เวียดนาม พม่า มาเลเซีย และ กัมพูชา มีชนิดกีฬาที่ทำการแข่งขัน 13 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล จักรยาน ฟุตบอล เทนนิส ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก และ เรือใบ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งงหมด จำนวน 623 คน จอมพลประภาส จารุเสถียร ประธานโอลิมปิคไทยขณะนั้น     …

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ กีฬาเซียพเกมส์ครั้งที่ 2 ที่ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ปี พ.ศ.2504 Read More »

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 1 จากจุดเริ่มต้น ที่กลายมาเป็นกีฬาซีเกมส์ ในปัจจุบัน ครั้งแรกจัดในไทย ปี พ.ศ.2502

กีฬาแหลมทองครั้งที่ 1        บันทึกเรื่องราวของฮีโร่นักกีฬาของไทย ในระดับกีฬาภูมิภาคเอเชียอาคเนย์        เพื่อเก็บความภาคภูมิใจไว้ให้อยู่คงประเทศไทย และวงการกีฬาของไทย…..เริ่มต้นจากกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1       กีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 12 -17 ธันวาคม พ.ศ.2502 ได้ทำพิธีเปิดที่สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน (สนามศุภชลาศัย) โดยมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด และทรงมีพระราชดำรัสกล่าวเปิดการแข่งขัน        โดยมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 6 ประเทศ คือ พม่า ลาว ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจำนวนนักกีฬาทั้งหมด 518 คน เป็นชาย 480 คน  หญิง 38 คน  มีการแข่งขัน  …

บันทึกกีฬาไทย : กีฬาแหลมทอง หรือ กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 1 จากจุดเริ่มต้น ที่กลายมาเป็นกีฬาซีเกมส์ ในปัจจุบัน ครั้งแรกจัดในไทย ปี พ.ศ.2502 Read More »

พเยาว์ พูนธรัตน์ เหรียญแรกโอลิมปิกของไทย จากทีมมวยสากลในศึกโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 21 ปี 2519 หรือ ค.ศ. 1976

เหรียญแรกของกองทัพนักกีฬาไทยในโอลิมปิกเกมส์ เกิดจากทีมมวยสากลของไทย ในศึกโอลิมปิกเกมส์ 1976 หรือ ปี พ.ศ. 2519 ณ มหานครมอลทรีออล ประเทศแคนาดา โดยฝีมือของ พเยาว์ พูนธรัตน์ ที่คว้าเหรียญทองแดงได้สำเร็จ ดูรายละเอียดและผลงานนักมวยไทยที่ไปร่วม ไม่ว่าจะเป็น สมชาย พุทธาภิบาล พินิจ บุญจวง ณรงค์ บุญเฟื่อง วีระชาติ สะเทิ้งรัมย์

รำลึกถึง ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา ตำนานคัมภีร์ลูกหนังคนไทยที่จากไปเมื่อ 6 มี.ค.2540

ย.โย่ง คัมภีร์บอล ตำนานที่ไม่มีใครลืม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2540 นับเป็นวันที่มีการสูญเสียสื่อมวลชนสายกีฬา ที่ต้องจารึกว่าเป็นผู้บุกเบิก การเป็นคัมภีร์ลูกหนัง ให้กับวงการสื่อมวลชนไทย อย่างเช่น “ย.โย่ง” หรือ เอกชัย นพจินดา ไปอย่างกะทันหันด้วย โรคที่หมอโรงพยาบาลเปาโลระบุคือ “หัวใจล้มเหลว” ท่ามกลางการตกใจของผู้ที่ทราบข่าวในขณะนั้น ไม่ใช่แค่คนที่คุ้นเคยในฐานะเพื่อนพี่น้องร่วมวงการ หรือร่วมงาน แต่อาจจะกล่าวได้ว่าคนเกือบทั้งประเทศรู้จักแกเป็นอย่างดี เพราะนอกเหนือจากงานเขียนในหนังสือพิมพ์ บ้านเมืองที่เขาเริ่มทำงานเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2516 จนกระทั่งย้ายฐานการทำงานไปอยู่ใต้ร่มเงาของค่าย สยามกีฬา จนกระทั่งปิดฉากชีวิต และนอกจากนั้น “ย.โย่ง” ยังได้เป็นผู้จัดรายการกีฬาทางสถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 99 พร้อมทั้งเป็นผู้ประกาศข่าวกีฬาทางช่อง 7 ตั้งแต่ปี 2531 ด้วย คำอาลัยมีมากมายในช่วงนั้น ถึงคนที่ชื่อ ย.โย่ง ที่จากไปด้วยวัยเพียง 44 ปี เขาเป็นผู้บรรยายกีฬาที่อัจฉริยะ หมายเลข 1 ของเมืองไทย และไม่ใช่ชำนาญการบรรยายฟุตบอลอย่างเดียว แต่เขายังรู้ลึกถึงกีฬาชนิดอื่น ๆ อย่างแตกฉาน สามารถถ่ายทอดผ่านสื่อได้อย่างชัดเจน …

รำลึกถึง ย.โย่ง เอกชัย นพจินดา ตำนานคัมภีร์ลูกหนังคนไทยที่จากไปเมื่อ 6 มี.ค.2540 Read More »

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 4 สองนายใหญ่แห่งกรมพละก็กระเด็น

ภาค 4 ฟ้าผ่ากรมพละ : เด้งอธิบดี-รองอธิบดี ในช่วงปลาย ปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่บิ๊กๆ ในวงการกีฬา ทั้งเรื่อง ดร.ณัฐ อินทรปาณ รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ลาออกจาก กกท. เพราะเหมือนโดนหมิ่นครหา ต่อมาก็ ดร.สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการ กกท.ก็ยื่นหนังสือลาออก เพราะไม่สนองบิ๊กๆ การเมือง ต่อมาก็กรณี สิงห์ข้ามห้วย ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ กระโดดจาก มศว ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการ กกท..แทน ดร.สมชาย แบบ “ฟ้าผ่า” ก่อนจะสิ้นปี พ.ศ.2539 ทางด้านกรมพลศึกษา หรือที่เรียกว่าดินแดนช้างสามเศียร ก็ไม่พ้น โดนด้วย เมื่อช่วงนั้น คณะรัฐมนตรีเปลี่ยนจากชุดที่นำนาวาโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อผ่านการเลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น ก็มาเป็นยุคของ “บิ๊กจิ๋ว” พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี และก่อนคริสต์มาสแค่วันเดียวคือวันที่ …

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 4 สองนายใหญ่แห่งกรมพละก็กระเด็น Read More »

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 3 : อ.ศักดิ์ชาย ข้ามห้วย คนใน กกท.ผิดหวัง

ภาค 3 สิงห์ข้ามห้วย คือ ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ จากกรณีที่ผู้ว่าการ กกท. “ดร.สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์” ลาออกจากตำแหน่ง วันที่ 22 ต.ค.2539 คำขอสุดท้าย ในวันยื่นหนังสือลาออกของ “สมชาย” ต่อ รมต.กีฬารักษาการคือ ปองพล อดิเรกสาร ก็คือขอให้พิจารณาคนมาแทนคือคนใน กกท. จึงมีการเล็งกันว่า ถ้าเป็นไปตามนั้น นั่นก็หมายถึง นพ.เจริญทัศน์ จินตนเสรี รองผู้ว่าการ กกท.ที่อาวุโสสุด จะได้รับไม้ต่อ ในตำแหน่งผู้ว่าการ กกท.  และหากเป็นจริง วันที่ 28 ต.ค.2539 จะเป็นวันพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยหรือ บอร์ด กกท.ที่มี “รมต.ปองพล” นั่งหัวโต๊ะ จากนั้นเป้าหมายก็พุ่งไปที่ หากว่า “หมอเจริญทัศน์” ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าการ กกท.แล้ว จะมีตำแหน่งรองผู้ว่าการ กกท.ขาดอีก 1 ตำแหน่ง และข่าวการขวางคนนอก ที่จะเข้ามาเบียดนั่งเก้าอี้รองผู้ว่าการ กกท.ก็เกิดขึ้น …

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 3 : อ.ศักดิ์ชาย ข้ามห้วย คนใน กกท.ผิดหวัง Read More »

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 2 : ผู้ว่าการสมชาย ก็ไม่รอด ต้องลาตำแหน่ง

ภาค 2..สมชาย ก็ยอมหนี : ออกจากตำแหน่งผู้ว่า กกท. หลังจาก 8 พ.ค.2539 นั้น “รองณัฐ” ดร.ณัฐ อินทรปาณ ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่งตอนนั้นคือรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายวิชาการ ไปเรียบร้อย ดร.สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ขณะนั้นก็เปรย ๆ ว่า การสับเปลี่ยนตำแหน่งภายในหน่วยงานก็เป็นปกติ แม้แต่ตนเองก็เช่นกัน เพราะการแต่งตั้งผู้ว่าการ กกท.เป็นไปตามพระราชบัญญัติการกีฬา ที่บอร์ด กกท.มีอำนาจ หากว่าบอร์ดมีการพิจารณาว่าตนเองผิดพลาดก็พร้อมที่จะพิจารณาตนเอง (ข่าว 14 พ.ค.2539) จากนั้น “ดร.สมชาย” ก็เสนอคนใน กกท.ทั้งหมดให้บอร์ด เป็นผู้พิจารณาผู้ที่เหมาะสมขึ้นเป็นรองผู้ว่าการแทน “รองณัฐ” ที่ลาออกไป และวันที่ 12 พ.ค.2539 บอร์ด กกท.ก็มีมติเห็นชอบที่จะแต่งตั้ง นายวิวัฒน์ วิกรานตโนรส ที่ตอนนั้นทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ กกท. ขึ้นเป็นรองผู้ว่าการ กกท.คนใหม่ และช่วงนั้น เหมือนทุกอย่างจะเงียบลง ปัญหาใน กกท.ไม่ค่อยมีข่าวคราวอะไรมากมาย …

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 2 : ผู้ว่าการสมชาย ก็ไม่รอด ต้องลาตำแหน่ง Read More »

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 1 : ดร.ณัฐต้องอำลาถิ่นหัวหมาก

ภาค 1.เด้งรองณัฐ-ก่อนลาออก บันทึกกีฬาไทยโดย Station THAI ขอเปิดประวัติศาสตร์วงการกีฬาปี พ.ศ.2539 โดยมองว่าปีนั้นทั้งปี แตกต่างจากปีอื่น ๆ แน่นอนเพราะ ระดับหัวแถวขององค์กรกีฬา โดนให้ออก ลาออก บีบออก ย้าย หรือโยกข้ามห้วยกันระนาว บันทึกเหล่านี้ใครที่เกี่ยวข้องคงโต้แย้งยากครับเพราะเป็นบันทึกจากสื่อในยุคนั้น ที่เขียนถึงกันแบบถ้วนหน้า เริ่มจากคำครหาและการลาออกของ “ดร.ณัฐ อินทรปาณ” ขณะนั้นเป็นรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ฝ่ายวิชาการ….หาคำตอบว่า ทำไม. จุดเริ่มต้นที่แตกหักคือ…..การประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กกท. เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2539 โดยมีนายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่ประธานบอร์ด กกท.โดยตำแหน่งนั้น หรืออาจจะเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นรัฐมนตรีกีฬา ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ได้นำเรื่องวาระอื่น ๆ เข้าสู่การหารือในบอร์ด กกท.ต่อกรณีการร้องเรียนเกี่ยวกับการประมูลอุปกรณ์ต่างๆ ในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติหัวหมาก (ที่กลายมาเป็นสนามราชมังคลากีฬาสถานในปัจจุบัน) ที่ตอนนั้นกำลังเริ่มวางแผนการก่อสร้าง และดำเนินการต่าง ๆ พร้อมๆ กัน ซึ่งพาดพิงถึงผู้ที่ดูแลการทำงานนี้อยู่คือ “ดร.ณัฐ” …

2539 ปีแห่งการเชือดบิ๊กกีฬา ภาค 1 : ดร.ณัฐต้องอำลาถิ่นหัวหมาก Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!