สถานีการศึกษา

มข. ลุยจัดงานเพื่อสังคม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 ดูแลสุขภาพประชาชนฟรี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดมหกรรม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการเปิดงาน และ อาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานการจัดงาน ณ บริเวณลานชั้น 1 สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สำหรับงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจําปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร “การอุทิศเพื่อสังคม” ของชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ และความเชี่ยวชาญที่มีในการรับใช้สังคมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การจัดมหกรรมการบริการชุมชนในปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีนี้มีหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก มาร่วมจัดกิจกรรมถึง 41 หน่วยงาน การให้บริการในปีนี้ ครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ มีประชาชนมารอเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก ในวันนี้เรานำบริการต่าง ๆ ของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มาให้บริการที่นี่ เป็นบริการที่ครบถ้วน …

มข. ลุยจัดงานเพื่อสังคม KKU CSV “มหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ครั้งที่ 2 ดูแลสุขภาพประชาชนฟรี Read More »

อาชีวศึกษากรุงเทพ ร่วมมือ ศูนย์จิตอาสาภาครัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR และ AED

นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ประธานกรรมการอาชีวศึกษากรุงเทพ เปิดเผยว่า สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย ศูนย์จิตอาสาภาครัฐ ร่วมกับ อาชีวศึกษากรุงเทพ จัดกิจกรรมอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ณ ห้องราชดำเนินชั้น 1 โรงแรม Royal Princess หลานหลวง โดยมี ดร.มงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ในการอบรมครั้งนี้ มีครู นักเรียน นักศึกษา จากสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษากรุงเทพ จำนวน 36 คน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากเหตุการณ์ช่วยปั๊มหัวใจให้นักเรียนหญิงที่โดนไฟดูดที่จังหวัดอุดรธานี ของ “บอส” หรือนายปรัชญา ใจบุญ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์ โดยเห็นว่า การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีปั๊มหัวใจ หรือ การทำ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) …

อาชีวศึกษากรุงเทพ ร่วมมือ ศูนย์จิตอาสาภาครัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR และ AED Read More »

ครม. มีมติเห็นชอบ แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิต และการทำงานวิถีใหม่

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่” พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานำแนวทางฯ พร้อมคู่มือ ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ – เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐ มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ให้สะดวก รวดเร็ว โดยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการให้บริการประชาชน ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว ลดความแออัด ตลอดจนออกแบบและปรับปรุงการบริการภาครัฐรูปแบบใหม่ ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง – เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐเกิดความยึดหยุ่นและคล่องตัวสอดคล้องกับสถานการณ์การทำงานวิถีใหม่ หรือกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ ฉุกเฉิน หรือเหตุวิกฤตอื่น ๆ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานตลอดจนส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนวทางดำเนินการ – การปรับรูปแบบและขั้นตอนวิธีการทำงาน และรูปแบบการให้บริการประชาชน ยกระดับมาตรฐานการทำงานภายในให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดขั้นตอนและกระบวนงานที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทดแทนการใช้กำลังคนปกติให้บริการประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการได้ทุกวัน – การพิจารณาลักษณะงานและภารกิจ ปรับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน และต้องไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยอาจพิจารณาจากภารกิจของหน่วยงาน เช่น ภารกิจการให้บริการหรืออำนวยความสะดวกประชาชน …

ครม. มีมติเห็นชอบ แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิต และการทำงานวิถีใหม่ Read More »

ครม. มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. เพิ่ม “โรคจิต – โรคอารมณ์ผิดปกติ” ห้ามรับราชการ

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .… ในการเข้ารับราชการ โดยยกเลิกวัณโรค แต่เพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) เป็นอุปสรรคต่อการรับราชการ คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. และรายงานผลการแก้ไขปรับปรุงหนังสือเวียนของ สำนักงาน ก.พ. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และรับทราบรายงานผลการแก้ไขปรับปรุงหนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ​​ ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าว ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เป็นการปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 เพื่อกำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนด โดยยกเลิกโรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ …

ครม. มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. เพิ่ม “โรคจิต – โรคอารมณ์ผิดปกติ” ห้ามรับราชการ Read More »

วธ. เปิดเว็บไซต์ “Thai Fabric Wisdom” คลังข้อมูลผ้าไทยทั่วประเทศ กระตุ้นอุตสาหกรรมผ้าไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

วธ. เปิดเว็บไซต์ “Thai Fabric Wisdom” คลังข้อมูลผ้าไทยทั่วประเทศ พร้อมเปิดอบรมบุคลากรเรียนรู้และเข้าใจการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิปัญญาผ้าไทย เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระตุ้นอุตสาหกรรมผ้าไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับนานาชาติ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายสืบสาน รักษา และต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์  “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์  มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” เพื่อปรับเปลี่ยนบทบาทกระทรวงสู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ โดยการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม รวมทั้งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และให้บริการทางวัฒนธรรมสู่ชุมชนและประเทศ ประกอบกับ ภาครัฐให้ความสำคัญในการทำ Big Data วธ.จึงนำเรื่องผ้าไทย ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของไทยที่มีศักยภาพ และมีข้อมูลจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงในปีนี้ วธ. ได้ดำเนินการจัดทำผ้าไทยลายอัตลักษณ์ครบ 76 จังหวัด ครั้งแรกของประเทศไทย วธ.จึงได้จัดการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิปัญญาผ้าไทย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้บุคคลากรในหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผ้าไทย ได้เรียนรู้และเข้าใจร่วมกันในโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาผ้าไทย แพลตฟอร์มที่เข้ากับโลกยุคใหม่ เพื่อเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ พัฒนาเป็นฐานข้อมูลที่เป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่ที่สุดในเรื่องผ้าไทยของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า ประชาชนและชุมชนมีโอกาสเข้าถึงผ่านเว็บไซต์ …

วธ. เปิดเว็บไซต์ “Thai Fabric Wisdom” คลังข้อมูลผ้าไทยทั่วประเทศ กระตุ้นอุตสาหกรรมผ้าไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ Read More »

จุฬาฯ พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร Progesterone Test Kit ได้จำนวนสุกรเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UTC) เปิดตัวนวัตกรรมชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร (Progesterone Test Kit) ผลงานการคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้ความร่วมมือของทีมห้องปฏิบัติการงานวิจัยจาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ และทีมวิจัยและทดสอบภาคสนามในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย สำหรับจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ใช้บ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด (ยอมรับการผสมพันธุ์) ทำให้ได้จำนวนสุกรเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนในการเลี้ยงสุกรแก่ผู้ประกอบการ พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดซื้อนวัตกรรมระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ MSD Animal Health จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ณ สำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chula UTC) โครงการ Block28 โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ Mr. Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และพิธีลงนามในสัญญาการจัดซื้อระหว่าง ศ.ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (QDD center) และ …

จุฬาฯ พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร Progesterone Test Kit ได้จำนวนสุกรเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร Read More »

พราวไทย จัดประกวดการแต่งบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน “ฉ่อย” หัวข้อ “ภาษาจรรโลงใจ” ชิงทุนการศึกษา

พราวไทย จัดประกวดการแต่งบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน “ฉ่อย” ขอเชิญชวนน้อง ๆ เรียนมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ร่วมประกวดแต่งบทเพลงฉ่อย หัวข้อ “ภาษาจรรโลงใจ” ชิงทุนการศึกษามูลค่ากว่า 120,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร เปิดรับสมัครวันนี้ ถึง 30 กันยายน 2565 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด – นักเรียน และนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษายู่ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในระดับชั้นมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า หลักเกณฑ์และรายละเอียดประกวด – จัดทำบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน “ฉ่อย” ภายใต้แนวความคิด “ภาษาจรรโลงใจ” โดยสื่อถึงคุณค่า และความสำคัญของภาษาไทย นำทักษะการใช้ภาษาไทยมารังสรรค์ในเชิงศิลปะ ดนตรี และเพลงพื้นบ้าน – ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถส่งผลงานได้จำนวน 1 ผลงาน ต่อ 1 ทีม – ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องสมัครเป็นทีม อย่างน้อย 2 คน …

พราวไทย จัดประกวดการแต่งบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน “ฉ่อย” หัวข้อ “ภาษาจรรโลงใจ” ชิงทุนการศึกษา Read More »

โรตารีสากล เปิดสอบแข่งขัน “โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ภาค 3350” ระยะเวลา 1 ปี ในหลากหลายประเทศ

โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ภาค 3350 โรตารีสากล ขอเชิญนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ภาค 3350 (จ.กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครนายก อ่างทอง สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี เพรชบูรณ์ และนครสวรรค์) สมัครสอบแข่งขันเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนระยะยาว 1 ปี (เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ เดือนสิงหาคม 2566) โดยมีประเทศที่คาดว่าจะไปแลกเปลี่ยน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก บราซิล ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ฮังการี เป็นต้น คุณสมบัติผู้สมัคร มีดังนี้ 1. มีภูมิลำเนาอยู่ในภาค 3350 (จ.กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครนายก อ่างทอง …

โรตารีสากล เปิดสอบแข่งขัน “โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ภาค 3350” ระยะเวลา 1 ปี ในหลากหลายประเทศ Read More »

สพฐ. พลิกโฉมโรงเรียนต้นแบบ สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ความรู้ และเทคโนโลยี ก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนา

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด และมอบนโยบายการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ด้วยการพลิกโฉมโรงเรียนต้นแบบสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมทั้งคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ภายในงานมีโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมจำนวน 26 โรงเรียน มีการนำเสนอผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และนวัตกรรมนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกมากกว่า 500 รายการ สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษา ที่ได้กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในปัจจุบันไปสู่การเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS …

สพฐ. พลิกโฉมโรงเรียนต้นแบบ สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ความรู้ และเทคโนโลยี ก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนา Read More »

อาชีวะเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ ระดมความคิดพัฒนาหลักสูตรสำหรับคนพิการ สร้างงานสร้างอาชีพในอนาคต

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพและติดตามผลการดำเนินงานอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการเข้าร่วมกว่า 100 แห่ง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและเตรียมแผนรองรับดำเนินงานในปีต่อไป นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ และนำประเด็นบางประการที่สาธารณชน รวมถึงสถานศึกษาทุกแห่งที่รับผู้เรียนพิการเข้าศึกษาให้ความสำคัญ และส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา มาดำเนินการวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน สอศ. มีสถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อคนพิการทั้งในรูปแบบการเรียนรวม (Inclusive Education) การเรียนในรูปแบบปกติ และทวิภาคี เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียนพิการ และได้ฝึกทักษะอาชีพ ส่งเสริมการสร้างงานให้คนพิการมีอาชีพ สามารถทำงานได้ เลี้ยงดูตนเองได้ โดยมีผู้เรียนพิการเรียนแบบอยู่ประจำ ในสถานศึกษาจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ และวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ สถานศึกษาที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เรียนรวมอีก 69 แห่ง และสถานศึกษาที่จัดสอนอาชีพผู้พิการ …

อาชีวะเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ ระดมความคิดพัฒนาหลักสูตรสำหรับคนพิการ สร้างงานสร้างอาชีพในอนาคต Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!