สถานีการศึกษา

อาชีวะ ช่วยผู้ประสบอุทกภัย จ.ระยอง เปิดศูนย์ “Fix it จิตอาสา” 17-19 ก.ย.นี้ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเนินสำราญ วัดศรีวโนภาสถิตย์พร

โครงการ Fix it Center จิตอาสา เปิดให้บริการซ่อมเครื่องใช้อุปกรณ์สิ่งของภายในบ้าน ซ่อมรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ทางการเกษตร ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม ณ จุดบริการอาคารอเนกประสงค์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเนินสำราญ วัดศรีวโนภาสถิตย์พร จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2565 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 นายกิตติพงค์ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง และ คุณเชาวนี พันธุ์พฤกษ์ ประธานอนุกรรมการชุมชนสัมพันธ์และการสื่อความ กลุ่ม ปตท. จังหวัดระยอง เป็นประธานรับ-มอบงบประมาณสนับสนุนให้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อนำไปดำเนินโครงการบูรณาการการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ กับ การสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนอาชีวะศึกษา หรือ (Fix it Center จิตอาสา) ประจำปีงบประมาณ 2565 (กิจกรรมบริการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม) ในพื้นที่อำเภอแกลง และอำเภอใกล้เคียง จังหวัดระยอง

CIBA DPU จับมือ BYD ปั้นคนเก่ง New Gen ด้านการเงิน-การลงทุน

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท หลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD พัฒนาทักษะนักศึกษาด้านการเงิน-การลงทุน ผ่านการปฏิบัติจริง ก่อนต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท หลักทรัพย์ บียอนด์ จากัด (มหาชน) โดยมี นางสาวออมสิน ศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายงานสนับสนุน) และนางสาวปทิตตา มิลินทจินดา กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายงานธุรกิจหลักทรัพย์) ร่วมลงนาม ที่ ห้องสัจจา 1 เกตุทัต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้น …

CIBA DPU จับมือ BYD ปั้นคนเก่ง New Gen ด้านการเงิน-การลงทุน Read More »

เริ่มแล้ว..มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู “ปิดเทอม เรื่องหนี้ มีทางออก” เริ่ม 4 ต.ค.นี้ นำร่องที่กำแพงเพชร

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ “ปิดเทอม เรื่องหนี้ มีทางออก” เป็นเวทีกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เริ่ม Kick off ที่กำแพงเพชร 4 ตุลาคม นี้ ก่อนขยายผลจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครูในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ “เป็นกิจกรรมที่ ศธ.ต้องการช่วยเหลือคุณครูเพื่อปลดภาระหนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับครู โดยนายสถานีแก้หนี้ทุกพื้นที่จะเป็นคนกลางหลักในการประสานเจ้าหนี้เพื่อมาเจรจาร่วมกัน ซึ่งธนาคารออมสินพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ดังนั้น อยากให้นายสถานีแก้หนี้ทุกพื้นที่เตรียมความพร้อมของตนเอง เพื่อจัดเวทีกลางในการเจรจาช่วยเหลือเพื่อนครูด้วยกัน” ทั้งนี้ กิจกรรม “ปิดเทอม เรื่องหนี้ มีทางออก” เป็นมาตรการเร่งด่วน ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งธนาคารออมสิน และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในการช่วยเหลือข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนและมีหนี้สินวิกฤต ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับรายงาน พบว่า ธนาคารออมสินมีลูกหนี้ที่เป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่ผิดนัดชำระหนี้ มีคดีพิพาท หรืออยู่ในระหว่างการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี จำนวน 6,331 ราย …

เริ่มแล้ว..มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู “ปิดเทอม เรื่องหนี้ มีทางออก” เริ่ม 4 ต.ค.นี้ นำร่องที่กำแพงเพชร Read More »

8 นักวิจัย มจธ. สุดเก่ง คว้าทุนมูลนิธิอาซาฮี ประจำปี 2565

มร.ทาคุยะ ชิมามุระ ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท AGC Inc. กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯ มีความร่วมมือกับประเทศไทย และ มจธ. มาอย่างยาวนาน โดยปี พ.ศ. 2555 เป็นปีแรก ที่มูลนิธิได้เข้ามาสนับสนุนทุนวิจัยให้กับทาง มจธ. ต่อเนื่องมาในปีนี้นับเป็นปีที่ 11 แล้ว และได้ให้การสนับสนุนวิจัยไปแล้วกว่า 68 โครงการ เป็นเงินกว่า 41,000,000 เยน “ผมเชื่อว่า นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยนี้จะสามารถร่วมกันพัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงให้กับประเทศไทยได้ และหวังว่าการให้การสนับสนุนของเราจะเป็นประโยชน์กับนักวิจัยทุกคนที่ได้รับทุนนี้ และมีความภาคภูมิใจเพราะงานวิจัยเหล่านี้ คือ ดอกผลที่มีศักยภาพ ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีขีดจำกัด” รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. ด้าน รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า ทุนอาซาฮี เป็นทุนสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม โดยในปีนี้ มจธ.ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิฯ จำนวน 5 …

8 นักวิจัย มจธ. สุดเก่ง คว้าทุนมูลนิธิอาซาฮี ประจำปี 2565 Read More »

สภาดิจิทัลฯ ชง “มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ช่วยนักเรียนยากจนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่ประชุม ครม. รับลูก แทงเรื่องให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย ได้เสนอ “มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ช่วยนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษทั่วประเทศ 1.8 ล้านคน ได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบมาตรการฯ ดังกล่าว พร้อมให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป ถือเป็นก้าวแรกที่น่ายินดีและดีใจแทนเด็กไทยที่จะได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น สร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ เปิดเผยว่า สภาดิจิทัลฯ ตระหนักและห่วงใยในเรื่องการศึกษาของเด็กไทย เพราะในสังคมปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาอยู่มาก ข้อมูลจาก สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) พบว่า ประเทศไทยมีนักเรียนยากจนจำนวนมาก ในปี 2564 มีนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษประมาณ 1.8 ล้านคน (ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา – ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) ซึ่งนักเรียนในกลุ่มดังกล่าว ร้อยละ 20 ที่มีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียน และร้อยละ 61 ที่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน และจากข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประเทศไทยยังคงมีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่มีความพร้อมด้านฐานะทางการเงิน ขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้เพื่อการเรียน และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้านต่ำมาก ส่งผลให้การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย ยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก โดยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้เพียง 19% …

สภาดิจิทัลฯ ชง “มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ช่วยนักเรียนยากจนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่ประชุม ครม. รับลูก แทงเรื่องให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ Read More »

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เปิดหลักสูตร “AI Sandbox” หลักสูตรร่วมครั้งแรกของไทย เรียนจบได้ใน 3 ปี

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2565 ได้อนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ หลักสูตร Sandbox ของ สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute ; AIEI) ที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 6 แห่งของประเทศไทย นำโดยมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute ; AIEI) จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแกนกลางในการช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันจัดการศึกษา แบ่งปันทรัพยากร เเละเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผน AI แห่งชาติ ในการสร้างทรัพยากรบุคคลของประเทศที่มีศักยภาพตามสาขาความต้องการด้าน AI เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปี หรือ ประมาณ 7 แสนคน ภายใน …

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เปิดหลักสูตร “AI Sandbox” หลักสูตรร่วมครั้งแรกของไทย เรียนจบได้ใน 3 ปี Read More »

สอศ. พัฒนาแอป “ช่างอาชีวะ” ยกระดับบริการ “ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน” (Fix it Center) ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 65 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการเชื่อมโยงระบบรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร พร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร ที่ผ่านการตรวจประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระดับภาค 5 ภาค รวม 25 รางวัล และระดับชาติรวม 5 รางวัล โดยมี นายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ กล่าวรายงาน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การดำเนินงานกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร ของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความต่อเนื่อง …

สอศ. พัฒนาแอป “ช่างอาชีวะ” ยกระดับบริการ “ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน” (Fix it Center) ทั่วประเทศ Read More »

คณะเกษตรฯ ม.ขอนแก่น จัดอบรม “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” จากวัตถุดิบธรรมชาติ ขับเคลื่อนชุมชนฐานราก ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” จากวัตถุดิบตามธรรมชาติภายในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร ศุภัชญา นามพิลา อาจารย์จากสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ในพื้นที่ตำบลป่ามะนาว และได้รับเกียรติจาก นายปรมัตถ์ เหล่าวอ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านมาตรฐานหม่อนไหม และนางสาวพัชรา วงษ์คำอุด นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ จากกลุ่มงานบริการวิชาการและเทคโนโลยี ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น มาเป็นวิทยากรในการอบรม ณ วัดโนนศิลาอาสน์ ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น  เมื่อเร็ว ๆ นี้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับ “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” โดยการย้อมสีจากวัตถุดิบตามธรรมชาติภายในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอด โดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดงานอบรมครั้งนี้ เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการสกัดและย้อมสีเส้นไหมจากวัตถุดิบที่หาได้ตามธรรมชาติ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้เลี้ยงไหมและทอผ้าไหมภายในชุมชมป่ามะนาวอยู่แล้ว ที่สนใจพัฒนาการย้อมสีเส้นไหมจากวัตถุดิบในธรรมชาติ …

คณะเกษตรฯ ม.ขอนแก่น จัดอบรม “การฟอกกาวและย้อมสีเส้นไหม” จากวัตถุดิบธรรมชาติ ขับเคลื่อนชุมชนฐานราก ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน Read More »

อาชีวะ ร่วมมือ สพฐ. จัดการเรียนการสอนวิชาชีพระยะสั้น แบบสะสมหน่วยกิต เทียบโอนรายวิชาในหลักสูตร ปวช. ได้

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือในกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนวิชาชีพระยะสั้น แบบสะสมหน่วยกิต (KUSOOM Credit Bank) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เทียบโอนรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระหว่าง วิทยาลัยอาชีวศึกษากุสุมภ์เทคโนโลยี กับ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และโรงเรียนเอกชนในอำเภอปากช่อง ประจำปี 2565 ที่ หอประชุม วิทยาลัยอาชีวศึกษากุสุมภ์เทคโนโลยี จ.นครราชสีมา เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การจัดการศึกษาในปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก การสะสมหน่วยการเรียนรู้ในด้านของการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เป็นการปลดล็อกการเรียนรู้ โดยให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทางเลือกในการเรียนที่หลากหลาย ตามความถนัดและความชอบของตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มีความสุขและมีความหมาย จึงเป็นที่มาของการสร้างความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยอาชีวศึกษากุสุมภ์เทคโนโลยี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครรราชสีมา และโรงเรียนเอกชนในอำเภอปากช่อง ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ธนาคารสะสมเครดิต …

อาชีวะ ร่วมมือ สพฐ. จัดการเรียนการสอนวิชาชีพระยะสั้น แบบสะสมหน่วยกิต เทียบโอนรายวิชาในหลักสูตร ปวช. ได้ Read More »

สพฐ. ถอดบทเรียน เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ร่วมลงพื้นที่กับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัว 3 นักเรียนชั้น ม.6 ที่ประสบเหตุคนร้ายยิงเสียชีวิต รวมถึงได้ติดตามการจัดการเรียนการสอน ณ โรงเรียนบ้านห้วยเสียด และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 ณ จังหวัดกระบี่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ และจากการลงพื้นที่ดังกล่าว นายอัมพร กล่าวว่า ที่ผ่านมา ศธ. ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมาโดยตลอด จากเหตุการณ์ที่นักเรียนถูกยิง 3 คน รมว.ศธ. ได้มีความห่วงใยจึงรีบลงมาดูว่าสาเหตุคืออะไร แล้วจะถอดบทเรียนนี้เพื่อใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาให้นักเรียนได้อย่างไร พบว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ เรื่องของยาเสพติด และการเดินทางในช่วงเวลากลางคืนของนักเรียน ที่อาจจะส่งผลให้เกิดเหตุร้ายได้ จึงถอดบทเรียนตรงนี้ได้ว่า เราจะร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น ๆ อย่างไร ในการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับนักเรียนคนอื่นอีก พร้อมเร่งดำเนินการช่วยเหลือครอบครัวนักเรียนที่เสียชีวิต โดยมอบหมายให้ ผอ.สพท. ประสานโรงเรียน ดูแลเรื่องทุนการศึกษาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งมีพี่น้องที่ยังคงเรียนอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมองหาโรงเรียนที่จะสามารถแบ่งเบาภาระของครอบครัวนักเรียนได้ …

สพฐ. ถอดบทเรียน เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!