สถานีการศึกษา

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ

กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ Coding ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้นักเรียนมีทักษะคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งเสริมให้โรงเรียนต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ Coding เป็นรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฉบับปรับปรุง 2560 นอกจากนี้ สถานศึกษาจำนวนมากได้ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้วยการจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจของผู้เรียนในตลอดช่วงเวลา 4 ปี ที่มีการประกาศใช้หลักสูตร โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งการจัดการเรียนการสอน Coding เป็นกระบวนการ Active Learning ที่นักเรียนได้คิด ลงมือปฏิบัติ ออกแบบ หรือนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเขียนโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้ดำเนินการ และเมื่อเจอสถานการณ์ นักเรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล ภายใต้เงื่อนไข และเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งกติกาไว้ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กรอบกติกา แต่มีอิสระในการคิดถึงเป้าหมายความสำเร็จได้ ถือว่าเป็นการจำลองสถานการณ์ของสังคม ซึ่งสามารถไปถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรชาติได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งนักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ อยากเรียนรู้ เรียนแบบเล่น …

สพฐ. พอใจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Coding โดดเด่น ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสร้างนักเรียนคุณภาพ Read More »

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล

ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า โลกได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปไกล มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ของผู้คน ดังนั้นการเตรียมคนให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ DPU ที่ได้ประกาศเปิด Metaverse Campus บนแพลตฟอร์ม The Sandbox เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ภายในปีการศึกษา 2565 นี้ “Web3 Technology เป็นเรื่องใหม่ที่มาคู่กับ Metaverse ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโลกอนาคต ปัจจุบันภาคธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับธุรกิจกันแล้ว สำหรับ DPU นักศึกษาทุกคนของเรา รวมถึงนักศึกษาในคณะฯ ได้เริ่มทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคยกับโลกใหม่ใบนี้กันแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะกลายเป็นทักษะสำคัญติดตัวนักศึกษาที่เรียนจบออกไป มีความพร้อมและมีโอกาสมากกว่าคนอื่นในโลกของการทำงานและการใช้ชีวิต”  ด้าน กระบวนการพัฒนานักศึกษาและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในระดับคณะฯ​ มุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนในแนวทางที่แตกต่าง ด้วย “ความรู้+ทักษะโลกอนาคต” เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล “ความรู้+โซเชียล และแล็ปสังคม+ทักษะโลกอนาคต” เป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตทั้งในโลกเสมือนและโลกจริง โดยที่ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงหลักคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม วิชาการพัฒนาเมือง เป็นอีกหนึ่งการเรียนที่สามารถออกแบบได้ทั้งในโลกเสมือน …

รัฐประศาสนศาสตร์ มธบ. พัฒนาหลักสูตร ผลิตผู้นำและนักบริหารมืออาชีพในยุคดิจิทัล Read More »

มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ EEC เชิญประกวดภาพถ่าย “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพา และ EEC เชิญผู้สนใจเข้าร่วมประกวดภาพถ่าย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาในพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565 ชิงรางวัลรวมกว่า 75,000 บาท ส่งผลงาน ได้ตั้งแต่บัดนี้ – 15 กันยายน 2565 การประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ช่างภาพมืออาชีพ 2. ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และกลุ่มภาคประชาสังคมในท้องถิ่น 3. นักเรียน นักศึกษา แนวคิด นำเสนอแนวคิดผ่านภาพถ่ายที่สะท้อนวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน วิถีชีวิตในเขตลุ่มน้ำ ที่ดำเนินไปควบคู่กับการพัฒนาใน 3 จังหวัดในพื้นที่เขต EEC (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) การเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งวิถีชุมชน อุตสาหกรรม ประมง เกษตร น้ำบริโภค หรือ มุมมองที่ต้องการเน้นย้ำความสำคัญ การสมัครเข้าร่วมโครงการ 1. …

มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล และ EEC เชิญประกวดภาพถ่าย “วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ EEC” ประจำปี 2565 Read More »

ศธ. สั่งการ ศึกษาธิการจังหวัดทั่วปท. สุ่มตรวจรถรับ-ส่งนักเรียน มอบหมายอาชีวะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ช่วยเด็กติดในรถ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำรอย

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผย มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ประสานไปยังสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ให้คิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ติดอยู่ในรถยนต์ โดยเร่งด่วน โดยหลังจากคิดค้นนวัตกรรมและประดิษฐ์สำเร็จแล้ว ให้ประสานไปยังโรงเรียนที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของวิทยาลัยนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งไปยังศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการกำกับ ติดตาม และสุ่มตรวจสอบการใช้รถรับ-ส่งนักเรียนของโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2562 หรือไม่ ที่ผ่านมา สถานศึกษาอาชีวศึกษาหลายแห่ง ได้คิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในการป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ติดอยู่ในรถออกมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เช่น วิทยาลัยเทคนิคลำปาง ได้สร้างระบบป้องกันและเตือนภัย โดยอาศัยหลักการตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในรถยนต์ ซึ่งเมื่อระบบตรวจสอบพบการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตในรถ กล่องควบคุมจะสั่งการเปิดประตูรถยนต์ และส่งสัญญาณเตือนภัยในรูปแบบเสียงแจ้งเตือนด้วยไซเรน และส่งข้อความ SMS ที่ระบุพิกัดสถานที่ด้วย GPS ไปยังโทรศัพท์ที่ตั้งค่าเอาไว้ ก็จะสามารถดูพิกัดสถานที่ได้ทันที วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ได้ประดิษฐ์ชุดควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรถยนต์ เมื่อมีผู้ติดอยู่ในรถ และมีค่าคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 1,000 ppm …

ศธ. สั่งการ ศึกษาธิการจังหวัดทั่วปท. สุ่มตรวจรถรับ-ส่งนักเรียน มอบหมายอาชีวะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ช่วยเด็กติดในรถ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำรอย Read More »

วธ. ดึงกูรูด้านภาพยนตร์ ดันโปรเจค “นักสร้างเรื่อง” หนุนเยาวชนใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตหนังสั้น สร้าง soft power ของประเทศ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งผลักดันการใช้  “Soft Power” ความเป็นไทย และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ในกำกับดูแลของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) รวมถึงดำเนินงานพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดโครงการสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Content Thailand Academy) : นักสร้างเรื่อง ให้เยาวชนในส่วนภูมิภาคได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ผ่านการผลิตภาพยนตร์สั้น   นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวมีการอบรมกระบวนการผลิตภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์ เทคนิคการกำกับการแสดง และขั้นตอนในการทำ Post Production เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ แลกเปลี่ยนมุมมองด้านภาพยนตร์ และได้ลงมือปฏิบัติงานร่วมกับผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเป็นการผลิตภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ วีดิทัศน์ และสื่อออนไลน์ ที่ช่วยเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว …

วธ. ดึงกูรูด้านภาพยนตร์ ดันโปรเจค “นักสร้างเรื่อง” หนุนเยาวชนใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตหนังสั้น สร้าง soft power ของประเทศ Read More »

ศธ. สั่งตั้งกก.ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี “น้องจีฮุน” วัย 7 ขวบ ถูกลืมบนรถตู้จนเสียชีวิต

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึง กรณีเด็กหญิงอายุ 7 ปี เรียนอยู่ชั้น ป.2 โรงเรียนเพลินจิตวิทยา จ.ชลบุรี ถูกลืมบนรถตู้รับ-ส่งนักเรียนจนขาดอากาศเสียชีวิต ว่า ตนได้มอบหมายให้ นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ลงพื้นที่โรงเรียน เพื่อรับทราบข้อเท็จจริง พร้อมสั่งการให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่องของใคร เป็นความบกพร่องของโรงเรียน ครูที่ดูแลเด็ก หรือคนขับรถโรงเรียน และให้ตรวจสอบด้วยว่า ในการใช้รถโรงเรียนรับ-ส่งนักเรียน ทางโรงเรียนได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ.2562 หรือไม่ โดยในข้อ 11 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2562 กำหนดให้ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนมีหน้าที่ ดังนี้ 1. ตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่รับ – ส่ง แต่ละเที่ยวให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายซื่อนักเรียน พร้อมทั้งจัดทำบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ใช้บริการ 2. ประจำอยู่กับรถโรงเรียนตลอดเวลาที่รับ – ส่งนักเรียน เพื่อควบคุมดูแลและช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดความปลอดภัยตลอดการเดินทาง 3. รายงานให้ทางโรงเรียนทราบทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ …

ศธ. สั่งตั้งกก.ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี “น้องจีฮุน” วัย 7 ขวบ ถูกลืมบนรถตู้จนเสียชีวิต Read More »

กรมศิลปากร ชวนประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท

กรมศิลปากร โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญชวน เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 (Thai Museum Day 2022) กับกิจกรรม Museum Photo Contest ภายใต้แนวคิด The Power of Thai Museums พลังพิพิธภัณฑ์ไทย ที่มีศักยภาพสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคม ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท เปิดรับผลงานวันที่ 1 – 10 กันยายน 2565 ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 19 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” เพื่อน้อม รำลึกพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จึงร่วมกับ พันธมิตรพิพิธภัณฑ์ไทย จัดการประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อสังคม โดยภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานพิพิธภัณฑ์ไทย แบ่งการประกวดออกเป็น 3 หัวข้อ คือ …

กรมศิลปากร ชวนประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท Read More »

สพฐ. เปิดสอบคัดเลือกทุนโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน YFU ปี 2566-2567 ประเทศอาร์เจนตินา และสาธารณรัฐเช็ก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดสอบคัดเลือกนักเรียนในสังกัด รับทุนโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน YFU ประจำปีการศึกษา 2566-2567 ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา จำนวน 2 ทุน ดังนี้ 1. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา ระหว่างเดือนมีนาคม 2566 – มกราคม 2567 หรือ เดือนสิงหาคม 2566 – กรกฎาคม 2567 จำนวน 1 คน 2. สาธารณรัฐเช็ก ระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 – กรกฎาคม 2567 จำนวน 1 คน คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุน 1. กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-5 ของโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ. 2. มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และไม่เคยได้เกรด 0 3. เกิดระหว่างวันเดือนปีตามที่ระบุของแต่ละประเทศ ดังนี้ …

สพฐ. เปิดสอบคัดเลือกทุนโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน YFU ปี 2566-2567 ประเทศอาร์เจนตินา และสาธารณรัฐเช็ก Read More »

ธ.ออมสิน จับมือ ศธ. จัดงาน “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู” เริ่ม ก.ย.นี้

ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือกับ ธนาคารออมสิน ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ล่าสุด ได้ข้อสรุปออกมาว่า ต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนสูง ได้แก่ กลุ่มลูกหนี้ของธนาคารออมสิน ที่ถูกฟ้องร้องและบังคับคดี ซึ่งมีจำนวน 6,331 ราย หากรวมผู้ค้ำประกันด้วย จะมีจำนวนมากถึง 20,000 ราย ให้ได้รับความช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้กลุ่มนี้ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย เจรจา ปรึกษา ปรับโครงสร้างหนี้ หาข้อยุติการบังคับคดี และแก้ไขปัญหาหนี้สินร่วมกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ธนาคารออมสิน และ ศธ. จึงกำหนดให้มีการจัดงาน “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู” โดยในเดือนกันยายน 2565 จะจัดงานจำนวน 1- 3 จังหวัด ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นสถานีแก้หนี้ และจัดงานพร้อมกันทุกจังหวัดในเดือนตุลาคม 2565 โดย ศธ.จะจัดส่งรายชื่อลูกหนี้ของธนาคารออมสินกลุ่มที่มีคดีพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษาที่อยู่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ให้กับสถานีแก้หนี้ เพื่อเชิญลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว และผู้ค้ำประกันเข้าร่วมงาน เพื่อไกล่เกลี่ยหนี้ ตามวัน …

ธ.ออมสิน จับมือ ศธ. จัดงาน “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู” เริ่ม ก.ย.นี้ Read More »

ครม. ไฟเขียวแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ศธ. 3 ราย “อรรถพล” นั่ง ปลัดกระทวงฯ “สุเทพ” คุม สภาการศึกษา “ธนุ” ดู อาชีวะ

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผย ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จำนวน 3 ราย 1. นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เป็น เลขาธิการสภาการศึกษา 3. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็น เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อ้างอิงจาก https://bit.ly/3AzkiHQ

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!