สถานีการศึกษา

สพฐ. จับมือ กรมอนามัย ผุดโปรเจกต์ “1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย สร้างเด็กไทย รอบรู้สุขภาพ”

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ได้ร่วมหารือกับ นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ถึงความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ “1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย สร้างเด็กไทย รอบรู้สุขภาพ” โดยมี นายวิทยา ประวะโข ผอ.สพม.อุดรธานี และนายภูเบศร์ ชื่นชม ผอ.รร.บ้านน้ำพ่น สพป.อุดรธานี เขต 1 ร่วมหารือในครั้งนี้ด้วย โดยเน้นพัฒนาให้ครูอนามัยเป็นโค้ชสุขภาพ “Health Coach” ในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ และสุขภาวะในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับนักเรียน หลังจากนั้นนักเรียนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอด บอกต่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ดูแลตัวเอง เพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมป้องกันกลุ่มโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าหมายเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้าหมายสร้าง Young Health Idol รอบรู้สุขภาพ ในแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ คือ นักเรียนชั้น ม.4 ขึ้นไป โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถทำ CPR ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ได้รับความรอบรู้เรื่องการปฐมพยาบาลตามหลักปฏิบัติที่เป็นสากล รวมถึงการป้องกันด้านสุขภาพจิต …

สพฐ. จับมือ กรมอนามัย ผุดโปรเจกต์ “1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย สร้างเด็กไทย รอบรู้สุขภาพ” Read More »

สภาสมาคมธรรมภิบาล ผนึกกำลัง ม.เกษมบัณฑิต จัดอบรมขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดย ศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ สภาสมาคมธรรมาภิบาล จัดโครงการอบรมหลักสูตร “หลักธรรมาภิบาลและนวัตกรรมการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา” เมื่อวันที่ 9 -10 สิงหาคม 2565 โดยมีวัตุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลและนวัตกรรมการบริหารจัดการให้กับผู้บริหารสถานศึกษา โดยในพิธีเปิดโครงการได้รับเกียรติจาก ดร.วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร.ณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ นายกสภาสมาคมธรรมาภิบาล และ ม.ล.โอรัส เทวกุล อุปนายกสภาสมาคมธรรมาภิบาล และคณะทำงาน เข้าร่วมในพิธี ซึ่งในโครงการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้  วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายเรื่อง “ศาสตร์พระราชากับการบริหารจัดการในสถาบันการศึกษา” , ดร.วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บรรยายเรื่อง “หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการ” และ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรยายเรื่อง …

สภาสมาคมธรรมภิบาล ผนึกกำลัง ม.เกษมบัณฑิต จัดอบรมขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา Read More »

สพฐ. คัดนักเรียนทุน “โครงการ 910 ทุนการศึกษาเพื่อนักเรียนที่ขาดแคลน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วย เลขาธิการ กพฐ.) ร่วมประชุมการหารือแนวทางการคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วม “โครงการ 910 ทุนการศึกษา เพื่อนักเรียนที่ขาดแคลน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา” ของ สมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และนายปรเมศวร์ ศิริรัตน์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร สำหรับ “โครงการ 910 ทุนการศึกษาเพื่อนักเรียนที่ขาดแคลน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา” จัดขึ้นโดย สมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการมอบโอกาสทางการศึกษาอันเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การศึกษาเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อประกอบอาชีพและมีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคมในอนาคต อีกทั้งการศึกษาจะช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม โดยมอบทุนการศึกษาจำนวน …

สพฐ. คัดนักเรียนทุน “โครงการ 910 ทุนการศึกษาเพื่อนักเรียนที่ขาดแคลน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง Read More »

มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย ให้ทุนป.ตรี ในประเทศ หลายสาขาวิชา เปิดรับสมัครถึง 31 ส.ค. นี้

มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย เปิดรับสมัครทุนการศึกษา โดยการคัดเลือกนักเรียนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 31 สิงหาคม 2565 ในสาขาดังต่อไปนี้ สาขาวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และเภสัชศาสตร์ คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุน 1. ขาดแคลนทุนทรัพย์ และครอบครัวมีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาท 2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปานกลาง – ระดับดี (ตั้งแต่ 2.8 ขึ้นไป) มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (เกรดเฉลี่ย ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป) 3. มีความประพฤติดี 4. ขณะขอทุน ผู้ขอรับทุนต้องเหลือเวลา 3 ปีการศึกษา ก่อนจบตามหลักสูตรเท่านั้น (กรณีหลักสูตร 4 ปี สามารถขอรับทุนได้ขณะที่กำลังจะเริ่มศึกษาชั้นปีที่ 2 / กรณีหลักสูตร …

มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย ให้ทุนป.ตรี ในประเทศ หลายสาขาวิชา เปิดรับสมัครถึง 31 ส.ค. นี้ Read More »

สช. จับมือ ทหารอากาศ มูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน จัดประกวดหนังสั้น “OUT OF THE BOX” และ คลิปวิดีโอ “Clip your life Click your Future” ชิงทุนรวม 250,000 บาท

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับ ทหารอากาศ และมูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน เชิญชวนนักเรียนนักศึกษา ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงการ “OUT OF THE BOX” (หนังสั้น) และโครงการ “Clip your life Click your Future” (คลิปวิดีโอ) ชิงทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 250,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล เกียรติบัตร รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 31 สิงหาคม 2565 ประกาศผลการตัดสิน 13 กันยายน 2565 – รายละเอียดโครงการ Out of the Box https://bit.ly/3P8sPqG – รายละเอียดโครงการ Clip Your Life Click Your Future https://bit.ly/3p0tdg7 อ้างอิงจาก https://bit.ly/3P7zQI7  

“วิษณุ” หนุนเพิ่มวิชาความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อ-หน้าที่พลเมือง-ประวัติศาสตร์ ในหลักสูตรโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ในการประชุมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ครั้งที่ 40 “ประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรลืม” โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ได้เพิ่มการเรียนการสอนในวิชาสำคัญที่นอกเหนือไปจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มีอยู่แล้ว อีก 2 วิชา คือ วิชาความฉลาดรู้เรื่องสื่อ กับวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม และในปีการศึกษา 2565 นี้ได้เพิ่มการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ อีกวิชาหนึ่ง “ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย เป็นองค์ความรู้เรื่องราวในอดีตที่มีหลักฐานชัดเจน หากไม่รู้เรื่องในอดีตอาจทำเรื่องในอนาคตได้ไม่ดี เพราะคนในอดีตอาจทำเรื่องนั้น ๆ ไว้แล้ว โดยเราสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับปัจจุบัน และอนาคตได้ในทุก ๆ สาขาอาชีพ หรืออาจกล่าวได้ว่า ก่อนจะแลหน้า ให้เหลียวหลังก่อน จึงจะเรียกว่ารอบรู้ ประเทศชาติเปรียบเสมือนต้นไม้ ประวัติศาสตร์เปรียบเสมือนรากของต้นไม้นั้น ประวัติศาสตร์ทำให้รู้รากเหง้าของประเทศ ถ้าประวัติศาสตร์ยิ่งยาวก็ยิ่งแข็งแกร่ง เหมือนต้นไม้ที่มีรากแก้ว ไม่ใช่มีแต่รากฝอย ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นในที่สุดก็จะล้มลง” รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ความไม่ประสบผลสำเร็จของวิชาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คือ ได้คนที่ไม่สนใจมาสอน …

“วิษณุ” หนุนเพิ่มวิชาความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อ-หน้าที่พลเมือง-ประวัติศาสตร์ ในหลักสูตรโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา Read More »

เปิดห้องเรียนอาชีพ และบริการ Fix it Center ที่โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา

เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ กิจกรรมโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) และจิตอาสา ที่ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายวิจารณ์ จุนทวิจิตร นายอำเภอเกาะพะงัน พันเอก ภัทรชัย แทนขำ เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 พร้อมด้วย นายกนกศักดิ์ ช่วยยิ้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา นายพงษ์ศักดิ์ นุ้ยเจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี ครูและบุคลากร ผู้บริหารการศึกษาเขตพื้นที่ กรรมการสถานศึกษา เทศบาล และชุมชุมในพื้นที่ ร่วมเป็นเกียรติและให้การต้อนรับ นายพงษ์ศักดิ์ นุ้ยเจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงโครงการห้องเรียนอาชีพ ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ว่า ได้เริ่มมาตั้งแต่ วันที่ 23 มิถุนายน 2565 มีผู้เรียนจำนวน 38 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาห้องเรียนอาชีพในสาขาแฟชั่นดีไซน์ พัฒนาอาชีพและสร้างโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้กับนักเรียนหลังสำเร็จการศึกษา เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนในสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ …

เปิดห้องเรียนอาชีพ และบริการ Fix it Center ที่โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา Read More »

อาชีวะ โชว์กึ๋น สร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ แก้ปัญหาชุมชนในพื้นที่

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดย ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ทาง สอศ. ได้นำผลงานวิจัยนวัตกรรม “การพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” เข้าร่วมจัดแสดงผลงานในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นผลงานที่เกิดจากคณะครู นักเรียน นักศึกษาของอาชีวศึกษา ได้ลงพื้นที่ในชุมชน และได้นำปัญหามาเป็นโจทย์วิจัยนำไปสู่การสร้างผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เพื่อการพัฒนาชุมชน รวมทั้งถือเป็นการสร้างทักษะให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านการทำโครงงาน ตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบายและจุดเน้นของ อาชีวศึกษาในปี 2565 ที่ตนได้มอบในเรื่อง “ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา แบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” อีกด้วย ด้าน เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในฐานะที่ตนได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ได้มอบให้ สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ไปทำงานร่วมกับสถานศึกษาทั่วประเทศ พร้อมทั้งหาแหล่งทุนสนับสนุนการทำงานวิจัยด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเน้นย้ำที่จะต้องสร้างทักษะต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการลงมือปฏิบัติงาน โดยใช้ชุมชนเป็นห้องปฏิบัติการ (Socail LAB) ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จริง เพื่อพร้อมที่จะออกไปทำงานและดำเนินชีวิตในอนาคต ทั้งนี้ …

อาชีวะ โชว์กึ๋น สร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ แก้ปัญหาชุมชนในพื้นที่ Read More »

วิศวะ จุฬาฯ ผนึกกำลัง 8 องค์กรชั้นนำ จัดตั้ง CCUS Consortium สร้างประโยชน์จากคาร์บอน

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาโลกร้อน และต้องหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซี่งเป็นเรื่องสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ประเทศไทยเอง ก็มีหลายธุรกิจอุตสาหกรรม ที่มีความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แต่ยังขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างชัดเจน รวมถึงขาดการส่งต่อและถ่ายทอดเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อนำมาสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับผู้ผลิตและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สร้าง CO2 ตลอดจนภาครัฐผู้วางนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการลดคาร์บอน และส่งต่อวิธีการกับเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์โดยผ่านกระบวนการและเทคโนโลยี จึงได้จัดตั้ง CCUS Technology Development Consortium ขึ้น โดยมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน รวบรวมข้อมูล ตลอดจนร่วมวางแผนและพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) ให้กับประเทศไทย โดยมีหน่วยงานเอกชนระดับแนวหน้าของประเทศ 5 กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม 8 บริษัท เข้าร่วมเป็นสมาชิกจัดตั้ง …

วิศวะ จุฬาฯ ผนึกกำลัง 8 องค์กรชั้นนำ จัดตั้ง CCUS Consortium สร้างประโยชน์จากคาร์บอน Read More »

สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมมือ อาชีวะ ปั้นหลักสูตรวิศวกรรมพรีเมียม

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้การต้อนรับ Mr. KAMIYO ผู้อำนวยการอาวุโส และคณะ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ในการเข้าเยี่ยมคารวะ และร่วมพิธีรับมอบเอกสารแสดงเจตจำนงข้อกำหนดขอบเขตการดำเนินงานความร่วมมือ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Technology – NIT) ฉบับปี พ.ศ. 2557 ซึ่งยังคงมีสถานะดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพรีเมียม สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ สำหรับสถานศึกษาภายใต้โครงการ จำนวน 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) โดยมี นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.นิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา นายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ และนายนพดล หัตถาพงษ์ …

สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมมือ อาชีวะ ปั้นหลักสูตรวิศวกรรมพรีเมียม Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!