สถานีการศึกษา

สหราชอาณาจักร ให้ “ทุนชีพนิ่ง” ทุนเต็มจำนวน เรียนต่อ ป.โท เปิดรับสมัครแล้ว – 1 พ.ย. นี้

รัฐบาลสหราชอาณาจักร เปิดรับสมัครทุนชีฟนิ่ง ทุนเต็มจำนวน ครอบคลุม ค่าเล่าเรียน ค่าเดินทางไป-กลับ จากสหราชอาณาจักร รวมทั้งค่าใช้จ่ายรายเดือน และค่าใช้จ่ายแรกเข้าเมื่อเดินทางมาถึงสหราชอาณาจักร เป็นทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท ระยะเวลา 1 ปี ในมหาวิทยาลัยใดก็ได้ในสหราชอาณาจักร โครงการทุนชีฟนิ่งเริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีผู้มีความรู้ความสามารถโดดเด่นจากทั่วโลกกว่า 50,000 คน ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองในสหราชอาณาจักรผ่านทุนชีฟนิ่ง และในปีการศึกษา 2566/2567 นี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักร จะมอบทุนการศึกษาอีกกว่า 1,500 ทุนทั่วโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทของสหราชอาณาจักรในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อที่จะก้าวไปเป็นผู้นำของโลกอนาคต คุณสมบัติผู้สมัครทุนชีฟนิ่ง ในประเทศไทย มีดังนี้ -สัญชาติไทย -มีประสบการณ์การทำงาน 2 ปีขึ้นไป -มีศักยภาพความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์ กล้าตัดสินใจ -สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีผลการเรียนในระดับที่ผ่านมาตรฐานการรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ผู้สมัครต้องการ -มีทักษะทางภาษาอังกฤษในระดับเทียบเท่า IELTS 6.5 ขึ้นไป -ไม่เคยได้รับทุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร เพื่อศึกษาในสหราชอาณาจักรมาก่อน -หลังจากสำเร็จการศึกษาจะต้องเดินทางกลับประเทศไทย และพำนักอยู่เป็นเวลา 2 ปี -ไม่จำกัดอายุของผู้สมัคร …

สหราชอาณาจักร ให้ “ทุนชีพนิ่ง” ทุนเต็มจำนวน เรียนต่อ ป.โท เปิดรับสมัครแล้ว – 1 พ.ย. นี้ Read More »

สอศ. ร่วมมือ ภาคเอกชน ตั้งเป้าขยายเรียนทวิภาคี 50% ใน 3 ปี ตอบโจทย์ตลาดงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) เพื่อสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา และขับเคลื่อนศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) พร้อมด้วย นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการ กอศ. ตลอดจนผู้บริหารสถานประกอบการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วม รมว.ศธ. กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก โดยกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำองค์ความรู้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ของสถานประกอบการในภาคเอกชนมาร่วมจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาการ ทักษะทางวิชาชีพ และการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพของครูและผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะขั้นสูง และได้รับประสบการณ์วิชาชีพ ตรงกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจอย่างแท้จริง อีกทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำเอายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม …

สอศ. ร่วมมือ ภาคเอกชน ตั้งเป้าขยายเรียนทวิภาคี 50% ใน 3 ปี ตอบโจทย์ตลาดงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย Read More »

รมว.ศธ. ลงพื้นที่ สพป.อยุธยา เขต 2 ต้นแบบแก้ปัญหา Learning Loss ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเติมเต็ม Learning Loss เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พระนครศรีอยุธยา เขต 2 ทั้งนี้ รมว.ศธ. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนอย่างมาก ทาง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ติดตามสถานการณ์โดยตลอด และออกมาตรการสำคัญเพื่อเยียวยาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา อาทิ ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้แก่ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน การให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวของนักเรียนรายละ 2,000 บาท รวมถึงปัจจุบันที่ยังคงเข้มงวดในมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในรูปแบบ On-site ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับ สพป.อยุธยา เขต 2 ได้ดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ ของ ศธ. เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เช่น …

รมว.ศธ. ลงพื้นที่ สพป.อยุธยา เขต 2 ต้นแบบแก้ปัญหา Learning Loss ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล Read More »

บ.โกลบอล เพาเวอร์ จัดประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เพื่อความยั่งยืน GPSC Young Social Innovator 2022 ชิงถ้วยพระราชทานฯ

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) เชิญชวนน้อง ๆ เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี ประกวดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ/บริการ ที่มุ่งแก้ปัญหาสังคม ด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เหรียญรางวัล ทุนพัฒนาผลงาน ทุนการศึกษา และโอกาสไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ รับสมัครถึงวันที่ 26 ส.ค. 65 GPSC Young Social Innovator 2022 กำหนดหัวข้อการประกวดภายใต้แนวคิด “พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” ใน 3 ประเภทการประกวด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งประดิษฐ์ (Invention) และ กระบวนการ & บริการ (Process & Service) โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ …

บ.โกลบอล เพาเวอร์ จัดประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เพื่อความยั่งยืน GPSC Young Social Innovator 2022 ชิงถ้วยพระราชทานฯ Read More »

“ตรีนุช” กำชับ สอศ. ต้องก้าวทันโลก ปรับหลักสูตร เน้นเรียนทวิภาคี ผลิตแรงงานคุณภาพ ทำงานได้จริง

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั้งรัฐและเอกชน จำนวน 1,300 คน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาทุกมิติโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการอาชีวศึกษา เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงขอให้ สอศ. เน้นการพัฒนาให้เด็กสามารถประกอบอาชีพได้จริง และตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโลกในศตวรรษที่ 21 และ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผู้เรียน หลักสูตร และแนวทางการเรียนการสอน ซึ่งทุกท่านในฐานะผู้บริหารจะต้องมีการปรับตัว และปรับรูปแบบการวิธีการบริหารจัดการ ให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวันนี้เรื่องหลักสูตร อาชีพ ระบบการเรียนรู้ ก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับผู้เรียนและเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีการที่จะขับเคลื่อนให้เร็วที่สุด คือ การจัดการศึกษระบบทวิภาคี ที่สถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ …

“ตรีนุช” กำชับ สอศ. ต้องก้าวทันโลก ปรับหลักสูตร เน้นเรียนทวิภาคี ผลิตแรงงานคุณภาพ ทำงานได้จริง Read More »

“นิติทันตวิทยา” เปิดปากไขความจริงจากศพ ทันตะ จุฬาฯ เตรียมผลักดันเปิดหลักสูตรนิติทันตวิทยา มุ่งมั่นเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญ

“นิติทันตวิทยา” หนึ่งในศาสตร์พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลที่แม่นยำ “เปิดปากไขความจริงจากศพ” ช่วยคลี่คลายคดี สืบค้นบุคคลผู้เสียชีวิตในเหตุภัยพิบัติ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมผลักดันเปิดหลักสูตร มุ่งมั่นเพิ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พิสชา พิทยพัฒน์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติทันตวิทยา ได้ร่วมตรวจสภาพฟันของอดีตดาราสาวแตงโม นิดา หรือ ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ เพื่อไขข้อข้องใจในคดีและคลี่คลายหลายคำถามของสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พิสชา พิทยพัฒน์ นิติทันตวิทยา เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยราว 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในปัจจุบัน สาขานิติทันตวิทยา เป็นหนึ่งในสาขาเฉพาะทาง ของ ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย แต่ยังไม่มีหลักสูตรฝึกอบรมเต็มรูปแบบ ทันตแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านนี้หลายท่านจึงเป็นผู้ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ยังมีจำกัด คือ 24 คนเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอกับจำนวนคดีความ และเหตุการณ์ที่ต้องการการระบุตัวตนบุคคล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงพร้อมผลักดันให้มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติทันตวิทยา เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรมทางด้านนี้ จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในงานนิติทันตวิทยา ช่วงปลายปี 2547 เกิดเหตุภัยพิบัติสึนามิ ผศ.ทญ.ดร.พิสชา ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาจารย์ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ …

“นิติทันตวิทยา” เปิดปากไขความจริงจากศพ ทันตะ จุฬาฯ เตรียมผลักดันเปิดหลักสูตรนิติทันตวิทยา มุ่งมั่นเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญ Read More »

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จัดแข่งขันนำเสนอโครงงานพัฒนาระบบต้นแบบ IoT : Internet of Things เพื่อพัฒนาธุรกิจ ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จัดแข่งขันนำเสนอโครงงานพัฒนาระบบต้นแบบทางด้าน IoT : Internet of Things เพื่อพัฒนาธุรกิจ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท พร้อมรับชุด KIT IOT ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่บัดนี้ – 23 ส.ค. 65 เชิญชวนน้อง ๆ มัธยมปลาย (หรือเทียบเท่า) ที่สนใจ รวมทีม ทีมละ 2-3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน เข้าร่วมสมัครแข่งขัน น้อง ๆ จะได้รับทั้งความสนุกสนาน ประสบการณ์จากการแข่งขัน และยังได้รับความรู้จากการอบรมทางด้าน IoT Workshop และความรู้ทางด้านเทคนิคในการนำเสนออย่างมือโปร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รายละเอียดโครงการ 1. ลงทะเบียนเพื่อสมัครเข้าประกวด ตั้งแต่บัดนี้ – 23 ส.ค. 65 2. …

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จัดแข่งขันนำเสนอโครงงานพัฒนาระบบต้นแบบ IoT : Internet of Things เพื่อพัฒนาธุรกิจ ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท Read More »

สยามคูโบต้า ร่วมมือ ดีป้า ชวนนิสิต นักศึกษา เสริมทักษะดิจิทัลและการเกษตรในโครงการ “คูโบต้า ต้นกล้าดิจิทัล ปีที่ 2”

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส สยามคูโบต้า พร้อมด้วย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มุ่งยกระดับเกษตรกรรมไทยก้าวสู่ Smart Farming ด้วยการใช้เทคโนโลยี โดยเชิญชวนนิสิต นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ไม่จำกัดคณะ และชั้นปี เสริมทักษะดิจิทัลและการเกษตรในโครงการ “คูโบต้า ต้นกล้าดิจิทัล ปีที่ 2″ พร้อมสนับสนุนการนำความรู้ไปต่อยอด และส่งต่อให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตร สนใจสามารถลงทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line Official ต้นกล้าดิจิทัล (ID LINE : @021dshkm) ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 กันยายน 2565 โดยระหว่างโครงการยังสามารถร่วมกิจกรรมเพื่อรับทุนการศึกษาและของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 35,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพันธิตา ทองมณี 084-311-7510

กรมชลฯ จับมือ ม.เกษตรฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน “รายงานสถานการณ์น้ำแบบมีส่วนร่วม” แบบเรียลไทม์

สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาแอปพลิเคชัน “การรายงานสถานการณ์น้ำแบบมีส่วนร่วม SWOC PR” สำหรับรายงานสถานการณ์น้ำจากทั้งสถานีตรวจวัด เจ้าหน้าที่ และประชาชน ได้อย่างบูรณาการ พร้อมแสดงผลการรายงานแบบเรียลไทม์ ที่ทุกคนสามารถเข้าดูได้อย่างโปร่งใส ภายใต้การดำเนินงาน “โครงการพัฒนาระบบตรวจวัดระดับน้ำแบบการมีส่วนร่วม” สอดคล้องพันธกิจการพัฒนากรมชลประทานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการให้ได้ภายในปี 2579 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชผล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน กล่าวว่า การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในกระบวนการบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีความจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ และให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน รวมทั้ง มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานสถานการณ์น้ำ และบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาแอปพลิเคชัน SWOC-PR ของ กรมชลประทาน ในครั้งนี้ นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรายงานสถานการณ์น้ำ ให้ กรมชลประทาน ทราบถึงข้อมูลสภาพน้ำท่วม น้ำแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ รวมทั้งเป็นช่องทางรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะการทำงานให้แก่กรมชลประทาน และยังเป็นช่องทางให้ข้อมูลด้านบริหารจัดการน้ำ และการชลประทานกลับคืนไปยังประชาชนทุกภาคส่วน นอกจากนี้ แอปพลิเคชัน SWOC-PR ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ ของ กรมชลประทาน เอง …

กรมชลฯ จับมือ ม.เกษตรฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน “รายงานสถานการณ์น้ำแบบมีส่วนร่วม” แบบเรียลไทม์ Read More »

เปิดแล้ว…วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. เดินหน้าผลิตบัณฑิต รับเทรนด์โลกอนาคต

รศ.สิรภัทร  เชี่ยวชาญวัฒนา รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า  วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นส่วนงานเทียบเท่าคณะวิชา  โดยพื้นฐานเดิมมาจาก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อตั้งเป็นภาควิชา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2537 ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีมาแล้ว 25 รุ่น และปริญญาโท ปริญญาเอกมากกว่า 10 รุ่น วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นส่วนงานใหม่ที่มีความเฉพาะด้าน Computing ขั้นสูง โดยเปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 8 หลักสูตร และจะเปิดหลักสูตรใหม่ 2 หลักสูตร ในปีพ.ศ. 2566  คือ หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ และ หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นหลักสูตรที่มีความต้องการสูงสำหรับตลาดงานด้าน Computing ซึ่งการเปิดวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ขึ้นในครั้งนี้ หวังให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน เป็นการสร้างโอกาส และมิติที่ท้าทายในการเผยแพร่ชื่อเสียง กิจกรรมที่นักศึกษา บุคลากรได้มีส่วนร่วม ตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ …

เปิดแล้ว…วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. เดินหน้าผลิตบัณฑิต รับเทรนด์โลกอนาคต Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!