จุฬาฯ คิดค้น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “จุลินทรีย์กินน้ำมัน” แก้ปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยจุลินทรีย์กินน้ำมัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล พร้อมต่อยอดสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศ จากเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อขนส่งน้ำมันใต้ทะเลในพื้นที่จังหวัดระยอง เมื่อต้นปี 2565 ทีผ่านมา เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แม้หน่วยงานต่าง ๆ จะพยายามขจัดคราบน้ำมันที่กระจายทั่วผิวน้ำทะเลและตามบริเวณชายฝั่ง แต่ก็ยังคงมีมลพิษที่ตกค้างหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเลในระยะยาว หนึ่งในแนวทางขจัดปัญหาสารมลพิษตกค้าง คือ จุลินทรีย์กินน้ำมัน ผลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสะอาด โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดมลพิษทางทะเล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง จึงได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมชีวภาพเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล โดยมุ่งให้เกิดการผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต จุดกำเนิดแนวคิดผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล ในฐานะนักจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.อรฤทัย สนใจเรื่องการปนเปื้อนจากน้ำมันและปิโตรเลียม และได้ทำงานเกี่ยวกับการย่อยสลายมลพิษในสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา มีอุบัติการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเลอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่เป็นข่าวและไม่ได้เป็นข่าว “โดยปกติแล้ว การจัดการปัญหาคราบน้ำมันจะใช้วิธีการทางกายภาพก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ใช้ทุ่นกักน้ำมันแล้วขจัดคราบน้ำมันออกจากพื้นที่ หรือ พ่นสารกระจายคราบน้ำมัน แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด หลังจากนั้นก็จะเกิดกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ แต่ข้อจำกัดของกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ ก็คือ เกิดได้ช้า และไม่ทันการณ์ ดังนั้น …
จุฬาฯ คิดค้น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “จุลินทรีย์กินน้ำมัน” แก้ปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล Read More »