สถานีการศึกษา

จุฬาฯ รักษาแชมป์ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย 14 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2023

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings 2023 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยอีกครั้ง เป็นการครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) และติดอันดับ 224 ของโลก QS World University Rankings 2023 จัดโดย QS Quacquarelli Symonds สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 มีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับ 1,422 แห่งจากทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 122 แห่ง โดยตัวชี้วัดในด้านสัดส่วนของอาจารย์ต่อนิสิต และสัดส่วนของนิสิตชาวต่างชาติ จุฬาฯ ได้คะแนนในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว การจัดอันดับ QS World University Rankings 2023 พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้าน ที่มีการคำนวณค่าน้ำหนักที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย …

จุฬาฯ รักษาแชมป์ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย 14 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2023 Read More »

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ

วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคุรุสภา มอบนโยบายและรับฟังความคิดเห็นในการประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภา โดยมี รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการเลขาธิการคุรุสภา เข้าร่วมด้วย รมว.ศธ. เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ได้หารือเกี่ยวกับการปรับระบบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นเหมือนจุดคัดกรองมาตรฐานของครู ให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าโรงเรียนจะมีครูที่มีคุณภาพให้บุตรหลาน แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการสอบผ่านลดลง เนื่องจากสอบไม่ผ่านในบางวิชา เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องมองในสภาพความเป็นจริงว่า ครูในบางสาขาวิชาเอกที่ไม่ใช่วิชาภาษาอังกฤษอาจจะไม่ได้มีความถนัด และอาจเป็นการจำกัดโอกาสของนิสิตนักศึกษาครูที่เรียนจบมาแล้ว ไม่สามารถสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ แต่เกณฑ์การคัดเลือกก็ยังจำเป็นต่อการรักษาคุณภาพไว้ ทาง ศธ.จึงหารือร่วมกับ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในฐานะต้นทางของการผลิตครู เพื่อปรับหลักสูตรการสอนให้เสริมย้ำความรู้ที่จำเป็นให้แก่นิสิตนักศึกษาครู เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ คุรุสภา จะปรับระบบและกฎระเบียบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมยิ่งขึ้น …

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ Read More »

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 88 แห่งทั่วประเทศ รองรับนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 5,280 คน สถานศึกษา 88 แห่ง แห่งละ 60 คน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพ ที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้เรียน สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพให้เข้าสู่การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสามารถสร้างความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพได้ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 …

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา Read More »

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปิดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (APREMC II) ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ การประชุม APREMC-II ในปี 2565 ครั้งนี้ เป็นเวทีร่วมกันวิเคราะห์ความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและครอบคลุม ภายหลังผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนที่คาดการณ์ไม่ได้ และมีผลกระทบต่อการศึกษา ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน ในส่วนของประเทศไทย รมว.ศึกษาธิการ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการด้านการศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, การให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ภายใต้ศูนย์ “MOE Safety Center”, การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ภายใต้โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามเด็กตกหล่น และออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา, …

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน Read More »

จุฬาฯ วิจัยอัตลักษณ์และทัศนคติชาวดิจิทัลไทย ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย เข้าใจอนาคตของชาติ

“มนุษย์ป้า” ถ้อยคำที่อาจสะเทือนใจใครหลายคน แต่สำหรับ รองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทย ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำสั้น ๆ นี้ช่วยเปิดพื้นที่การสนทนาระหว่างอาจารย์กับนิสิตเมื่อ 3 ปีก่อน จนทำให้ได้ร่างความคิดยาว 3-4 หน้ากระดาษ อันเป็นที่มาของงานวิจัย “การสร้างความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรม และทัศนคติในอนาคตของชาวดิจิทัลไทย” ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีมาก สาขาสังคมวิทยา ประจำปี 2565 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “ชาวดิจิทัลไทย คือ อนาคตของชาติ พวกเขาเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นทั้งกำลังคน เป็นผู้กำหนดทิศทางการเมือง ระบบการศึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ชาวดิจิทัลไทยในปัจจุบันจะเป็นผู้ส่งผ่านแนวคิดและทัศนคติไปสู่คนรุ่นต่อไปในอนาคต” รศ.ดร.จุลนี เผยถึงความสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ให้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับกระบวนการคิด ทัศนคติ พฤติกรรมของชาวดิจิทัลไทย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ในประเทศไทยมาก่อน “พ่อแม่ผู้ปกครองจะได้เข้าใจลูกหลาน นายจ้างจะได้เข้าใจลูกน้องมากยิ่งขึ้น ครู อาจารย์ และสถาบันการศึกษาก็สามารถนำผลการวิจัยไปปรับรูปแบบและวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้นด้วย” รศ.ดร.จุลนี ยกตัวอย่างแนวทางการนำงานวิจัยไปใช้ในมิติต่างๆ ของสังคม งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) …

จุฬาฯ วิจัยอัตลักษณ์และทัศนคติชาวดิจิทัลไทย ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย เข้าใจอนาคตของชาติ Read More »

รัฐหนุนโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและผู้พิการ ปูทางอาชีพในอนาคต

โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” สร้างโอกาสแก่นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ต่อเนื่องจากโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับ ม.ต้น ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ได้เข้าศึกษาต่อในสายอาชีพ ให้ได้เรียนต่อ 100% ตั้งเป้า 170 สถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ รองรับนักเรียนได้ 117,480 คน แบ่งเป็น ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 88 แห่ง ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2566 – 2574 จำนวน 82 แห่ง โดยโครงการนี้จะครอบคลุมถึงผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ตามนโยบายรัฐบาลในการไปสู่เป้าหมายของประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ผ่านการสร้างความเป็นธรรมในการศึกษา

สอศ. ติดตามผลการฝึกงานและการนำเสนอ Final Year Project หลักสูตรปวส. (ต่อเนื่อง 5 ปี) มาตรฐาน KOSEN

ดร.นิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลและรับฟังการรายงานผลการฝึกงานครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และการนำเสนอหัวข้อ Final Year Project นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) และ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ร่วมกับ สถาบัน NIT (KOSEN), NAGANO College ประเทศญี่ปุ่น ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อเนื่อง 5 ปี ตามมาตรฐาน KOSEN ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2565 ณ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา โดยมี ดร.โทกิตะ มาซาโทชิ (Dr.Tokita Masatoshi) ผอ.สำนักงานประสานงานในประเทศไทย ของ National Institute of Technology (NIT) ประเทศญี่ปุ่น เข้ารับฟังและให้ข้อเสนอแนะ …

สอศ. ติดตามผลการฝึกงานและการนำเสนอ Final Year Project หลักสูตรปวส. (ต่อเนื่อง 5 ปี) มาตรฐาน KOSEN Read More »

นายกฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า การจัดการศึกษา จ.ภูเก็ต รัฐจับมือเอกชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาการศึกษาของ จ.ภูเก็ต ณ โรงเรียนพุทธมงคลนิมิต และเป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน (Partnership School Project) ของ 4 หน่วยงาน คือ โรงเรียนพุทธมงคลนิมิต วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด มหาชน และ พาราไดซ์ กรุ๊ป และกลุ่มโรงแรมอันดารา รีสอร์ท เรสซิเดนซ์ ซึ่งการลงนามครั้งนี้ เป็นการเตรียมพร้อมนักเรียนเข้าสู่ระดับอาชีวศึกษา โดยการเรียนการสอนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดที่ต้องอาศัยภาคธุรกิจท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งนี้ จะไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะเป็นหัวใจของชาติ เป็นการสร้างและพัฒนาคนเพื่ออนาคตของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และการพัฒนาประเทศ เช่น การขับเคลื่อนเรื่องของ AI และเมตาเวิร์ส (Metaverse) เป็นต้น รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้สามารถดูแลได้อย่างเต็มที่ สำหรับการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ศธ. นำร่อง “ห้องเรียนอาชีพ” แห่งแรก ที่ รร.สุรศักดิ์มนตรี เสริมทักษะสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต

นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เลขานุการ รมว.ศธ.) ได้มอบนโยบายแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ตามจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2565 “เติมความรู้ สู่อาชีพ เพื่อการมีรายได้” ในการประชุมผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โดยความร่วมมือของ วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ที่ขน 12 อาชีพระยะสั้น มาร่วมเวิร์คช็อปสาธิตการจัดการเรียนการสอน ทดลองทำ สร้างแรงบันดาลใจแก่ลูกสุรศักดิ์ และ Up-skill Re-skill แก่ผู้ปกครอง โดยมี นางสาวนันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน รอง ผอ.สพม.กรุงเทพ เขต 2 และ นางอาลัย พรหมชนะ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง ให้การต้อนรับ เลขานุการ รมว.ศธ. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งโรงเรียน สถานศึกษา และครู ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อปรับการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ …

ศธ. นำร่อง “ห้องเรียนอาชีพ” แห่งแรก ที่ รร.สุรศักดิ์มนตรี เสริมทักษะสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต Read More »

B-Quik จับมือ อาชีวศึกษา ผลิตช่างเทคนิคยานยนต์คุณภาพ ในโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส

นายวิทวัต ปัญจมะวัต ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา และ นายดนัย ชินานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท บี-ควิก จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ บริษัท บี-ควิก จำกัด ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนตาม โครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส โดยมี นายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ และนายจีราวัฒน์ วามนาวตาร ผู้จัดการแผนกฝึกอบรม บริษัท บี-ควิก จำกัด ร่วมเป็นพยาน ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายวิทวัต ปัญจมะวัต ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ บริษัท บี-ควิก จำกัด เกิดขึ้นเพื่อช่วยจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การฝึกงาน การฝึกทักษะวิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา ทั้งการเรียนในระบบ และการเรียนในระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล …

B-Quik จับมือ อาชีวศึกษา ผลิตช่างเทคนิคยานยนต์คุณภาพ ในโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!