สถานีการศึกษา

รัฐบาลเตรียมตำแหน่งงานกว่า 2 แสนอัตรา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รองรับนักศึกษาจบใหม่ และผู้หางานทุกระดับการศึกษา

กระทรวงแรงงาน เตรียมตำแหน่งงานรองรับนักศึกษาจบใหม่ และคนหางาน รวม 272,977 อัตรา เป็นงานในประเทศ 158,503 อัตรา ต่างประเทศ 114,474 อัตรา รับตั้งแต่ ไม่ระบุวุฒิการศึกษา 197,326 อัตรา / ปวช.-ปวส. 36,771 อัตรา / ป.ตรี 35,593 อัตรา / ป.โท – เอก 3,287 อัตรา โดยความต้องการแรงงานในประเทศมากที่สุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และระยอง นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งงานในอุตสาหกรรม S-curve อีกกว่า 40,000 อัตรา ที่มีความต้องการแรงงานใน 5 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ …

รัฐบาลเตรียมตำแหน่งงานกว่า 2 แสนอัตรา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รองรับนักศึกษาจบใหม่ และผู้หางานทุกระดับการศึกษา Read More »

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แนะรัฐเร่งปรับปรุง “นโยบายเรียนฟรี” เพิ่มโอกาสเรียนฟรีช่วงอนุบาลและมัธยมปลาย ลดจำนวนนักเรียนหลุดจากระบบ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเสวนาในหัวข้อ ถึงเวลาแล้วหรือยัง “ปฏิรูปนโยบายเรียนฟรี” โดย รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษานโยบายเรียนฟรี 15 ปี ระบุว่า ตลอดเวลาการดำเนินนโยบายประมาณ 13-14 ปีที่ผ่านมาพบว่า การสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนอาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี โรงเรียนจะได้รับเงินอุดหนุนค่ารายหัว เพื่อดำเนินการทั้งในเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรม “เมื่องบประมาณจัดสรรตามรายหัวนักเรียน ทำให้โรงเรียนต้องหานักเรียนเข้ามาเรียน เพื่อให้ได้เงินอุดหนุนหล่อเลี้ยงโรงเรียน จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อเห็นข่าวคุณครูโดดตึก เพราะไม่สามารถดึงนักเรียนเข้ามาเรียนได้ตามเป้าหมายได้” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวว่า ผลการศึกษาของสภาการศึกษา พบว่า การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ แม้งบประมาณที่สนับสนุนในปี 2564 จะมากถึง 7.6 หมื่นล้านบาท โดยกระจายให้ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน แต่พบว่า งบสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ เช่น ค่าจัดการเรียนการสอน ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ปรับเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้พบว่า ผู้ปกครองยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้ง ค่าอุปกรณ์ ค่าเครื่องแบบ นอกจากนี้ ยังพบว่า …

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แนะรัฐเร่งปรับปรุง “นโยบายเรียนฟรี” เพิ่มโอกาสเรียนฟรีช่วงอนุบาลและมัธยมปลาย ลดจำนวนนักเรียนหลุดจากระบบ Read More »

รร.ชุมชนดอยช้าง โชว์กึ๋น ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนผสมกากกาแฟ แก้ปัญหาดินในพื้นที่ สร้างผลผลิตงอกงาม

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำผู้บริหารการศึกษาในจังหวัดเชียงราย ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน (Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming) ณ โรงเรียนชุมชนดอยช้าง อำเภอแม่สรวย สังกัด สพป.เชียงราย เขต 2 นายเกรียงไกร ฟูธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนดอยช้าง กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา โรงเรียนชุมชนดอยช้าง ได้ดำเนินโครงการตามแนวทางของ โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีต ระยะที่ 4 คือ ระยะรวบรวมพัฒนา จากการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตของโรงเรียน เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียนได้ชัดเจน คือ นักเรียนสามารถวางแผนการทำเป็นขั้นตอน มีทักษะในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลขึ้น รู้จักการทำงานเป็นทีม มีทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ โรงเรียนจะพัฒนาโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตของโรงเรียน นำไปสู่ขั้นตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลต่อชุมชน …

รร.ชุมชนดอยช้าง โชว์กึ๋น ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนผสมกากกาแฟ แก้ปัญหาดินในพื้นที่ สร้างผลผลิตงอกงาม Read More »

สมาคมศิษย์เก่า สจล. เดินหน้าหนุนเกษตรอินทรีย์ และร่วมเปิดไร่ปันยา สวนน้อยหน่าออแกนิกแห่งแรกของโลก ที่มวกเหล็ก สระบุรี

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565  ที่ไร่ปันยา ต.หนองเสือ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ นายกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) ร่วมกับเจ้าอาวาส วัดปฐมวิเวก พระนิวัฒน์ จักกวโร และดร.เรืองศักดิ์ กมขุนทด  พร้อมด้วย นายณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต ทำพิธีเปิด ไร่ปันยา สวนน้อยหน่า Organic นายบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ นายกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการต่อยอดมาจาก โครงการเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งริเริ่มโดยสมาคมช่างเหมาและเครื่องกลไทย ร่วมมือกับ สมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้รับความเมตตาตาก พระอาจารย์นิวัฒน์ จักกวโร เจ้าอาวาส วัดปฐมวิเวก ได้มอบพื้นที่ ประมาณ 10 ไร่ เพื่อทำศูนย์การเรียนรู้ โครงการต้นแบบเกษตรอิทรีย์ และขยายผลให้ความรู้แก่ชาวบ้าน และไร่ปันยาก็เป็นหนึ่งในโครงการนี้ “จากวันแรกที่เริ่มโครงการชาวเกษตรกรมักจะพูดว่าเป็นเรื่องที่ยากหรือ ชาติหน้าตอนบ่ายๆ ถึงจะเห็นผล ณ วันนี้เราทำให้เห็นแล้ว ว่าไม่ใช่แค่ผัก แต่ผลไม้ก็ปลอดสารพิษได้ …

สมาคมศิษย์เก่า สจล. เดินหน้าหนุนเกษตรอินทรีย์ และร่วมเปิดไร่ปันยา สวนน้อยหน่าออแกนิกแห่งแรกของโลก ที่มวกเหล็ก สระบุรี Read More »

โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จ.เชียงราย บูรณาการองค์ความรู้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในโรงเรียน

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายโชติ โสภณพนิช ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย , นายรณภพ ปัทมะดิษ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้า โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farm ณ โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ STEAM Education ที่บูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ Coding กับการทำเกษตรแบบประณีตในโรงเรียน “โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ สามารถนำองค์ความรู้มาสู่การปฏิบัติและต่อยอดในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ภายในโรงเรียน นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิต และคุณภาพสินค้าภาคเกษตร ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ” เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา …

โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จ.เชียงราย บูรณาการองค์ความรู้ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในโรงเรียน Read More »

สช. เร่งสำรวจค่าใช้จ่ายการศึกษาเอกชน เตรียมปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 65 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ ต้องยอมรับว่า เงินอุดหนุนรายหัวที่โรงเรียนเอกชนได้รับ ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่ได้ปรับเพิ่มมานานกว่า 10 ปี โรงเรียนเอกชนบางแห่งต้องไปเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มกับผู้ปกครอง ทำให้นักเรียน และผู้ปกครองได้รับความเดือดร้อน จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ดำเนินการศึกษาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการศึกษาของโรงเรียนเอกชน พร้อมทั้งจัดทำแบบสำรวจเพื่อจัดเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว สวัดิการ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับโรงเรียนเอกชนทั้งในและนอกระบบ โดยคาดว่าภายใน 3 เดือน จะสามารถรวบรวมความคิดเห็น เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวต่อไป

สพป.ลำพูน เดินหน้า “กองทุนช่วยเหลือนักเรียน” ช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบเหตุภัยพิบัติ

ดร.ณัฐกุล รุณผาบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนช่วยเหลือนักเรียนของ สพป.ลำพูน เขต 1 ครั้งที่ 1/2565 โดยมีทีมบริหารการศึกษาของ สพป.ลำพูน เขต 1 ทุกท่าน , ผู้แทนข้าราชการบำนาญ จำนวน 4 ท่าน , ประธานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา อำเภอละ 1 ท่าน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับนักเรียนที่ประสบเหตุภัยพิบัติ ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากการกระทำของมุนษย์ ภัยอุบัติเหตุ ภัยจากโรคร้าย ภาวะโคม่า และการขับเคลื่อนกองทุนช่วยเหลือนักเรียน อาศัยอำนาจตาม ข้อ 7 แห่งระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 ว่าด้วยกองทุนช่วยเหลือนักเรียน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมบุษราคัม สพป.ลำพูน เขต 1 อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อเร็ว ๆ นี้

สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะวิธีรับมือ “โรคฝีดาษลิง” ย้ำอย่าตื่นตระหนก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ป้องกันได้

“โรคฝีดาษลิง” มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ เป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้หลายคนที่กลัวว่าจะติดเชื้อหลังจากที่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลาย ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก พร้อมแนะวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยห่างไกลจากโรคนี้ จุดเริ่มต้นโรคฝีดาษลิง ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เกิดจาก เชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคน หรือ ไข้ทรพิษ พบครั้งแรก เมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบในมนุษย์พบครั้งแรก เมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ระบาด คือ แถบแอฟริกาตะวันตก และแอฟริกากลาง ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมาก คือ ไนจีเรีย เมื่อปี 2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงมีความสัมพันธ์กับสัตว์ คือ แพรีด็อก ซึ่งซื้อมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยง โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดแล้วโดนกัด จากการสืบสวนโรคพบว่ามีการเลี้ยงแพรีด็อกอยู่ในกรงใกล้ ๆ กับสัตว์ฟันแทะที่นำเข้ามาจากจากประเทศกาน่า ซึ่งสัตว์อาจจะมีพาหะอยู่แต่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในปัจจุบัน พาหะของโรคฝีดาษลิง คือ สัตว์ฟันแทะ …

สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะวิธีรับมือ “โรคฝีดาษลิง” ย้ำอย่าตื่นตระหนก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ป้องกันได้ Read More »

มทร.พระนคร สอนอาชีพอิสระด้านสิ่งทอให้ผู้สูงวัย ขยายโอกาสมีงานทำให้ผู้สูงอายุ

คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 8 และ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้ผู้สูงอายุ ประจำปี 2565 ภายใต้โครงการขยายโอกาสการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ เพื่อการส่งเสริมการมีงานทำ และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ โดยการฝึกปฏิบัติการทำอาชีพอิสระเพื่อนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต ณ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มทร.พระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร ทั้งนี้ มี ผศ.ดร.รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ พร้อมทีมคณาจารย์ และนักศึกษา คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ประกอบด้วย อาจารย์จารุวรรณ ดิศวัฒน์ , ผศ.วาสนา ช้างม่วง และ ดร.เกษม มานะรุ่งวิทย์ บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การมัดย้อมผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยสีครามธรรมชาติ และสีสังเคราะห์” และหัวข้อ “การพิมพ์ถุงผ้ารักษ์โลกด้วยบล็อกผักผลไม้” ซึ่งผู้สูงอายุจะได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ผ้าด้วยสีพิมพ์ผ้า เทคนิคการแกะสลักผักผลไม้ เพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ และเทคนิคการทำให้สีติดทนทาน ตลอดจนเรียนรู้เทคนิคการมัดย้อมผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยสีครามธรรมชาติ และสีสะท้อนแสงแบบพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมการมีงานทำกับการรับงานไปทำที่บ้าน” โดย วิทยากรฝ่ายส่งเสริมการมีงานทำในประเทศ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร …

มทร.พระนคร สอนอาชีพอิสระด้านสิ่งทอให้ผู้สูงวัย ขยายโอกาสมีงานทำให้ผู้สูงอายุ Read More »

“โคมัตสุ” ร่วมยกระดับคนอาชีวะ สอนทวิภาคีเครื่องจักรกลหนัก นำร่องแห่งแรก ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ นายศรัณย์ ชินประหัษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด ลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2563 ในสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิค เครื่องจักรกลหนัก โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี นำร่องที่ “วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช” เป็นแห่งแรก เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สอศ. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของภาครัฐบาล และ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งความร่วมกับภาคเอกชน อย่าง บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด ในครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา ในสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิค เครื่องจักรกลหนัก ทั้งรูปแบบการเรียนการสอนปกติ และระบบทวิภาคี โดยนำร่องจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีรุ่นแรก จำนวน 11 คน ที่ …

“โคมัตสุ” ร่วมยกระดับคนอาชีวะ สอนทวิภาคีเครื่องจักรกลหนัก นำร่องแห่งแรก ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!