สถานีการศึกษา

วิศวะ มข. ผนึก 5 มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตด้านดิจิทัล พร้อมจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” เรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้

รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยถึงการลงนามความร่วมมือกับ 5 มหาวิทยาลัย ในการจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Engineering)” ว่า มข. มีความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและประเทศ ซึ่ง A.I. หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นเทคโนโลยีที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจได้นำเข้ามาใช้จำนวนมาก แต่บุคลากรด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์กลับขาดแคลน สวนทางกับความต้องการกำลังคน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 14 สาขาวิชา ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ล้วนมีการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เข้าถึงระบบ A.I. ได้ โดยมหาวิทยาลัยมีเครื่องมือ มีเทคโนโลยีความเร็วสูง มีชุดฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพสูง รวมถึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร การแพทย์พยาบาล หลากหลายสาขา ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษาได้ ทั้งนี้ สำหรับความร่วมมือในการจัดตั้ง สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ระหว่าง มข. กับ 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง …

วิศวะ มข. ผนึก 5 มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตด้านดิจิทัล พร้อมจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” เรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้ Read More »

สหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ให้ทุนส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิก ประจำปี 2565 ทุกระดับชั้น

ที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำกัด ชุดที่ 47 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 เรื่องการให้ทุนส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิก ประจำปี 2565 หรือ ทุนส่งเสริมการศึกษา แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 1. ทุนระดับประถมศึกษา ให้แก่บุตรของสมาชิกที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีอายุไม่เกิน 8 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ขอรับทุน จำนวนเงินทุนละ 2,000 บาท 2. ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้แก่บุตรของสมาชิกที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยมีอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ ในปีการศึกษาที่ขอรับทุน จำนวนเงินทุนละ 3,000 บาท 3. ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้แก่บุตรของสมาชิกที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 (ปวช.) โดยมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ …

สหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ให้ทุนส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิก ประจำปี 2565 ทุกระดับชั้น Read More »

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา ด้าน วธ. เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรมทั้งแบบปกติและออนไลน์

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และสื่อมวลชน พร้อมทั้งนำชมกิจกรรมประชาสัมพันธ์การส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2565 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 โดย นายกรัฐมนตรี และครม. เยี่ยมชมนิทรรศการองค์ความรู้ วันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2565 ในรูปแบบออนไลน์ พร้อมพูดคุยกับ ตัวแทนนักเรียนเครือข่ายทางวัฒนธรรม และรับมอบสื่อประชาสัมพันธ์เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2565 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า …

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา ด้าน วธ. เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรมทั้งแบบปกติและออนไลน์ Read More »

ศธ. มั่นใจ เปิดเรียน On Site ปลอดภัย การศึกษาไทยเดินหน้าต่อ พร้อมแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้อย่างจริงจัง

วันนี้ (10 พ.ค. 65) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565 พร้อมเสวนา เรื่อง ความพร้อมในการเปิดเรียนอย่างปลอดภัย โดยมี ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ) นางสาวทรงศรี วิระรังษิยากรณ์รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) นายพีรศักร์ รัตนะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมเสวนา และเดินชมนิทรรศการและบูธจัดแสดงสินค้า ” ช้อปเพลิน ๆ รับเปิดเทอมกับ ศธ.” ณ โรงเรียนพญาไท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2565 นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใย …

ศธ. มั่นใจ เปิดเรียน On Site ปลอดภัย การศึกษาไทยเดินหน้าต่อ พร้อมแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้อย่างจริงจัง Read More »

นักวิจัย มทร.ล้านนา ยกระดับผ้าพื้นถิ่น สร้างแบรนด์ Lanna Cotton Craft เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่น หรือเครื่องประดับจากผ้า เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา และยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชนตามนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยผ้าทอพื้นเมืองที่ทอและแปรรูป จึงนับได้ว่าเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นสาขาหนึ่งในเจ็ดสาขาตามที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดไว้ คือ สาขาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากผ้าทอพื้นถิ่นจะมีความแตกต่างกันตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของแต่ละพื้นที่ ทั้งเนื้อผ้า ลวดลาย และ วิธีการ นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวถึงวัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ ด้วยนวัตกรรมสู่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ว่า ในการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ผ่านมา ได้สนับสนุนให้อาจารย์ และนักวิจัยลงพื้นที่ เพื่อสำรวจปัญหา สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆ ทำให้ทราบปัญหา และนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิต จนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีความหลากหลาย การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่การดำเนินการดังกล่าว ยังขาดมิติที่เชื่อมการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานสินค้าประเภทผ้าและสิ่งทอ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นการเกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ในผลิตภัณฑ์ โดยนักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการประเภทผ้าและสิ่งทอพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา จำนวน 11 กลุ่ม ครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำพูน และอุตรดิตถ์ นอกจากนั้น …

นักวิจัย มทร.ล้านนา ยกระดับผ้าพื้นถิ่น สร้างแบรนด์ Lanna Cotton Craft เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาดั้งเดิม Read More »

บพท. ชูธง ความรู้สู้วิกฤต ตั้งเป้าช่วย 4 หมื่นคนจน บรรเทาทุกข์

บพท. เร่งมือแก้วิกฤตเดินหน้าร่วมกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเสริมพลังความรู้แก้ความยากจน ตั้งเป้าปี 2565 ต่อยอดให้คนจนช่วยเหลือตัวเองได้เพิ่มขึ้น 40,000 คน ตามโครงการ 20 อำเภอแก้จนในจังหวัดต้นแบบ 20 แห่ง เสริมด้วยการสร้างตำบลเข้มแข็ง 300 แห่ง และกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น 300 กลุ่ม นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า บพท. กำหนดกลยุทธ์ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้เป็นวาระสำคัญ ตอบรับกับความต้องการของประเทศและสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของ โควิด-19 และแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากวิกฤตการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน “เรากำหนดให้งานวิจัยมีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อรับมือกับปัญหาวิกฤตซ้อนวิกฤตที่เป็นอยู่ แต่นอกจากการให้ความช่วยเหลือคนยากจนให้เข้าถึงสวัสดิการแล้ว จะต้องต่อยอดงานเดิมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ยั่งยืนในระยะต่อไป” ในระยะสองปีที่ผ่านมา บพท. ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยและชุมชน ค้นพบประชาชนยากจนที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ จำนวนกว่า 850,000 คน และส่งเข้าระบบสวัสดิการแล้วกว่า 550,000 คน ในปีนี้ บพท.ได้จัดทำโครงการ 20 อำเภอแก้จน ขึ้น เพื่อยกระดับการแก้ปัญหาความยากจนให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพดีขึ้น สนับสนุนให้คนจนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน …

บพท. ชูธง ความรู้สู้วิกฤต ตั้งเป้าช่วย 4 หมื่นคนจน บรรเทาทุกข์ Read More »

นักวิจัย สตช. เจ๋งพัฒนา “วัสดุอ้างอิง” ตรวจเขม่าดินปืนสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมไทย

ปัจจุบันขั้นตอนกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะด้านนิติวิทยาศาสตร์ ที่ต้องอาศัยการตรวจสอบที่มีความแม่นยำสูง แต่บางส่วนยังต้องอาศัยการนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศที่มีราคาสูงมาก ดังนั้น การคิดค้นนวัตกรรมผ่านนักวิจัยจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น โดย ดร.วรพจน์ โปร่งมณี ผู้ช่วยนักวิจัย สังกัดกองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวถึงงานวิจัย โครงการ “การพัฒนาวัสดุุอ้างอิงทางนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อการรองรับภูมิภาคอาเซียน” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ว่า โครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจวิเคราะห์เขม่าดินปืน ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี โดยใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์สารปริมาณน้อย หรือ ICTOES เริ่มจากการเก็บตัวอย่างมาทำให้เป็นรูปแบบของสารละลาย เพื่อนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุสำคัญ 3 ชนิด คือ ตะกั่ว แบเรียม และพลวง หากพบครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ต้องสงสัยที่กำลังเก็บข้อมูลมานั้นมีการใช้งานอาวุธปืนจริงหรือไม่ ประกอบกับปัจจุบัน การวิเคราะห์เขม่าดินปืนมีความก้าวหน้า เนื่องจากใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ร่วมกับ เครื่องวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ ถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะการใช้วิธีตรวจด้วยเครื่อง ICTOES ตัววัตถุพยานนั้นไม่สกัดสารสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้ไม่สามารถนำตัวอย่างมาตรวจซ้ำอีกครั้งได้ แต่วิธีการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการใหม่นี้ จะสามารถนำตัวอย่างวัตถุพยานกลับมาวิเคราะห์ซ้ำ เพื่อนำมายืนยันในชั้นศาลและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังได้ ซึ่งการจะตรวจได้ …

นักวิจัย สตช. เจ๋งพัฒนา “วัสดุอ้างอิง” ตรวจเขม่าดินปืนสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมไทย Read More »

องค์การค้า สกสค. ร่วมมือ ศธ. ลดราคาชุดนักเรียน แบ่งเบาภาระผู้ปกครองช่วงเปิดเทอม

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้หารือร่วมกับ องค์การค้าของ สกสค. เพื่อนำเสนอมาตรการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในช่วงเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2565 โดยสั่งการให้องค์การค้าฯ หาแนวทางในการลดราคาสินค้าที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องซื้อให้นักเรียน และให้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายผู้ค้าร่วม เพื่อลดราคาสินค้าทั่วประเทศ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงเปิดภาคเรียนนี้ ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้เรียกประชุมองค์กรหลักทุกหน่วยงาน เพื่อจัดเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองและประชาชน โดยจะมีการแถลงข่าวความพร้อมเปิดภาคเรียนโรงเรียนในสังกัด ศธ.ในวันที่ 10 พ.ค. นี้ ที่นอกจากจะเน้นย้ำนโยบายเรื่องความพร้อมในการเปิดเรียนอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา ซึ่งทาง ศธ.ได้ทำงานร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข อย่างใกล้ชิด ในการวางแนวทางและมาตรการที่สำคัญจำเป็นไว้ครบถ้วน รวมถึงการเปิดโอกาสให้กรรมการสถานศึกษา ชุมชน มีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัยนี้ นอกจากนี้ยังให้ส่วนราชการเน้นให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนด้วยการคืนคุณภาพการศึกษาไทย โดยให้วางมาตรการฟื้นฟูเพื่อแก้ไขภาวะการเรียนรู้ถดถอยในเด็ก หรือ Learning Loss ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ สำหรับการลดราคาชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน และสินค้าอื่น ๆ นั้น ทางองค์การค้าฯ ได้นำเสนอรายการสินค้า และการส่งเสริมการขาย โดยมีส่วนลดระหว่าง 10-50% โดยเฉพาะชุดนักเรียนทั้งชายและหญิง สามารถซื้อได้ในราคาครึ่งหนึ่ง หรือลด …

องค์การค้า สกสค. ร่วมมือ ศธ. ลดราคาชุดนักเรียน แบ่งเบาภาระผู้ปกครองช่วงเปิดเทอม Read More »

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กำจัดถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมระยะยาว

รู้หรือไม่ว่า การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 12.6 กิโลกรัม หลายคนคงเคยเห็นการรณรงค์ร่วมบริจาคโทรศัพท์มือถือ แทปเลตที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ซึ่งเป็นการลดและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกวิธี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากสารตกค้าง เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อสุขภาพตามมา “ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจนถึงการกำจัด” รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯ กล่าว โครงการจุฬาฯ รักษ์โลกกับการช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ร่วมกับ บริษัท Total Environmental Solutions จำกัด ได้เปิดรับบริจาคโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งดำเนินการมากว่า 12 ปีแล้ว เป็นตัวอย่างการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง โดย ศูนย์ความเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ ส่งต่อให้บริษัทรับกำจัดและดำเนินการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี โดยการบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต 1 …

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กำจัดถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมระยะยาว Read More »

จุฬาฯ หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมฟื้นฟูการท่องเที่ยว จ.น่าน หนุนเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน หลังโควิด 19

  ศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำคณะทำงานโครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) จุฬาฯ หารือกับ คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา นำโดย นายจรินทร์ จักกะพาก สมาชิกวุฒิสภา และนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 ที่ศาลากลางจังหวัดน่าน ถึงแนวทางการ “ฟื้นคืนจาก Covid 19” ด้าน”โอกาสการทำงาน“ ในภาคท่องเที่ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ วุฒิสภา และทางจังหวัดน่าน รวมทั้งได้นำคณะอนุกรรมาธิการฯ ศึกษาดูงานที่โครงการได้ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2565 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือของจังหวัดน่าน และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของชุมชนในจังหวัดน่านต่อไป โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า …

จุฬาฯ หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมฟื้นฟูการท่องเที่ยว จ.น่าน หนุนเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน หลังโควิด 19 Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!