สถานีการศึกษา

ศธ. ประชุม รร.เอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมพัฒนาบุคลากร รองรับสังคมสูงวัย

รมว.ศธ. “ตรีนุช เทียนทอง” เปิดการประชุมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ รับสังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล (การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) โดย นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.), นายประยูร หรั่งทรัพย์ รองเลขาธิการ กช., นางสุมิตรา ทองแสง ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ, นายพรชัย พิศาลสิษฐ์กุล นายกสมาคมการศึกษาเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย), ดร.สุภาวดี ดวงศิริ นายกสมาคมโรงเรียนบริบาล พร้อมด้วย ผู้รับใบอนุญาต ผู้บริหาร ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมปิ่นเกล้า 2 ชั้น 9 โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯ ถ่ายทอดสดผ่าน …

ศธ. ประชุม รร.เอกชนนอกระบบ กลุ่มโรงเรียนบริบาล เตรียมพัฒนาบุคลากร รองรับสังคมสูงวัย Read More »

คณะท่องเที่ยวฯ มธบ. พา นศ.สัมผัสการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก เทรนด์การเรียนรู้นอกห้องเรียนยุคโควิค

นางสาวพรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม อาจารย์ประจำสาขาการท่องเที่ยวและธุรกิจอีเวนต์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อกลไกการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวให้ลดน้อยลง แต่หากมองในมุมของสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ธรรมชาติจะได้ฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากถูกการท่องเที่ยวรบกวนมาเป็นระยะเวลานาน และจากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป โดยการเริ่มมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกลผู้คน แต่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถานที่ที่ได้รับความสนุกสนานกับกิจกรรมการท่องเที่ยว แต่สัมผัสได้ถึงความปลอดภัย หรือสถานที่ที่ได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติ ละเมียดละไมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม แต่ได้มีโอกาสทำประโยชน์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและสังคม Low Carbon Tourism หรือ การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีใจความสำคัญที่ว่า “เที่ยวอย่างไรจึงจะปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยที่สุด” หากพิจารณาแล้วจะพบว่า ทุกย่างก้าวของการออกเดินทางท่องเที่ยว ล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นส่วนหนึ่งที่เร่งให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำจึงเกิดขึ้น เมื่อนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการการท่องเที่ยวที่ช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน โดยพยายามออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เกิดความตระหนักรู้และใส่ใจในสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อม ๆ กัน อาจารย์พรทิพย์ กล่าวต่อว่า จากเทรนด์การท่องเที่ยวกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ จึงได้หยิบยก “ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ” อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี …

คณะท่องเที่ยวฯ มธบ. พา นศ.สัมผัสการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก เทรนด์การเรียนรู้นอกห้องเรียนยุคโควิค Read More »

สารสกัดจากทุเรียนอ่อน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ สร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือการเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงที่มาของการวิจัยสารสกัดจากทุเรียนอ่อนสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่า เนื่องจากชาวสวนต้องตัดผลทุเรียนอ่อนทิ้งโดยเฉลี่ยแล้วราว 200-300 ผลต่อหนึ่งต้น เนื่องจากทุเรียนหนึ่งต้นจะออกดอกจำนวนมาก ถ้าทุกดอกกลายเป็นผลทั้งหมด ต้นทุเรียนจะรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้กิ่งหักได้ ชาวสวนจึงต้องเลือกผลที่จะเจริญเติบโตได้จริง และมีรูปร่างสวยงาม เพื่อขายได้ราคาดี “ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนหลายแสนไร่ ผลผลิตที่ออกมาในแต่ละปีมีจำนวนมาก แต่วัตถุดิบที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรที่สูญเปล่า ไม่มีคนสนใจ และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน เราจึงคิดสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุเรียนอ่อนในสวน โดยการหาส่วนประกอบทางชีวภาพในทุเรียนอ่อนว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง” รศ.ดร.ศุภอรรจ อธิบายว่า ทุเรียนอ่อน คือ ผลของทุเรียน (Durio zibethinus L.) ระยะตัดแต่งผล ที่ยังไม่มีการเจริญของเนื้อผลที่สมบูรณ์ และยังไม่มีการสร้างกลิ่นของสารระเหย ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียน ผลทุเรียนอ่อนมีความยาว 6-12 เซนติเมตร และมีเมือกใสคล้ายเมือกหอยทากอยู่ภายใน เมื่อนำไปแช่น้ำ “ทีมวิจัยได้นำผลทุเรียนอ่อนไปวิเคราะห์เมแทโบโลม (เมแทบอไลต์ทั้งหมด) เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพควบคู่ไปด้วย จึงพบสารกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงมาก และพบสารประกอบฟีนอลิก (Phenolics) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) …

สารสกัดจากทุเรียนอ่อน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ สร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือการเกษตร Read More »

บ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย ร่วมมือ สอศ. มอบทุน ปวส. ระบบขนส่งทางราง ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ”

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบทุนการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง จำนวน 15 ทุน ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” ณ ห้องประชุม 5 สอศ. นายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ ภายใต้การขับเคลื่อนศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ซึ่ง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมมือกับ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ดำเนินการโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” เพื่อให้ทุนการศึกษา จำนวน 15 ทุน แก่นักเรียนที่มีฐานะยากจน …

บ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย ร่วมมือ สอศ. มอบทุน ปวส. ระบบขนส่งทางราง ในโครงการ “ปั้นช่าง สร้างชาติ” Read More »

จุฬาฯ ขึ้นแท่น มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ของประเทศ 3 ปีติดต่อกัน คว้าท็อป 16 ของโลก สร้างผลกระทบต่อสังคมสูงสุด

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่สร้างผลกระทบต่อสังคมสูง (SDGs Impact) โดย THE Impact Ranking ปี 2022 ที่ประกาศผล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจให้มหาวิทยาลัยไทยอีกครั้ง ด้วยการครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นปีที่สามติดต่อกัน และอันดับที่ 16 ของโลก จากมหาวิทยาลัย 1,524 แห่งทั่วโลก จาก 110 ประเทศ ซึ่งถือเป็นอันดับที่สูงที่สุดที่มหาวิทยาลัยไทยเคยได้รับ ทั้งนี้ ผลงานที่โดดเด่น ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ติดอันดับตามเป้าหมายของ SDG มีดังนี้ SDG 3 – Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) ได้อันดับที่ 16 จาก 1,101 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 1 อันดับ SDG 9 – …

จุฬาฯ ขึ้นแท่น มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ของประเทศ 3 ปีติดต่อกัน คว้าท็อป 16 ของโลก สร้างผลกระทบต่อสังคมสูงสุด Read More »

ศธ. แถลงผลงาน 1 ปี ขับเคลื่อนการศึกษาทุกมิติ

วันที่ 27 เมษายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แถลงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาในทุกมิติ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการร่วมรับฟัง อาทิ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ผู้ช่วย รมว.ศธ. นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นต้น ณ สวนวันครู 65 บริเวณหน้าอาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา ตนได้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ …

ศธ. แถลงผลงาน 1 ปี ขับเคลื่อนการศึกษาทุกมิติ Read More »

สพฐ. ชี้แจง กรณีครูคลังสมอง ไม่ได้เลิกจ้าง หมดสัญญาตามกำหนด ขณะนี้ตั้งงบรองรับแล้ว

วันที่ 27 เมษายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีตัวแทนบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือ “ครูคลังสมอง” อ้างว่า สพฐ. จะเลิกจ้างครูคลังสมองทั้งหมด ในวันที่ 30 กันยายน 2565 เนื่องจากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ สพฐ. พิจารณาทบทวนการจ้างครูคลังสมองต่อไป นั้น นายอัมพร ได้ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กิจกรรมครูคลังสมอง เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยโครงการนี้เริ่มในปีงบประมาณ 2553 ใช้เงินงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 : 2553 – 2555 สนับสนุนการจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียนแกนนำ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สิ้นสุดโครงการและสิ้นสุดการจัดสรรงบประมาณ ในวันที่ 30 กันยายน 2555 ต่อมา ในปีงบประมาณ 2556 มีการจัดสรรงบประมาณงบดำเนินงาน การจ้างบุคลากรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย …

สพฐ. ชี้แจง กรณีครูคลังสมอง ไม่ได้เลิกจ้าง หมดสัญญาตามกำหนด ขณะนี้ตั้งงบรองรับแล้ว Read More »

สำนักงาน คปภ. ให้ทุนบุคคลภายนอก ระดับปริญญาโทขึ้นไป เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ รับสมัครถึง 31 พ.ค.นี้

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ให้ทุนการศึกษาสำหรับบุคคลภายนอกเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทขึ้นไป ทุนที่รับสมัคร ทุนในต่างประเทศ ระดับปริญญาโทขึ้นไป จำนวน 1 ทุน โดยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะต้อง ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ไม่เกิน 25 อันดับแรก ในสาขาวิชานั้น ๆ โดยสาขาวิชาของทุนที่รับสมัครสอบ มีดังนี้ กลุ่มสาขาวิชา คอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/เทคโนโลยีดิจิทัล/AI/Innovation/DataAnalytics และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิชาเอก Big Data/ Data Analytic/ Data Science/ Data Architecture/Network Security/Cyber Security/ Artificial Intelligence/Machine Learning/ นวัตกรรมสื่อสารสังคมนวัตกรรมดิจิทัล/Digital Marketing/ Strategic Marketing/Business Innovation ประเทศที่เลือกไปศึกษาต่อ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เครือออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศในภูมิภาคยุโรป (สาธารณรัฐ เอสโตเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี …

สำนักงาน คปภ. ให้ทุนบุคคลภายนอก ระดับปริญญาโทขึ้นไป เพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ รับสมัครถึง 31 พ.ค.นี้ Read More »

วช. ร่วมกับ สวทช. ให้ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 รับสมัครถึง 10 พ.ค.นี้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ชี้แจง “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิด และกล่าวถึงเป้าหมายการสนับสนุนทุนวิจัย และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทที่คาดหวังจากนักวิจัยศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาของประเทศ” และ ดร.สิริกัญจณ์ เนาวพันธ์ ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ (สวทช.) ให้ข้อมูลแนวทางการขอรับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและสถาบันความรู้ ซึ่งเป็นพันธกิจและกลไกสำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานและการดำรงชีวิต ตลอดจนการสร้างความรู้จากการวิจัยในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวงวิชาการของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักวิจัยระดับปริญญาโท …

วช. ร่วมกับ สวทช. ให้ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” ประจำปี 2565 รับสมัครถึง 10 พ.ค.นี้ Read More »

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. เปิดตัว Vallaris Maps Platform จัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ตอบโจทย์ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม

รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด จัดกิจกรรม “NESP Unbox EP.3 เปิดตัว Vallaris Maps Platform” เครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้การขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรม (Eco-System) ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการเสวนาในประเด็นเรื่อง ความสำคัญและการขับเคลื่อนหน่วยงานด้วยข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งการรับมือต่อปัญหาแพร่ขยายของโรคระบาด การบุกรุกทำลายธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ข้อมูลเหล่านี้เมื่อปรากฏบนแผนที่ ทำให้สามารถแปลความ สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที สำหรับ Vallaris เป็นแพลตฟอร์มทางด้านภูมิศาสตร์ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระจายกันอยู่หลายหลากที่ ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ หรือ ฐานข้อมูล ทำให้เมื่อต้องการใช้งานข้อมูลร่วมกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดย Vallaris จะมีเครื่องมือสำหรับนำเข้าข้อมูล ทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบแล้ว ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งที่เก็บอยู่ใน Vallaris เอง และจากแหล่งข้อมูลภายนอกมาวิเคราะห์ร่วมกันได้ …

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. เปิดตัว Vallaris Maps Platform จัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ตอบโจทย์ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!