นักวิจัยมรภ.นครศรีธรรมราช พัฒนาผ้าพื้นถิ่นเคลือบด้วยวัสดุนาโน

การทอผ้าพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยผ้าของแต่ละท้องถิ่นจะอัตลักษณ์ และความงดงามเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ความชำนาญ ค่านิยม และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ปัจจุบันการทอผ้าเพื่อสร้างรายได้เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนการทอผ้าเพื่อใช้สอย ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ทั้งในลักษณะอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้พิจารณาเห็นว่าผ้าพื้นเมืองเป็นสินค้าที่มีโอกาสขยายออกไปทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลส่งเสริมให้เพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยนาโนเทคโนโลยี เพื่อรองรับการแข่งขันเสรี จึงได้พัฒนาแนวทางในการนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ โดยเฉพาะผ้าทอพื้นเมือง เกิดกระบวนการตกแต่งผ้าให้มีคุณสมบัติที่แตกต่าง เช่น ลดการยับ และเพิ่มความนุ่มนวล ตลอดจนการคืนตัวของผ้าทำให้ดูแลรักษาง่าย เพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ เพื่อลดการซึมเปื้อนและต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ไม่เหม็นอับและความจำเป็นในการซัก ผศ.ปวีณา ปรวัฒน์กุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เล่าถึงงานวิจัย “การพัฒนาผ้าพื้นถิ่นที่มีสมบัติป้องกันแสงยูวี ต้านเชื้อแบคทีเรีย และสะท้อนน้ำด้วยวัสดุนาโน” โดยการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)  ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น โดยที่่ผ่านมาได้เข้าร่วมพัฒนาชุมชน ด้วยการดำเนินงานวิจัยหลากหลายโครงการ เช่น โครงการทุนท้าทายไทยปีที่ 1 ได้พัฒนาผ้ามัดย้อมลายสายน้ำตาปีไหลหลากจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน        ต้นน้ำตาปีแฮนด์เมด โครงการทุนท้าทายไทยปีที่ 2 พัฒนาผ้าบาติกลายนกฮูกและป่าประจากกลุ่ม 4 ป.บาติก …

นักวิจัยมรภ.นครศรีธรรมราช พัฒนาผ้าพื้นถิ่นเคลือบด้วยวัสดุนาโน Read More »