สถานีการศึกษา

5 องค์กรสำคัญ ผนึกกำลังแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ตั้งเป้าปี 68 ยอดผู้เสียชีวิตลดลง 50%

“อุบัติเหตุบนท้องถนน” ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก (คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน) มีประชากรในช่วงอายุ 15 – 19 ปี ได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ เฉลี่ยวันละ 59 คน การเสียชีวิตจากการใช้ความเร็วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 ผู้เสียชีวิตจากการดื่มแล้วขับในช่วงเทศกาลพุ่งสูงกว่าปกติร้อยละ 25 ล่าสุด องค์กรพันธมิตรสำคัญ 5 องค์กร ประกอบด้วย 3 กองทุน 2 หน่วยงาน คือ 1.กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) 2.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 3.กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 4.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ 5.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกันลงนามสร้างความร่วมมือแก้ปัญหาความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ฐานความรู้จากงานวิจัยไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา …

5 องค์กรสำคัญ ผนึกกำลังแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ตั้งเป้าปี 68 ยอดผู้เสียชีวิตลดลง 50% Read More »

นักชีววิทยา มช. ประสบความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ eDNA สำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย

แม่น้ำเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งคนและสัตว์ในแต่ละภูมิภาค แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์นานาชนิด เป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยติดอันดับการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่สำคัญของโลกในหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความมหัศจรรย์แห่งระบบนิเวศในประเทศที่รอการค้นพบอีกมาก ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จึงผลักดันการประยุกต์ใช้ environmental DNA หรือ eDNA ในการสำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย จนประสบความสำเร็จ เพื่อให้การสำรวจประชากรของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำง่ายขึ้น สามารถนำมาช่วยในการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต การศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการอนุรักษ์ ทั้งการประเมินความอุดมสมบูรณ์ และการเฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่น โดยวิธีการทั่วไปนั้นจะอาศัยการจับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการศึกษาจากแหล่งน้ำด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตาข่ายสวิง อวน เบ็ด หรือแม้กระทั้งการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ มีข้อจำกัดตามสภาพแหล่งน้ำ จึงไม่สามารถสำรวจสิ่งมีชีวิตได้ครบทุกชนิด ทั้งยังเป็นการรบกวนการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำอีกด้วย ทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา นำโดย รศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้ใช้ Environmental DNA (eDNA) ซึ่งเป็นชิ้นส่วน DNA สายสั้น ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทดแทนวิธีการใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิม พบว่า สามารถช่วยให้สำรวจสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง ตรวจหาสิ่งมีชีวิตได้แม้จะมีจำนวนน้อย และไม่ทำลายระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ …

นักชีววิทยา มช. ประสบความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ eDNA สำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย Read More »

วิศวะ จุฬาฯ สร้างโลกเสมือนจริงในเมตาเวิร์ส อยู่ที่ไหนก็เที่ยวจุฬาฯ ได้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยได้ ผ่านอุปกรณ์วีอาร์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาสถานที่จริง อีกทั้งต่อยอดความรู้ในการสร้างโลกเสมือนจริงที่ช่วยในการดำเนินกิจการในภาครัฐวิสาหกิจ และด้านสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส รองศาสตราจารย์ ดร. ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การสร้างโลกเสมือนจริงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ สถาบันไทยศึกษา จัดสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน เป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อดำรงคุณค่าและเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังได้มีการต่อยอดนำความรู้ในการสร้างโลกเสมือนจริงช่วยในการดำเนินกิจการในภาครัฐวิสาหกิจ ด้วยการพัฒนาระบบฝาแฝดดิจิทัลของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ เขื่อนท่าทุ่งนา ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในเขื่อนตามนโยบายเข้าพัฒนาสู่ยุคดิจิทัลของหน่วยงาน ในโครงการนี้ได้สร้างแบบจำลองสามมิติของโรงไฟฟ้าครบถ้วน ทั้งพื้นที่ภายในและอาคารภายนอก รวมถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีในโรงไฟฟ้าทั้งหมด ผลลัพธ์ของโครงงานเป็นประโยชน์เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดูแลโรงไฟฟ้า สามารถใช้ในการฝึกฝนบุคลากรให้มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังใช้สำหรับให้ความรู้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวิศวกรรมเขื่อน และการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเขื่อน โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ในมิติของสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ดูแลสภาวะสมองเสื่อม (Dementia Day Center) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ …

วิศวะ จุฬาฯ สร้างโลกเสมือนจริงในเมตาเวิร์ส อยู่ที่ไหนก็เที่ยวจุฬาฯ ได้ Read More »

ว.บริหารธุรกิจและการบัญชี มธบ. เสริมเทคโนโลยี สร้างนักบัญชีดิจิทัล รองรับธุรกิจยุคใหม่

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU เปิดเผยว่า CIBA DPU ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด และ บริษัท เน็กซ์ทู ซิสเท็ม จํากัด โดยในการร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.) สนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านโปรแกรมบัญชีออนไลน์ 2.) สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ผ่านการจัดอบรมสัมมนาร่วมกัน และ 3.) เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมฝึกประสบการณ์ผ่านโครงการสหกิจศึกษา โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคนิคการวางระบบบัญชีออนไลน์ เพื่อตอบสนองต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน นักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถนำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตได้ “CIBA DPU ตั้งเป้าหมายให้นักศึกษามีศักยภาพเหนือกว่า AI (Artificial Intelligence) ดังนั้น การเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีให้กับสายอาชีพบัญชี ถือเป็นทักษะสำคัญของนักบัญชีที่ต้องมีในอนาคต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีที่เรียนจบออกไป จะต้องเป็นนักบัญชีดิจิทัลที่มีความรู้ มีทักษะ และประสบการณ์หลายด้าน เพื่อเสริมโอกาสในวิชาชีพมากขึ้น ที่สำคัญสามารถตอบโจทย์ความต้องการของแรงงานในอนาคตได้” ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าว ด้าน ดร.อรัญญา …

ว.บริหารธุรกิจและการบัญชี มธบ. เสริมเทคโนโลยี สร้างนักบัญชีดิจิทัล รองรับธุรกิจยุคใหม่ Read More »

อาชีวะ ผุดศูนย์ Fix it Center ถาวร ทั่วประเทศ ปลุกสำนึกจิตอาสา พัฒนาคุณภาพแรงงาน

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินศูนย์ฯ ผลการดำเนินงาน ปี 2564 จำนวน 100 ศูนย์ ซึ่งผลจากการประเมิน 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับข้อมูลว่าศูนย์ฯ ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน และได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ช่างอาชีวะ (ช่างพันธุ์ R ช่างอาชีวะซ่อมทั่วไทย) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน เลขาธิการ สอศ. กล่าวต่อไปว่า ในการดำเนินงานทุกขั้นตอนของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับทิศทางของโลกในศตวรรษที่ 21 …

อาชีวะ ผุดศูนย์ Fix it Center ถาวร ทั่วประเทศ ปลุกสำนึกจิตอาสา พัฒนาคุณภาพแรงงาน Read More »

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ “ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม” บูรณาการประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน

คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เปิดตัวหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ที่ผ่านการรับรองจาก อ.ว. เรียบร้อย ชูจุดเด่นเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวของประเทศที่บูรณาการประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิตัล เข้าไว้ด้วยกัน เรียนครบหน่วยกิตจบได้ใน 3 ปีครึ่ง พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาแล้ววันนี้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นหลักสูตรใหม่ ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ที่ผ่านการพิจารณาความสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา และรับทราบหลักสูตร จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม (สป.อว.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 พร้อมรับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งสาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มีจุดเด่น คือ เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวของประเทศ ที่บูรณาการประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิตัล เข้าด้วยกัน ปรัชญาของหลักสูตร “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารสังคม” โดยมุ่งเน้นให้เป็นหลักสูตร Hybrid Skill เชื่อมโยงสิ่งใหม่ผสานเข้ากับทักษะประวัติศาสตร์ที่เป็นฐาน เพื่อเพิ่มคุณค่า …

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ “ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม” บูรณาการประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน Read More »

คนอาชีวะขอทำดี ส่งมอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้ชาว จ.บึงกาฬ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ พร้อมด้วย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายทุนโครงการเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยมี นายชาญชัย แสนจันทร์ ผู้อำนวยการเทคนิคบึงกาฬ นำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน ทั้งนี้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มาจัดแสดงรวมทั้งสิ้น 30 ผลงาน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 28 ผลงาน วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน 1 ผลงาน และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาสกลนคร 1 ผลงาน โดยมี นายธาตรี บุญมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ในการนี้ ทาง สอศ. ได้ส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ ให้แก่ผู้แทนกลุ่มอาชีพ และชุมชน ได้แก่ 1.รถฉีดพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรคและไวรัส (โควิด-19) มอบให้กับ สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ 2.ชุดตรวจใต้ท้องรถ มอบให้กับ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่244 จ.บึงกาฬ 3.ผงปลาร้าสมุนไพรไอโอดีน มอบให้ ชุมชนตำบลบึงกาฬ 4.ปั้มลมโซล่าเซลส์อเนกประสงค์ มอบให้ ชุมชนบ้านหนองบัวบาน …

คนอาชีวะขอทำดี ส่งมอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้ชาว จ.บึงกาฬ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น Read More »

อาชีวะอุบลฯ โชว์ฝีมือออกแบบชุดผ้าไหมไทย ร่วมโชว์ “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 11

นางลฎาภา แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เปิดเผยว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ภูมิใจที่ได้รับมอบหมายในการตัดเย็บชุดผ้าไหมไทยให้กับ ตัวแทนสถานทูต ประเทศคูเวตและ มองโกเลียประจำประเทศไทย พร้อมจัดแสดงอวดโฉมในงานแฟชั่นผ้าไหมไทยระดับโลก “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 11” ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี กล่าวต่อไปว่า การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมไทยเป็นฝีมือการออกแบบและตัดเย็บของนักเรียน นักศึกษา จาก สถาบันการศึกษาทางด้านออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ จาก สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 63 สถาบัน ออกแบบตัดเย็บชุดผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศกว่า 100 ประเทศ ซึ่งในส่วนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ ได้แสดงศักยภาพพัฒนาทักษะวิชาชีพในสาขาที่เรียน ด้วยการรังสรรค์ผลงานตัดเย็บชุดผ้าไหมไทย ให้กับ นางสาวนัสรียา เย็นอังกูร ตำแหน่ง เลขานุการฝ่ายบัญชี ตัวแทนสถานทูตประเทศคูเวตประจำประเทศไทย 1 ชุด และ ตัวแทนสถานทูตประเทศมองโกเลีย 2 ชุด โดยตัดเย็บให้กับ Mrs. Orkhon Lkhamsuren- Spouse of Ambassador ภริยาเอกอัคราชทูตมองโกเลีย และตัดเย็บให้กับ …

อาชีวะอุบลฯ โชว์ฝีมือออกแบบชุดผ้าไหมไทย ร่วมโชว์ “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 11 Read More »

สอศ. ขยายความร่วมมือทวิภาคี บ.ดูโฮม ผลิตกำลังคนรองรับธุรกิจค้าปลีก

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ นางนงเยาว์ สะอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามความร่วมมือ เพื่อการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) โดยมีนายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ และ นางสาวจารุพร ธารารักษาสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นพยาน ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และบริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีร้านสาขาของบริษัทเป็นศูนย์การเรียน และฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งระบบทวิภาคี …

สอศ. ขยายความร่วมมือทวิภาคี บ.ดูโฮม ผลิตกำลังคนรองรับธุรกิจค้าปลีก Read More »

รัฐบาลญี่ปุ่น มอบทุนสายอาชีพ ประจำปี 2566 เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 พ.ค. 65

ทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น Japanese Government (MEXT) Scholarship ประจำปีการศึกษา 2566 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น(MEXT) มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนไทย เพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ณ ประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2566 ดังนี้ -ประเภททุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี (College of Technology Students) -ประเภททุนนักศึกษาวิทยาลัยฝึกอบรมวิชาชีพ (Specialized Training College Students) รายละเอียดโดยย่อของทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดรับสมัคร 1. ทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค (College of Technology Students) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการไทย คัดเลือกนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคที่ญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 25 ปี เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือปวช.ชั้นปี 3 และจะจบการศึกษาในเดือนมีนาคมของปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 4 ปี (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 1 …

รัฐบาลญี่ปุ่น มอบทุนสายอาชีพ ประจำปี 2566 เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 พ.ค. 65 Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!