สถานีการศึกษา

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กำจัดถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมระยะยาว

รู้หรือไม่ว่า การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 12.6 กิโลกรัม หลายคนคงเคยเห็นการรณรงค์ร่วมบริจาคโทรศัพท์มือถือ แทปเลตที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ซึ่งเป็นการลดและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกวิธี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากสารตกค้าง เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อสุขภาพตามมา “ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจนถึงการกำจัด” รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาฯ กล่าว โครงการจุฬาฯ รักษ์โลกกับการช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก ร่วมกับ บริษัท Total Environmental Solutions จำกัด ได้เปิดรับบริจาคโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งดำเนินการมากว่า 12 ปีแล้ว เป็นตัวอย่างการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง โดย ศูนย์ความเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ ส่งต่อให้บริษัทรับกำจัดและดำเนินการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี โดยการบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต 1 …

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” กำจัดถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมระยะยาว Read More »

จุฬาฯ หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมฟื้นฟูการท่องเที่ยว จ.น่าน หนุนเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน หลังโควิด 19

  ศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำคณะทำงานโครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) จุฬาฯ หารือกับ คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา นำโดย นายจรินทร์ จักกะพาก สมาชิกวุฒิสภา และนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 ที่ศาลากลางจังหวัดน่าน ถึงแนวทางการ “ฟื้นคืนจาก Covid 19” ด้าน”โอกาสการทำงาน“ ในภาคท่องเที่ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ วุฒิสภา และทางจังหวัดน่าน รวมทั้งได้นำคณะอนุกรรมาธิการฯ ศึกษาดูงานที่โครงการได้ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2565 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือของจังหวัดน่าน และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของชุมชนในจังหวัดน่านต่อไป โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า …

จุฬาฯ หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมฟื้นฟูการท่องเที่ยว จ.น่าน หนุนเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน หลังโควิด 19 Read More »

โรคซึมเศร้า (Depression) ภัยร้าย ใกล้ตัว ทำความเข้าใจ ยอมรับ รักษา หายป่วยได้

สืบเนื่องจากข่าวอาจารย์ท่านหนึ่งของโรงเรียนชื่อดังเมืองแปดริ้วเครียดหนัก เพราะถูกบังคับให้หานักเรียนใหม่เข้ามาเรียนตามยอดที่ให้ไว้ พอใกล้เปิดเทอมเมื่อเป้ายังไม่ถึง ถูกต่อว่าและเรียกไปด่าจนอับอาย จึงทำให้เธอกดดันและคิดสั้น ดิ่งตึกของอาคารเรียนที่อยู่ตรงชั้น 5 ลงมาเสียชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโรคซึมเศร้าที่เกาะกินคนในสังคมยุคนี้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากป่วยแล้วจะมีวิธีการรักษา หรือ ดูแลตัวเองอย่างไร  Station-Thai ค้นหาคำตอบมาให้ค่ะ โรคซึมเศร้าสามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สารเคมีในสมองไม่สมดุล หรือเจอกับเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ อย่างการหย่าร้าง ตกงาน พ่อแม่แยกทางกัน รวมไปถึง นิสัยส่วนตัวที่เป็นคนคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ก็ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ความเศร้าที่เผชิญ ไม่ใช่โรคซึมเศร้าเสมอไป อาจเป็นอารมณ์เศร้า หรือภาวะซึมเศร้า แต่หากเป็นโรคซึมเศร้า จะสังเกตเห็นความเศร้าอย่างชัดเจน เป็นซ้ำ ๆ วนๆ อยู่นานหลายสัปดาห์ ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง มีปัญหาเรื่องการกิน การนอน ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ โรคซึมเศร้าคืออะไร? โรคซึมเศร้า หรือ โรคประสาทซึมเศร้า มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Depression เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลกระทบได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้รู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไม่มีความสุข อยากร้องไห้ นอนหลับยาก และปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง จนส่งผลต่อกิจกรรมต่าง …

โรคซึมเศร้า (Depression) ภัยร้าย ใกล้ตัว ทำความเข้าใจ ยอมรับ รักษา หายป่วยได้ Read More »

มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (ATF) ให้ทุนการศึกษา ปี 2565 สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 31 ส.ค. 65

คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุน 1. เรียนในสาขาวิชาการเงิน 2. เกรดเฉลี่ย 2.8 ขึ้นไป 3. วิชาภาษาอังกฤษ ได้เกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป 4. เรียนชั้นปีที่ 1 (เรียนอีก 3 ปี สำเร็จการศึกษา) 5. ไม่เคยได้รับทุนมาก่อน หากได้รับคัดเลือกให้รับทุนแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ทำกิจกรรมบริการชุมชน 20 ชม. ต่อ ปีการศึกษา 2. รักษาเกรดเฉลี่ยให้ได้ 2.8 และเกรดเฉลี่ยในวิชาภาษาอังกฤษให้ได้ 3.0 ในระหว่างที่รับทุน 3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหอการค้าอเมริกัน 4. ไม่รับทุนอื่น ๆ ระหว่างที่ได้รับทุนของหอการค้าอเมริกัน ขั้นตอนการกรอกใบสมัครทุนหอการค้าอเมริกัน ประจําปี 2565 ทางออนไลน์ กรุณากรอกใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นข้อ 1. ที่ต้องกรอกเป็นภาษาไทย ขอให้ผู้สมัครอ่านรายละเอียดให้รอบคอบก่อนส่งใบสมัคร หากมีข้อสงสัยหรือคําถาม ผู้สมัครสามารถติดต่อ foundation@amchamthailand.com ได้ ข้อมูลที่ต้องใช้สําหรับการสมัคร …

มูลนิธิหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (ATF) ให้ทุนการศึกษา ปี 2565 สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 31 ส.ค. 65 Read More »

ศธ. เปิดเวทีพัฒนาเครือข่ายเอเปค เพื่อการมีงานทำในโลกที่ผันผวน

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุม APEC Education Conference “The Collaborative Direction of Education, Employment and Decent Work in the VUCA World” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเครือข่ายด้านการศึกษาของเอเปค (Education Network : EDNET) ที่จัดขึ้น ในหัวข้อ “การพัฒนาเครือข่ายเอเปคเพื่อการมีงานทำในโลกที่ผันผวน” ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ, รมว.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปคเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว และวันนี้ตนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดการประชุมในกรอบความร่วมมือเอเปคอีกครั้ง​ ณ กรุงเทพฯ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีทางวิชาการที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความผันผวน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานที่ทำงานต่างต้องปรับตัวเพื่อให้การเรียนรู้ไม่หยุดชะงัก โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาร่วมกันว่าควรมีแนวหรือมาตรการอย่างไรที่จะเดรียมตัวให้พร้อมกับโลกในยุคที่ผันผวน ซึ่งประเทศไทยมีความพยายามที่จะดำเนินนโยบายที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การเรียนรู้และการพัฒนาทักษะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดย ศธ. ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น คือ …

ศธ. เปิดเวทีพัฒนาเครือข่ายเอเปค เพื่อการมีงานทำในโลกที่ผันผวน Read More »

ม.รังสิต ให้ทุนการแพทย์แผนตะวันออก 15 ทุน สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้

มหาวิทยาลัยรังสิต มอบทุนการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (การแพทย์แผนตะวันออก) ลดค่าบำรุงการศึกษา และค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 4 ปี ส่วนลด 50% จำนวน 5 ทุน เกณฑ์การรับสมัคร – จบมัธยมด้านวิทย์-คณิต GPA >2.75 – จบมัธยมด้านอื่น GPA >3.00 ส่วนลด 25% จำนวน 10 ทุน เกณฑ์การรับสมัคร – จบด้านวิทย์-คณิต GPA > 2.50 – จบด้านอื่น GPA > 2.75 หลักสูตร วท.บ.(การแพทย์แผนตะวันออก) หลักสูตร 4 ปี จบ 2 ปี ได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ด้านเภสัชกรรมไทย จบ 3 ปี ได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย …

ม.รังสิต ให้ทุนการแพทย์แผนตะวันออก 15 ทุน สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ Read More »

วิทยาลัยโลจิสติกส์ฯ มรภ.สวนสุนันทา ร่วมมือ บ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร มอบทุนเรียนฟรี 100% และมีรายได้ระหว่างเรียน

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มอบทุนเรียนฟรี 100% และมีรายได้ระหว่างเรียน เริ่มต้น 12,000 บาท (ไม่รวมโบนัส) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ระบบการศึกษาทางไกล) เรียนผ่านแอปพลิเคชั่น เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ คุณสมบัติผู้สมัคร – จบการศึกษาระดับ ปวส. จากสถาบันที่ กพ. รับรอง สวัสดิการที่ได้รับ -ทำงานในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (ไก่ย่างห้าดาว) / ตำแหน่ง พนักงานส่งเสริมการขาย / เงินเดือน 12,000 บาท / Incentive 4,000 บาท / ค่าโทรศัพท์ 500 บาท / โบนัส 2 เดือน / ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาทต่อปี / …

วิทยาลัยโลจิสติกส์ฯ มรภ.สวนสุนันทา ร่วมมือ บ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร มอบทุนเรียนฟรี 100% และมีรายได้ระหว่างเรียน Read More »

ทำความรู้จัก…ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เลือกที่ใช่ เตรียมพร้อมก่อนสอบชิงทุน

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้สมัครชาวไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อรับทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น ไปศึกษาที่สถาบันการศึกษาในญี่ปุ่น โดยมีทุนทั้งหมด 7 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1.ทุนนักศึกษาปริญญาตรี (Undergraduate Students) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คัดเลือกนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น เป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 25 ปี สำเร็จหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจบการศึกษาในเดือนมีนาคม ของปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 5 ปี หรือ 7 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 1 ปี) รับสมัครประมาณต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีถัดไป ในขั้นตอนการรับสมัคร จำเป็นต้องยื่นเอกสารแสดงผลการศึกษา และเอกสารรับรองการจบการศึกษาหรือเอกสารรับรองสถานภาพนักเรียนเป็นฉบับจริง ภาษาอังกฤษ 2. ทุนนักศึกษาวิจัย (Research Students) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คัดเลือกนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาในระดับนักศึกษาวิจัย ที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี สำเร็จหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย หรือบัณฑิตวิทยาลัย ในปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา …

ทำความรู้จัก…ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เลือกที่ใช่ เตรียมพร้อมก่อนสอบชิงทุน Read More »

รมว.ศธ. ย้ำ ผอ.เขตฯทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับเปิดเทอม 17 พ.ค.นี้

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 4/2565 พร้อมมอบนโยบายเปิดภาคเรียนอย่างปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครอง บุคลากร ครู ผู้บริหาร ให้สถานศึกษาเปิดเรียน On-Site ได้อย่างปลอดภัย พร้อมด้วย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารของ สพฐ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 245 เขต สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และคณะทำงาน เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบ Video Conference นางสาวตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่า ในการประชุมวันนี้ ตนต้องการสร้างความเข้าใจและการรับรู้ให้แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติในเขตพื้นที่ โดยเน้นย้ำในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ในรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจน กระทรวงสาธารณสุข เองก็เข้ามาสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของมาตรการต่าง ๆ ว่า เราจะต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้ปกครองและคุณครูได้มั่นใจ รวมถึงเรื่องของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning …

รมว.ศธ. ย้ำ ผอ.เขตฯทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับเปิดเทอม 17 พ.ค.นี้ Read More »

ราชภัฏกลุ่มภาคใต้ เปิด 5 ศูนย์อัจฉริยะฯ สร้างนวัตกรรมชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดเผยว่า สำหรับ “โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” ภายใต้การดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “Reinventing University” ของกลุ่ม 3 ที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 5 แห่ง จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ขึ้น “สำหรับภารกิจหลักของศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ คือ การให้บริการด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่น ในการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) ด้วยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ทั้งที่เป็น non-degree และ degree ที่สามารถนำผลการเรียนเก็บสะสมไว้ในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) และการให้บริการวิชาการ และการพัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับสากล ตามความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็และพึ่งตนเองได้ โดยจะมีการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ …

ราชภัฏกลุ่มภาคใต้ เปิด 5 ศูนย์อัจฉริยะฯ สร้างนวัตกรรมชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!