สถานีการศึกษา

คณะ ICT SPU จับมือ TESA  ร่วมประชุมหารือ เพื่อร่วมพัฒนากำลังคนส่งต่อภาคอุตสาหกรรม

             สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: TESA) ได้ร่วมประชุมหารือ ความร่วมมือกับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อร่วมกันพัฒนากำลังคนทางด้าน Embedded Systems  หวังสร้างความเข้มแข็ง และตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวทางความร่วมมือในเบื้องต้น อาทิ การร่วมกันพัฒนาหลักสูตร และรายวิชาที่เกี่ยวข้องทางด้าน Embedded System/Digital Platform ตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงให้นักศึกษาได้เห็นภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมนี้ ในมิติด้านสายงาน สายอาชีพ การเติบโต ความต้องการ รวมถึงการได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้สร้าง ผู้พัฒนา Product/Service/Solution จากองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน การร่วมฝึกฝน การทำโจทย์ ทำโปรเจ็กต์  การฝึกงาน และร่วมงานกันในอนาคต รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนมาสนใจเรียนรู้ทางด้าน Embedded System ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา และ อาชีวศึกษา พร้อมการสร้างตัวเชื่อมที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้กลุ่มนักเรียนที่สนใจใฝ่รู้ หรือมีใจรักทางด้านนี้ได้มีเวทีได้เรียนรู้ ได้ฝึกฝน ทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง …

คณะ ICT SPU จับมือ TESA  ร่วมประชุมหารือ เพื่อร่วมพัฒนากำลังคนส่งต่อภาคอุตสาหกรรม Read More »

ราชภัฏสงขลา ลุ้นผ่านเกณฑ์สำนักงานสีเขียว ตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวระดับโลก

สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา เดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสีเขียวระดับโลก นำร่องใช้พื้นที่ว่างด้านหลังอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ปลูกผักสวนครัวแจกจ่ายบุคลากรในหน่วยงาน  พร้อมเดินหน้าสู่มาตรฐานสำนักงานสีเขียว “ARIT Go Green” ตั้งเป้าผ่านเกณฑ์ประเมินกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สนว.) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ในฐานะที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่ตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวระดับโลก พร้อมขานรับยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วยการนำร่องปลูกผักสวนครัว อาทิ พริก กะเพรา กระเจี๊ยบ ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และอื่น ๆ บริเวณด้านหลังอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ เพื่อแจกจ่ายให้แก่บุคลากรในหน่วยงานนอกจากนั้น ยังประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่ง สนว. พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการพัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (ARIT Go Green) ตั้งเป้าผ่านเกณฑ์การประเมินการเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) ตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยมรภ.นครศรีธรรมราช พัฒนาผ้าพื้นถิ่นเคลือบด้วยวัสดุนาโน

การทอผ้าพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยผ้าของแต่ละท้องถิ่นจะอัตลักษณ์ และความงดงามเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ความชำนาญ ค่านิยม และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ปัจจุบันการทอผ้าเพื่อสร้างรายได้เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนการทอผ้าเพื่อใช้สอย ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ทั้งในลักษณะอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้พิจารณาเห็นว่าผ้าพื้นเมืองเป็นสินค้าที่มีโอกาสขยายออกไปทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลส่งเสริมให้เพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยนาโนเทคโนโลยี เพื่อรองรับการแข่งขันเสรี จึงได้พัฒนาแนวทางในการนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ โดยเฉพาะผ้าทอพื้นเมือง เกิดกระบวนการตกแต่งผ้าให้มีคุณสมบัติที่แตกต่าง เช่น ลดการยับ และเพิ่มความนุ่มนวล ตลอดจนการคืนตัวของผ้าทำให้ดูแลรักษาง่าย เพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ เพื่อลดการซึมเปื้อนและต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ไม่เหม็นอับและความจำเป็นในการซัก ผศ.ปวีณา ปรวัฒน์กุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เล่าถึงงานวิจัย “การพัฒนาผ้าพื้นถิ่นที่มีสมบัติป้องกันแสงยูวี ต้านเชื้อแบคทีเรีย และสะท้อนน้ำด้วยวัสดุนาโน” โดยการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)  ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น โดยที่่ผ่านมาได้เข้าร่วมพัฒนาชุมชน ด้วยการดำเนินงานวิจัยหลากหลายโครงการ เช่น โครงการทุนท้าทายไทยปีที่ 1 ได้พัฒนาผ้ามัดย้อมลายสายน้ำตาปีไหลหลากจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน        ต้นน้ำตาปีแฮนด์เมด โครงการทุนท้าทายไทยปีที่ 2 พัฒนาผ้าบาติกลายนกฮูกและป่าประจากกลุ่ม 4 ป.บาติก …

นักวิจัยมรภ.นครศรีธรรมราช พัฒนาผ้าพื้นถิ่นเคลือบด้วยวัสดุนาโน Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!