สถานีการศึกษา

นักวิจัย มจธ. ค้นพบสูตรเล่นแร่แปรธาตุ “เพิ่มมูลค่าทองคำ” ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยในปี 2566 ไทยมีมูลค่าส่งออกมากถึง 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดัน 3 หรือ 5.14% ของมูลค่าสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย (ที่มา : ศูนย์เครื่องมืออัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ) ซึ่งนอกจากอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ “ตัวเรือน” ของเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันแพลทินัม (Platinum) ที่เป็นโลหะเนื้อสีขาวที่ใช้ทำตัวเรือนเป็นที่นิยมอย่างมาก และมีราคาแพงกว่าทองคำ (Gold) ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ “โลหะผสมทองขาว” (White Gold Alloys) ที่เป็นโลหะผสมระหว่างทองคำกับธาตุอื่น ๆ เช่น เงิน ทองแดง สังกะสี นิกเกิล และ อื่น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะให้เนื้อโลหะสีขาวคล้ายแพลทินัม แต่ราคาถูกกว่า ปัญหาสำคัญ คือ นิกเกิลที่ผสมอยู่ในโลหะผสมทองขาว สามารถทำให้ผู้สวมใส่บางคนเกิดอาการแพ้เป็นผื่นแดงได้ ทางสหภาพยุโรปจึงมีกฎหมายจำกัดปริมาณนิกเกิลในเครื่องประดับที่นำเข้า โดยปริมาณนิกเกิลที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องประดับ หรือ อุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสผิวหนัง …

นักวิจัย มจธ. ค้นพบสูตรเล่นแร่แปรธาตุ “เพิ่มมูลค่าทองคำ” ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย Read More »

สสวท. ชวนทำความเข้าใจ “ร่องรอยดิจิทัล” คืออะไร ทำไมควรรู้เท่าทัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาน้อง ๆ ไปรู้รอบตอบโจทย์ทันโลก กับคลังภาพสื่อการเรียนรู้หัวข้อ “ร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint)” ร่องรอยที่ผู้ใช้กระทำการต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การใช้งานอัปโหลดข้อมูลส่วนตัว ไฟล์งาน รูปภาพในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ การใช้งานสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และ คอมพิวเตอร์ ซึ่งร่องรอยดิจิทัลนี้เองที่สามารถบอกให้ผู้อื่นทราบถึงสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่สนใจ และสิ่งที่อยากทำได้ รวมทั้งไขข้อกังขาถึงความสำคัญของร่องรอยดิจิทัล ทำไมเราจึงควรระมัดระวังและป้องกัน สื่อการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี คลิกอ่านได้ที่ คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/image-technology/item/13117

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนผู้ที่รักการถ่ายภาพ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 192,000 บาท เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 26 ก.ค. 67

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เชิญชวนผู้ที่สนใจและรักการถ่ายภาพ ส่งภาพถ่ายทางดาราศาสตร์เข้าร่วมประกวด ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 192,000 บาท เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 26 กรกฎาคม 67 เงื่อนไขในการส่งภาพถ่ายเข้าร่วม การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” 1. คุณสมบัติของผู้ส่งภาพเข้าประกวด บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดอายุ เพศ การศึกษา 2. รายละเอียดภาพถ่ายและวิดีโอเข้าร่วมการประกวด 2.1 ประเภท Deep Sky Objects เช่น กาแล็กซี เนบิวลา และกระจุกดาว 2.2 ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชันของวัตถุในระบบสุริยะ แต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ …

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนผู้ที่รักการถ่ายภาพ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 192,000 บาท เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 26 ก.ค. 67 Read More »

หอสมุดแห่งชาติ เชิญชม นิทรรศการ “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” ผู้สนใจเข้าชมได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 กรกฎาคม

สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดย กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ จัดนิทรรศการเรื่อง “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” จัดแสดงหนังสือ ตำรา เอกสารโบราณ ภาพประกอบ และสื่อมัลติมีเดียที่เกี่ยวกับอาหารชาววัง หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า กับข้าวเจ้านาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความประณีตและวิจิตรบรรจงแบบไทย นิทรรศการ “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมการบริโภคของเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พระมหากษัตริย์ จนไปถึง พระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครื่องคาวหวานที่ปรากฎในวรรณคดี กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ที่ทรงพรรณนาถึงพระกระยาหารไทย ซึ่งปรากฎในพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไกลบ้าน จนถึงสูตรอาหารพระราชทานจากรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับตำรับอาหารของเจ้านาย และบุคคลที่เคยรับใช้ใกล้ชิด หรือ มีสายสัมพันธ์กับราชสำนัก ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาการปรุงอาหาร และนำมารวบรวมเป็นตำราอาหารเผยแพร่ในเวลาต่อมา เช่น ตำรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ …

หอสมุดแห่งชาติ เชิญชม นิทรรศการ “เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม” ผู้สนใจเข้าชมได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 กรกฎาคม Read More »

สอศ. เร่งประสาน กระทรวงเกษตร หารือแนวทางให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2567

นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า จากประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 ลงวันที่ 30 เมษายน 2567 สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งผลกระทบให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 14 แห่ง ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ดำเนินการเลี้ยงโคนม และผลิตอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ อีกทั้ง ฟาร์มโคนม และโรงงานแปรรูปผลิตของวิทยาลัยที่มีและสร้างขึ้น เพื่อการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน นักศึกษา และการฝึกอาชีพให้เกษตรกร ส่งผลกระทบให้ขาดแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และเกษตรกร ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบทวิภาคี “การจัดโรงงานในโรงเรียน” นักเรียน นักศึกษา ขาดกิจกรรมการหารายได้ในระหว่างเรียน เงินบำรุงการศึกษาในการพัฒนาอาคารสถานที่ และกิจกรรมการเรียนการสอน และกระทบไปถึงการเลิกจ้างในส่วนต่าง ๆ เช่น พนักงาน ลูกจ้างชั่วคราว รถขนส่งนมโรงเรียน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า จากประกาศดังกล่าว พลตำรวจเอก เพิ่มพูน …

สอศ. เร่งประสาน กระทรวงเกษตร หารือแนวทางให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 Read More »

จุฬาฯ เดินหน้าปักธง AI University เร่งผลักดัน ‘สถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ’

จุฬาฯ เดินหน้าปักธง AI University เร่งผลักดันการตั้ง Chulalongkorn AI Institute หรือ สถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการปฏิบัติการด้าน AI ตอบสนองความต้องการที่ลึกซึ้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าขับเคลื่อนจุฬาฯ ตอบโจทย์สังคมสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้จุฬาฯ เป็นผู้นำแห่ง AI University ของไทย และ เป็น AI Hub ของ Southeast Asia ในการนี้ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดี ด้านวิชาการ สื่อสาร และนิสิตเก่าสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา และ อ.นพ.วรพล จรูญวณิชกุล ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ได้ร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติด้านปัญญาประดิษฐ์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ เตรียมการมุ่งหน้าขับเคลื่อนนโยบาย AI University ในหลากหลายมิติ …

จุฬาฯ เดินหน้าปักธง AI University เร่งผลักดัน ‘สถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ’ Read More »

ว.ครูสุริยเทพ ม.รังสิต เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการคัดเลือกทุนการศึกษา ระดับป.โท ในโครงการผลิตครูรังสิตโมเดล ปีการศึกษา 2567 หมดเขต 31 ก.ค. นี้

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต  เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้ารับคัดเลือกทุนการศึกษา “โครงการผลิตครูรังสิตโมเดล” ปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2567 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ วิทยาลัยครูสุริยเทพ โทร. 02-997-2200 ต่อ 1275, 1276 .

จุฬาฯ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย และเป็นหนึ่งเดียวของไทยใน Top 100 ของโลก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ และผลลัพธ์จากการจ้างงาน

จุฬาฯ คว้าที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย และเป็นหนึ่งเดียวของไทยใน Top 100 ของโลก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ และผลลัพธ์จากการจ้างงาน ใน QS World University Rankings 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยอีกครั้ง จากผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดในโลก QS World University Rankings (WUR) 2025 ซึ่งประกาศผลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย และ ติด Top 100 ของโลก 2 ด้าน คือ ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) และ ด้านผลลัพธ์การจ้างงาน (Employment Outcomes) นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้รับการจัดอันดับภาพรวมให้เป็นที่ 1 ในไทย อันดับ …

จุฬาฯ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย และเป็นหนึ่งเดียวของไทยใน Top 100 ของโลก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ และผลลัพธ์จากการจ้างงาน Read More »

กรมประชาสัมพันธ์ จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ระดับเยาวชน หัวข้อ “๖ รอบพระชนมพรรษา อาณาราษฎร์ร่มเย็น” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 28 มิถุนายน 2567

กรมประชาสัมพันธ์ จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ระดับเยาวชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในหัวข้อ “๖ รอบพระชนมพรรษา อาณาราษฎร์ร่มเย็น” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 28 มิถุนายน 2567 หลักเกณฑ์การประกวด กรมประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ระดับเยาวชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในหัวข้อ “๖ รอบพระชนมพรรษา อาณาราษฎร์ร่มเย็น” เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมบทบาทของเยาวชนไทยในการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ถ่ายทอดพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านการประกวดคลิปวิดีโอ อีกทั้งเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญชวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร่วมสร้างสรรค์และส่งคลิปวิดีโอสั้น ความยาวตั้งแต่ 1 นาที …

กรมประชาสัมพันธ์ จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ระดับเยาวชน หัวข้อ “๖ รอบพระชนมพรรษา อาณาราษฎร์ร่มเย็น” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 28 มิถุนายน 2567 Read More »

ครั้งแรกในไทย! นักวิจัยจุฬาฯ พบ “หอยทากบกเรืองแสง” เตรียมถอดรหัสพันธุกรรม ต่อยอดงานวิจัยทางการแพทย์

นักวิจัย จุฬาฯ พบหอยทากบกเรืองแสงตัวแรกของไทย และของโลกในรอบ 80 ปี เตรียมถอดรหัสพันธุกรรม ปูทางสู่การวิจัยทางการแพทย์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านการเรืองแสงของหอย หอยทากบกเรืองแสง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก เมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ดร.ยาตะ ฮาเนดะ (Dr. Yata Haneda) ซึ่งหอยทากสกุล Quantula ชนิด Striata จัดได้ว่า เป็นหอยทากบกเพียงชนิดเดียวในโลกที่เรืองแสงได้ เกือบ 80 ปีต่อมา หอยทากบกเรืองแสงถูกค้นพบอีกครั้งในประเทศไทย โดยทีมนักวิจัยจุฬาฯ นำโดย ดร.อาทิตย์ พลโยธา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบหอยเรืองแสงตัวแรกของไทย เป็นหอยทากบกสกุล Phuphania ที่อาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมนักวิจัยจุฬาฯ ได้ส่งข้อมูลเรื่องราวการค้นพบ “หอยทากบกเรืองแสงของไทย” เข้าร่วมแข่งขันในเวที “International Mollusc of the …

ครั้งแรกในไทย! นักวิจัยจุฬาฯ พบ “หอยทากบกเรืองแสง” เตรียมถอดรหัสพันธุกรรม ต่อยอดงานวิจัยทางการแพทย์ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!