หลักสูตรสถิติประยุกต์ NIDA เผย ผลวิจัย 3 ปัจจัยสำคัญ “สุขภาพใจ สุขภาพกาย และทรัพย์สิน” ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย
เมื่อคนเข้าสู่วัยสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างมาก การลดลงของความสามารถทางร่างกาย การเจ็บป่วยเรื้อรัง การเสื่อมถอยทางความจำและการรับรู้ รวมถึงการสูญเสียบทบาททางสังคม และความโดดเดี่ยว สามารถทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตลดลงได้ การมีเครือข่ายสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวและเพื่อนฝูง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ชอบ การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างเหมาะสม รวมถึงการมีการจัดการทางการเงินที่ดี จะช่วยเพิ่มระดับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุได้ จากข้อมูลสถิติจำนวนประชากรไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนถึง 13,358,751 คน คิดเป็น ร้อยละ 19.6 ของประชากรทั้งหมด เป็นผู้สูงอายุชายประมาณ 5.97 ล้านคน และหญิงประมาณ 7.38 ล้านคน (การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย, สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ถือได้ว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยจำนวนมาก มุ่งเน้นค้นหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และผลการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทำให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้น มีหลายแง่มุม และมีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างการวิจัยผู้สูงอายุในฟินแลนด์ โปแลนด์ และสเปน พบความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม กับ …