Day: February 19, 2022

“ยัน ขิ่น” นักกีฬาพม่า ในตำนานวันกีฬาแห่งชาติของไทย

ยัน ขิ่น นักกีฬาเหรียญทองแดงกีฬาเรือใบ ในการแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ หรือ กีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 เมื่อปี 2510 หลังจากคว้าเหรียญทองแดงแล้ว ก็ขอเปลี่ยนสัญชาติ มาเป็นคนไทย และได้ชื่อ เป็น นาย อดิสรณ์  ชาญพิเชฐ ได้ทำงานที่เมืองไทย และอยู่จนวาระสุดท้ายของชีวิตในเมืองไทย บันทึกนี้น่าจดจำ เพราะเขาคือคนในภาพประวัติศาสตร์วันกีฬาแห่งชาติของไทย ที่ต้องมีคนไทยจดจำนานเท่านาน ติดตามชมได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=S9IuVeOiV1I&t=21s

รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเปิดตัว “Night Course” ทางเลือกใหม่ของการฝึกทักษะขับขี่ปลอดภัย ภาคค่ำ

รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ผู้นำวงการขับขี่ปลอดภัยของเมืองไทย เปิดตัว “Night Course” ทางเลือกใหม่ของการเรียนทักษะขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในช่วงกลางวัน สามารถเข้ารับการฝึกในเวลากลางคืน ขยายโอกาสการส่งมอบทักษะขับขี่ปลอดภัยสู่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ได้มากยิ่งขึ้น เตรียมเปิดสอนครั้งแรกตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ เป็นต้นไป ดร.อารักษ์ พรประภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในประเทศไทย เปิดเผยว่า “การรณรงค์ป้องกันการเกิดอุบัติภัยทางถนนเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของฮอนด้า โดยเราได้เริ่มโครงการฮอนด้าเมืองไทยขับขี่ปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2532 เพื่อให้ความรู้การฝึกทักษะขับขี่ปลอดภัยอย่างถูกต้อง จากครูฝึกและสนามฝึกที่ได้มาตรฐานตลอด 33 ปีที่ผ่านมา และยังคงมุ่งมั่นส่งมอบความรู้ด้านการขับขี่อย่างปลอดภัยสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง” “ที่ผ่านมา ฮอนด้าไม่เคยหยุดนิ่งในการยกระดับหลักสูตรการฝึกสอน เพื่อให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และฝึกทักษะขับขี่ปลอดภัยได้มากที่สุด ล่าสุด เราได้เพิ่มทางเลือกใหม่ที่เรียกว่า Night Course เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจมาเรียนแต่ไม่มีเวลาในช่วงกลางวัน สามารถมาเข้ารับการฝึกในช่วงภาคค่ำแทนได้ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพิ่มความสะดวกให้กับคนรุ่นใหม่ทั้งกลุ่มพนักงานบริษัท นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป ในการเข้ามาเรียนฝึกทักษะขับขี่ที่ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า” “เราเชื่อมั่นว่า Night Course จะได้รับการตอบรับที่ดี และเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดภัยไร้อุบัติเหตุต่อไปในอนาคต” ดร.อารักษ์ พรประภา กล่าวสรุป สำหรับ “Night Course” คือ หลักสูตรการฝึกขับขี่ปลอดภัยที่เปิดการฝึกสอนในภาคค่ำ ตั้งแต่เวลา …

รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเปิดตัว “Night Course” ทางเลือกใหม่ของการฝึกทักษะขับขี่ปลอดภัย ภาคค่ำ Read More »

“ภพธรรม-ธฤตา” เจ๋งสุดในรุ่น14ปี ผงาด “แชมป์เยาวชนประเทศไทย”

การแข่งขันเทนนิสเยาวชนเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 60 ประจำปี 2565 ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. มีพิธีมอบรางวัลในรุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี และ 14 ปี โดยมี นายธานี แสนยาอุโฆษ กรรมการอำนวยการสมาคมกีฬาลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยฯ และประธานฝ่ายพัฒนาเยาวชน เป็นประธาน ผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ปรากฏว่า แชมป์ชายเดี่ยว เป็นของ ภพธรรม ศรีวงษ์ มือวาง 1 ของรายการจากชลบุรี ที่ในรอบชิงชนะเลิศ ใช้การหวดที่แน่นอน เอาชนะ คุณานันท์ พันธราธร มือวาง 3 จากปทุมธานี 2-0 เซต 6-1 และ 7-5 ส่วนทางด้านแชมป์หญิงเดี่ยว …

“ภพธรรม-ธฤตา” เจ๋งสุดในรุ่น14ปี ผงาด “แชมป์เยาวชนประเทศไทย” Read More »

ความจำของกล้ามเนื้อช่วยได้

  ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การแพรระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงในวงการกีฬาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเห็นได้จากมีการเลื่อนหรือยกเลิกการจัดการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติในหลายๆรายการ ในส่วนของนักกีฬาเองไม่ว่าจะเป็นกีฬาสมัครเล่นหรืออาชีพก็ได้รับผลกระทบเช่นกันจากการปิดสนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกายทั้งในร่มและกลางแจ้ง  ทำให้นักกีฬาไม่สามารถทำการฝึกซ้อมได้ต่อเนื่องหรืออาจต้องหยุดฝึกซ้อมเป็นเวลานานหลายเดือน ส่งผลทำให้ระดับความฟิตของนักกีฬาลดลง (Detraining) อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 เริ่มดีขึ้น นักกีฬามีโอกาสได้เริ่มกลับมาฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาได้มากขึ้น ถึงกระนั้นก็ตามผู้ฝึกสอนหลายๆท่านอาจมีความกังวลใจหรือมีคำถามว่านักกีฬาจะสามารถกลับมาฟิตทันและได้เหมือนเดิมไหม โดยปกติเป็นที่ทราบกันดีว่านักกีฬาที่เคยได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วจะยังสามารถกลับมาปฏิบัติทักษะต่างๆได้ดีเหมือนเดิม (Skill retention) ถึงแม้ว่าจะต้องหยุดการฝึกซ้อมเป็นระยะเวลาหนึ่ง (เหมือนกับการเล่นเครื่องดนตรี) โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าที่เป็นเช่นนี้น่าจะเกิดจากมีการปรับตัวของสมองและระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หลังจากการฝึกฝนและทำซ้ำๆกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อสามารถจดจำทักษะการเคลื่อนไหวได้ หรือที่เรียกว่า Motor memory ส่งผลให้นักกีฬาสามารถปฏิบัติทักษะได้อย่างคล่องแคล่วเป็นอัตโนมัติโดยไม่ต้องผ่านการคิดหรือการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ Lawrence Schwartz นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้พบว่ากล้ามเนื้ออาจมีหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง เรียกว่า Muscle memory ซึ่งเกิดจากการสะสมของนิวเคลียสในเซลล์กล้ามเนื้อ (Myonuclei)  โดยทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อหลังจากได้รับการฝึกยกน้ำหนักหรือการใช้สารกระตุ้นเช่น Anabolic steroids เป็นต้น ที่พบว่าจำนวนนิวเคลียสดังกล่าว (ซึ่งมาจากเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อ) จะเพิ่มมากขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น (Hypertrophy) โดยที่จำนวนนิวเคลียสนี้ไม่ได้ลดลงถึงแม้ว่าขนาดของกล้ามเนื้อจะลดลง (Atrophy) เนื่องมาจากการไม่ได้ใช้งาน ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฏีของใช้งาน (Use it or lose  …

ความจำของกล้ามเนื้อช่วยได้ Read More »

ออกกำลังกายสู้โรคภัย

  ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น เชื้อไวรัสส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ทำให้เกิดปอดอักเสบ หายใจเหนื่อย ไอแห้ง หรือมีเสมหะร่วมด้วย หลังจากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการบรรเทาลงแล้ว จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด หัวใจ และการหายใจให้กลับมาทำงานได้ดีเหมือนปกติ ซึ่งการฟื้นฟูร่างกายสามารถทำได้ในขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) และหลังจากรักษาหายแล้ว จะสามารถเริ่มออกกำลังกาย ตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ ไม่มีอาการเหนื่อยหรือเคยเหนื่อย แต่อาการหายไปเกิน 3 วัน 2) ไม่ได้อยู่ในช่วง 7 วันแรกของการวินิจฉัยว่าเป็นโควิด-19 3) ไม่มีไข้ในขณะที่ออกกำลังกาย (อุณหภูมิต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส) 4) หากวัดออกซิเจนบริเวณปลายนิ้วมือ ต้องเกิน 95% ขึ้นไป 5) ค่าความดันโลหิตต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยตัวบนอยู่ในช่วง 90-140 มม.ปรอท ตัวล่างอยู่ในช่วง 60-90 มม.ปรอท หากสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ควรออกกำลังกาย (แหล่งที่มา: บทความการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด หลังการติดเชื้อในผู้ป่วยโควิด-19) การออกกำลังกายสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นประจำมาก่อนติดเชื้อ ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ง่าย เช่น การเดินในจังหวะช้าถึงปานกลาง …

ออกกำลังกายสู้โรคภัย Read More »

นันทนาการภายหลังโควิด19

  การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ รูปแบบของกิจกรรมนันทนาการที่หลายกิจกรรมถูกยกเลิกการจัดไป ไม่สามารถจัดได้ และหลายกิจกรรมถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดออนไลน์ รวมทั้งกิจกรรมที่จัดแบบกลุ่มก็ถูกปรับเป็นแบบกลุ่มที่เล็กลง หรือบางกิจกรรมใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาทดแทนการพบกันแบบเผชิญหน้า (Face to Face) แม้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการแบบใหม่นี้ จะสามารถทดแทนได้บ้าง แต่จะทำให้คุณค่าของกิจกรรมนันทนาการนั้นๆ ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ด้านสุขภาพกาย มนุษย์ยังคงต้องการการเคลื่อนไหว  การขาดกิจกรรมทางกายเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อไม่พัฒนา เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Disease, NCD) ต่างๆ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่า ประชากรทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายลดลง โดยเฉพาะในประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 19.1 (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิยาลัยมหิดล, 2563) ดังนั้น กิจกรรมทางกาย (Physical Activity, PA) ที่คนได้เคลื่อนไหวเต็มที่ทั้งในร่มและกลางแจ้งยังคงมีความจำเป็นสำหรับคนทุกวัย ด้านสุขภาพจิต ในช่วงยากลำบากนี้ คนยิ่งจำเป็นต้องมีกิจกรรมนันทนาการเพื่อบรรเทาความเครียดและสร้างแรงบันดาลใจ แต่ด้วยความเสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการที่ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวได้ ทำให้คนต้องเผชิญกับปัญหาความกังวล หวาดกลัวทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรค …

นันทนาการภายหลังโควิด19 Read More »

ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมสุขภาพ

  ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภูมิปัญญามากมายหลายสาขา ซึ่งได้ถูกสั่งสมมาเป็นเวลาหลายร้อยปีผ่านการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย และได้มีการนำเอาภูมิปัญญาไทยแขนงต่างๆ มาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของคนในทุกกลุ่มวัย ผ่านงานวิจัยทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตัวอย่างเช่น ภูมิปัญญาด้านการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ การออกกำลังกายด้วยท่ารำไหว้ครูมวยไทยที่ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาพุทธิปัญญาด้านความจำ ด้านสมาธิ ด้านการใช้เหตุผลและการตัดสินใจ และพัฒนาความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต (2555) อีกทั้งช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และลดภาวะการกลัวการล้ม (2556) การออกกำลังกายด้วยมวยไทยแอโรบิก ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาสุขสมรรถนะ การทรงตัว และลดการสลายของกระดูก (2557) การออกกำลังกายด้วย ท่าของมวยไทยช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (2561) การออกกำลังกายด้วยท่ารำไม้พลอง (2549) การออกกำลังกายด้วยท่ารำกระบี่ (2551) และการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ (2563) ช่วยให้ผู้สูงอายุพัฒนาสุขสมรรถนะและการทรงตัว ตลอดจนการออกกำลังกายด้วยไม้พลองที่ช่วยพัฒนาความสามารถทางการเคลื่อนไหวและทักษะทางสังคมของเด็กกลุ่ม   ออทิสติก สเปคตรัม (2555) อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาด้านนาฏศิลป์ ได้แก่ การออกกำลังกายด้วยท่ารำไทยที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน (2554) อีกทั้งช่วยพัฒนาความสามารถในการเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุ (2562) ตลอดจนพัฒนาความยืดหยุ่นและลดความเจ็บปวดกล้ามเนื้อของพนักงานสำนักงานเพศหญิง (2562) …

ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมสุขภาพ Read More »

การฝึกหายใจลดอาการปวดหลัง

  จากรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน จะพบว่ามักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมีการนั่งมากกว่าการเดินหรือการขยับเขยื้อนร่างกาย ส่งผลให้มีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยหนึ่งในอาการปวดที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดบริเวณบั้นเอว เนื่องจากหลังส่วนล่างนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายประมาณ 50% ของน้ำหนักทั้งหมด และเมื่ออยู่ในท่านั่ง น้ำหนักส่วนนี้จะผ่านกระดูกสันหลังระดับเอวในทิศทางที่กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังระดับเอวต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดการล้าและทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำหนักที่ผ่านลงมาจึงผ่านลงส่วนประกอบของข้อต่อของกระดูกสันหลังระดับเอวเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการบาดเจ็บ และมีอาการปวดหลังบริเวณนี้ตามมา อาการปวดหลังส่วนล่างนี้ พบได้ทั้งปวดเฉพาะบริเวณบั้นเอว ปวดร้าวลงสะโพก ร้าวลงกล้ามเนื้อก้น หรือร้าวลงถึงต้นขาด้านหลัง หรืออาจปวดร้าวถึงบริเวณส้นเท้าขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ วิธีการออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบันคือการออกกำลังกล้ามเนื้อที่ช่วยประคองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ที่กระดูกสันหลังและวางตัวอยู่ใกล้กระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า “กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว” การกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานทำได้โดยให้กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนตัวเล็กน้อยขณะที่มีการทรงท่า ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวหลากหลายวิธี การฝึกการหายใจก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีการนำมาใช้เพื่อลดอาการปวดหลัง โดยการหายใจด้วยวิธีที่ถูกต้องจะส่งผลให้กล้ามเนื้อแกนกลางทำตัวทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดหลังได้ การหายใจของร่างกายเริ่มตั้งแต่อากาศเข้าทางจมูกผ่านมาทางทางเดินหายใจและเข้าสู่ปอด เมื่ออากาศเข้าสู่ปอด ทรวงอกจะขยายทั้งในแนวดิ่ง จากการยกไหล่ขึ้น แนวหน้า-หลัง จากการยกกระดูกหน้าอก และแนวกว้างจากการขยับของซี่โครง เพื่อเพิ่มปริมาตรทรวงอกให้อากาศถูกดึงเข้าสู่ปอดได้ แต่เนื่องจากปอดมีลักษณะส่วนบนแหลมส่วนล่างกว้าง ดังนั้นปริมาตรปอดส่วนใหญ่จึงอยู่ที่เนื้อปอดส่วนล่าง ดังนั้นการหายใจที่มีประสิทธิภาพคือรูปแบบการหายใจที่สามารถดึงอากาศลงสู่ปอดส่วนล่าง ซึ่งกล้ามเนื้อหลักที่ควบคุมการหายใจรูปแบบนี้คือ “กระบังลม” ดังนั้นหากเราฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม ก็จะสามารถดึงอากาศเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจได้มากขึ้น วิธีการหายใจโดยให้กระบังลมทำงาน ทำได้โดยการหายใจให้อากาศลงสู่ท้องน้อย ดันกระบังลมให้ลดต่ำลง กระบังลมจะดันให้ซี่โครงส่วนล่างจะกางขยายออกช่วยให้อากาศลงไปได้ถึงปอดส่วนล่างซึ่งเป็นเนื้อปอดส่วนใหญ่ จึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น …

การฝึกหายใจลดอาการปวดหลัง Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!