Day: March 18, 2022

พัฒนาองค์ความรู้กัญชา กัญชงและพืชสมุนไพรสู่ตลาดโลก

นายสุเมธ งามเจริญ ประธานบริษัท เอ- พลัส ซัพพลาย จำกัด กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา เอ- พลัส ซัพพลาย  และอีก 7 กลุ่มบริษัทและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา และกัญชง ได้ทำพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชงและพืชสมุนไพรอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสูตรตำรับเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และทางการพาณิชย์ กับกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้ประเทศไทยมีกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีสินค้าของคนไทย เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลก “กัญชา กัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เพิ่งถูกถอดออกจากยาเสพติด กรมแพทย์แผนไทยฯ ก็จะให้องค์รู้เรื่อง ทั้งการจดทะเบียน การใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับการผลิตและจำหน่าย ซึ่งเอ พลัส ซัพพาย เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์คอสเมติกแบรนด์ เอ บอนเน่  จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ มีความเชี่ยวชาญด้านสกิลแคร์ แฮร์แคร์ โดยจะร่วมวิจัยกัญชา เพื่อนำเอาสารที่เป็นประโยชน์มาพัฒนาต่อยอด และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกไปสู่ตลาดโลก” ประธานเอ พลัสฯ กล่าว ด้านนายแพทย์ยงยศ ธรรมาวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ เผยว่า การผลักดันสมุนไพรกัญชาและกัญชง เป็นภารกิจที่สำคัญ และถือเป็นมิติใหม่ของประเทศไทย …

พัฒนาองค์ความรู้กัญชา กัญชงและพืชสมุนไพรสู่ตลาดโลก Read More »

“เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” อุปสรรคพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข

  Station Thai จะขอพูดถึงอีกหนึ่งประเด็นสำคัญทางการศึกษา ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นั่นคือ ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของเด็กไทย ที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก หลาย ๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างระดมสมอง ค้นหาวิธีการที่จะช่วยให้การอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทยพัฒนาไปในทางดีขึ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึง โครงการภาคีพูนพลังครู ที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้ และทักษะการเรียนการสอนที่ได้ผล ช่วยให้เด็กอ่านออก เขียนได้มากขึ้น ผ่านไอเดียของ “คุณครูศิริลักษณ์ ชมพูคำ” จากโรงเรียนบ้านหินลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ด้วยบันได 6 ขั้น ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนของ สพฐ. คุณครูศิริลักษณ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์สอนหนังสือของตน ในแต่ละห้องจะมีนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านเขียนเกินครึ่ง และในจำนวนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษที่เรียกว่า LD รวมอยู่ด้วย คุณครูจึงเริ่มแก้ปัญหาด้วยการสอนเพิ่มเติมให้กลุ่มที่มีปัญหาการอ่านเขียน ทั้งในห้องเรียนและนอกเวลาเรียน พบว่า การฝึกฝนเด็กในช่วงประถมปลาย ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มเรียน และการสอนที่ไม่ต่อเนื่องเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาก คุณครูจึงออกแบบเครื่องมือ ด้วยการใช้บันได 6 ขั้น สร้างการเรียนรู้ ร่วมกับการชักชวนนักเรียนที่มีทักษะภาษาไทยค่อนข้างดีมาเป็นจิตอาสา จับคู่เป็นบัดดี้คอยช่วยกระตุ้นให้เด็กพิเศษเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ผลพลอยได้เด็กอาสาก็จะเก่งขึ้น และมีจิตใจที่อ่อนโยนขึ้นด้วย ซึ่งรายละเอียดของบันได …

“เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” อุปสรรคพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!