Day: May 24, 2022

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ “ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม” บูรณาการประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน

คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เปิดตัวหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ที่ผ่านการรับรองจาก อ.ว. เรียบร้อย ชูจุดเด่นเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวของประเทศที่บูรณาการประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิตัล เข้าไว้ด้วยกัน เรียนครบหน่วยกิตจบได้ใน 3 ปีครึ่ง พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาแล้ววันนี้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นหลักสูตรใหม่ ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา ที่ผ่านการพิจารณาความสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา และรับทราบหลักสูตร จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม (สป.อว.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 พร้อมรับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งสาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มีจุดเด่น คือ เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวของประเทศ ที่บูรณาการประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิตัล เข้าด้วยกัน ปรัชญาของหลักสูตร “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารสังคม” โดยมุ่งเน้นให้เป็นหลักสูตร Hybrid Skill เชื่อมโยงสิ่งใหม่ผสานเข้ากับทักษะประวัติศาสตร์ที่เป็นฐาน เพื่อเพิ่มคุณค่า …

มรภ.สงขลา เปิดหลักสูตรใหม่ “ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม” บูรณาการประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน Read More »

คนอาชีวะขอทำดี ส่งมอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้ชาว จ.บึงกาฬ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ พร้อมด้วย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายทุนโครงการเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยมี นายชาญชัย แสนจันทร์ ผู้อำนวยการเทคนิคบึงกาฬ นำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน ทั้งนี้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มาจัดแสดงรวมทั้งสิ้น 30 ผลงาน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 28 ผลงาน วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน 1 ผลงาน และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาสกลนคร 1 ผลงาน โดยมี นายธาตรี บุญมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ในการนี้ ทาง สอศ. ได้ส่งมอบสิ่งประดิษฐ์ ให้แก่ผู้แทนกลุ่มอาชีพ และชุมชน ได้แก่ 1.รถฉีดพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรคและไวรัส (โควิด-19) มอบให้กับ สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ 2.ชุดตรวจใต้ท้องรถ มอบให้กับ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่244 จ.บึงกาฬ 3.ผงปลาร้าสมุนไพรไอโอดีน มอบให้ ชุมชนตำบลบึงกาฬ 4.ปั้มลมโซล่าเซลส์อเนกประสงค์ มอบให้ ชุมชนบ้านหนองบัวบาน …

คนอาชีวะขอทำดี ส่งมอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้ชาว จ.บึงกาฬ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น Read More »

อาชีวะอุบลฯ โชว์ฝีมือออกแบบชุดผ้าไหมไทย ร่วมโชว์ “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 11

นางลฎาภา แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เปิดเผยว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ภูมิใจที่ได้รับมอบหมายในการตัดเย็บชุดผ้าไหมไทยให้กับ ตัวแทนสถานทูต ประเทศคูเวตและ มองโกเลียประจำประเทศไทย พร้อมจัดแสดงอวดโฉมในงานแฟชั่นผ้าไหมไทยระดับโลก “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 11” ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี กล่าวต่อไปว่า การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมไทยเป็นฝีมือการออกแบบและตัดเย็บของนักเรียน นักศึกษา จาก สถาบันการศึกษาทางด้านออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ จาก สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 63 สถาบัน ออกแบบตัดเย็บชุดผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศกว่า 100 ประเทศ ซึ่งในส่วนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ ได้แสดงศักยภาพพัฒนาทักษะวิชาชีพในสาขาที่เรียน ด้วยการรังสรรค์ผลงานตัดเย็บชุดผ้าไหมไทย ให้กับ นางสาวนัสรียา เย็นอังกูร ตำแหน่ง เลขานุการฝ่ายบัญชี ตัวแทนสถานทูตประเทศคูเวตประจำประเทศไทย 1 ชุด และ ตัวแทนสถานทูตประเทศมองโกเลีย 2 ชุด โดยตัดเย็บให้กับ Mrs. Orkhon Lkhamsuren- Spouse of Ambassador ภริยาเอกอัคราชทูตมองโกเลีย และตัดเย็บให้กับ …

อาชีวะอุบลฯ โชว์ฝีมือออกแบบชุดผ้าไหมไทย ร่วมโชว์ “มหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 11 Read More »

สอศ. ขยายความร่วมมือทวิภาคี บ.ดูโฮม ผลิตกำลังคนรองรับธุรกิจค้าปลีก

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ นางนงเยาว์ สะอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามความร่วมมือ เพื่อการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) โดยมีนายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ และ นางสาวจารุพร ธารารักษาสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นพยาน ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และบริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีร้านสาขาของบริษัทเป็นศูนย์การเรียน และฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งระบบทวิภาคี …

สอศ. ขยายความร่วมมือทวิภาคี บ.ดูโฮม ผลิตกำลังคนรองรับธุรกิจค้าปลีก Read More »

สมาคมกีฬาคือกลไกการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้ที่สำคัญ วันนี้ผู้นำ ผู้ฝึกสอน ควรพิจารณาประโยชน์อย่างเข้าใจและเชื่อมั่น

บิ๊กกีฬาระดับชาติให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จำเป็นต้องนำลงสู่วงการกีฬาให้มากขึ้นและมากที่สุด ก็เป็นโอกาสดีที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับกูรูหลาย ๆ ท่านทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งท่านเหล่านี้ที่ต้องเรียกว่าระดับเกรดเอ.ของศาสตร์ด้านนี้ของไทยและของระดับโลกด้วยซ้ำไป 3 ท่าน ก็ได้ข้อสรุปและนำมาถ่ายทอดง่าย ๆ (ด้วยตัวเอง) ว่า ทำไมวิทยาศาสตร์การกีฬายังไม่เข้าไปเป็นเนื้อเดียวกันกับวงการกีฬา เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ 1.ผู้นำสมาคมไม่ให้ความสำคัญ…เริ่มต้นจากผู้นำสมาคมกีฬาหรือนายกสมาคมกีฬาพร้อมทั้งฝ่ายบริหารของสมาคมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นสมาคม ชมรมระดับใดๆ ก็ตามยังไม่มีความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงไม่ได้มุ่งเน้นหรือกำหนดการนำมาให้ทีมงานในสมาคมกีฬาปฏิบัติอย่างชัดเจน 2.ผู้ปฏิบัติไม่เปิดรับศาสตร์ใหม่ๆ….ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าสตาฟฟ์ทำงาน ที่จะเรียกเป็นอย่างก็ตามซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่มีความทันสมัยกับศาสตร์นี้ นั่นอาจจะรวมถึง ใจที่อาจจะยังไม่เปิดรับด้วยความคิดเก่า ๆ ที่เคยปฏิบัติมามองว่าตัวเองรู้แล้วและมีความสามารถด้านการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้วจึงไม่เปิดรับศาสตร์ทางด้านนี้ใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยไปใช้ ใช้แค่ฐานความรู้เก่านำปฏิบัติต่อๆ ไป เนื่องจากไม่รู้ ขี้เกียจหรือไม่ยอมรับว่าศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์การกีฬานั้นมีการพัฒนาตลอด มีศาสตร์และความรู้ใหม่เกิดขึ้นเสมอ 3.ผู้ปฏิบัติเปิดรับแต่ยังใช้ไม่เป็น….ผู้ฝึกสอนหรือสตาฟฟ์ มีความสนใจในการเรียนรู้และนำวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยไปใช้ แต่ไม่เข้าใจศาสตร์เบื้องลึกของการนำไปใช้ที่ซ่อนอยู่อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่นการเรียนรู้แบบฝึกแล้วนำไปใช้โดยรวมทั้งทีม แต่ไม่ได้คำนวณถึงความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับนักกีฬาแต่ละคน ซึ่งแต่ละรูปแบบหรือวิธีการใช้ของนักกีฬาแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน รูปแบบการใช้จึงต้องแตกต่างกันในแต่ละคน 4.ทำไมผู้ฝึกสอนควรต้องใช้…คือ นอกเหนือจากประโยชน์ต่อทีมดังที่กล่าวมาแล้วนั้นการที่ผู้ฝึกสอนนำวิทยาศาสตร์การกีฬาที่แท้จริงมาใช้ด้วยการให้ความสำคัญนั้น เมื่อนักกีฬาระดับชาติได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว หากต่อไปเขาพ้นวาระรับใช้ชาติและออกไปเป็นผู้ฝึกสอนตามระดับและโอกาสต่าง ๆ เขาก็จะได้นำความความรู้จากเชื่อถือ ความมั่นใจในศาสตร์นี้ไปถ่ายทอดต่อๆ ไป ก็จะถือเป็นการเรียนรู้และต่อยอดสิ่งที่ดีกระจายต่อๆกันไป 5.นำวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่รากหญ้า…กูรูด้านนี้ ได้เปิดใจว่าเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬา กับนักกีฬา เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก การที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานองค์กรกีฬาอื่น …

สมาคมกีฬาคือกลไกการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้ที่สำคัญ วันนี้ผู้นำ ผู้ฝึกสอน ควรพิจารณาประโยชน์อย่างเข้าใจและเชื่อมั่น Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!