Day: July 11, 2022

“ขุนด่านปราการชล” ผงาด แชมป์หุ่นยนต์ ABU 2022 เป็นตัวแทนประเทศไทย ลงแข่งชิงแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 65 ที่ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานมอบรางวัล ให้แก่ ทีมหุ่นยนต์ขุนด่านปราการชล จาก วิทยาลัยเทคนิคนครนายก แชมป์จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot contest thailand championship 2022 ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และจะเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าชิงแชมป์หุ่นยนต์ ABU นานาชาติ 2022 ที่ประเทศอินเดีย ต่อไป สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้กติกา พิชิตวัฏจักรหอคอยสู่แดนภารตะ โดยรอบชิงชนะ เป็นการแข่งขัน ระหว่าง  ทีมขุนด่านปราการชล จาก วิทยาลัยเทคนิคนครนายก พบกับ ทีม L.B.Tech Robot จาก วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ซึ่งทีมขุนด่านปราการชล เอาชนะไป 2 ใน 3 เกม ด้วยคะแนน 75 : 35 …

“ขุนด่านปราการชล” ผงาด แชมป์หุ่นยนต์ ABU 2022 เป็นตัวแทนประเทศไทย ลงแข่งชิงแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ Read More »

“ผ้าทออัจฉริยะ” ทำนายการเคลื่อนไหวมนุษย์ ช่วยป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและนักกีฬา

นักวิจัยของ MIT คิดค้น “ผ้าทออัจฉริยะ” พร้อมกับสร้างระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อวัดและตีความข้อมูลจากเซ็นเซอร์ความดันแบบเรียลไทม์ ระบบแมชชีนเลิร์นนิงทำนายการเคลื่อนไหวที่ทำโดยบุคคลที่ยืนอยู่บนเสื่อสิ่งทออัจฉริยะ ที่มีความแม่นยำประมาณ 99% Irmandy Wicaksono ผู้ช่วยวิจัยใน MIT Media Lab กล่าวว่า กระบวนการผลิต “ผ้าทออัจฉริยะ”  สามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะในการดูแลสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตัวอย่างเช่น ใช้ผลิตรองเท้าอัจฉริยะ ที่ติดตามการเดินของคนที่กำลังเรียนรู้ที่จะเดินอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ ถุงเท้าที่ตรวจสอบแรงกดบนเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผล นักวิจัยจะใช้เครื่องถักแบบดิจิทัลที่ทอผ้าหลายชั้นเข้าด้วยกันเป็นแถว ที่มีมาตรฐานและการใช้งานได้จริง ผ้าถักแบบหลายชั้น ประกอบด้วย เส้นด้ายถักแบบนำไฟฟ้าสองชั้น ประกบกันถักแบบพายโซรีซิสทีฟ เครื่องจักรจะเย็บเส้นด้ายที่ใช้งานได้นี้ ทั่วทั้งสิ่งทอในแถวแนวนอนและแนวตั้ง และเมื่อเส้นใยที่ใช้งานได้ตัดกัน พวกมันจะสร้างเซ็นเซอร์ความดันขึ้นมา เมื่อกระบวนการผลิตสมบูรณ์แบบแล้ว Wicaksono ต้องการระบบประมวลผลข้อมูลเซ็นเซอร์ความดันอย่างแม่นยำ เนื่องจากผ้าถักเป็นเส้นตาราง เขาจึงสร้างวงจรไร้สายที่สแกนผ่านแถวและคอลัมน์บนสิ่งทอ และวัดความต้านทานในแต่ละจุด นอกจากนั้น Wicaksono ได้คิดค้นระบบที่แสดงข้อมูลเซ็นเซอร์ความดันเป็นแผนที่ความร้อน ภาพเหล่านั้นจะถูกป้อนเข้าสู่แมชชีนเลิร์นนิง ให้ตรวจจับท่าทาง หรือการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ตามภาพแผนที่ความร้อน การวิจัยที่ผ่านมา สามารถจำแนกกิจกรรมของผู้ใช้เสื่อที่ทำจากผ้าทออัจฉริยะ (การเดิน วิ่ง วิดพื้น ฯลฯ) ได้อย่างแม่นยำ …

“ผ้าทออัจฉริยะ” ทำนายการเคลื่อนไหวมนุษย์ ช่วยป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและนักกีฬา Read More »

พลเอกวิชญ์นำสมาคมกีฬาม้าแข่งไทย ลุยจัดแข่งม้าอีก 3 นัดแบบการกีฬา 24 ก.ค.นี้สนามฝรั่ง ชิงถ้วยเกียรติยศบิ๊กป้อม และเตรียมแผนรอจัดอีก 2 รายการต่อไปแบบเดือนเว้นเดือน

ประชาสัมพันธ์สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย แจ้งว่า พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายกสมาคมกีฬาม้าแข่งไทย ร่วมกับสมาคมราชกรีฑาสโมสร จะจัดม้าแข่งกีฬาชิงรางวัลเกียรติยศ ของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยเป็นการจัดตามมาตรฐานการกีฬาและเป็นการแข่งแบบไร้การพนันเช่นเดิม ในวันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค.นี้ ณ สมาคมราชกรีฑาสโมสร ช่วงเวลาตั้งแต่ 14.00-16.00 น. มีการแข่งขันทั้งหมด 10 เที่ยว และเพื่อเป็นการให้สอดคล้องกับมาตรการของกรุงเทพมหานครและของภาครัฐในเรื่องการนเฝ้าระวังโรคติดต่อ จึงชะลอหรือห้ามการอนุญาตเข้าชมการแข่งขันของผู้ชมไว้ก่อน แต่ผู้ที่สนใจสามารถติดตามชมผ่านสถานีโทรทัศน์ T Sports 7 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน และนอกเหนือจากการจัดครั้งนี้แล้ว สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย ยังมีคิวเตรียมที่จะจัดแข่งขันอีก 2 รายการ คือในวันที่ 21 สิงหาคม และ วันที่ 17 กันยายน ศกนี้อีกด้วย

สมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ ส่ง 9 จอมพลังดาวรุ่งชายและหญิง ไปทำศึกยกน้ำหนักยุวชนและเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2565 วันที่ 15-25 กรกฎาคม 2565 ที่กรุงทาซเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน

“บิ๊กปรัช” ปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมฯ เผยการซ้อมโค้งสุดท้าย เน้นความแม่นยำด้านเทคนิค และเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย มั่นใจสถิติดี มีเหรียญรางวัลติดมือ นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ยังคงส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรายการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคมฯ จะส่งนักกีฬาชายและหญิงรวมทั้งหมด 9 คน เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนและเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2565 วันที่ 15-25 กรกฎาคม 2565 ที่กรุงทาซเคนต์ ประเทศ อุซเบกิสถาน ในส่วนของประเภทยุวชน สมาคมฯ ส่งไปเข้าร่วมการแข่งขัน 3 คน ได้แก่ ฐิตาพร ตีกา รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง, ปัฐษพงษ์ ทองสุก รุ่น 55 กิโลกรัมชาย และ วรพรต นาสุริวงศ์ รุ่น 73 กก.ชาย ขณะที่ประเภทเยาวชน สมาคมฯ ส่งนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขัน …

สมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ ส่ง 9 จอมพลังดาวรุ่งชายและหญิง ไปทำศึกยกน้ำหนักยุวชนและเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2565 วันที่ 15-25 กรกฎาคม 2565 ที่กรุงทาซเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน Read More »

จุฬาฯ คิดค้น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “จุลินทรีย์กินน้ำมัน” แก้ปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยจุลินทรีย์กินน้ำมัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล พร้อมต่อยอดสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศ จากเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อขนส่งน้ำมันใต้ทะเลในพื้นที่จังหวัดระยอง เมื่อต้นปี 2565 ทีผ่านมา เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แม้หน่วยงานต่าง ๆ จะพยายามขจัดคราบน้ำมันที่กระจายทั่วผิวน้ำทะเลและตามบริเวณชายฝั่ง แต่ก็ยังคงมีมลพิษที่ตกค้างหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเลในระยะยาว หนึ่งในแนวทางขจัดปัญหาสารมลพิษตกค้าง คือ จุลินทรีย์กินน้ำมัน ผลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสะอาด โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดมลพิษทางทะเล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง จึงได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมชีวภาพเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล โดยมุ่งให้เกิดการผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต จุดกำเนิดแนวคิดผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล ในฐานะนักจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.อรฤทัย สนใจเรื่องการปนเปื้อนจากน้ำมันและปิโตรเลียม และได้ทำงานเกี่ยวกับการย่อยสลายมลพิษในสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา มีอุบัติการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเลอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่เป็นข่าวและไม่ได้เป็นข่าว “โดยปกติแล้ว การจัดการปัญหาคราบน้ำมันจะใช้วิธีการทางกายภาพก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ใช้ทุ่นกักน้ำมันแล้วขจัดคราบน้ำมันออกจากพื้นที่ หรือ พ่นสารกระจายคราบน้ำมัน แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด หลังจากนั้นก็จะเกิดกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ แต่ข้อจำกัดของกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ ก็คือ เกิดได้ช้า และไม่ทันการณ์ ดังนั้น …

จุฬาฯ คิดค้น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “จุลินทรีย์กินน้ำมัน” แก้ปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล Read More »

กัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยยืนยันให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทยต่อเนื่องถึงพาราลิมปิกเกมส์ ที่ปารีส สานต่อปณิธานคุณพ่อบรรหาร ศิลปอาชา

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ให้การต้อนรับนายพิทักษ์ พลขันธ์ หัวหน้าคณะนักกีฬาอาเซียน พาราเกมส์ และตัวแทนนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ที่เข้าเยี่ยมคารวะและขอรับโอวาทก่อนเดินทางไปแข่งขันระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 – 6 สิงหาคม 2565 ณ เมืองสุราการ์ตา หรือเมืองโซโล สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นางสาวกัญจนา ได้กล่าวกับว่า ขอบคุณทุกคนที่ระลึกถึงและตั้งใจเดินทางมาเจอกัน แน่นอนว่านักกีฬาทุกคนต่างตั้งใจฝึกซ้อมอย่างหนัก รวมถึงคณะครูฝึกและเจ้าหน้าที่ทุก ๆ คน ก็ต่างมุ่งมั่นกับการแข่งขันในครั้งนี้ การได้รับเหรียญรางวัลชัยชนะกลับจากการแข่งขัน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การยกย่อง แต่ก็อาจไม่สำคัญ เท่ากับการไปสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศ ทำให้เห็นถึงศักยภาพของผู้พิการกับการดำรงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งนอกจากเกมส์การแข่งขันครั้งนี้ ก็จะขอเป็นแรงสนับสนุนการแข่งขันในอนาคตอย่าง พาราลิมปิกเกมส์ 2024  ที่กรุงปารีส ต่อไปด้วย ทั้งนี้ก็ขออวยพรให้คณะนักกีฬาคนพิการและเจ้าหน้าที่ทุกคนเดินทางปลอดภัย ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ “ขอเป็นอีกหนึ่งแรงใจในการสนับสนันพัฒนานักกีฬาคนพิการไทย พวกเขาเป็นบุคคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไม่แพ้นักกีฬาทั่วไป และเป็นสิ่งที่ คุณพ่อบรรหาร ศิลปอาชา เคยฝากฝั่งไว้ จึงสานต่อปณิธานตรงนี้ และสุดท้ายก็อยากฝากรัฐบาล ให้ช่วยดูแลให้ความเท่าเทียมกับนักกีฬาคนพิการทุกๆคนด้วย” ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยกล่าวในตอนท้าย ด้านนายพิทักษ์ …

กัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยยืนยันให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทยต่อเนื่องถึงพาราลิมปิกเกมส์ ที่ปารีส สานต่อปณิธานคุณพ่อบรรหาร ศิลปอาชา Read More »

เชิญชวนผู้สนใจร่วมอบรม สมาคมกีฬาไลฟ์เซฟวิ่งไทยร่วมกับสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำและการกีฬาแห่งประเทศไทย จัดงานวันป้องกันจมน้ำโลก ณ สระว่ายน้ำการกีฬาแห่งประเทศไทย 24 ก.ค.นี้

สมาคมกีฬาไลฟ์เซฟวิ่งไทยร่วมกับสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำและการกีฬาแห่งประเทศไทย จัดงานวันป้องกันจมน้ำโลก ณ สระว่ายน้ำการกีฬาแห่งประเทศไทย ในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 09.30 – 16.00 น. เพื่อเป็นการเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้หลักการช่วยคนจมน้ำเบื้องต้นและเป็นเผยแพร่กีฬาไลฟ์เซฟวิ่งให้แก่บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ และรู้จัก สามารถติดต่อได้ที่ เข้าอบรมและแข่งขันได้ที่ คุณ นิรมล สังข์บุณยนิธิ เบอร์ ติดต่อ 089-1281006 หรือ Email :TLSF@gmail.com ติดตามคลิปที่น่าสนใจที่นี่ https://youtu.be/StEoktV9r-Y

รองชุม-รองโปรดปราน นำทีมกกท.ดูแลทัพไทยในเวิลด์เกมส์ใกล้ชิด เพื่อให้ร่วมแข่งเต็มที่และคนทางบ้านได้ติดตามผ่านจออย่างเต็มอิ่ม

ทีมงานการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)โดยนายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา และนางโปรดปราน สมานมิตร รองผู้ว่าการฝ่ายยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันหารือการอำนวยการนักกีฬาไทย ณ ศูนย์อำนวยการคณะนักกีฬาไทย (Team Thailand Administration Center) ในการแข่งขันกีฬา The World Game 2022 ณ โรงแรมไฮแอท เพลซ เบอร์มิงแฮม/อินเวอร์เนสส เมือง เบอร์มิงแฮม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการร่วมหารือกันนั้นเพื่อการเตรียมความพร้อมให้บริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาทั้งในศูนย์และสนามกีฬา รวมทั้งการประสานงานอำนวยความสะดวกให้กับนักกีฬาไทย และการรายงานผลการแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬาได้เข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างเต็มที่และร่วมกันหารือในด้านถ่ายทอดสดผ่านช่อง T-sport 7 ให้ประชาชนชาวไทยได้รับชมและเชียร์ให้กำลังใจนักกีฬาทุกชนิดกีฬา โดยมีคณะทำงานของ กกท. ร่วมหารือประกอบด้วย นายปรีชา ลาลุน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ นายสุรศักดิ์ เกิดจันทึก ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา นายวุฒิชัย ชัยจิตย์ ผู้อำนวยการกองแข่งขันกีฬาเป็นเลิศ นายอดิทัต บุญธิมา ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นายแสงชัย ต้นทัพไทย ผู้อำนวยการกองพัสดุ นายปิยะชน โพธิเจริญ ผู้อำนวยการกองนโยบายและบริหารความเสี่ยง นายอัครพร พึ่งพร …

รองชุม-รองโปรดปราน นำทีมกกท.ดูแลทัพไทยในเวิลด์เกมส์ใกล้ชิด เพื่อให้ร่วมแข่งเต็มที่และคนทางบ้านได้ติดตามผ่านจออย่างเต็มอิ่ม Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!