ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แต็ง (Pierre de Coubertin) เป็นที่รู้จักจากนานาชาติด้วยความสำเร็จในการรื้นฟื้นโอลิมปิกเกมส์ในรูปแบบสมัยใหม่แต่มุมมองสรุปนี้ต่อคูเบอร์แต็งก็เพิ่งปรากฎไม่นานนี้ บทความพิเศษชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ.1908 นำเสนอคูเบอร์แต็งในฐานะ‘นักปฏิรูปการศึกษาฝรั่งเศสที่น่ายกย่อง’โดยไม่กล่าวถึงงานของเขาในการฟื้นฟูโอลิมปิกเกมส์ตราบจนคริสต์ทศวรรษ 1930 ชื่อเขาก็ยังคงปรากฎในสารานุกรมของประเทศต่างๆเฉพาะในสาขาการศึกษาเท่านั้น ภาคแรกของฉบับนี้คือ‘การเปิดเผย’แสดงถึงอุดมคติและมิติการศึกษาของกีฬาของคูเบอร์แต็งในรูปแบบต่างๆที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ตนเองโดยอุดมการณ์โอลิมปิกได้ปรากฎขึ้นในประวัติพัฒนาการของแนวคิดทั่วไปของปรัชญาและการศึกษาซึ่งทำให้ภาคสองคือ‘มิติต่างๆของโอลิมปิก’มีความสำคัญยิ่งต่อกรอบสาระของฉบับนี้โดยเหตุที่สิ่งพิมพ์จำนวนมากก่อนหน้าก่อให้เกิดมุมมองหลากหลายจึงมีการเรียกร้องต่อการทำความชัดเจนให้ปรากฎด้วยเอกสารที่ชัดแจ้ง จากมุมมองเชิงประวัตินี้ทำให้ทราบว่าขั้นตอนเช่นนี้นำไปสู่การยอมรับโอลิมปิกเกมส์ทุกสี่ปีในฐานะจุดสูงสุดของโลกกีฬาและทำให้การเล่นกีฬาเกิดขึ้นได้ซึ่งมีต้นกำเนิดจากบริบทเฉพาะของประเทศอังกฤษและแพร่หลายไปยังนานาชาติตลอดคริสต์ศตวรรษยี่สิบ การแสวงหาความเป็นสากลคือหนึ่งในเหตุผลหลายประการที่ทำให้โอลิมปิกเกมส์รักษาไว้ซึ่งความแข็งแกร่งและความน่าสนใจต่อชีวิตของพวกเราโดยเหตุนี้งานนิพนธ์ต่างๆที่นำเสนอในภาคสองจึงเป็นภาพสะท้อนกีฬานานาชาติในคริสต์ศตวรรษยี่สิบเช่นกัน เนื้อหาส่วนนี้เริ่มต้นด้วยแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของคูเบอร์แต็งและย้ำทวนแผนปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำเสนอวิวัฒนาการทางมโนทัศน์ของอุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็งในหลายรูปแบบโดยมุ่งเน้นในสามมิติกล่าวคือ – มิติประวัติ – มิติปรัชญาและการศึกษา – มิติโครงสร้างองค์กร ด้วยการพิจารณาลักษณะนี้ จะมีเพียงมุมมองโอลิมปิกเท่านั้นที่ทำให้งานนิพนธ์เหล่านี้มีความโดดเด่นจากเนื้อหาวิชาการด้านกีฬาของภาคแรกโดยนับประมาณได้ร้อยละสามสิบของงานนิพนธ์ทั้งหมดของคูเบอร์แต็งในภาคสองนี้พวกเราได้รวบรวมบทความ 98 ชิ้นที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมากทั้งรูปแบบและความยาวโดยบทความเหล่านี้มีจำนวนเกือบร้อยละสามสิบของ‘งานนิพนธ์โอลิมปิก’ของคูเบอร์แต็งซึ่งประกอบด้วยบทความหนังสือพิมพ์และวารสารเนื้อหาประกอบของงานสะสมและส่วนของหนังสือต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงสุนทรพจน์จำนวนมากซึ่งได้รับการจัดพิมพ์ภายหลังอยู่บ่อยครั้ง นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์แล้ว เนื้อหาส่วนนี้ประกอบด้วยจดหมายเวียนที่เขียนโดยคูเบอร์แต็งซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (IOC) ในขณะนั้นคำถามสำคัญต่างๆของยุทธศาสตร์โอลิมปิกได้ถูกตั้งขึ้นภายในจดหมายเหล่านี้โดยได้รับการขยายความและประกอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานนิพนธ์อื่นของตัวเขาเองแม้ด้วยลักษณะความเป็นทางการของจดหมายเวียนนี้และจำนวนคนที่ได้รับจะจำกัดก็ตามแต่ก็มีความเหมาะสมในการจัดเก็บเนื่องเพราะสามารถเปรียบได้กับสิ่งพิมพ์อื่นของคูเบอร์แต็งในด้านลีลาและเนื้อหา ทั้งนี้บทความมิติประวัติมีจำนวน 68 ชิ้น มิติปรัชญาและการศึกษามีจำนวน49 ชิ้นมิติโครงสร้างองค์กรมีจำนวน 21 ชิ้น รวมอีก3 ชิ้นเกี่ยวกับเมืองโลซานน์ในฐานะเมืองโอลิมปิกและ6ชิ้นที่เหลือเป็นมุมมองทั่วไป ผู้อ่านในปัจจุบันอาจพบว่าภาคสอง‘มิติต่างๆของโอลิมปิก’ค่อนข้างเป็นประวัติ แต่กระนั้นก็ต้องไม่ลืมว่าในฐานะประธาน IOC นั้นคูเบอร์แต็งต้องหยิบจับประเด็นในขณะนั้นที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกเกมส์ โดยหากตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนจะพบเสมอว่า พวกเราสามารถมองข้ามมิติประวัติเพื่อเข้าใจประเด็นต่างๆที่ยุทธศาสตร์โอลิมปิกกำลังถกเถียงในปัจจุบัน ความพลาดพลั้งบางประการอาจหลบเลี่ยงได้ด้วยการศึกษาประสบการณ์ในอดีต คำพรรณนาส่วนใหญ่ของรายการโอลิมปิกจะเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาต่างๆของประวัติร่วมสมัยข้อเสนอแนะต่างๆสำหรับการปรับปรุงการรณรงค์โอลิมปิกคำวิพากษ์ต่อความผิดที่เกิดขึ้นและการร้องขอต่อความร่วมมือในระดับสูงขึ้นที่โดยบ่อยครั้งจะปรากฎขึ้นในที่ประชุมซึ่งคูเบอร์แต็งจะแสดงพรสวรรค์ในการพูดต่อสาธารณะเพื่อนำเสนอวัตถุประสงค์ด้านโอลิมปิกแก่ผู้ฟังจำนวนมากของเขาได้อย่างน่าเชื่อถือที่จะกระตุ้นให้พวกเขาลงมือปฏิบัติ บทความของบท4‘มิติประวัติของอุดมการณ์โอลิมปิก’ได้รับการถ่ายทอดตามลำดับเวลาซึ่งสะท้อนการต่อสู้ยาวนานนับทศวรรษที่คูเบอร์แต็งมีความมุ่งมั่นต่อความเห็นของตนเองอัตชีวประวัติของเขาในระหว่าง ค.ศ.1887-1908 ใช้ชื่อที่สื่อความหมายมากคือ ‘A Twenty-One …
ตอนที่ 1 บทนำ : อุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »