Day: January 11, 2023

ผลงาน ‘Fuel of Fire เชื้อไฟแห่งการกีฬา’ ชนะเลิศออกแบบโลโก้ใหม่ของกองทุนพัฒนาการกีฬา สะท้อนอัตลักษณ์ พันธกิจและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 ณ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กกท. ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ร่วมด้วยนายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมพิจารณาผลงานการประกวดตราสัญลักษณ์หรือโลโก้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ในรอบสุดท้ายก่อนได้ผู้ชนะเลิศกับผลงาน “Fuel of Fire เชื้อไฟแห่งการกีฬา” ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีพันธกิจ และบทบาทที่ชัดเจนในการเป็นแหล่งทุนให้กับกีฬาของประเทศไทยมาโดยตลอด การสื่อสารถึงอัตลักษณ์กองทุนฯ ที่ชัดเจนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการบ่งบอกตัวตน หรืออัตลักษณ์ขององค์กร ที่จะสื่อสารต่อสาธารณะ ให้เกิดภาพการจดจำ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน จึงเกิดแนวคิดในการจัดประกวดการออกแบบตราสัญลักษณ์ของกองทุนฯ ภายใต้กติกาและเงื่อนไขที่มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาด้านการออกแบบ แบรนด์ดิ้ง และการสื่อสาร ร่วมเป็นผู้พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถ ร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการออกแบบตราสัญลักษณ์ให้กับกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยเปิดให้ผู้สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา และมีผู้ให้ความสนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากถึงกว่า 200 ผลงาน เพื่อชิงเงินรางวัลรวมกว่า 2.9 …

ผลงาน ‘Fuel of Fire เชื้อไฟแห่งการกีฬา’ ชนะเลิศออกแบบโลโก้ใหม่ของกองทุนพัฒนาการกีฬา สะท้อนอัตลักษณ์ พันธกิจและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย Read More »

รัฐบาลญี่ปุ่น ให้ทุนประจำปี 2566 ประเภททุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students) เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 26 ม.ค. 66

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มีหนังสือแจ้งว่า กระทรวงศึกษาธิการวัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอให้ทุนแก่ครูไทยที่สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี และมีอายุไม่เกิน 35 ปี สมัครรับทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู ในหลักสูตร “Teacher Training Students” ภายใต้ ทุนการศึกษา “Japanese Government (MEXT) Scholarship for 2023” ในรูปแบบของการทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาในโรงเรียน ณ มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึง เดือนมีนาคม 2568 ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นฯ จะจัดสอบข้อเขียน ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 และสอบสัมภาษณ์ผู้ผ่านการสอบข้อเขียน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 รวมทั้งจัดส่งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกไปยังกระทรวงศึกษาธิการฯ …

รัฐบาลญี่ปุ่น ให้ทุนประจำปี 2566 ประเภททุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students) เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 26 ม.ค. 66 Read More »

มหิดลวิทยานุสรณ์ คว้าชนะเลิศ จากไอเดีย “AI ความปลอดภัยในไซต์ก่อสร้าง” ค่าย Creative AI Camp by CP ALL ปี 5

“AI อยู่กับเรา ในทุกที่ ทุกเวลา” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มีการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา และการพัฒนาเรื่องต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับ เหล่า Tech Talent ระดับ ม.ปลาย อาชีวศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1-2 ทั้ง 10 ทีม จากค่าย Creative AI Camp ครั้งที่ 5 จัดโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ และพันธมิตร ซึ่งเยาวชนทุกคนได้เรียนรู้ ลงมือทำ ขยายขอบเขตความคิด และได้ร่วมกันสร้างสรรค์ชิ้นงาน AI เพื่อตอบโจทย์ชีวิตที่ดีกว่าขึ้นมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ สุดยอดผลงาน 3 อันดับแรกที่โดนใจคณะกรรมการนานาชาติ ทั้งไทย สิงคโปร์ จีน …

มหิดลวิทยานุสรณ์ คว้าชนะเลิศ จากไอเดีย “AI ความปลอดภัยในไซต์ก่อสร้าง” ค่าย Creative AI Camp by CP ALL ปี 5 Read More »

พาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ ผนึกกำลัง แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สร้างผู้นำแห่งอนาคต มิติใหม่วงการศึกษาไทย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริหารจัดการ โดยมี รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของบุคลากร นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การบริหารจัดการ และเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป   รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดเผยว่า การผสานความรู้ในด้านบริหารธุรกิจกับการแพทย์และสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่าง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสองสถาบัน เชื่อมั่นว่าจะเป็นพลังที่ทำให้นิสิตนักศึกษาได้เกิดความรู้และประสบการณ์ ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังกันเพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders) สิ่งที่จะดำเนินการในระยะเริ่มแรก คือ การจัดการโครงการต่าง ๆ ทางด้านธุรกิจและการตลาด เพื่อพัฒนาความรู้ระหว่างทั้งสองสถาบัน การนำความรู้คืนสู่ประชาชนและสังคม และการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการจัดการด้านการสาธารณสุขแก่สองสถาบันและชุมชน ด้าน ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า …

พาณิชยศาสตร์ จุฬาฯ ผนึกกำลัง แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สร้างผู้นำแห่งอนาคต มิติใหม่วงการศึกษาไทย Read More »

มทร.พระนคร เปิดหลักสูตรใหม่ “คหกรรมศาสตร์ศึกษา” มุ่งผลิตครูมืออาชีพ รองรับโลกยุคดิจิทัล

ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในคน ๆ เดียวกัน โดยเฉพาะงานด้านคหกรรมศาสตร์ศึกษา วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว การดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับความเป็นอยู่ และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ ครูถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้สอน ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มจนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ สถาบันการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างบุคลากรทางด้านคหกรรมศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพ มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทยในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ด้วยเหตุนี้ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร จึงเปิดหลักสูตรใหม่ “หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา” เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า ผศ.ดร.ธนภพ โสตรโยม คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ กล่าวว่า สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตที่จบออกไปเป็นครูคหกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ รวมถึงทักษะวิชาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่นและของชาติ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านทฤษฎีและปฏิบัติในงานคหกรรมศาสตร์ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตใหม่ เข้าใจศาสตร์ความรู้พื้นฐานของคหกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย ขอบข่ายวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในงานคหกรรมศาสตร์ สิ่งทอและการตัดเย็บ …

มทร.พระนคร เปิดหลักสูตรใหม่ “คหกรรมศาสตร์ศึกษา” มุ่งผลิตครูมืออาชีพ รองรับโลกยุคดิจิทัล Read More »

‘เกียรติกุล’ นักแม่นปืนวัยรุ่นทีมชาติจากนครสวรรค์ คว้าทองปืนสั้นอัดลมชายจากศึกการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42

การแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 “เทียนนกแก้วเกมส์” เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ชิง 43 เหรียญทอง มีผลการแข่งขันดังนี้ ยิงปืน สนามยิงปืน สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ปืนสั้นอัดลม บุคคลชาย ‘กานต์’ เกียรติกุล สุดเขตต์ นักแม่นปืนทีมชาติไทยจากเขต 6 จ.นครสวรรค์ ยิงได้อย่างแม่นยำ ทำได้ 575 คะแนน คว้าเหรียญทองไปครองตามคาด เหรียญเงิน วรากร ฆ้องกลาง เขต 8 ระนอง 558 คะแนน(ยิงเข้าเป้ากลางมากกว่าปิยวิทย์), เหรียญทองแดง ปิยวิทย์ โพธิ์กุล เขต 10 กรุงเทพฯ 558 คะแนน, ประเภททีมชาย เหรียญทองเขต 10 กรุงเทพฯ 1,626 คะแนน, เหรียญเงิน เขต 7 สุพรรณบุรี 1,624 คะแนน, เหรียญทองแดง เขต 8 …

‘เกียรติกุล’ นักแม่นปืนวัยรุ่นทีมชาติจากนครสวรรค์ คว้าทองปืนสั้นอัดลมชายจากศึกการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 Read More »

ตอนที่ 6 : จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสหภาพสังคมสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคมและสหภาพสังคมสันติภาพ             วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1888 คูเบอร์แต็งส่งจดหมายในนามคณะกรรมการถึงสมาชิกของสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสมาชิกของสหภาพสังคมสันติภาพ เพื่อร้องขอความช่วยเหลืออย่างเข้มแข็งให้ดำเนินการต่อต้านระบบการศึกษาที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อความจำเป็นของยุคสมัย             เลอ เพลย์ ก่อตั้งสมาคมเศรษฐกิจและสังคมใน ค.ศ.1856 และสหภาพสังคมสันติภาพซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายได้ถูกจัดตั้งใน ค.ศ.1872 โดยทั้งสององค์กรได้ร่วมกันตีพิมพ์รายงานสมาคมเพื่อการปฏิรูปสังคมซึ่งคูเบอร์แต็งได้แต่งบทความจำนวนหนึ่ง เป้าหมายหลักของสมาคมเศรษฐกิจและสังคมคือ การพัฒนาสังคมและจริยธรรม คูเบอร์แต็งเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสังคมสันติภาพโดยคำแนะนำของคอมต์ เดอ ดามาส ใน ค.ศ.1883 และเป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรใน ค.ศ.1888 คูเบอร์แต็งดำรงตำแหน่งเลขานุการที่ประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.1887 กรุงปารีส วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1888 เรียน ท่านสมาชิก             คณะกรรมการที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในโรงเรียนซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ มร.จูเลส์ ไซแมง องค์ปาฐกที่โดดเด่นของการประชุมสภาของพวกเราใน ค.ศ.1887 โดยรองประธานทั้ง 3 ท่านคือ มร.ไพคูติ ดร.ริชาร์ และนายพลโทมัสแซง ล้วนเป็นสมาชิกของสหภาพรวมทั้งเลขานุการของคณะกรรมการชุดนี้ก็ได้รับเกียรติจากทุกท่านเช่นกัน             แม้จะมีหลายสิ่งสำคัญที่ผูกพันคณะกรรมการกับสหภาพ เหนือสิ่งอื่นใดคือ เป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล บ่อยครั้งที่เฟร็ดเดอริก …

ตอนที่ 6 : จดหมายถึงสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจและสังคม และสหภาพสังคมสันติภาพ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!