Day: February 5, 2023

ผลม้าแข่ง 4 ก.พ.66 ม้าแข่งวันเสาร์ที่สนามม้าฝรั่ง ครบถ้วนทั้ง 10 เที่ยว เพื่อแฟน ๆ ที่สนใจ ติดตามกันครับ

ผลการแข่งขันม้าแข่งจากสนามฝรั่งทั้ง 10 เที่ยว นัดแข่งวันที่ 4 ก.พ.2566 มีรายละเอียดพร้อมสรรพแต่ละเที่ยวแข่ง เพื่อแฟน ๆ ผู้สนใจได้ติดตามกันนะครับ

ตอนที่ 8 : ระบบการศึกษาอังกฤษ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

ระบบการศึกษาอังกฤษ             เมื่อคูเบอร์แต็งเดินทางถึงอังกฤษ ระบบการศึกษาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของโทมัส อาร์โนลด์ ซึ่งเป็นนักบวชและครูใหญ่โรงเรียนรักบี้เป็นระยะเวลาสิบสี่ปีตั้งแต่ ค.ศ.1828 โดยท่านได้พัฒนาและยกฐานะโรงเรียนไปสู่ความเป็นสถาบันด้วยการให้ความสำคัญแก่การกีฬาอย่างจริงจัง ระบบการศึกษาอังกฤษที่ส่งเสริมบุคคลในด้านความคิดริเริ่ม เสรีภาพต่อการเล่นเป็นทีมซึ่งสนับสนุนการพัฒนารอบด้านของมนุษย์และค่านิยมการแข่งขันนั้น จะติดตัวไปตลอดชีวิต             ความกระจ่างชัดต่อคุณลักษณะทางการศึกษาที่อาร์โนลด์ประสบผลค่อยๆปรากฏแก่คูเบอร์แต็ง อาร์โนลด์สร้างเสริมจิตศึกษาที่จะนำไปสู่การค้นพบจิตของร่างกายเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบตนเองต่อการสร้างสรรค์ผลงาน พุทธิศึกษาที่สร้างคุณค่าแก่ดุลยพินิจ และพลศึกษาที่ทำให้ค้นพบความลับแห่งภูมิปัญญาของการกีฬาซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการเตรียมตนเอง             คูเบอร์แต็งกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1887 ณ กรุงปารีส แก่สมาชิกของสมาคมเศรษฐกิจและสังคมซึ่งตามด้วยการอภิปรายข้อเสนอของคูเบอร์แต็ง โดยเขาได้นำส่วนต่างๆที่สำคัญของสุนทรพจน์นี้บรรจุไว้ในหนังสือของตนเองชื่อ L’Education en Angleterre  ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ             การเริ่มต้นหัวข้อสนทนาในครั้งนี้ หน้าที่หลักของข้าพเจ้าคือการกำหนดหัวเรื่องหนึ่งที่มีขอบเขตกว้างซึ่งข้าพเจ้าขอเสนอให้พิจารณาโดยเฉพาะ อันที่จริง ขอบเขตของข้าพเจ้าจักต้องไปไกลกว่าอังกฤษ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ระบบการศึกษาอังกฤษมีหลายรูปแบบโดยมีรูปแบบประถมศึกษา มัธยมศึกษา เอกชนและพับลิก สามัญและอาชีวะ แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่สำคัญสักเท่าไรในอังกฤษเมื่อเทียบกับประเทศอื่นเช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นหลักทั่วไปซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมของชาวอังกฤษไม่ว่าจะยากดีมีจนในการเลี้ยงดูลูกหลาน ทั้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ระบบการศึกษาอังกฤษ” ที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควรจะเป็น แต่กลับมีความหมายพิเศษและสนองตอบแก่ระบบหนึ่งที่มีความชัดเจนยิ่ง             ช่วงเย็นนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวต่อท่านเกี่ยวกับรูปแบบมัธยมศึกษาสายสามัญของรัฐ อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะไม่พรรณนารูปแบบโรงเรียนไปมากกว่านี้และจะไม่แบ่งการศึกษาตามท่านบิชอร์ป ดูพานลูปเป็นสี่ประเภทกล่าวคือ ศาสนา …

ตอนที่ 8 : ระบบการศึกษาอังกฤษ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!