Day: February 28, 2023

ตอนที่ 9 : วิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

วิทยาการกีฬา               บทสนทนานี้ได้รับการจัดพิมพ์ในรายงานของ “สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส” ค.ศ.1889 โดยคูเบอร์แต็งได้กล่าวในฐานะเลขาธิการสมาคมเพื่อการปฏิรูปการศึกษาระดับโรงเรียนในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1889 ท่านนิยาม “วิทยาการกีฬา” ให้หมายถึง ระบบการศึกษาหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนกล่าวคือ “การสร้างมนุษย์” และวิธีการเฉพาะด้วยกติกาตนเอง ท่านกล่าวต่อไปว่า วิทยาการกีฬาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง บางคนการพิจารณาว่า สิ่งนี้ไม่ต่างจากการเล่นเกมนันทนาการซึ่งเป็นการบิดเบือนความหมายพื้นฐานและปฏิเสธคุณค่าแท้จริงของวิทยาการกีฬา คูเบอร์แต็งแสดงความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาฝรั่งเศสบนพื้นฐานอำนาจนิยมกล่าวคือ การเชื่อฟังคำสั่งและความน่าเบื่อหน่าย กับระบบการศึกษาอังกฤษที่ออกแบบให้เป็นเครื่องมือพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับความแข็งแกร่งของร่างกาย สติปัญญา และจริยธรรมของแต่ละบุคคล การเล่นกีฬาชนิดต่างๆเป็นไปอย่างกระตือรือร้นพร้อมด้วยจิตวิญญาณสูงส่งโดยสร้างบรรยากาศการเรียนและผลลัพธ์การเรียน มติมหาชนในฝรั่งเศสเบี่ยงเบนการศึกษาที่ถูกต้อง ผู้คนจำนวนมากหลอกตัวเองในขณะออกกำลังกายพื้นฐานเพื่อสุขภาพและคิดว่าตนเอง “เข้าร่วมเล่นกีฬา” หากเข้าใจถูกต้องอย่างนี้แล้ว การกีฬาจะนำไปสู่เจตจำนงและอุดมคติยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ             ในปีเดียวกัน คูเบอร์แต็งจัด “การประชุมเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในระบบการศึกษา” ที่งานแสดงสินค้าโลกภายใต้ความเห็นชอบของรัฐบาล โดยแสดงผลการศึกษาของตนเองในแคว้นต่างๆของสหราชอาณาจักรเพื่อบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตามแนวคิดของโทมัส อาร์โนลด์ ในแคว้นส่วนใหญ่ “วิทยาการกีฬา” กลายเป็นมาตรฐานของการศึกษาทั้งปวง ในความเห็นของคูเบอร์แต็งแล้ว สิ่งนี้คือแต้มต่อแก่ผู้ไม่เห็นด้วย             คูเบอร์แต็งได้รับการเอ่ยถึงที่การประชุมประจำปีของ “สมาคมเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งการจัดตั้ง “คณะกรรมการเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายในระบบการศึกษา” ได้รับการประกาศในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1888 โดยสมาคมกีฬาของโรงเรียนแอลซาสได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมของปีเดียวกัน …

ตอนที่ 9 : วิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »

สกศ. เปิดรับผลงานวิจัย เพื่อรับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 17 “การพลิกโฉมการศึกษาไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 8-9 ส.ค. นี้

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการนำเสนอผลงานวิจัยทางการศึกษา เผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย และยกย่องส่งเสริมขวัญกำลังใจให้แก่นักวิจัยในการสร้างผลงานที่มีคุณค่า ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนการใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และแบบปฏิบัติที่ดีทางการศึกษา อันจะนำไปสู่การปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานวิจัยทางการศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงขอประกาศเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจส่งผลงานวิจัยทางการศึกษา เพื่อรับการคัดเลือก โดยเปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 15 มี.ค. 66 ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานวิจัย – ครู และบุคลากรทางการศึกษา ขององค์กรทางการศึกษาทุกระดับ – นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก – คณะบุคคล หน่วยงาน/องค์กร หรือชุมชนที่สนใจ ลักษณะของผลงานวิจัย – เป็นงานวิจัยทางการศึกษาที่ดำเนินการเสร็จในช่วง พ.ศ. 2563-2565 – เป็นงานวิจัยของบุคคล คณะบุคคล หน่วยงาน/องค์กร หรือ ชุมชน ประเด็นการวิจัย ผลงานวิจัยที่จะส่งเข้ารับการคัดเลือก เพื่อนำเสนอในการประชุมทางวิชาการฯ กำหนดให้เป็นงานวิจัยทางการศึกษา …

สกศ. เปิดรับผลงานวิจัย เพื่อรับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 17 “การพลิกโฉมการศึกษาไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 8-9 ส.ค. นี้ Read More »

วธ. สั่งยกระดับ 16 เทศกาลประเพณี ชูอัตลักษณ์ไทยที่โดดเด่น พร้อมดันผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ออกสู่ตลาดนอก

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตามที่วธ. ได้คัดเลือก 16 เทศกาลประเพณี เพื่อยกระดับไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ โดยมีแนวทางผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อน และยกระดับ Soft Power ของไทยด้านอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ และมีความโดดเด่น เพื่อสืบสานยกระดับประเพณีอันดีงามของไทย สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น วธ. จึงขอความร่วมมือให้ส่วนภูมิภาค สำนักงานวัฒนธรรมทั่วประเทศ เตรียมพร้อมจัดงานและวางแผนการยกระดับเทศกาลประเพณี โดยประสานงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ โดย วธ. จะดำเนินงานสนับสนุนการจัดงานผ่านกิจกรรมการจัดแสดงลานสาธิตเทศกาลประเพณี นำเสนออัตลักษณ์อันโดดเด่น ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ไปสู่ระดับนานาชาติให้เป็นที่รู้จัก พร้อมเห็นชอบจัดทำปฏิทินการลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการยกระดับเทศกาลประเพณี และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานหลังการจัดงานเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อติดตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงหลังจาก วธ. เข้าร่วมสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ วางแผน พัฒนา ตลอดจนการสนับสนุนให้การยกระดับเทศกาลประเพณีมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ 16 เทศกาล/ประเพณี ประกอบด้วย 1. ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี …

วธ. สั่งยกระดับ 16 เทศกาลประเพณี ชูอัตลักษณ์ไทยที่โดดเด่น พร้อมดันผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ออกสู่ตลาดนอก Read More »

มรภ.สงขลา จับมือ มรภ.ลำปาง และ รฟท. พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยรถไฟสายวัฒนธรรมภาคใต้ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตั้งเป้าเปิดตัวเดือน ส.ค. นี้

มรภ.สงขลา ผนึก มรภ.ลำปาง และ รฟท. เดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยรถไฟสายวัฒนธรรมภาคใต้ ตั้งเป้าเปิดตัวได้ช่วงเดือนสิงหาคม 2566 เพื่อรองรับกลุ่มนักเดินทางมาเลเซีย เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีมนักวิจัย “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางนำร่อง : รถไฟสายวัฒนธรรมภาคใต้” จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.คมวิทย์ ศิริธร รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ อ.ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานในเชิงรุก โดยได้หารือร่วมกับคณะทำงาน จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มรภ.ลำปาง) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟ ในเส้นทางศักยภาพของพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ โดยมี นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการการ รฟท. เป็นประธานให้การต้อนรับ และร่วมหารือกับคณะทำงานฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า …

มรภ.สงขลา จับมือ มรภ.ลำปาง และ รฟท. พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยรถไฟสายวัฒนธรรมภาคใต้ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตั้งเป้าเปิดตัวเดือน ส.ค. นี้ Read More »

สอศ. เสริมทัพบริหาร เปิดโผ รายชื่อผู้อำนวยการและกรรมการดูแลสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด ทั้ง 77 แห่ง

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด ตามประกาศใช้ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่กำหนดจัดตั้ง “สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด” โดยมีสถานที่ตั้งในวิทยาลัยเทคนิคประจำจังหวัดทุกแห่ง ยกเว้นพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีวิทยาลัยเทคนิคจัดตั้ง ทั้งนี้ กรรมการพิจารณาคัดเลือกและเสนอรายชื่อผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัด จำนวน 3 ราย นำเสนอ สอศ.คัดเลือกและแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอีกหน้าที่หนึ่ง รวมถึง การแต่งตั้งรองประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด (อาชีวศึกษาภาครัฐ และอาชีวศึกษาภาคเอกชน) โดยแต่งตั้งรองประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด คนที่ 1 จากผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ และรองประธานอาชีวศึกษาจังหวัด คนที่ 2 จากผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคเอกชน และแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 77 แห่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า การจัดตั้งสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด และ การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ในแต่ละจังหวัด …

สอศ. เสริมทัพบริหาร เปิดโผ รายชื่อผู้อำนวยการและกรรมการดูแลสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด ทั้ง 77 แห่ง Read More »

จุฬาฯ พัฒนา “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา ลดอาการสั่นได้ดี ลดเสี่ยงจากการกินยาและการผ่าตัดสมอง

แพทย์จุฬาฯ พัฒนาถุงมือพาร์กินสัน ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ ใส่ง่าย น้ำหนักเบา คืนชีวิตทางสังคมให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน ลดผลข้างเคียงจากการรับประทานยาหลายชนิด และโอกาสเสี่ยงจากการผ่าตัดสมอง สั่น ช้า เกร็ง เป็นอาการผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ชัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) โดยเฉพาะอาการมือสั่นขณะพักอยู่เฉย ๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 อาการสั่นที่ควบคุมไม่ได้นี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างที่ต้องการ จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งลดทอนความมั่นใจในตัวเอง และทำให้รู้สึกอายในการเข้าสังคม แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบัน คือ การรับประทานยารักษาโรคพาร์กินสันหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งผลการรักษาส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถลดอาการสั่นได้ทั้งหมด และในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการสั่นมาก ๆ ก็อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดสมองเพื่อลดอาการสั่น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครปรารถนา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง และมีผลข้างเคียงมาก นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้ทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” มาตั้งแต่ปี 2557 ได้ทำการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โดยคำขอรับสิทธิบัตร ภายใต้ชื่อ เครื่องวัดอาการสั่นและระงับอาการสั่นด้วยการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าแบบพกพา ตั้งแต่ มกราคม 2560 …

จุฬาฯ พัฒนา “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา ลดอาการสั่นได้ดี ลดเสี่ยงจากการกินยาและการผ่าตัดสมอง Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!