จิตวิทยาการกีฬา บทความสามชิ้นต่อไปนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬา (ตอนที่ 12) สังคมศึกษา (ตอนที่ 13) และศิลปศึกษา (ตอนที่ 14) ปรากฏในบันทึกเรื่องการศึกษาภาครัฐของคูเบอร์แต็งโดยท่านเขียนบทนำถึงการสังเกตเหตุการณ์จากการเดินทางหลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ทุกแห่งหนจะปรากฏกระแสหลักของปฏิรูปการศึกษาที่มีต่อความเป็นชาตินิยม สำหรับคูเบอร์แต็งและข้อเสนอแนะต่างๆของท่านนั้น จะสามารถเห็นได้ว่า ส่วนประกอบนี้ของการปฏิรูปการศึกษาของท่านพุ่งเป้าไปที่เยาวชน บทความที่คัดเลือกไว้ทั้งสามชิ้นนี้บ่งชี้ความคิดของคูเบอร์แต็ง การสอนของท่านมุ่งที่จิตมนุษย์ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมโดยท่านกล่าวถึง “จิตวิทยาการกีฬา” อย่างสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ คูเบอร์แต็งมีวิสัยทัศน์ต่อสังคมวิทยาการศึกษาซึ่งกว้างขวางมากกว่าการฝึกฝนด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ ท่านเล็งเห็นถึงความจำเป็นของสังคมวิทยาการศึกษาต่อประชาธิปไตยสมัยใหม่ สังคมวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์แขนงใหม่และทันสมัยจะสนับสนุนประชาธิปไตย บทความของท่านเกี่ยวกับ “ศิลปศึกษา” ซึ่งเป็นความหวังที่คูเบอร์แต็ง แสวงหาได้รับการเสนออย่างละเอียดและทรงพลังเป็นครั้งแรกนั้น แสวงหาหนทางในการนำศิลปะเข้าสู่โรงเรียนเพื่อสุนทรียภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่เพียงเทคนิควิธีการเท่านั้น ซึ่งจะปูทางสู่การชื่นชมศิลปะอย่างยั่งยืนตลอดชีวิต ในโลกสมัยใหม่ ใครเกี่ยวข้องกับการกีฬาและทำไม? ในการเข้าใจคำถามข้างต้นนี้ จะเป็นการดีที่จะทิ้งความทรงจำเดิมและเพียงกวาดมองรอบตัวพวกเรา สัญชาติญาณการกีฬาที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงก่อนหน้าไม่ได้หลับใหลภายในแต่ละกายของพวกเราเพื่อรอตื่นเมื่อแรกปลุกเท่านั้น และอาจเป็นไปไม่ได้ที่จะกระตุ้นสัญชาตญาณหากเมล็ดพันธุ์ไม่มีอยู่ในกายของแต่ละคน ขออย่าเข้าใจว่า การกีฬาเป็นแต่เพียงส่วนขยายความต้องการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการใช้สิ่งที่มีพร้อมการกำเนิดของเด็กเท่านั้น การกีฬาเกิดขึ้นเฉพาะในวัยเยาวชนและบางครั้งต้องรอจนกระทั่งเกือบถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว โดยไม่เป็นข้อพิสูจน์ถึงการมีสุขภาพที่ดีหรือตัวอย่างของโครงสร้างที่กำยำล้ำเลิศ ในหลายโอกาส ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเด็กทั้งหลายเกิดความคุ้นชินในการเล่นกีฬาหลากชนิดซึ่งหมายถึงเยาวชนที่ได้รับอิทธิพลชักจูงจากเพื่อนร่วมชั้นหรือมีความปรารถนาความโดดเด่นในการแข่งขันและได้รับการยกย่องชมเชยแก่ตนเอง และในบางครั้งก็จะเป็นเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง คล่องแคล่วและโครงร่างสมส่วนซึ่งปรากฏกายเข้าร่วมการฝึกซ้อมเป็นกลุ่มใหญ่ แต่วิธีการดังกล่าวนี้ก็ไม่สามารถจะทำให้กลุ่มใดจะมีสัญชาติญาณกีฬาได้เช่นกัน เมื่อใดก็ตามที่แรงกระทำภายนอกที่ไม่แท้จริงหมดสิ้นไปซึ่งหมายถึงการชักชวนหรือข้อจำกัดที่พวกเขาตอบสนอง พวกเขาก็จะหยุดออกกำลังกาย แม้การออกกำลังกายจะไม่เป็นที่น่ารังเกียจ แต่ก็ไม่ตอบสนองต่อความต้องการหรือสิ่งเย้ายวนภายในตัวพวกเขา ความต้องการนี้ …
ตอนที่ 12 : จิตวิทยาการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »