Day: April 14, 2023

มูลนิธิสัมมาชีพ เดินหน้ารับสมัคร ประกวดรางวัล “ต้นแบบสัมมาชีพ” 3 สาขารางวัล วิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ และ ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ

มูลนิธิสัมมาชีพ เตรียมเปิดรับสมัครประกวดรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 โดยจะเปิดรับสมัคร 3 รางวัล วิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ และปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิสัมมาชีพ กล่าวว่า ทางมูลนิธิสัมมาชีพเตรียมเปิดรับสมัครประกวดรางวัลต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 โดยจะเปิดรับสมัคร 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลวิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ รางวัลเอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ และ รางวัลปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครต้นเดือนพฤษภาคมนี้ สำหรับเป้าหมายการจัดประกวดรางวัลดังกล่าว มีขึ้นเพื่อยกย่องและเฟ้นหาต้นแบบของบุคคล วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนธุรกิจเอสเอ็มอี ที่เป็นแบบอย่างในการสร้างอาชีพ รายได้ ให้แก่สมาชิกและชุมชนตามแนวทางของสัมมาชีพ สามารถฝ่าฟันสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่าง ๆ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาและสร้างประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น “มูลนิธิสัมมาชีพ เป็นองค์กรสาธารณกุศล ดำเนินงานด้านการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับการประกอบการของชุมชน บนหลักคิดมีสัมมาชีพ เราจึงจัดให้มีการประกวดรางวัลวิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอี เพื่อเฟ้นหาผู้ที่มีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับชุมชน ช่วยพัฒนาชุมชน และเป็นต้นแบบแก่ผู้สนใจนำไปพัฒนากิจการต่อ และเป็นการเผยแพร่วิธีปฎิบัติสู่ความสำเร็จในวงกว้าง จากการที่รางวัลเหล่านี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจจำนวนมาก มูลนิธิจึงได้ขยายสู่การมอบรางวัลปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ ในปีที่ผ่านมา เพื่อเชิดชูบุคคลที่สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีกด้วย” นายมงคล กล่าว ทั้งนี้ รางวัลวิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ จะมีด้วยกัน …

มูลนิธิสัมมาชีพ เดินหน้ารับสมัคร ประกวดรางวัล “ต้นแบบสัมมาชีพ” 3 สาขารางวัล วิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ และ ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ Read More »

นักวิจัย มจธ. เผยผลสำรวจภัยคุกคาม “นาก” ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน 5 จังหวัดภาคใต้ การจับนากธรรมชาติไปเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นภัยคุกคามที่น่ากังวลและควรเร่งจัดการ

“นาก” ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง นักวิจัย มจธ. เผยผลสำรวจภัยคุกคาม “นาก” ในพื้นที่ชุ่มน้ำฝั่งอันดามัน 5 จังหวัดภาคใต้ พบภัยคุกคามที่น่ากังวลและควรเร่งจัดการ ปัญหาคือการจับนากจากธรรมชาติไปเป็นเลี้ยง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้นากมีแนวโน้มลดลง เรียกร้องสร้างความเข้าใจการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในพื้นที่ทับซ้อนของคนกับนาก นาก เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกลูกครั้งละ 3-4 ตัว ธรรมชาติของนากมีทั้งที่รวมกลุ่มกันเป็นฝูงและอยู่ตัวเดียว พบได้บ่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ รวมทั้งพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้ของไทย นากมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ไม่มีการอนุญาตให้ล่า หรือ เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่ามีจำนวนคงเหลือเท่าใด แต่มีแนวโน้มลดลงจากภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการนำนากมาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเสี่ยงทำให้นากอายุสั้นจากการเลี้ยงที่ไม่ถูกต้องตามนิเวศวิทยาของสัตว์ นาก จะเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในธรรมชาติ การนำมาเลี้ยงโดยไม่เข้าใจเรื่องสุขภาพของนาก และเลี้ยงเหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ (เลี้ยงในกรง) อาจทำให้นากอายุสั้น และไม่ขยายพันธุ์ในรุ่นต่อ ๆ ไป หรือ พอเลี้ยงโตแล้วนำไปปล่อยก็มีโอกาสรอดยาก และเสี่ยงต่อการนำโรคไปสู่นากในธรรมชาติ ผศ.ดร.นฤมล ตันติพิษณุ และ นายอนุชา ขำจริง นักวิจัยจากสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ทำวิจัยในโครงการประเมินภัยคุกคาม และการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการเพื่อการอนุรักษ์นากอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทย …

นักวิจัย มจธ. เผยผลสำรวจภัยคุกคาม “นาก” ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน 5 จังหวัดภาคใต้ การจับนากธรรมชาติไปเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นภัยคุกคามที่น่ากังวลและควรเร่งจัดการ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!