ตอนที่ 27 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ยี่สิบ : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว
จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่ยี่สิบ: เหตุผลที่พลเมืองโลซานน์ควรพายเรือ เมื่อไดัรับการสอบถามใน ค.ศ.1912 ว่า กีฬาชนิดใดเป็นกีฬาในอุดมคติ คูเบอร์แต็งตัดสินใจเลือก เรือพาย โดยท่านรัก และฝึกพายเรือ แม้อายุมากขึ้น และยังได้ตีพิมพ์บทความจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ จดหมายโอลิมปิกฉบับนี้กล่าวถึงพลเมืองโลซานน์และเยาวชนที่อาศัยในเขตคองตองเดวูด์ ซึ่งท่านกระตุ้นพวกเขาให้ใช้สภาพที่ดีเลิศ ซึ่งเหมาะยิ่งต่อการพายเรือของทะเลสาบเจนีวา ผู้อ่านที่รัก หุ่นกระบอกนิยมหมุนสามรอบก่อนจะหายตัวไป ข้าพเจ้าขออนุญาตทำสิ่งตรงข้ามและ “หมุนรอบใหญ่และหันกลับมา” อุดมการณ์โอลิมปิกไม่ได้ลาจากท่านเป็นครั้งสุดท้าย แต่จะหลีกหายไปอยู่หลายเดือน พวกเราจะพบกันใหม่อีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงตามเจตนารมณ์ของพระเจ้า และในวันนี้ที่ความหวานชื่นของปีได้มาถึง คือโอกาสของท่านที่จะกระทำตามคำแนะนำของข้าพเจ้า ซึ่งไม่เพียงแก่ร่างกายของลูกท่าน และของท่านด้วย ท่านมีวันแดดออกรออยู่ข้างหน้าและสายน้ำเหยียดยาวไร้คู่เปรียบ จงใช้ประโยชน์ต่อสิ่งเหล่านี้ ขอให้จดจำไปพร้อมกับการชกมวยว่า การพายเรือคือกีฬายอดเยี่ยมที่สุดในการดำรงอยู่และการไม่ใช้ประโยชน์จากทะเลสาบที่งดงาม ถือเป็นอาชญากรรมสำหรับชาวเมืองโลซานน์ ขบวนเรืออูชี่ไม่เลวร้าย ซึ่งห่างไกลจากความจริงมาก และหากท่านกระตุ้นให้มากขึ้นก็จะพัฒนาขึ้นมาก มีเรือแคนูที่สมดุลย์บางลำที่ท่านจะสามารถร่างแบบเครื่องกลที่ปรารถนาได้ ขออย่าประหลาดใจกับภาษานี้ ลำเรือ ฝีพาย และไม้พายประกอบกันเป็นเครื่องจักรกลโดยความสมบูรณ์ และความรื่นรมย์ของการเคลื่อนที่ จะขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ จะเป็นความรื่นรมย์ของฝีพายในการรู้สึกว่าตนเอง คือเครื่องจักรกลแห่งความคิดที่จะรับรู้ในแต่ละจ้วงพายถึงความแข็งแกร่ง ที่ก่อขึ้นภายในกาย ขยายวงและกระจายตัวไปรอบ จังหวะคล้ายดนตรีและการเกิดขึ้นในศูนย์กลางธรรมชาติระหว่างอากาศ และน้ำ …