การใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาเพื่อการศึกษา องค์กรการสอนกีฬานานาชาติได้เริ่มงานการประชุมและตามด้วยการจัดเลี้ยง ณ เดอะพาเลซ ในเดือนพฤศจิกายน 1928 ซึ่งอยู่ภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยโลซานน์ภายใต้การอุปถัมภ์ของเมืองโลซานน์ คูเบอร์แต็งซึ่งยินยอมรับตำแหน่งผู้นำองค์กรนี้ ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาทางการศึกษาเพื่อเป็นเกียรติแก่วาระโอกาสนี้ ส่วนใหญ่ของสุนทรพจน์นี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำไว้ที่นี่ซึ่งถือเสมือนเป็นคำแถลงการณ์อย่างแท้จริง ตามรายงานของนิตยสารสปอร์ตสวิส คูเบอร์แต็งเริ่มต้นด้วยการอารัมภบทเชิญชวนโดยเปรียบเทียบสไตล์พ่อหัวร้อนของปิแอเรฟูชองกับภาพลักษณ์สง่างามของแจ็ก เปย์โรนิ และบรรยายกัปตันฟุตบอลรุ่นเยาว์คือ มองเตลองต์ ซึ่ง “อายุสิบสี่รูปร่างป้อมที่มีอำนาจความเป็นผู้นำทีม เน้นสุขอนามัยกีฬา เป็นนักเรียนขยัน สุขภาพดี ธรรมดาสามัญ แต่น่ากวนใจในความถือตัวที่ซ่อนไว้” จากนั้น ท่านกล่าวถึงขอบเขตจำกัดที่เห็นว่ายังมีโอกาสในการปรับปรุงสถานการณ์ได้ ภายหลังการขีดวงปัญหาในเชิงภูมิศาสตร์ คูเบอร์แต็งกล่าวว่า “พวกเราต้องหมายถึงนักยิมนาสติก นักฟันดาบ นักว่ายน้ำและนักพายเรือนอกเหนือจากกลุ่มคนที่มนุษย์หัวร้อนเหยียดหยามหรือไม่? แต่ละบุคคลนี้ทุจริตหรือไม่? เมื่อให้การยกเว้นแก่บุคคลที่ถูกต้อง โดยหากที่เหลือมีแต่นักฟุตบอลและนักเทนนิสหรือนักกรีฑา ท่านต้องยอมรับถึงการขีดวงแคบแก่สนามกีฬาในรายใดก็ตาม” บุคคลเหล่านี้จะมีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด? มีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อทำลายพวกเขาซึ่งเริ่มต้นจากจำนวนเพิ่มขึ้นของสนามกีฬา ใช่หรือไม่? บทความต่อไปนี้ผสมผสานสุนทรพจน์ของคูเบอร์แต็งพร้อมความเห็นของนักเขียนนิตยสาร สนามกีฬาจำนวนมากเกินควร “สนามกีฬาถูกสร้างขึ้นอย่างไม่รอบคอบในทุกหนแห่ง ความใคร่รู้เหล่านี้มีมากพอให้ปรากฎผ่านการตีพิมพ์ถึงเก้าครั้งในวารสารเดอะรีวิวโอลิมปิกรายเดือนซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ โดยจะพบการเตือนไม่ให้การกีฬาเป็นการแสดงโชว์และผลที่เกิดขึ้นจากการใช้แนวทางการเขียนบทความเมื่อสิบแปด ยี่สิบและยี่สิบสองปีก่อน ในขณะที่ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า เมื่อที่นั่งสำหรับผู้ชมจำนวนสี่หมื่นคนได้ถูกสร้างขึ้น ท่านจะต้องจัดคนให้เต็มและหมายถึงการดึงดูดฝูงชน …
ตอนที่ 28 : การใช้ประโยชน์ของกิจกรรมกีฬาเพื่อการศึกษา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »