จุดกำเนิดและขีดจำกัดความก้าวหน้าของการกีฬา เดือนมิถุนายน ค.ศ.1936 ก่อนโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงเบอร์ลินนั้น บทความทั้งสี่ตอนนี้ได้ปรากฎในหนังสือพิมพ์เบอร์ลิน (BZ am Mittag) อีกสองปีต่อมาภายหลังการจากไปของคูเบอร์แต็ง ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโอลิมปิกรีวิว ซึ่งบทความนี้เป็นเสมือนมรดกการกีฬาที่คูเบอร์แต็งได้สรุปเน้นย้ำความเห็นหลายประการด้านการกีฬาสมัยใหม่ของตนเอง คูเบอร์แต็งแยกแยะการพัฒนาระหว่างร่างกายมนุษย์ คุณลักษณะเชาวน์ปัญญาและมิติจิตวิทยา และเงื่อนไขการเล่นกีฬาแต่ละชนิด โดยเปรียบเทียบความเพียรพยายามเหล่านี้กับแนวคิดอรรถประโยชน์ยิมนาสติก (Utilitarian Gymnastics) ที่ตนเองได้นำเสนอเป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1902 ประเด็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในตอนที่สามของบทความนี้ คูเบอร์แต็งพิจารณาอิทธิพลของผู้ชมกีฬาซึ่งเป็นส่วนทำให้จิตวิทยาการกีฬามีบทบาท และในตอนที่สี่ ท่านตอบคำถามว่าจะมีขีดจำกัดของการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาหรือไม่ ในเรื่องนี้ ท่านเล็งเห็นความแตกต่างระหว่างการพัฒนาส่วนบุคคล และส่วนรวมซึ่งนำไปสู่ข้อสงสัยว่า ส่วนบุคคลหรือสายพันธุ์มีบทบาทสำคัญมากกว่ากัน ดังที่ปรากฎในโบราณกาล การกีฬาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความเจริญก้าวหน้าใน ค.ศ.1936 ตอนที่หนึ่ง ความก้าวหน้าของการกีฬาในวัยรุ่นและหนุ่มสาวอาจมาจากสามแหล่งที่มา ที่แรกคือกล้ามเนื้อของร่างกายที่สามารถถูกพัฒนาขึ้นได้ แท้จริงแล้ว ร่างกายสามารถพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญให้แข็งแกร่ง ยืดหยุ่น ทรหดขึ้น มีทักษะรวมทั้งดุลยภาพสูงขึ้นได้ ผลลัพธ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านความเพียรพยายามในการออกกำลังกายและการฝึกซ้อมที่ถูกต้องอย่างดี โดยเฉพาะภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จนี้ อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะเชาวน์ปัญญามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาร่างกายมนุษย์เพื่อเป้าประสงค์ความสำเร็จทางการกีฬาเช่นกัน ต้องไม่ลืมว่า รอบปีโอลิมปิกสมัยใหม่เกิดขึ้นจากการวิ่งมาราธอนที่สำเร็จของคนยากไร้ แม้ว่าเขาจะมีความแข็งแกร่งโดยธรรมชาติ แต่ก็ไม่มีการเตรียมพร้อมด้านวิทยาศาสตร์แต่ประการใด ยิ่งกว่านั้น เขากลับเตรียมตัวด้วยการอดอาหารและสวดมนต์ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเองนับถือ ข้าพเจ้าขอกล่าวเสริมว่า นับจากนั้นในทุกโอลิมปิกเกมส์ ข้าพเจ้าพบอยู่เสมอถึงความหนักแน่นของเจตจำนงและความสงบนิ่งที่ …
ตอนที่ 29 : จุดกำเนิดและขีดจำกัด ความก้าวหน้าของการกีฬา : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »