การปฏิรูปและความแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์: ลักษณะและผลที่เกิดขึ้น ณ ที่ประชุมของสถาบันวิทยาการเอเธนส์ ค.ศ.1927 คูเบอร์แต็งเน้นย้ำความจำเป็นต่อการศึกษาประวัติศาสตร์โลกด้วยวิธีการคือ “ประการแรก พวกเราต้องใช้มุมมองแบบปริซึมแก่มนุษย์และวัตถุทั้งหลาย ประการที่สอง พวกเราต้องปรับแนวคิดจาก ‘สาเหตุ’ ให้เป็น ‘สมการ” ในตอนที่สองของสุนทรพจน์นั้น คูเบอร์แต็งกล่าวถึงผลทางการเมืองจากการใช้ประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ว่า “ประวัติศาสตร์จะปกป้องสันติภาพสากล…ประวัติศาสตร์ยังคงทำได้มากขึ้นต่อสันติสุขสังคมในปัจจุบัน” ทั้งนี้ ท่านแสดงสิ่งได้เรียนรู้จากอาจารย์ทั้งสองคือ อัลเบิร์ต โซเรล และ พอล เลอรอย-บูลิว ที่มหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์ ท่านประธานและสมาชิกของสถาบัน นับเป็นเกียรติสูงส่งที่ได้กล่าวในสถานที่โด่งดังเช่นนี้ซึ่งเป็นเกียรติยิ่งขึ้นโดยการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากท่านทั้งหลาย วานก่อน กรุงเอเธนส์ให้เกียรติข้าพเจ้าด้วยการรื้อฟื้นหนึ่งในประเพณีที่ถือเป็นความภาคภูมิสูงสุดของเมืองโบราณ ในวันนี้ ตามรอบปีโอลิมปิกที่ข้าพเจ้าได้พยายามจะฟื้นฟูจิตวิญญาณ นับเป็นความโชคดีของข้าพเจ้าที่จะเสนอผลงานวิชาการบริสุทธิ์แก่ทุกท่านซึ่งได้รวบรวมและแต่งขึ้นในระหว่างเวลาว่างที่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกพอจะมีให้แก่ข้าพเจ้า เพื่อทำให้ทุกสิ่งรายล้อมข้าพเจ้ามีความเป็นกรีกเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้าพเจ้าต้องวิพากษ์งานตนเองในที่นี้ตามแนวคิดที่โด่งดังของโซเครตีสซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานของปรัชญาทั้งปวงที่พวกเรากำลังกล่าวถึงในปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยเนื่องเพราะเป็นการปฏิรูปและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเหตุผลของมนุษย์ ตอนที่หนึ่ง ท่านสุภาพชน ประการแรก ข้าพเจ้าเสนอให้เขียนประวัติศาสตร์โลกด้วยการใช้ประโยชน์ในทุกโอกาสเพื่อให้งานลุล่วง ข้อเท็จจริงที่ว่า สิ่งต่างๆในปัจจุบันมีลักษณะเปลี่ยนแปลงนั้น ดูเหมือนจะเป็นการยืนยันที่ไม่ถูกต้องนัก โดยหากท่านติดตามใกล้ชิด การตรวจสอบข้อเท็จจริงจะยืนยันในสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ การศึกษาประวัติศาสตร์โลกจำต้องมีข้อมูลสมบูรณ์และแม่นยำทั้งสถานที่และเวลาซึ่งความคิดสามารถสืบค้นกลับไปได้ตลอดเวลา สะดวกและง่าย เงื่อนไขเหล่านี้เพิ่งมีความพร้อมสรรพไม่นานมานี้ …
ตอนที่ 39 : การปฏิรูปและความแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์: ลักษณะและผลที่เกิดขึ้น : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว Read More »