หากเอ่ยถึง ส้มบางมด ในอดีตเป็นผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับคลองบางมด แต่จากปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อชาวสวนส้ม ทำให้ปัจจุบันสวนส้มบางมดกำลังจะเลือนหายไปจากพื้นที่ และการขาดแคลนน้ำจืดยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตไม้ผลพืชสวนของเกษตรกร และสัตว์น้ำของผู้ทำประมงน้ำจืดในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ และบางขุนเทียน มากกว่า 200 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 500 ไร่ ทำให้ชาวบ้านต้องเลิกทำเกษตรไปหลายราย “เกษตรกรที่อยู่ริมคลองบางมดจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า น้ำจะเค็มเกือบตลอดทั้งปี จึงไม่นิยมใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปา ทำให้ปัจจุบันสถานะของคลองจึงไม่ได้เป็นคลองเพื่อเกษตรกรรม แต่เป็นคลองเพื่อรองรับและรอการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านประตูระบายน้ำ เกษตรกรจึงต้องปรับตัวหันไปปลูกพืชที่สามารถทนต่อน้ำเค็มได้ เช่น มะพร้าว และขุดบ่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ในร่องสวนของตัวเอง” แม้ที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้วิธีการให้เจ้าหน้าที่เขตลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำในคลอง นำไปตรวจวัดค่าความเค็ม หากพบว่า มีน้ำเค็มเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด (สูงกว่า 1.2 ppt ) ก็จะประกาศแจ้งเตือนให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทราบอยู่แล้ว แม้จะแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถแจ้งเตือนน้ำเค็มรุกล้ำได้อย่างทันท่วงที คณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงมีแนวคิดให้มีการ “พัฒนาทุ่นตรวจวัดและแจ้งเตือนคุณภาพน้ำพลังงานแสงอาทิตย์” ขึ้น เพื่อใช้ตรวจสอบและติดตามสถานการณ์การรุกล้ำของน้ำเค็มในคลองบางมดและคลองสาขา เฝ้าระวังและแจ้งเตือนคุณภาพน้ำโดยเฉพาะค่าความเค็มที่สูงกว่ามาตรฐานกำหนดให้กับเกษตรกร เพื่อเตรียมป้องกันและรับมือได้อย่างทันท่วงที ทางคณะทำงาน คาดหวังว่า เครื่องมือนี้จะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรสามารถประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อเตรียมตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้น และฐานข้อมูลคุณภาพน้ำที่ได้เก็บรวบรวมไว้ …
“ทุ่นตรวจวัดและแจ้งเตือนคุณภาพน้ำพลังงานแสงอาทิตย์” แบบเรียลไทม์ เฝ้าระวังและแจ้งเตือนการรุกล้ำของน้ำเค็มแก่เกษตรกรและชุมชนริมคลอง ให้เตรียมพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที Read More »