“ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้ง-ตะบูน” ผลงาน ราชมงคลพระนคร เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านลมทวน จ.สมุทรสงคราม
การย้อมสีผ้าเป็นภูมิปัญญาโบราณของไทย โดยการนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ และ แร่ธาตุต่าง ๆ มาทำการย้อมกับเส้นด้าย เพิ่มสีสันให้มีความสวยงาม และนำมาใช้ในการทอผ้า ซึ่ง การย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของคนแต่ละพื้นที่ มีการสืบทอดเทคนิควิธีการย้อมมายังคนรุ่นหลัง แม้เทคโนโลยีการย้อมผ้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยก็ตาม เช่นเดียวกับ ชุมชนบ้านลมทวน หรือ คุ้งลมทวน จ.สมุทรสงคราม ชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว และประมง นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ที่มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ และได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวชุมชน อาทิ การสานหมวกจากใบมะพร้าว การทำขนมต้ม การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำไข่เค็มมรกต การทำมัดย้อม และ การทำพวงกุญแจจากขุยมะพร้าว เป็นต้น . . นางสาวจุฬามณี ธัญสมุทร และ นายภารดา ปักษาทอง นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้าแฟชั่น คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เล่าให้ฟังว่า จากอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว ทำให้มีเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดในการนำเศษเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้ง มาสกัดเป็นสีจากธรรมชาติ เพื่อใช้ในการย้อมผ้า เป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากกว่าการเป็นแค่วัสดุปลูก หรือ …