Day: June 14, 2024

วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จับมือ ภาคีเครือข่าย จัดอบรมฟรี โครงการก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่ 6 ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 16 ก.ค. 67

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา อาทิ มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) , The Light House , บริษัท แบล็คบ็อกซ์ทีม จำกัด และ ก่อการครูแพทย์ ได้ดำเนิน “โครงการก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่ 6” โดยได้กำหนดจัดอบรมโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครู หรือ ผู้ที่มีส่วนในการสร้างการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ครูมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Facilitator Skills) รวมถึงขยายผลไปยังเพื่อนครูภายในพื้นที่การทำงานของตนเอง 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นนักสื่อสารสุขภาวะให้แก่ครู หรือ บุคลากรทางการศึกษา 3. เพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่หล่อเลี้ยงพลังใจเป็นกัลยาณมิตรเกื้อกูลต่อการเติบโต อันจะนำไปสู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมายต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยโครงการจะดูแลค่าใช้จ่ายตลอดการเข้าร่วมอบรมเป็นมูลค่ากว่า 30,000 บาทต่อท่าน ยกเว้นค่าเดินทาง คุณสมบัติของผู้สมัคร 1. เป็นครูหรือผู้มีบทบาทหน้าที่ในเชิงการสอน ทำงานอยู่ในระบบการศึกษาทั้งภาครัฐ เอกชน และอื่น ๆ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 2. ผู้สมัครต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาตามสายงาน …

วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จับมือ ภาคีเครือข่าย จัดอบรมฟรี โครงการก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่ 6 ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 16 ก.ค. 67 Read More »

สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จัดประกวดงานเขียนเทิดพระคุณแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเทิดพระคุณของแม่ ผู้สนใจส่งผลงานร่วมประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 25 มิ.ย. 67

สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย คณะกรรมการฝ่ายประกวดงานเขียนเทิดพระคุณแม่ ในคณะกรรมการจัดงานวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2567 ได้จัดประกวดงานเขียนเทิดพระคุณของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเทิดพระคุณของแม่ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การประกวดเรียงความ ประเภทนักเรียน ระดับประถมศึกษา หัวข้อ “ชีวิตในอ้อมกอด” 2. การประกวดบทกลอน ประเภทนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา หัวข้อ “อนาคตของชาติกับบทบาทของแม่” 3. การประกวดเรื่องสั้น ประเภทนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป (ผู้เขียนตั้งชื่อเรื่องตามความเหมาะสม) ผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ – 25 มิถุนายน 2567 อ่านรายละเอียด หลักเกณฑ์ และข้อกำหนดต่าง ๆ ได้จาก QR-Code ด้านล่าง

เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดหลักสูตรสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ รองรับความต้องการแรงงานในเขต EEC

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี หุ่นยนต์ หรือ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนมนุษย์มากขึ้น ทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการศึกษาสายอาชีพ หรือ อาชีวะศึกษา ที่เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยกำหนดทิศทางของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและแรงงานในอนาคต สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้สถาบันอาชีวะต้องมีการปรับตัว เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยี และส่งเสริมทักษะความชำนาญให้เกิดขึ้น เหมือนกับที่ วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง จ.ระยอง ซึ่งทางรายการ 1 ในพระราชดำริ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 Mcot HD และ มูลนิธิอานันทมหิดล ได้เดินทางมาเยี่ยมชม พบว่า มีการปรับตัวในเรื่องการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม จนสามารถสร้างแรงงานเพื่อรองรับความต้องการในเขต EEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายวีระชัย สมบัติกำไร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง จ.ระยอง เล่าให้ฟังว่า เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องการตั้งอยู่บนพื้นที่ EEC นโยบายหลักของทางวิทยาลัยฯ คือ ผู้เรียนจะต้องมีทักษะ Multi Skill หรือ ความรู้ที่หลากหลาย อาทิ เรียนช่างยนต์ ก็ต้องมีความรู้ในการซ่อมมอเตอร์ไซด์เบื้องต้น , ติดตั้งแอร์เพื่อเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ เรียนไปแล้วต้องมีงานทำ นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยฯ …

เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เตรียมเปิดหลักสูตรสาขารถไฟฟ้าและหุ่นยนต์ รองรับความต้องการแรงงานในเขต EEC Read More »

นักวิจัย มจธ. ค้นพบสูตรเล่นแร่แปรธาตุ “เพิ่มมูลค่าทองคำ” ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยในปี 2566 ไทยมีมูลค่าส่งออกมากถึง 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดัน 3 หรือ 5.14% ของมูลค่าสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย (ที่มา : ศูนย์เครื่องมืออัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ) ซึ่งนอกจากอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ “ตัวเรือน” ของเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันแพลทินัม (Platinum) ที่เป็นโลหะเนื้อสีขาวที่ใช้ทำตัวเรือนเป็นที่นิยมอย่างมาก และมีราคาแพงกว่าทองคำ (Gold) ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ “โลหะผสมทองขาว” (White Gold Alloys) ที่เป็นโลหะผสมระหว่างทองคำกับธาตุอื่น ๆ เช่น เงิน ทองแดง สังกะสี นิกเกิล และ อื่น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะให้เนื้อโลหะสีขาวคล้ายแพลทินัม แต่ราคาถูกกว่า ปัญหาสำคัญ คือ นิกเกิลที่ผสมอยู่ในโลหะผสมทองขาว สามารถทำให้ผู้สวมใส่บางคนเกิดอาการแพ้เป็นผื่นแดงได้ ทางสหภาพยุโรปจึงมีกฎหมายจำกัดปริมาณนิกเกิลในเครื่องประดับที่นำเข้า โดยปริมาณนิกเกิลที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องประดับ หรือ อุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสผิวหนัง …

นักวิจัย มจธ. ค้นพบสูตรเล่นแร่แปรธาตุ “เพิ่มมูลค่าทองคำ” ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย Read More »

สสวท. ชวนทำความเข้าใจ “ร่องรอยดิจิทัล” คืออะไร ทำไมควรรู้เท่าทัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาน้อง ๆ ไปรู้รอบตอบโจทย์ทันโลก กับคลังภาพสื่อการเรียนรู้หัวข้อ “ร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint)” ร่องรอยที่ผู้ใช้กระทำการต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การใช้งานอัปโหลดข้อมูลส่วนตัว ไฟล์งาน รูปภาพในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ การใช้งานสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และ คอมพิวเตอร์ ซึ่งร่องรอยดิจิทัลนี้เองที่สามารถบอกให้ผู้อื่นทราบถึงสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่สนใจ และสิ่งที่อยากทำได้ รวมทั้งไขข้อกังขาถึงความสำคัญของร่องรอยดิจิทัล ทำไมเราจึงควรระมัดระวังและป้องกัน สื่อการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยี คลิกอ่านได้ที่ คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org/image-technology/item/13117

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!