Day: June 28, 2024

“ไอ้แสบ” แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นนักมวยไทยค่าตัวเรือนแสนคนแรก ครั้งแรกวันนั้น แต่ก็ไม่ผ่านด่าน พุฒ ล้อเหล็ก

เมื่อ 2 มีนาคม 2517 หนังสือพิมพ์หน้ากีฬาประโคมข่าว ที่น่าสนใจคือ การโปรโมทของเวทีมวยลุมพินี โดย “ครูเฒ่า” ชนะ ทรัพย์แก้ว และทีมงานของเวที ร่วมกันเปิดใจกับสื่อมวลชนว่า ศึกกำปั้นทหารเอกนัดใหญ่ในรอบปีของเวที ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2517 นั้น คู่เอกนำรายการจะเป็น แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ กับ พุฒ ล้อเหล็ก ซึ่งเป็นการขอแก้มือของแสนศักดิ์ ที่เคยแพ้ พุฒ มาก่อนแล้ว ข่าวโด่งดังมากในการโปรโมทครั้งนี้คือ ประเด็นค่าตัวของ “แสนศักดิ์” ที่ได้รับการเปิดเผยคือ 1 แสนบาท และเป็นนักมวยไทยคนแรกที่ค่าตัวถึงระดับแสนบาท โดย 4 ไฟท์ล่าสุดของแสนศักดิ์นั้น ชนะน็อคมวยดี ๆ ของวงการยุคนั้นมา 4 คนรวด ขณะที่ พุฒ นั้น 4 ไฟท์ก่อนเจอกันกับแสนศักดิ์ ชนะคะแนนมาทั้ง 4 ไฟท์ จากนั้นช่วงต่อมา ก็เป็นการเซ็นสัญญาต่อหน้าสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะดวลกัน …

“ไอ้แสบ” แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นนักมวยไทยค่าตัวเรือนแสนคนแรก ครั้งแรกวันนั้น แต่ก็ไม่ผ่านด่าน พุฒ ล้อเหล็ก Read More »

40 ปีเต็มๆของ “พลตรีจารึก” กับการเป็นผู้นำกีฬาตะกร้อ จากวันเริ่มต้น 20 ส.ค.2526 จนถึงวันสุดท้ายในหน้าที่ 21 ส.ค.2566…ด้วยอาลัย

     สมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย ยุคเริ่มต้นนั้น เกิดขึ้นเพราะว่ากีฬาตะกร้อ กำลังเป็นที่นิยม มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ ที่กลายมาเป็นซีเกมส์ในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 เมื่อ ปี 2508 ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ และหลังจากนั้นก็มีการจัดการแข่งขันตะกร้อ ทั้งเซปักตะกร้อ (ตะกร้อข้ามตาข่าย) และ ตะกร้อลอดห่วง ขึ้นมากมาย ทั้งระดับนักเรียน กีฬากองทัพ กีฬาเขต หรือ แห่งชาติ ระดับสโมสร และ ระดับนานาชาติ      ด้วยเหตุความนิยมและการจัดการแข่งขันหลายระดับ ของกีฬาตะกร้อมีมากมาย สังกัดเดิมที่กีฬาตะกร้ออยู่ในสังกัดคือ สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีการหารือและได้มีข้อสรุปที่จะแยกให้กีฬาตะกร้อออกไปเป็นสมาคมกีฬาต่างหากและมีเป้าหมายที่มากกว่าการอนุรักษ์ที่เคยทำมา      โดย เมื่อปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้มีมติและอนุมัติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ตอนนั้นเป็นเลขาธิการสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยกลุ่มหนึ่ง ไปก่อตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคมขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหารกิจกรรมกีฬาตะกร้อ โดยเฉพาะ …

40 ปีเต็มๆของ “พลตรีจารึก” กับการเป็นผู้นำกีฬาตะกร้อ จากวันเริ่มต้น 20 ส.ค.2526 จนถึงวันสุดท้ายในหน้าที่ 21 ส.ค.2566…ด้วยอาลัย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ทีมนักบริดจ์ไทยลุยศึกใหญ่ ที่ฝรั่งเศส ปี 2511 World Team Olympiad ครั้งที่ 3

     เปิดเจอข้อมูลเก่า ๆ ของวงการกีฬาบริดจ์ของไทย ในยุคอดีต ปี 2511 ที่ถือว่าช่วงนั้นเป็นยุคเฟื่องฟูช่วงหนึ่งของวงการกีฬาชนิดนี้ ที่มีการเล่นที่แพร่หลาย และ ทีมนักกีฬาไทย ก็ถูกส่งเข้าร่วมงานระดับโลกต่อเนื่องมากขึ้น      งานที่ค้นพบนั้นคือ การแข่งขันบริดจ์รายการ World Team Olympiad ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1968 เลยเก็บมาบันทึกไว้ใน “บันทึกกีฬาไทย” ที่นี่ อย่างน้อยก็เป็นรายละเอียดที่น่าจดจำช่วงหนึ่งของวงการกีฬาบริดจ์ของไทยเรา      วันที่ 8 มกราคม 2511 สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย (ชื่อขณะนั้น) ได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ แทน ชุดที่มี พันเอกถนัด คอมันตร์ เป็นนายกฯ ซึ่งปรากฏว่า พลอากาศโท สวน สุขเสริม ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่นายกสมาคมบริดจ์คนใหม่ และมีกรรมการชุดใหม่ เช่น นายสมใจ มิลินทวนิช พลอากาศตรี ม.ร.ว.เสริม สุขสวัสดิ์ …

บันทึกกีฬาไทย : ทีมนักบริดจ์ไทยลุยศึกใหญ่ ที่ฝรั่งเศส ปี 2511 World Team Olympiad ครั้งที่ 3 Read More »

บันทึกกีฬาไทย : แชมป์การวิ่งมาราธอนไทย คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ สุภาพ อุสสาหะ

สุภาพ อุสสาหะ แชมป์วิ่งมาราธอนคนแรกของไทย       เจ้าของนามปากกา “ทน มาราธอน” บันทึกไว้ในนิตยสารกีฬา ขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน) ปี พ.ศ.2515 ระบุว่า      เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2493 ประเทศไทย ได้จัดการแข่งขันกรีฑาวิ่งระยะ 42 กิโลเมตร กับอีก 195 เมตร หรือ 42,195 เมตร (คือการแข่งขันวิ่งมาราธอน) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดขึ้น ที่เส้นสตาร์ท และเข้าเส้นชัย คือที่สนามศุภชลาศัย      ปรากฏว่านักวิ่งที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ซึ่งถือเป็นคนแรกที่คว้าแชมป์การวิ่งมาราธอนในประเทศไทยคือ นายสุภาพ อุสสาหะ (ชื่อเดิม สภาพ) โดยทำเวลาได้ 3 ชั่วโมง 18 นาที 32.2 วินาที   …

บันทึกกีฬาไทย : แชมป์การวิ่งมาราธอนไทย คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ สุภาพ อุสสาหะ Read More »

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน บุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการพลศึกษาสมัยใหม่ ของประเทศไทย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน      เป็นชาวจังหวัด ลำปาง เกิดวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2465 ถึงแก่กรรม 9 มิถุนายน พ.ศ.2551      การบันทึกนี้ถือเป็นการบันทึกถึงเกียรติประวัติ และผลงานท่านในวงการกีฬาของประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่สนใจศึกษา #การเป็นตัวแทนนักฟุตบอลทีมชาติไทย      ปี พ.ศ.2489 “นายแพทย์บุญสม” เป็นนักฟุตบอลตัวแทนประเทศไทย ในนามทีมกรุงเทพ 11 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันก่อนที่จะมีการตั้งสมาคมฟุตบอล เพื่อรวมทีมไว้แข่งขันกับทีมต่างประเทศซึ่งเดินทางเข้ามาขอแข่งขันที่ประเทศไทยในช่วงนั้น      โดยนายแพทย์บุญสม ได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ เมื่อ 1 มี.ค.2513 ว่า “เมื่อ ปลายปี 2488 หลังจากสิ้นสงครามใหม่ ๆ ได้มีนักฟุตบอลจากต่างชาติ เข้ามาแข่งขันในประเทศไทย และ เอาชนะทีมไทยไปอย่างราบคาบ ด้วยเหตุนี้ทีมกรุงเทพ จึงเกิดขึ้น เป็นครั้งแรก ผู้ริเริ่มก็คือ อาจารย์กอง วิสุทธารมณ์ …

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน บุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการพลศึกษาสมัยใหม่ ของประเทศไทย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : เสี่ยเพ้ง หรือ นายจันทร์ ชูสัตยานนท์ ผู้บุกเบิกกีฬาปิงปองในประเทศไทย

จุดกำเนิดปิงปองไทย  กับชายที่ชื่อ’เสี่ยเพ้ง’       เรื่องราวของอดีตวงการกีฬาไทย ในกีฬาปิงปอง หรือ กีฬาเทเบิลเทนนิส บันทึกไว้ที่วารสารกีฬา ขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน  ปี พ.ศ.2515 คอลัมน์ “คนดีไม่มีตาย” เขียนโดย เท้ง บางขุนเทียน หรือ ณรงค์ ปานดี อดีตสื่อมวลชนสายกีฬา และอดีตพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย       โดยผู้เขียนได้เขียนถึง “เสี่ยเพ้ง” ผู้จุดประกายกีฬาปิงปองของไทย ตั้งแต่เริ่มต้น ทุ่มเทตน เพื่อเผยแพร่ จัดแข่ง อย่างจริงจัง จนกระทั่งก่อตั้งสมาคมปิงปองขึ้นในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งหมดจากนี้เป็นการเรียบเรียงจากงานเขียนของ “เท้ง บางขุนเทียน” (สื่อกีฬารุ่นพี่ของผมผู้เรียบเรียง) เกี่ยวกับเรื่องของปิงปองไทย กับ “เสี่ยเพ้ง” คนต้นเรื่องนี้…      ….ขอย้อนไปอดีตก่อนปี พ.ศ.2466 สมัยนั้นยังไม่มีคนไทยที่รู้จักปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส มากมายนัก เพราะไม่มีการเผยแพร่ และวงการกีฬาไทยก็จำกัดอยู่ในวงแคบ …

บันทึกกีฬาไทย : เสี่ยเพ้ง หรือ นายจันทร์ ชูสัตยานนท์ ผู้บุกเบิกกีฬาปิงปองในประเทศไทย Read More »

ตำรวจสอบสวนกลาง ชวนน้อง ๆ เยาวชน ส่งผลงานร่วมประกวดวาดภาพ หัวข้อ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชปณิธาน” ชิงเงินรางวัลรวม 72,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 17 กรกฎาคม

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เชิญขวนน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา หรือเทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดวาดภาพ ในหัวข้อ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชปณิธาน” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 72,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร วัตถุประสงค์ – เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระผ่านการนําเสนอภาพวาดสะท้อนเรื่องราว สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชปณิทาน – เพื่อน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากของพสกนิกรชาวไทย – แสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย และปลูกจิตสํานึกในการรักสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเภทการแข่งขัน – ระดับชั้นประถมศึกษา หรือ เทียบเท่า – ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ เทียบเท่า – ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา หรือ เทียบเท่า …

ตำรวจสอบสวนกลาง ชวนน้อง ๆ เยาวชน ส่งผลงานร่วมประกวดวาดภาพ หัวข้อ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชปณิธาน” ชิงเงินรางวัลรวม 72,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 17 กรกฎาคม Read More »

มูลนิธิตั้งเซ็กกิม มอบทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 20 ทุน ทุนละ 8,000 บาท รวม 160,000 บาท ผู้สนใจขอรับทุนยื่นใบสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 31 สิงหาคม 2567

มูลนิธิตั้งเซ็กกิม ก่อตั้งขึ้นโดยลูกหลานตระกลูสุพุทธิพงศ์ และพนักงานในเครือบริษัท นานมี จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของอดีตท่านประธานตั้งเซ็กกิม (ทองเกษม สุพุทธิพงศ) ผู้ก่อตั้งกิจการในเครือบริษัท นานมี ที่มุ่งหมายเกื้อกูลประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยเฉพาะการส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนที่เรียนดี มีจริยธรรม แต่ยากไร้ และด้อยโอกาส ให้ได้มีโอกาสด้านการศึกษาที่สูงขึ้น และนำความรู้ความสามารถที่ได้รับ มาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและสังคมในอนาคต มูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะมอบทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียน นิสิต และนักศึกษาทั่วประเทศที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาเป็นประจำทุกปี ประเภทของทุน เป็นทุนให้เปล่าสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบไม่ต่อเนื่อง โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพัน จำนวน 20 ทุน ทุนละ 8,000 บาท รวมมูลค่า 160,000 บาท คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเพื่อรับทุน 1. เป็นนิสิต / นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน 2. ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา 3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00 ในทุกสาขาวิชา (เกณฑค์ะแนนนี้สามารถยืดหยุ่นได้ โดยตอ้งได้รับความเห็นชอบในความเหมาะสมจากอาจารย์ประจำคณะที่นักศึกษาสังกัดอยู่ หรือ …

มูลนิธิตั้งเซ็กกิม มอบทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 20 ทุน ทุนละ 8,000 บาท รวม 160,000 บาท ผู้สนใจขอรับทุนยื่นใบสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 31 สิงหาคม 2567 Read More »

บันทึกกีฬาไทย : 4 อาจารย์พลศึกษาไทย อ.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ อ.นบน้อม อ่าวสุคนธ์ อ.จันทร์ ผ่องศรี อ.สำเร็จ มณีเนตร ผู้ได้รับพระกรุณา “ทุนพระราชทาน” สันทนาการกลุ่มแรกของไทย

     บันทึกกีฬาไทย ขอนำเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของไทย ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นได้ทรงสนับสนุน การร่วมมือและการให้ทุนการศึกษา แก่บุคลากรทางการกีฬา เมื่อปี พ.ศ.2512 เพื่อเดินทางไปศึกษาด้าน สันทนาการ ที่ออสเตรเลีย ซึ่งปรากฏการณ์ครั้งนั้น ได้สร้างความปีติยินดีต่อวงการกีฬาไทยอย่างยิ่ง และ ผู้ที่ถูกเลือกให้ได้รับทุนเดินทางไปนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นบุคลากรซึ่งสร้างประโยชน์ที่สำคัญในโอกาสต่อๆ มาให้กับงานกีฬาไทย      ซึ่งทุนพระราชทานฯ ที่สำคัญต่อวงการกีฬาไทยครั้งนี้เริ่มต้นจากที่ มร.คาร์เซิล จากของออสเตรเลีย ได้เข้าเฝ้าและนำทุนจากค่ายสันทนาการที่ออสเตรเลีย มาทูลเกล้าฯ เพื่อให้ส่งอาจารย์ทางพลศึกษาของประเทศไทย จำนวน 4 คนไปอบรมและศึกษาดูงานที่ออสเตรเลีย จำนวน 4 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี  และได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการ พิจารณาหาบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย ดร.กัลย์ อิสรเสนา อาจารย์กอง วิสุทธารมณ์ นายวิลาศ บุนนาค และ อาจารย์บุญเจอ สุวรรณพฤกษ์      และปรากฏว่าจากการประชุมได้ตกลงเลือกผู้ที่เหมาะสมได้รับทุนพระราชทาน …

บันทึกกีฬาไทย : 4 อาจารย์พลศึกษาไทย อ.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ อ.นบน้อม อ่าวสุคนธ์ อ.จันทร์ ผ่องศรี อ.สำเร็จ มณีเนตร ผู้ได้รับพระกรุณา “ทุนพระราชทาน” สันทนาการกลุ่มแรกของไทย Read More »

ศูนย์ทดสอบฯ มธ. เปิดตัว “FORWARD” ศูนย์กลางด้านการประเมินความพร้อมทางปัญญาและการเรียนรู้ ปูทางการเป็นนักธุรกิจมืออาชีพ

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCTC) ล้ำหน้าอีกขั้นด้วยการพัฒนา “FORWARD” หรือ Foremost Wisdom Academic Readiness Demonstration รูปแบบใหม่ของการประเมินความพร้อมทางปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อผู้สนใจศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทุกระดับ สามารถเข้าร่วมประเมินสมรรถนะ และเตรียมความพร้อมของตน เพื่อก้าวสู่การเป็นนักธุรกิจที่ครบเครื่อง ผศ.ดร.จินตนัย ไพรสณฑ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCTC) เปิดเผยว่า ปัจจุบันองค์ความรู้ของแต่ละศาสตร์วิชาที่ผ่านการสั่งสมเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากหลายช่องทาง ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้เรียนสามารถเพิ่มพูนทักษะที่ตนสนใจ ทั้งที่เป็นความรู้เชิงลึกเฉพาะทาง หรือ ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการข้ามศาสตร์ ก็ทำได้โดยง่าย จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วผู้เรียนจะทราบได้อย่างไรว่า ตนเองมีระดับความสามารถในศาสตร์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ศูนย์ทดสอบฯ ม.ธรรมศาสตร์ (TCTC) จึงนำความต้องการดังกล่าว มาพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการสมัยใหม่ขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการประเมินองค์ความรู้แต่ละด้าน เพื่อให้ผู้สอบได้ตระหนักถึงจุดเด่นและจุดด้อยของตนว่าเป็นอย่างไร นำไปสู่แนวทางการแก้ไขและปรับเปลี่ยนการจัดการ เพื่อเป้าหมายในการเสริมสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพชัดเจนและตรงจุดยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แบบประเมินความพร้อมทางปัญญาและการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า “FORWARD” นั้น ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อใช้สำหรับประเมินความถนัดทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ ครอบคลุมใน 3 ด้าน ประกอบด้วย สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ, สมรรถนะด้านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพทางธุรกิจ และ สมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ ซึ่งการทำแบบทดสอบนั้นจะใช้เวลา …

ศูนย์ทดสอบฯ มธ. เปิดตัว “FORWARD” ศูนย์กลางด้านการประเมินความพร้อมทางปัญญาและการเรียนรู้ ปูทางการเป็นนักธุรกิจมืออาชีพ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!