กรณีศึกษา กัมพูชาจัด “กุนขะแมร์” ในซีเกมส์ สมาคมมวยไทยไม่ส่งก็ถูกต้อง แต่การดันเอา IFMA มาเป็นเครื่องมือต่อต้านด้วย ผู้รู้มองว่า…พลาด!!

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

กลายเป็นเรื่องใหญ่และยาว กับกีฬา “กุนขะแมร์” ที่เจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 32 กัมพูชา จะจัดแข่งขันชิงเหรียญในหนนี้ ซึ่งเจ้าภาพเขาแจ้งสมาชิก และมนตรีซีเกมส์ของแต่ละชาติ รวมทั้งคณะกรรมการโอลิมปิคของชาติสมาชิกก็รับทราบแล้วว่าจะจัด “กุนขะแมร์”และมีสหพันธ์กีฬากุนขะแมร์นานาชาติ รับรองแล้ว

ในกระบวนการก็เรียบร้อยตามข้อตกลงร่วมของสมาชิกที่ถูกต้อง เมื่อตรงนั้นจบ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องที่ชาติไหนจะส่งหรือไม่ส่งนักกีฬาแข่งก็เป็นเรื่องของแต่ละชาติ

ทางประเทศไทย “สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่น” ไม่ส่งจะด้วยอะไร ก็แจ้งผ่านคณะกรรมการโอลิมปิคของไทย จากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิคของไทยที่เป็นผู้ประสานงานของแต่ละชาติก็แจ้งฝ่ายจัดการแข่งขันเจ้าภาพ ก็จบ “ที่ไม่ต้องคิดมาก”

ปัญหามวยไทยในซีเกมส์ มันมีมานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มคุยกันจะนำ “มวยไทย” เข้าซีเกมส์ กัมพูชา ลาว เมียนมาหรือพม่า เขาก็ค้านตั้งแต่แรกว่าไม่ควรมีคำว่า “ไทย” เพราะรากเหง้าทุกชาติที่ค้านระบุว่ากีฬานี้มันมาจากศิลปะป้องกันตัวของกลุ่มชาติแถวนี้ ที่มีลักษณะการใช้อาวุธเหมือนกันตั้งแต่โบราณ ซึ่งท้ายสุดก็มีการยอมกันจากการผลักดันใน ปี 2005 ซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ ก็ได้จัดด้วยการยืนตรงกลางคือคำว่า “มวย” และอยู่ภายใต้การกำกับของสหพันธ์มวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA ก็ว่ากันไป

ปี 2007 ไทยเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ กลับมาใช้คำว่า “มวยไทย” สมาชิกก็ไม่ว่าอะไรส่วนหนึ่งก็มาร่วมแต่ ชาติอย่างกัมพูชา ลาว เมียนมา ก็ไม่ส่งมา ก็จบกันเพราะเป็นสิทธิของเขา ปี 2009 สปป.ลาวจัดชูให้ใช้ชื่อ “มวยลาว” ก็รับๆกันไป ต่อมาเมียนมาจัด ก็ยัดมวยของเขาเข้า ไทยเราจะไม่ส่งจนคณะกรรมการโอลิมปิคไทยต้องออกโรง “จัดการเรื่องจัดส่ง”

นี่คือตัวอย่างความไม่ลงตัว แต่นั่นก็ถือว่ามันควรยุติอยู่ที่การพอใจที่จะส่งหรือไม่ส่งของชาติสมาชิก เมื่อกระบวนการจากการประชุมมนตรีซีเกมส์ เจ้าภาพจัดซีเกมส์ และสหพันธ์กีฬานั้น ๆ กำหนดมาและให้การรับรองแล้ว

แต่ที่มันไม่จบที่วิพากษ์กันคือกลุ่มทาง IFMA พยายาม มาร่วมลุยคัดค้าน ต้านการเข้าร่วม “กุนขะแมร์” นี้ด้วย โดยกลุ่มคนที่รู้เรื่องราวหรือกระบวนการนี้ ก็งง ว่า IFMA จะมาร่วมมั่วด้วยทำไม ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรเลย เพราะกัมพูชาก็ไม่ได้จัดมวยไทยหรือมวย และ “กุนขะแมร์” เขาก็มีสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติของเขารับรองทุกอย่าง แล้ว IFMA เกี่ยวตรงไหน กับเรื่องราวพวกนี้ ซึ่งกัมพูชา ลาว เมียนมา ก็ไม่ได้เป็นสมาชิก IFMA เขาจะสนใจอะไร รวมทั้ง กลุ่มชาติอาเซียนส่วนหนึ่ง ที่เคยส่งกีฬามวย เขาก็รู้ว่านี่คือความขัดแย้งในชาติกลุ่มเหล่านี้ เขาก็คงไม่ได้ใส่ใจ สรุปคือ “กุนขะแมร์” คือ 1 ในชนิดกีฬาที่มีชิงเหรียญในซีเกมส์ครั้งที่ 32 นี้แน่นอน….

กับที่เอ่ยมา 2 เรื่องนี้ ที่นี่ประมวลความรู้สึกของผู้รู้จำนวนพอควร สรุปว่า การไม่ส่งนักกีฬาไปชก กุนขะแมร์ ในซีเกมส์ที่กัมพูชา ฝ่ายที่เกี่ยวข้องของไทย “ไม่มีสิ่งใดผิด” เพราะเดินตามเกมแม้จะโดนเคืองบ้างก็ไม่กระไร แต่การที่เข้าไปดึง IFMA ซึ่งทุกชาติรู้กัน IFMA ก็คือเครื่องมือของคนไทยในระดับนานาชาติ (จุดหลักที่หากินก็ไทยแลนด์) และสำคัญไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วยกับเขา ออกมาเล่นด้วย เช่นนี้ถือว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “พลาด” เพราะถือว่าเล่นนอกเกม

ซึ่งผลเกิดขึ้นทันทีก็คือนอกจากจะเสียมิตรภาพกับกัมพูชาแน่ๆ แบบไม่ควรที่จะเสียแม้แต่กับชาติใดในเรื่องงานกีฬาตามแนวทางที่ควรแล้วนั้น ยังจะเสียเครดิตกับชาติสมาชิกในอาเซียน ที่ไทยเราเอา IFMA ไปออกหน้า ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ เขาก็คงได้แต่หัวเราะ..แล้วก็ตั้งใจซ้อมนักกีฬากุนขะแมร์ของเขาเพื่อส่งแข่งต่อไป

ถึงเวลานี้ ก็คงบอกว่าไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับเรื่องพวกนี้ แต่ที่แน่ ๆ ขอให้กรณีกุนขะแมร์คราวนี้ เป็นบทเรียนสะท้อนย้อนมองตัวเองสำหรับผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในฐานะกลุ่มสมาคมกีฬามวยไทยหรือสหพันธ์กีฬามวยไทยนานาชาติ หรือแม้แต่คณะกรรมการโอลิมปิคไทยก็ตาม ในกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ที่ก็คงแล้วแต่จะคิดกันได้แบบไหน…โตๆ กันแล้ว.

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!