มีของฝากถึง “รองปานปรีย์” และ “รมต.สุดาวรรณ” เพื่อพิจารณา เรื่องปัญหา ของเงินกองทุนกีฬา กับปัญหา ในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

      ปฐมบทของรัฐบาลชุดใหม่ นี้ เริ่มต้นในการบริหารงานอย่างเป็นทางการ วันที่ 1 กันยายน 2566 เมื่อถึงวันนี้ (18 ก.พ.2567) ก็จะ 6 เดือนแล้ว กับการทำหน้าที่ ในกระทรวงต่าง ๆ

      ในวงการกีฬาคงโฟกัสง่าย ๆ ไปที่ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกีฬา นายปานปรีย์ พหิทธานุกร และ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ถือเป็นฝ่ายบริหารสูงสุดใน “องคาพยพชาวกีฬาไทย”

      กับการทำหน้าที่ดูแล “การบริหารจัดการทั้งหมด”

      ภาพที่เห็นที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ทั้งโดยหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา และ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านอื่น ๆ ที่ได้รับควบคู่กับกีฬานั้น ทั้ง 2 ท่าน ที่มาจากพรรคเพื่อไทย มีมากจริง ๆ จนทำให้หลายส่วนในวงการกีฬา เริ่มมองว่า “จะยังไง หรือ เอาแบบไหน” กับงานการกีฬา ณ เวลานี้

      เริ่มต้นที่สมาคมกีฬาต่าง ๆ ฝากความหวังไว้ คือ การปลดปล่อยพันธนาการเกี่ยวกับการ “เบิกจ่ายเงิน” ในโครงการ หรือ กิจกรรมต่าง ๆ จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งมี บอร์ดกองทุน ที่นำโดย ท่านปานปรีย์ จะช่วยให้ มีความคล่องตัว เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนและช่วงเวลาที่ควรจะเป็น สรุปสุดท้ายวันนี้ “ส่วนใหญ่” ยังคงติด ๆ ขัด ๆ เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ

      สิ่งที่สมาคมกีฬาและผู้เกี่ยวข้องฝากมาและงง คือ การอนุมัติทุกอย่างจะอยู่ที่บอร์ดกองทุน หรือชื่อเต็มคือคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาตินั้น ซึ่งช่วงผ่านมาเหมือนไม่ใส่ใจ เพราะมีการประชุมแค่ครั้งเดียว   ในขณะที่โครงการ กิจกรรม หรืองบ ที่สมาคมกีฬาต่าง ๆ รอคอยผ่านการกลั่นกรองเสร็จ รอบอร์ดอนุมัติ ยังค้างเติ่งอยู่มากมาย ด้วยทุกคนที่ฝากมาเข้าใจว่าท่านปานปรีย์งานมาก แต่ก็ยังมีคำถามว่า ทำไมไม่มอบหมายให้รองประธานซักคนทำหน้าที่แทน เพื่อที่จะได้ปล่อยงานที่ค้างคาได้…ซึ่งก็สามารถทำได้และควรทำ

      เพราะเรื่องพวกนี้คือเรื่องความเดือดร้อนของสมาคมกีฬา ที่เป็นปัญหาในกระบวนการและขบวนการ “ขอเงินกองทุน” มายาวนาน และวันนี้ยังไม่ได้รับการสะสาง

      นั่นคือเรื่องฝากกับ ท่านปานปรีย์ และ ทีมงานเพื่อพิจารณา ว่าจะเห็นควรประการใดในการบริหารจัดการ

     ส่วนอีกเรื่องที่มีกลุ่มคนฝากถึง รัฐมนตรีกีฬา “นางสาวสุดาวรรณ” ในฐานะเป็นผู้ควบคุมดูแลพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ด้วยคำถามว่า ปัญหาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ที่ยาวนานมาแล้ว จะแก้ไขและเดินไปทางใด เพื่อให้เกิดความ “สมบูรณ์” ในการบริหารจัดการ

     โดยจากที่มีปัญหาการแต่งตั้งอธิการบดีมายาวนาน ตามพรบ.ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2562 และต่อสู้กันยาวจนมาถึงรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้กระทำในวันที่ 21 ก.พ.2566 โดยมีการใช้คำสั่ง หัวหน้า คสช.ปลด อธิการบดี และยุบสภามหาวิทยาลัยชุดเก่า และตั้งคณะทำงานขึ้นมาแทนสภามหาวิทยาลัย และ ตั้งรักษาการอธิการบดีขึ้นมาทำงานชั่วคราว

      คำสั่งหัวหน้า คสช.วันนั้นมีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ส่วนคือให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้น สอบทุจริตและประพฤติมิชอบของ อธิการบดีคนเก่า และ ดำเนินการตั้ง อธิการบดีคนใหม่ ให้เรียบร้อย

      วันนี้การใช้อำนาจหัวหน้า คสช.วันนั้นจนวันนี้จะครบ 1 ปี และ ท่าน รมต.สุดาวรรณ เข้ามาทำหน้าที่จะครบ 6 เดือนแล้ว จะทำหน้าที่ตาม พรบ.ได้กำหนดไว้ เพื่อสะสางปมเหล่านี้อย่างไร

      “การสอบสวนเรื่องทุจริต ประพฤติมิชอบ” อธิการบดีคนเก่า ที่เป็นข้อหาสังหารคน ๆ หนึ่ง ที่ทำให้ฝ่ายบริหารชุดเก่านั้นวงแตก และที่สำคัญคำกล่าวหาในข้อหานี้ยังติดตัวเขาอยู่… วันนี้ไปถึงไหนและจะเอาอย่างไร

      “การแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่” ตามข้อกฎหมายที่เป็นคำสั่งของ หัวหน้า คสช.ในวันนั้น ซึ่งยังไม่ได้ยกเลิกคำสั่งนั้น…วันนี้มีบทสรุปหรือยังและจะดำเนินการต่ออย่างไร เพื่อให้การจัดการเป็นไปอย่างสมบูรณ์

      เรื่องนี้ฝาก รมต.สุดาวรรณ และ ทีมงาน ว่าจะเห็นควรประการใดในการบริหารจัดการประเด็นนี้

      เพื่อพิจารณา…ขอบคุณครับ.

RANDOM

คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ชวนน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา ร่วมประกวดภาพยนตร์สั้น Short Film Contest “พราวไทย : Proud Thai สืบสาน อนุรักษ์ สร้างสรรค์เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย” ชิงทุนการศึกษา 420,000 บาท สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ – 8 พ.ค. 67 

นครสวรรค์พร้อมเปิดฉากกีฬาอาวุโสแห่งชาติ “กกท.” เชื่อมั่นงานการแข่งขันผ่านสะดวก “รองชุม” ห่วงใยปัญหาแดด ฝากถึงการดูแลนักกีฬาของแต่ละทีม และฝ่ายจัดชนิดกีฬากลางแจ้ง ให้ช่วยดูแลนักกีฬาให้ดีและเหมาะสม

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!