ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ขอคำตอบจากรัฐทำไมไม่ใด้เท่าเทียมกับนักกีฬาคนปกติ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เรื่องราวจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ส.ส.ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ อดีตนักกีฬาคนพิการ ได้มีข้อหารือกับนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการที่นักกีฬาคนพิการที่เข้าแข่งขันเอเชี่ยนยูธพาราเกมส์ (กีฬาเยาวชนคนพิการระดับเอเชีย) ไม่ได้เงินรางวัลเทียบเท่าคนปกติที่แข่งกีฬาเอเชี่ยนยูธเกมส์ ที่ถือเป็นงานระดับเดียวกัน

เมื่อมีข้อหารือ ทางสภาก็จะแทงเรื่องมายังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ มีการแทงต่อมายังการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะต้องชี้แจงหรือตอบคำถามว่าทำไมไปยังต้นทางที่หารือมา

ประเด็นเรื่องนี้ Station THAI สื่อออนไลน์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของใคร จึงเอ่ยได้แบบไม่ต้องเกรงใจใครๆ ขอพูดถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การให้รางวัลหรือไม่ มันอยู่ที่ การประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เงินรางวัล เมื่อปี 2562ของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การที่นักกีฬาเอเชี่ยนยูธพาราเกมส์ไม่ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขัน เพราะว่าไม่ได้มีการประกาศว่าต้องให้รายการนี้  และทำไมถึงให้นักกีฬาที่ได้เหรียญเอเชี่ยนยูธเกมส์…คำตอบก็คือก็เพราะว่ากองทุนประกาศว่าให้รายการนี้ นั่นเอง

มองอย่างเข้าใจ ทั้ง 2 ด้าน ด้วยความเข้าใจแรกคือเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ส.ที่ต้องทำงานเพื่อกลุ่มเพื่อส่วนรวม จึงไม่แปลกที่จะมีคำถามด้วยข้อสงสัยอย่างนี้เพื่อหาคำตอบว่า…ทำไมไม่เท่าเทียมกันระหว่างนักกีฬาคนปกติและคนพิการ

และต้องมองอย่างเข้าใจผู้ที่ดูแลการประกาศให้รางวัลอย่างกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ว่า มีการหารือเรื่องการให้รางวัลก่อนที่จะประกาศนี้หนักพอสมควร ก็เพราะในกองทุนมองเรื่องการเท่าเทียมทางสังคม สิทธิควรจะได้เป็นหลักนี่เองเป็นจุดเริ่มต้น…แต่การให้รางวัลวงการกีฬา มันไม่ใช่เรื่องเท่าเทียมทางสังคม มันมีรายละเอียดที่มากต้องมองถึงการได้มาของเหรียญ ทั้งนักกีฬาคนปกติหรือนักกีฬาคนพิการเองในการแข่งขันรายการกีฬาที่แตกต่างกัน ความยากง่ายของการแข่งขันแตกต่างกันก็ได้รางวัลไม่เท่ากันซึ่งก็เหมือนๆ กัน ทั้งคนปกติและคนพิการ ฉะนั้นหากมองถึงการประกาศการให้ต้องมองอย่างเข้าใจ ไม่ใช่มองอย่าง “ดราม่า” ไม่งั้นเรื่องนี้ไม่จบ

กูรูท่านหนึ่ง เล่าความว่าในกีฬาคนพิการนั้น มีส่วนน้อยมากที่ ที่มาของการได้เหรียญนั้นเทียบเท่ากีฬาคนปกติ ที่ยากมากที่สุดและควรเทียบเท่าคือ วีลแชร์เรซซิ่ง ส่วนชนิดกีฬาอื่น ๆ นั้นแม้แต่ในระดับพาราลิมปิกเกมส์เองก็มีกติกาการให้เข้าร่วมหลวม ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ร่วมและมีความง่ายมาก เพราะประชากรกีฬาคนพิการน้อย แต่วงการกีฬาโลกด้วยการนึกถึงความเท่าเทียมและสิทธิการเข้าร่วมจึงเปิดกว้างให้ ยกตัวอย่างกีฬาชนิดหนึ่ง มีแข่งประเภทบุคคล แต่ประเภทบุคคลนั้นแบ่งเป็น 10 คลาส (ระดับความพิการ) นั่นแสดงว่ามีนักกีฬาคนพิการสามารถเข้าถึงเหรียญประเภทบุคคลนั้นถึง 10 คน เป็นต้น และส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับ แม้แต่การแข่งขันเอเชี่ยนยูธพาราเกมส์ล่าสุดนั้น แข่งคนเดียวก็ได้เหรียญทองก็มี เพราะการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมมันไม่ใช่การช่วงชิงความเป็นเลิศ ดังนั้นที่มาของเหรียญของนักกีฬาคนพิการถึงง่ายเพราะวัตถุประสงค์ของงานแข่งคนละเป้าหมายกับคนปกติ นี่คือความเข้าใจของประกาศกองทุนฯ ส่วนคำถามที่ว่ากองทุนควรมีการรื้อดูรายละเอียดของบางจุดไหม คำตอบของท่านนี้ก็ยืนยันว่ามี แต่นั่นเป็นหน้าที่ของกองทุนว่าจะมองประเด็นไหนอย่างไร

และก็มีกูรูอีกท่านพูดถึงเรื่องกีฬายูธโอลิมปิกเกมส์ และ กีฬาเอเชี่ยนยูธเกมส์ (ของคนปกติ) ว่างานแข่งนี้จริงๆแล้วเจ้าของรายการจัดเขามองไม่ใช่เพื่อความเป็นเลิศ เขาสร้างเกมส์ขึ้นมาเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากเหง้าและหลักการโอลิมปิก การอยู่ร่วมกันแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จึงมีการกำหนดผู้เข้าแข่งขันต้องอยู่ร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อร่วมกิจกรรมเมื่อแข่งกีฬาเสร็จ ซึ่งเขาเน้นกันอย่างนี้ ส่วนกีฬาก็มีบางชนิดหลวมๆ ไม่เป็นหลักสากล เช่นมีแข่งกอล์ฟคู่ผสม และมีการจับคู่ระหว่างนักกีฬาต่างชาติกันมาแข่งเป็นทีมเดียวกัน จากสิ่งเหล่านี้ทำให้เรามองเห็นว่าเจ้าของงานเขาส่งเสริมให้ทำอะไร และมองเรื่องเหรียญสำคัญแค่ไหน

บทสรุปจากการสนทนาเรื่องนี้ จัดกลุ่มความคิดในวงได้ 2 อย่างก็คือ การทำหน้าที่ของ ส.ส.ปริญญา นั้นถือเป็นการปูทางให้มีการมองถึงความเท่าเทียมของนักกีฬาปกติกับนักกีฬาคนพิการ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแบบด่วนหรือในอนาคต ส่วนอีกอย่างก็คือ เหมือนเป็นการ “วางระเบิด” ให้คนตอบเจ็บตัว เพราะรู้ว่าจะตอบยังไงก็ดราม่าได้ เพราะในอดีตที่ผ่านมาการตอบเรื่องพวกนี้ “จะไม่มีคำตอบครั้งใดที่ถูกใจแบบสมบูรณ์” อย่างที่ต้องการ แล้วสามารถสร้างประเด็นต่อได้หากยืนอยู่คนละฝั่งกัน ซึ่งในกลุ่มคุยที่คุ้นเคยกับ ส.ส.ปริญญา ในฐานะนักกีฬาคนพิการเก่า มองว่าท่านที่เคยคลุกอยู่กับวงการนี้ก็รู้อยู่แล้วว่าข้อเท็จจริงบางอย่างนั้นมันหาจุดจบไม่ได้ และใครก็ไม่อยากจะปรากฏตัวกับการตอบในเรื่องอ่อนไหวนี้ เพราะมีโอกาสเสียมากกว่าได้

#แต่จะเป็นการปูทางหรือวางระเบิดก็เป็นแค่คิดจากการร่วมคุยกัน ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นไปด้านไหนนั้นคงไม่ได้อยู่ที่การสนทนานี้ มันจะเกิดขึ้นเมื่อมีผลต่อการตัดสินใจและสังคมที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ตัดสินเอง

เพราะต่อจากนี้ไปไม่นานก็ต้องรอดูท่าทีของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่จะต้องส่งเรื่องตอบคำถามนี้สู่สภา และรอดูท่าทีทางเจ้าของท่อน้ำเลี้ยงใหญ่วงการกีฬาอย่าง กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ว่าจะมองเรื่องนี้แล้วดำเนินการต่ออย่างไร

ซึ่งคงไม่เกิน 3 แนวทางนี้คือ 1.ยืนยันหลักเกณฑ์เดิมเพราะมีการลงลึกก่อนการประกาศให้รางวัลมาชัดเจนแล้วคือไม่ปรับอะไร 2.กองทุนมีการขยับปรับปรุงแก้ไขประกาศในอนาคตต่อไป 3.ผู้เกี่ยวข้องร่วมหารือกันเพื่อหาบางข้อที่อยู่ในประกาศซึ่งออกมาแล้วนี้ มาเปิดกว้างให้โอกาสนักกีฬาที่ได้เหรียญจากงานนี้ได้รับเงินรางวัล ณ เร็ววันนี้ทันทีแบบพิเศษสำหรับงานนี้.

#StationTHAI ภาวนาให้ทุกอย่างจบด้วยความเข้าใจ

#เราเชียร์ความเหมาะสมของการให้จากการเปิดใจคุยกันจริงๆแบบไม่มีนัยแอบแฝงหรือดราม่า

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!