ฮอร์โมนเพศกับการแข่งขันกีฬา : โดย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เพศสภาพเป็นเรื่องที่มีการเปิดกว้าง ยอมรับ และให้ความเคารพในความเท่าเทียมของทุกเพศในสังคมปัจจุบันแทบทุกด้าน อย่างไรก็ดี ในการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของร่างกายนั้น ประเด็นของนักกีฬาข้ามเพศเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่นักกีฬาข้ามเพศหญิงซึ่งเคยฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาในฐานะนักกีฬาชายมาก่อนควรมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรายการของผู้หญิงหรือไม่เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งในลักษณะของการให้เข้าร่วมและการห้ามเข้าแข่งขัน ตั้งแต่การให้นักกีฬาข้ามเพศหญิงลงแข่งขันยกน้ำหนักในประเภทหญิงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 2021 การชนะการแข่งขันว่ายน้ำในระดับมหาวิทยาลัยหลายรายการของนักกีฬาข้ามเพศหญิงในสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (UCI) ตัดสินใจห้ามนักปั่นจักรยานข้ามเพศหญิงแข่งขันร่วมกับนักกีฬาเพศหญิง เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาไปจนถึงระดับผู้นำประเทศ

ในการเข้าร่วมการแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศในปัจจุบันนั้น ปัจจัยหลักที่ถูกนำมาพิจารณาว่านักกีฬามีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งหรือไม่ ก็คือเรื่องระดับของฮอร์โมนเพศ ซึ่งต้องย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีตที่มีการพยายามนำนักกีฬาชายมาแข่งขันกับนักกีฬาหญิงทำให้ต้องมีการพิสูจน์เพศเกิดขึ้นจนเป็นประเด็นเรื่องการละเมิดความเป็นมนุษย์หรือไม่ และนำมาสู่ข้อสรุปในการใช้ระดับของฮอร์โมนเพศเพื่อระบุเพศในการเข้าแข่งขันกีฬา

โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ทำการแก้ไขกฎ เพื่ออนุญาตให้นักกีฬาข้ามเพศร่วมแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ในกรณีที่มีการลดระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนี้ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบางอย่างกับร่างกายของนักกีฬาได้ โดยในส่วนของฮอร์โมนเพศชายนั้น มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความแข็งแรง การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และการรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก

ในขณะที่นักกีฬาข้ามเพศชายซึ่งเคยเป็นนักกีฬาหญิงมาก่อนอาจยังกลับไปแข่งขันในประเภทหญิงได้หากมีการปรับลดระดับของฮอร์โมนเพศชายให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่ทางฝั่งของนักกีฬาข้ามเพศหญิงจะมีข้อจำกัดคือหากไม่สามารถลงแข่งขันในรายการของเพศหญิงได้ ก็อาจจะไม่สามารถกลับไปแข่งขันรายการของเพศชายได้เช่นกัน เนื่องจากการปรับฮอร์โมนเพศจะทำให้ความแข็งแรง และมวลกล้ามเนื้อไม่สามารถสู้กับนักกีฬาชายได้ และการปรับระดับฮอร์โมนอาจยังมีเรื่องของสภาพจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งแนวคิดที่ไม่สนับสนุนการใช้เพียงแค่เกณฑ์ของฮอร์โมนเพศมาพิจารณาการเข้าแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ก็ได้ให้เหตุผลในว่าสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียมสำหรับนักกีฬาหญิง เนื่องจากนักกีฬาข้ามเพศหญิงอาจยังมีข้อได้เปรียบจากการเคยใช้ชีวิตเป็นเพศชายมาก่อนในทางสรีรวิทยาอีกหลายส่วน

ฉะนั้นประเด็นเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพศในการระบุเพศเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา จึงอาจต้องมีการทบทวนอีกครั้งจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันกีฬา รวมถึงนักกีฬา โค้ช นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในระดับนานาชาติ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง ในการร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบในประเด็นของการระบุเพศเพื่อเข้าแข่งขันกีฬา เพื่อหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับได้กับทุกฝ่ายและให้เกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริงในประเด็นนี้จากการแข่งขันกีฬาต่อไปในอนาคต.

 

ดร. ภัทราวุธ ขาวสนิท
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

RANDOM

คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรฯ รับสมัครงาน ตำแหน่ง “อาจารย์ภาษาเยอรมัน – เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป” สำหรับ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เปิดรับสมัครถึง 17 ต.ค. 66 และ ตำแหน่ง อาจารย์ภาษาเยอรมัน เปิดรับสมัครถึง 3 พ.ย. 66

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!