สคส. ชี้แจง 4 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ชี้แจง ความเข้าใจผิดในโลกโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ที่จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ ใน 4 ประเด็น ดังนี้

1. การถ่ายรูป/คลิป ติดคนอื่นโดยไม่เจตนา ไม่ผิดกฎหมาย PDPA หากใช้ในวัตถุประสงค์ส่วนตัว และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกถ่าย

2. รูป/คลิป ที่ถ่ายติดคนอื่นนั้น สามารถโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช่ทางการค้า และไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้นั้น

3. การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากติดเพื่อป้องกันอาชญากรรม รักษาความปลอดภัยแก่เจ้าของบ้าน

4. ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่
– เป็นการทำตามสัญญา
– มีกฎหมายให้อำนาจ
– ใช้เพื่อรักษาชีวิต หรือ ร่างกายของบุคคล
– ใช้เพื่อค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
– ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
– ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ

RANDOM

ศิลปศาสตร์ ม.มหิดล เปิดรับสมัคร “นักวิชาการเงินและบัญชี-เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป” สำหรับ ตำแหน่ง นักวิชาการการเงินและบัญชี ยื่นใบสมัครได้ ถึง 16 กันยายน ขณะที่ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ยื่นใบสมัครได้ ถึง 30 กันยายน

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!