บันทึกกีฬาไทย : ผลงานนักกีฬาไทย ในการแข่งขัน กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ปีพ.ศ.2513 (ค.ศ.1970)

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6

   ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

วันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2513 (ค.ศ.1970)

     ตามกำหนดเดิมเกาหลีใต้รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 ปี จะถึงกำหนดการแข่งขัน เกาหลีใต้เจ้าภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่สามารถจะเป็นเจ้าภาพได้จึงขอถอนตัว แต่เพื่อมิให้การแข่งขันครั้งนี้ต้องยกเลิกไป เกาหลีใต้จึงยินดีหาเงินให้กับประเทศ ที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์ จึงได้เปิดประชุมอย่างเร่งด่วน ครั้งแรกที่ประชุมมีมติ ให้ญี่ปุ่นรับจัดแทนเกาหลีใต้ แต่ต่อมาญี่ปุ่นปฏิเสธเพราะกำลังจะจัดงาน เอ็กซ์โป’ 70 แต่ยินดีที่จะช่วยมอบเงินสมทบทุนให้แก่ประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพ

ในหลวงจุดไฟเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6
นักกีฬาไทยเข้าเฝ้าฯในหลวงก่อนแข่ง
ในหลวงเสด็จฯเปิดเอเชี่ยนเกมส์

     ในที่สุดคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชี่ยนเกมส์จึงมีมติขอร้องให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพแทนเกาหลีใต้ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศไทยอยู่ในศูนย์กลางของภาคีเอเชี่ยนเกมส์อยู่แล้ว การไปมาก็สะดวกกว่าชาติอื่น ๆ ประการที่สอง ไทยขณะนั้นเพิ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งที่ 5 ผ่านมา ซึ่งได้รับความสำเร็จยิ่งเหนือกว่าชาติอื่นๆ และ สนามกีฬากับอุปกรณ์การแข่งขัน ก็มีพร้อมแล้ว เหตุการณ์ภายในประเทศก็ไม่ได้มีปัญหา และในที่สุดประเทศไทยก็ตอบรับ โดยมีเงื่อนไขว่า การเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จะต้องไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินของไทยไปจัด เว้นแต่เงินค่าใช้จ่ายสำหรับนักกีฬาไทยที่จะเข้าแข่งขันเท่านั้น

นักกีฬาไทยเข้าเฝ้าด้วยความปลื้มปีติ

     โดยการแข่งขันครั้งนี้ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ ได้รับเงินอุดหนุนจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ ดังนี้ จีน 25,000 เหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย 5,000 เหรียญสหรัฐ อิสราเอล 25,000 เหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้ 250,000 เหรียญสหรัฐ เนปาล 1,000 เหรียญสหรัฐ ฟิลิปปินส์ 5,000 เหรียญสหรัฐ ฮ่องกง 5,000 เหรียญสหรัฐ อิหร่าน 5,000 เหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่น 75,000 เหรียญสหรัฐ มาเลเซีย 10,000 เหรียญสหรัฐ ปากีสถาน 5,000 เหรียญสหรัฐ และเวียดนาม 1,000 เหรียญสหรัฐ รวมได้เงินอุดหนุนจาก 12 ประเทศสมาชิก เป็นจำนวนเงิน 412,000 เหรียญสหรัฐ

บรรยากาศพิธิเปิด
นิสิตจุฬาที่ร่วมถือป้ายชาติต่างๆ
สหพันธ์ อชก.ประชุม

     ดังนั้น การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 จึงถูกกำหนดจัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม พ.ศ. 2513 และนับเป็นการจัดติดต่อกันของชาติเจ้าภาพหนแรกของมหกรรมกีฬานี้ โดยกีฬาที่แข่งขันมี 13 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากล จักรยาน ฟุตบอล ฮอกกี้ ยิงปืน ว่ายน้ำ วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ และเรือใบ ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมี 18 ประเทศ รวมส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 1,752 คน ชาย 1,493 คน หญิง 259 คน และเมื่อรวมเจ้าหน้าที่ของทุกชาติด้วยจำนวนคนที่เข้าร่วมถึง 2,500 คน

     โดยพิธีเปิดนั้น ผู้ที่ถือธงประเทศไทยนำหน้าขวนพาเหรด คือ รังสิต ญาโนทัย ส่วนอดีตนักกีฬาที่ได้เป็นผุ้วิ่งคบเพลิงในพิธีเปิดนั้น ประกอบด้วย สุทธิ มัณยากาศ ศักดา ส่องแสง ณรงค์ โชคอำนวย จำนง บุศยศรี ประเวศ วัชระพฤกษ์ วันชัย วินัยเสถียร บุญส่ง ไข่เกตุ เจริญ วรรธนะสิน และ ปรีดา จุลละมณฑล ขณะที่นักกีฬาอาวุโสของงานนี้คือ ม.ร.ว.แหลมฉาน หัสดินทร

ประธานโอลิมปิคไทยประชุมเตรียมการ
หลวงชาติตระการโกศล นำประชุมจัดแข่ง
แสวง ศิริไปล่ คุมทีมมวยซ้อม

     ซึ่งจากผลงานนักกีฬาไทย ที่ส่งนักกีฬาชาย 194 คน หญิง 34 คน ที่สร้างผลงานด้วยการคว้าได้ 9 เหรียญทอง 17 เหรียญเงิน 13 เหรียญทองแดง มีรายละเอียดดังนี้

9 เหรียญทองได้มาจาก

     กรีฑา วิ่ง 200 เมตรชาย จาก อาณัติ รัตนพล สถิติ 21.1 วินาที  และ 4 คูณ 100 เมตรชาย ประกอบด้วย อาณัติ รัตนพล พนัส อริยะมงคล กนกศักดิ์ เจตะสานนท์ สมศักดิ์ ทองสุก สถิติ 40.4 วินาที

     มวยสากล 2 เหรียญทอง จาก บรรเทา ศรีสุข รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท มานิตย์ ตรีอรุณลักษณ์ รุ่นไลท์เฮฟวีเวท

บรรเทา ศรีสุข (ซ้าย)
มนัญ บำรุงพฤกษ์ คุมกรีฑาซ้อม
บรรจง ว่องไวเลิศ กับหลวงชาติตระการโกศล

     จักรยาน 3 เหรียญทอง จาก ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ 2 เหรียญ ในประเภท 800 เมตร แมสสตาร์ท และ 4,800 เมตร แมสสตาร์ท และ ชัยณรงค์ โสภณพงษ์ ประเภท 10,000 เมตรแมสสตาร์ท

     เรือใบ 1 เหรียญ จาก พระองค์เจ้าพีระพงศ์ ภาณุเดช และหม่อมอรุณี ภาณุพันธ์ ในประเภทไฟร์บอล

     ยิงปืน 1 เหรียญทอง จากประเภททีมปืนยาวมาตรฐาน 3 ท่า ประกอบด้วย ชวลิต กมุทชาติ เสริม จารุรัตน์ อุดมศักดิ์ เทียนทอง ปรีดา เพ็งดิษฐ์

ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ ถูกเพื่อนแบก
ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ รับเหรียญทอง
เกรียงศักดิ์-เชิดชู-สุริยะ

เหรียญเงิน 17 เหรียญ ได้จาก

     กรีฑา 1 เหรียญ โดย อาณัติ รัตนพล วิ่ง 100 เมตรชาย สถิติ 10.5 วินาที

     แบดมินตัน 4 เหรียญ จาก ประเภทหญิงเดี่ยว ทองคำ กิ่งมณี คู่ผสม บัณฑิต ใจเย็น กับ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ทีมหญิง ประกอบด้วย ทองคำ กิ่งมณี สุมล จันทร์กล่ำ บุปผา แก่นทอง อัจฉรา ปัตตพงศ์ เพชรรุ่ง เลี้ยงตระกูลงาม และ ทีมชาย ประกอบด้วย สงบ รัตตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจเย็น ศิลา อุเลา ชวเลิศ ชุ่มคำ พรชัย ศกุนตนิยม สุนชัย อัคฆยะพิสุทธิ์

     จักรยาน 3 เหรียญ จาก สมชาย จันทรสัมฤทธิ์ ประเภท 1,600 เมตร แมสสตาร์ท และอีก 2 เหรียญจาก ชัยณรงค์ โสภณพงษ์ ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ สมชาย จันทรสัมฤทธิ์ สุริยะ แซ่เจีย ประเภท 1,600 เมตร ประเภททีมไทม์ไทรอัล และ 4,000 เมตร ทีมเปอร์ซูท มีนักกีฬาประกอบด้วย สมชาย จันทร์สัมฤทธิ์ สุริยะ แซ่เจีย ชัยณรงค์ โสภณพงษ์  ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ เช่นกัน

ทีมผลัดไทยเฮฮาหลังเข้าที่ 1
อาณัติ แชมป์ 200 เมตรสำเร็จ
อาณัติ วิ่งเข้าเส้นชัยรอบคัดเลือก 100 เมตร

     ยิงปืน 7 เหรียญ จาก ปืนยาวมาตรฐาน 3 ท่า สุธรรม อัศวานิชย์ ประเภทปืนสั้นยิงช้าชัยรัตน์ รัตนสุภากร จากปืนสั้นยิงเร็วบุคคล อีก 4 เหรียญเงิน มาจากประเภททีม ดังนี้ ทีมปืนยาวอัดลมชาย ประกอบด้วย ชวลิต กมุทชาติ พิพัฒน์ รักเจริญ ธรรมนูญ สืบสมาน สุรินทร์ สุขกสิกรณ์ ประเภททีมปืนสั้นยิงช้าชาย ประกอบด้วย สุธรรม อัศวานิชย์ สมัคร ไชยเนตร มงคล พรหมสิทธิ์ บริบูรณ์ วุฒิภักดี ประเภททีมปืนสั้นยิงเร็ว ประกอบด้วย โสฬส ณ ลำพูน ชัยรัตน์ รัตน์สุภากร วิรัช วิเศษศิริ รังสิต ญาโนทัย บริบูรณ์ วุฒิภักดี จิต เผ่ากังวาฬวงศ์

     เรือใบ 2 เหรียญ จาก ประเภทฟลายอิ้งดัทช์แมน โดย พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ กับ สุเทพ อินทรโกสุมภ์ และ ประเภท โอเค โดย ดร.รชฏ กาญจนวณิชย์

อาณัติ เข้าที่ 2 วิ่ง 100 เมตรนัดชิง
พนัส-ทวีสิทธิ์-อาณัติ-สุรพงษ์
ทีมกรีฑาชายไทยซ้อม

เหรียญทองแดง 13 เหรียญ ได้มาจาก

     กรีฑา 1 เหรียญ จากประเภทวิ่งข้ามรั้ว 110 เมตรชาย บัญชา รัมมรัตน์

     แบดมินตัน 3 เหรียญ จาก ประเภทชายเดี่ยว สงบ รัตตนุสรณ์ ประเภทชายคู่ พรชัย ศกุนตนิยม กับ ชวเลิศ ชุ่มคำ ประเภทหญิงคู่ สุมล จันทร์กล่ำ กับ อัจฉรา ปัตตพงศ์

     มวยสากล 4 เหรียญ จาก สุรพงษ์ ศรีภิรมย์ รุ่นไลต์ฟลายเวท ธงชัย จันทรสุคนธ์ รุ่นไลต์เวท วิรัตน์ วิลาลักษณ์ รุ่นเวลเตอร์เวท นิพนธ์ อุไรศรี รุ่นมิดเดิลเวท

ปรีดา จุลละมณฑล จุดไฟในกระถางคบเพลิง
บาสชายไทยนัดแพ้อินเดีย

     จักรยาน 1 เหรียญ จาก สุริยะ แซ่เจีย ประเภท 4,000 เมตร เปอร์ซูท

     ยิงปืน 2 เหรียญ จาก ปรีดา เพ็งดิษฐ์ ประเภทปืนยาว 3 ท่า และ ธรรมนูญ สืบสมาน ประเภทปืนยาวอัดลม

     กระโดดน้ำ 1 เหรียญ จาก ทัศนีย์ ศรีวิพัฒน์ จากประเภท แพลตฟอร์ม 10 เมตรหญิง

     เรือใบ 1 เหรียญ จาก เกริก วณิกกุล ประเภทซูเปอร์มด

ปัญญา-สถาพร-ชัยณรงค์
พล.อ.อ.ทวี นำเรือใบเข้าที่ 2

ส่วนผลงานกีฬาอื่น ๆ มีดังนี้

     ฮอกกี้ : ทีมฮอกกี้ชายของไทย ร่วมทำการแข่งขันรอบแรก อยู่ในกลุ่ม B ลง2 แข่ง 3 นัด เสมอ แพ้ 1 โดย เสมอฮ่องกง 1-1 แพ้ญี่ปุ่น 0-3 และ เสมอปากีสถาน 0-0 ได้เข้าแข่งในรอบจัดอันดับ แพ้ศรีลังกา (ซีลอน) 0-1 และ แพ้ฮ่องกง ในการยิงจุดโทษ 3-5 หลังจากเสมอกันในเวลา 0-0

     ฟุตบอล : ทีมฟุตบอลชายไทย ลงแข่งในรอบแรกในกลุ่ม A ผลการแข่งขัน ชนะเวียดนามใต้ 1-0 เสมอ อินเดีย 2-2 ได้เข้ารอบสองร่วมกลุ่ม B แพ้เกาหลีใต้ 1-2 และเสมอพม่า 2-2 ได้เข้าแค่ชิงอันดับที่ 5 ปรากฏว่าแพ้อินโดนีเซียไป 1-0 จึงได้อันดับที่ 6 ของการแข่งขัน

ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ ออกสตาร์ท (ขวาสุด)
ศิลา อุเลา นำแบดชายไทยรับเหรียญเงิน
วอลเลย์ชายไทยนัดแพ้เขมร

     บาสเกตบอล : บาสเกตบอล มีแข่งเฉพาะทีมชาย ทีมบาสเกตบอลไทย ลงแข่งรอบแรกในกลุ่ม B ชนะมาเลเซีย 80-65 แพ้อินเดีย 64-70 และชนะไต้หวัน 57-54 ได้แข่งในรอบจัดอันดับ 7-12 ผลแข่ง ชนะมาเลเซีย 83-79 แพ้อิหร่าน 69-107 ชนะฮ่องกง 95-72 ชนะเวียดนามใต้ 124-91 ชนะ สิงคโปร์ 95-81 ได้อันดับ 8 ของการแข่งขัน

     วอลเลย์บอล : ทีมวอลเลย์บอลชายของไทย ลงแข่งแบบพบกันหมด (มี 8 ทีมแข่ง) สถิติ แพ้อิหร่าน 1-3 แพ้อินโดนีเซีย 0-3 แพ้เกาหลีใต้ 0-3 แพ้กัมพูชา 0-3 แพ้ญี่ปุ่น 0-3 แพ้ไต้หวัน 0-3 และแพ้ปากีสถาน 0-3 ส่วนทางด้าน ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทย ลงแข่งแบบพบกันหมด (มี 8 ทีมแข่ง) สถิติ แพ้อินโดนีเซีย 2-3 แพ้อิหร่าน 0-3 แพ้เกาหลีใต้ 0-3 แพ้กัมพูชา (ไม่มีบันทึกสกอร์) แพ้ญี่ปุ่น 0-3 แพ้ไต้หวัน (ไม่มีบันทึกสกอร์) และแพ้ฟิลิปปินส์ 0-3

     โปโลน้ำ : ทีมโปโลน้ำไทย ลงแข่งรอบแรกในกลุ่ม A ผลการแข่งขัน แพ้อินโดนีเซีย 1-8 แพ้อินเดีย 3-4 และแพ้สิงคโปร์ 0-11

โสฬส ณ ลำพูน
มานิตย์ ตรีอรุณลักษณ์ (ขวา)
มานิตย์ ตรีอรุณรักษ์ รับเหรียญทอง

     กรีฑา : โดยการแข่งขันครั้งนี้ได้มีบันทึกนักกรีฑาไทย ที่มีผลงานที่น่าพอใจ และมีการแจกประกาศนียบัตรของสมาคมกรีฑา ดังนี้

     พันธุ์เทพ ภักดีบุตร จากกระโดดสูง ได้ที่ 6 สถิติ 1.88 เมตร

     ชัยสิทธิ์ สุริยะจันทร์ จากเขย่งก้าวกระโดด ได้ที่ 5 สถิติ 14.77 เมตร

     ฉนวน พลังสุข จากขว้างค้อน ได้ที่ 4 สถิติ 36.42 เมตร

     ประยูร หมั่นหา จากกระโดดค้ำ ได้ที่ 6 สถิติ 3.90 เมตร

สมชาย จันทรสัมฤทธิ์-ชัยณรงค์-เกรียงศักดิ์
ทีมมวยปล้ำไทย
สุพัตรา โบสุวรรณ ซ้อม

     เกตเสพสวัสดิ์ ภักดีกุล จาก ทศกรีฑา ได้ที่ 6 สถิติ 55.26 คะแนน

     วิจารณ์ เบญจกุล จากวิ่งมาราธอน ได้อันดับที่ 6 สถิติ 2.40.26.7 ชั่วโมง

     ปราณี กิตติพงษ์พิทยา จากขว้างจักรหญิง ได้ที่ 5 สถิติ 38.56 เมตร

     สุพัตรา โบสุวรรณ จากปัญจกรีฑา ได้ที่ 6 สถิติ 2,967 คะแนน

     อัมพร ทองเสน จากวิ่ง 1,500 เมตรหญิง ได้ที่ 7 สถิติ 4.56.2 นาที

ชัยยะ แพ้ฟาล์วไม่มีเหรียญจากงานนี้
บริบูรณ์ วุฒิภักดี

โดยมีรายชื่อนักกีฬาไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6 ในบางชนิดกีฬาดังนี้

     ยกน้ำหนัก : มีรายชื่อนักยกน้ำหนักไทยทั้งหมด ที่เข้าร่วมเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งนี้ ประกอบด้วย วิมล มณฑาสวิน ปรีชา เชี่ยวชาญ สนั่น เทียมเสริฐ นิราศ ฮารูน กิตติ กาญจนจีระวงศ์ ชัยยะ สุขจินดา

     มวยสากลสมัครเล่น : มีนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมทั้งหมด ประกอบด้วย สุรพงษ์ ศรีภิรมย์ ประพันธ์ ด้วงชอุ่ม สมศักดิ์ บุญมาก วิรัตน์ วิลาลักษณ์ มานิตย์ ตรีอรุณรักษ์ ยงยุทธ รื่นภิรมย์ใจ ธงชัย จันทรสุคนธ์ บรรเทา ศรีสุข อุกฤษณ์ อ่อนศรี นิพนธ์ ไพรศรี วิเชียร เขื่อนศิลป์

พิธีปิดเอเชี่ยนเกมส์
พาเหรดอิหร่านเจ้าภาพครั้งที่ 7

     กรีฑา : รายชื่อนักกรีฑาชุดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 6 ทั้งหมด ประกอบด้วย อาณัติ รัตนพล พนัส อาริยะมงคล สุรพงษ์ อาริยะมงคล สมศักดิ์ ทองสุก ทวีสิทธิ์ อาจทวีกุล จรัญ หวานสนิท กนกศักดิ์ เจตะสานนท์ สุขุม ชาติประสพ บัญชา รัมมะรัตน์ เกตเสพสวัสดิ์ ภักดีกุล มนตรี สรรพานิช  สุรสีห์ เวชรักษ์ วิจารณ์ เบญจกุล ประยูร หมั่นหา พันธุ์เทพ ภักดีบุตร วิรัช สนธิเศรษฐ์ สำเภา พลธร ชัยสิทธิ์ สุริยะจันทร์ ฉนวน พลังสุข อุดม พึ่งยา ประสิทธิ์ พุทธวัฒนวนิช นพดล เดชพันธ์ นภดล เศรษฐคุปต์ ประพันธ์ ศรีสาคร ยศ ศ.นาคะนาท สำรวย จรางกูร อัมพร ทองเสน สานิตย์ ประทุมมานนท์  ปราณี กิตติพงษ์พิทยา สุพัตรา โบสุวรรณ สุนทรี ศรีฉายนาม ปรียา เดชดำรง

     ว่ายน้ำ : รายชื่อนักว่ายน้ำของไทย ที่ส่งร่วมแข่งทั้งหมด มีดังนี้ สมชาย ลิมปิชาติ ณรงค์ โชคอำนวย  ดวง คงเจริญ พิศิษฐ์ โภชนสมบูรณ์ วิทย์ สกุลวัฒนะ สวัสดิ์ โภชนสมบูรณ์ กิตติ สุวรรณทัต อนันต์ เปลี่ยนบุญเลิศ สมพงษ์ สัณหภักดี วีระพันธ์ บุรี ปรีชา ตรีถาวร สมชาย เผือกใจแผ้ว สังวาล นิลอ่อน สมบูรณ์ บุญรังสี วิเชียร มากธนะรุ่ง สมนาย ตังคณะสิงห์ โชคชัย วงษ์จินดา พรรณราย กฤษณะราช สุมาลี โภชนสมบูรณ์ ปาริชาติ สุวรรณทัต เสาวลักษณ์ กาญจนพังคะ อมรา ชื่นพันธ์ จินตนา ทองรัตน์ วนิดา เพียรสัจจะ

สมาคมจักรยานฉลองชัยให้นักกีฬา

     กระโดดน้ำ : มีนักกีฬาส่งแข่งประกอบด้วย สมจิตร อุ่นสนิท นุภาพ ขำผิวพรรณ ไสว คงเอี่ยม วีระศักดิ์ พานิชสุโข ทัศนีย์ เจริญพิทยา

     โปโลน้ำ : โดยนักกีฬา ประกอบด้วย เถลิง พรหมสถิตย์ นภดล เรียบเลิศหิรัญ พิพัฒ พะเนียงเวทย์ สมพงษ์ ธรรมเจริญ ประวิทย์ กฤตยานุวัตร จงรักษ์ พงษ์รัตน์ จิระ จินตนุกูล วิทยา อัคกาญจนวนิช วรพงษ์ วัฒธนณิชย์ วันชัย ต้นสายเพชร วิเศษ หมั่นตระกูล สมชาย ลิมปิชาติ

    จักรยาน : มีรายชื่อ ที่ส่งแข่งทั้งหมด ประกอบด้วย ชัยณรงค์ โสภณพงษ์ ม.ร.ว.เกรียงศักดิ์ วรวุฒิ ถาวร ทาวัน เชิดชู สุขโต อภินันท์ โกวาภิรัตน์ สุริยะ แซ่เจีย ปัญญา ซึ่งประยูร สถาพร ขันธะสะอาด พินิจ เคยกอบแก้ว พงษ์ศักดิ์ พันธุ์อุรา สันติ คัจฉพันธ์ วิชัย อยู่สถิต พีระ สุขเจริญ

     แบดมินตัน : มีรายชื่อทั้งหมด ประกอบด้วย สงบ รัตตนุสสรณ์ ศิลา อุเลา ชวเลิศ ชุ่มคำ บัณฑิต ใจเย็น สุนชัย อัรรฆยะพิสุทธิ์ พรชัย ศกุนตนิยม สุมล จันทร์กล่ำ ทองคำ กิ่งมณี บุปผา แก่นทอง อัจฉรา ปัตตะพงษ์ สมนา ณ ระนอง เพชรรุ่ง เลี้ยงตระกูลงาม

     มวยปล้ำ : มีนักกีฬาประกอบด้วย กวี เหลืองวิโรจน์กุล สันติภาพ โลกะมิตร อำนวย ทาเวียง มนตรี ชมสาคร เนาวรัตน์ กองศิริ อิทธิพล จรูญพันธ์ สกุลไทย สว่างพงษ์ อุทัย ปานเล็ก กำธร ยังคง วิทยา ธารเพียร

     ฮอกกี้ : มีรายชื่อนักกีฬาประกอบด้วย วินัย ศิริกุล นิรัตน์ นนทมิตร วิโรจน์ มุฑุกัณฑ์ ธรรมศักดิ์ อากาศวิภาค เทิดศักดิ์ บุญพิทักษ์ สถิต ประเวช วัชรพฤกษ์ ระลึก ศรัทธาพงศ์ พินิจ ศรลัมพ์ อุทัย ยูคิน สุธรรม พลสวัสดิ์วานิชย์ ดำรง มะโรงศรี เจริญ ธานีรัตน์  เสนอ ไชยยงค์ อนันต์ อนันตโชติ เดชา ศรีพิพัฒนกุล สุรศักดิ์ กิตติพงษ์พิทยา ขวัญชัย ผ่องศรี แอบ เจริญเปี่ยม

     วอลเลย์บอล : โดยรายชื่อนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย ประกอบด้วย วันชัย วินัยเสถียร ชาญฤทธิ์ วงศ์ประเสริฐ ปัญจะ จิตรโสภี โรแลนด์ เฮอร์มเซ่น ชูเกียรติ ไทยใหญ่ ภมร ฤทธิ์เดช อุดร เรือนเงิน จิราวุธ แสนทวีสุข นิพนธ์ หนูเทศ วิธาน ศรีเลขา ศรชัย หนูเทศ กฤษดา ภาคเสมา และสำหรับรายชื่อนักวอลเลย์บอลหญิง ประกอบด้วย สุพรรณี ดำรงวงศ์ ขวัญใจ คำแน่น สายเงิน เจียงเมธีจิตต์ สุดา วรศิลป์ ทิพา แสงสุวรรณ

     บาสเกตบอล : ทีมนักกีฬาไทยประกอบด้วย  ประคอง พันธุรัตน์ วิโรจน์ ชีพลือศักดิ์ จำนง บุษย์ศรี พิเชษฐ์ ศันสนะพิทยาการ ไพศิษฐ์ เพชรมุณี  บรรจง ว่องไวเลิศ รังสรรค์ ศุภจิตรานนท์ ไตรรัตน์ ลีละพันธ์ สมพงษ์ ร่วมเจริญ ไพศาล นทีสุวรรณ บุญชู วัฒนสมบัติ สุรศักดิ์ ประพิทธไพศาล

     ฟุตบอล : ทีมนักกีฬาไทย ประกอบด้วย สราวุธ ประทีปากรชัย เชาว์ อ่อนเอี่ยม สุชิน กสิวัฒน์ พัลลภ มะกล่ำทอง ณรงค์ สังขสุวรรณ ศุภกิจ มีลาภกิจ จิระวัฒน์ พิมพะวาทิน ชัชชัย พหลแพทย์ สนอง ไชยยงค์ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ เรวัต อาดัม เกรียงศักดิ์ วิมลเศรษฐ์ สมาน ธูปประสาท สหัส พรสวรรค์ สุทธา สุดสะอาด วิชิต แย้มบุญเรือง ปรีชา กิจบุญ สมนึก ทองเปลว พิทักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์ ณรงค์ พิเชษฐ์จำรัสชีพ

     ยิงปืน : เสริม จารุรัตน์ ปรีดา เพ็งดิษฐ์ อุดมศักดิ์ เทียนทอง ประสงค์ เจริญใจ ชวลิต กุมุทชาติ จิระ ประพันธะโยธิน ธรรมนูญ สืบสมาน สุรินทร์ ศุขกสิกรณ์ พิพัฒน์ รักเจริญ รังสิต ญาโนทัย บริบูรณ์ วุฒิภักดี สมัคค์ ชัยนเรศ มงคล พรหมสิทธิ์ สุธรรม อัศวาณิชย์ วิรัช วิเศษศิริ ชัยรัตน์ รัตนสุภากร โสฬส ณ ลำพูน จิตร เผ่ากังวาฬวงศ์

RANDOM

ประธานกรรมาธิการ การกีฬา สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.กีฬา) รับเรื่อง “ช่วยผลักดัน” บูมการบริจาคเพื่อรับคืนภาษีกีฬา 2 เท่า เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายหารือ เพื่อทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เร็วที่สุด

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!