สมาคมฟุตบอลฯ ร่วมกับ ฟีฟ่า จัดอบรมโค้ชหลักสูตร FIFA Goalkeeper ยกระดับบอลไทย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ร่วมกับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดการอบรมผู้ฝึกสอน หลักสูตร FIFA Goalkeeper Course ระหว่างวันที่ 18-22 เมษายน 2565 ณ พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ต จังหวัดชลบุรี
การอบรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือของฟีฟ่า และ สมาคมฯ โดยได้รับเกียรติจาก อเลฆานโดร เฮเรเดีย จากฟีฟ่า เป็นวิทยากร พร้อมมีผู้เข้าอบรมที่เป็นทั้งวิทยากรอบรมผู้รักษาประตู, โค้ชตัวแทนไทยลีก, ทีมชาติไทย ทุกรุ่น และนักกีฬาอาชีพ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. นายชัยยง ขำเปี่ยม
2. นายประสบโชค โชคเหมาะ
3. นางสาวสุกัญญา ช.เจริญยิ่ง
4. นางสาวกัญญาวีร์ สุดเทวี
5. นายกิตติศักดิ์ ระวังป่า
6. นายอัมรินทร์ เยาดำ
7. นายอัครพล อ่อนศรี
8. นายวรวุฒิ ทิพย์ศักดิ์วารกุล
9. นายประสิทธิ์ วมศาลา
10. นายไพศาล จันทร์ประเสริฐ
11. นายวัชรพงษ์ กล้าหาญ
12. นายพงศกร สมรูป
13. นายพรรษา มีสัตย์ธรรม
14. นายนราธิป พันธุ์พร้อม
15. นายปรมัติ พรมแก้ว
16. นายธำมรงค์ รังษี
17. นายศุภณัฐ โอศิริ
18. นายบุญคง อรรคบุตร
19. Mr. Saulo Adriel da Silva
20. Mr. Munze Ulrich
เชน ขำวิลัย หัวหน้าฝ่ายเทคนิคทีมชาติ กล่าวถึงหลักสูตรดังกล่าวว่า สำหรับคอร์สนี้เคยมีการจัดแล้ว เมื่อปี 2018 แต่เนื่องสถานการณ์โควิดจึงทำให้ไม่มีการจัดคอร์สนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2022 เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายขึ้น สมาคมฯ เห็นว่าคอร์สนี้มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์กับโค้ชผู้รักษาประตูในไทย จึงได้ทำการติดต่อเพื่อขออนุมัติหลักสูตรและวิทยากรจากฟีฟ่าให้มาสอนในคอร์สดังกล่าวนี้
สำหรับเนื้อหาการอบรมจะเกี่ยวกับผู้รักษาประตู ทั้งชายและหญิง อาทิ การฝึกวิเคราะห์เกม (Match Analysis) การยืนตำแหน่งของผู้รักษาประตูในการแข่งขันจริง, การทำงานร่วมกัน เพื่อหารือแนวทางการเล่นและการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับผู้เล่นไทย, การนำเสนอมุมมอง เนื้อหาของ Women’s Goal keeper และ การรีวิว เนื้อหา แลกเปลี่ยนแนวความคิดจากทั้ง 2 ด้าน จากวิทยากร และผู้อบรม
ฝ่ายฝึกอบรมอยากให้คอร์สนี้เป็นประโยชน์กับผู้เข้าอบรม ซึ่งเป็นตัวแทนจากสโมสรในระดับไทยลีก วิทยากร และโค้ชผู้รักษาประตูทีมชาติไทย เพื่อนำความรู้ที่ได้จากวิทยากรระดับฟีฟ่า ไปต่อยอดกับนักกีฬาในทุกระดับ และเพื่อผลักดันผู้เข้าร่วมอบรมเหล่านี้ให้สามารถเป็นวิทยากรด้านผู้รักษาประตูในอนาคตต่อไป

RANDOM

วช. ประกาศรับข้อเสนอโครงการต้นแบบนักประดิษฐ์ไทย นักประดิษฐ์โลก ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมพร้อมใช้หรือพร้อมออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ โครงการละไม่เกิน 2 ล้านบาท เปิดรับข้อเสนอโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ – 28 ธ.ค. 66

“เพิ่มพูน” ผนึก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ โตโยต้า ฮอนด้า ยามาฮ่า จับมือ อาชีวะ ร่วมพัฒนาหลักสูตร ร่วมผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง ตอบโจทย์เทคโนโลยีแห่งอนาคต เพิ่มโอกาสผู้เรียนมีรายได้ มีงานทำ

อพวช. ชวนนักวิทย์ นักคิด นักวิจัย มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราว ความประทับใจ ความงามที่เกิดขึ้นในงานด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านการประกวดภาพทางวิทยาศาสตร์ Image of Science “วิจิตร วิจัย” ประจำปี 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท หมดเขตสมัครและส่งผลงาน 31 ก.ค. นี้

มจธ. ร่วมมือ Jülich เยอรมนี ให้ “ทุนรุกขพิทยพัฒน์” ศึกษาต่อระดับปริญญาโท จำนวน 3 ทุน ด้านพืชศาสตร์-วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ-เศรษฐกิจชีวภาพ ยื่นใบสมัครได้ถึง 15 ต.ค.นี้

ประธาน IBA ส่งจดหมายด่วน กล่อมสมาชิกแต่ละชาติรวมทั้งสมาคมมวยสากลไทย และเตรียมให้เงินทุกชาติฟรีๆ แบบมหาศาล หลังจาก โดนโอลิมปิกสากลตัดขาด และสมาชิกหลายชาติหนี เพื่อรอซบองค์กรใหม่ ขณะที่ไทย “ยังนิ่ง”

NEWS

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!